[NEW] ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ | การพยากรณ์คือ – Australia.xemloibaihat

การพยากรณ์คือ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skill) หมายถึง ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนก การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยาม การกำหนดตัวแปร การทดลอง การวิเคราะห์ และแปรผลข้อมูล การสรุปผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ

ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะสำคัญที่แสดงถึงการมีกระบวนการคิด อย่างมีเหตุ มีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียน และผู้ปฏิบัติเกิดความเข้าใจในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองไปสู่กระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น

ประเภททักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะแสวงหาความรู้ และแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นตามหลักสูตร science a process approach (SAPA) ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (The American association for the advancement of science) ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษาปฐมวัย
2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษามัธยมวัย

1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เป็นทักษะเพื่อการแสวงหาความรู้ทั่วไป ประกอบด้วย
ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถแสดงหรือบรรยายคุณลักษณะของวัตถุได้ จากการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
– สามารถบรรยายคุณสมบัติเชิงประมาณ และคุณภาพของวัตถุได้
– สามารถบรรยายพฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้

ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring) หมายถึง การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่วัดได้
– สามารถบอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวัดได้
– สามารถบอกวิธีการ ขั้นตอน และวิธีใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
– สามารถทำการวัด รวมถึงระบุหน่วยของตัวเลขได้อย่างถูกต้อง

ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์ การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถนับจำนวนของวัตถุได้ถูกต้อง
– สามารถบอกวิธีคำนวณ แสดงวิธีคำนวณ และคิดคำนวณได้ถูกต้อง

ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การเรียงลำดับ และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเรียงลำดับ และแบ่งกลุ่มของวัตถุ โดยใช้เกณฑ์ใดได้อย่างถูกต้อง
– สามารถอธิบายเกณฑ์ในเรียงลำดับหรือแบ่งกลุ่มได้

ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships)
สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถอธิบายลักษณะของวัตถุ 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติ ได้
– สามารถวาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูป 3 มิติ ที่กำหนดให้ได้
– สามารถอธิบายรูปทรงทางเราขาคณิตของวัตถุได้
– สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 มิติ กับ 3 มิติได้ เช่น ตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ และตำแหน่งหรือทิศของวัตถุต่ออีกวัตถุ
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับเวลาได้
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงขนาด ปริมาณของวัตถุกับเวลาได้

ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกรูปแบบ และอธิบายการเลือกรูปแบบในการเสนอข้อมูลที่เหมาะสมได้
– สามารถออกแบบ และประยุกต์การเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปใหม่ที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย

ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายหรือสรุปจากประเด็นของการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มา

ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้

2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เป็นทักษะกระบวนการขั้นสูงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อแสวงหาความรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ประกอบด้วย
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองได้
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้

ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) หมายถึง การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการทดลองได้

ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม

ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งที่ต้องการทดลองเพื่อให้ทราบว่าเป็นสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นหรือไม่

ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดจากการกระทำของตัวแปรต้นในการทดลอง

ตัวแปรควบคุม คือ ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่อาจมีผลมีต่อการทดลองที่ต้องควบคุมให้เหมือนกันหรือคงที่ขณะการทดลอง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถกำหนด และอธิบายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองได้

ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3. การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถออกแบบการทดลอง และกำหนดวิธี ขั้นตอนการทดลองได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้
– สามารถระบุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการทดลองอย่างเหมาะสม
– สามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
– สามารถบันทึกผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง

ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ

การลงข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และการสรุปผลความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปประเด็นสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการทดลองหรือศึกษา

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ
– สามารถในการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นสำคัญ รวมถึงการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะของข้อมูล
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้

Table of Contents

[NEW] การพยากรณ์ การวางแผน และการควบคุมการผลิตและการดำเนินงาน | การพยากรณ์คือ – Australia.xemloibaihat

หน่วยที่ 4 การพยากรณ์ การวางแผน และการควบคุมการผลิตและการดำเนินงาน

Outline

1. การพยากรณ์เพื่อการผลิต และดำเนินงาน
    1.1. ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของการพยากรณ์
    1.2. วิธีการพยากรณ์
2. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน
    2.1. แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนการผลิต และดำเนินงาน
    2.2. กลยุทธ์การวางแผนการผลิตรวม
    2.3. วิธีการวางแผนการผลิตรวม และตารางการผลิตหลัก
    2.4. การจัดลำดับงาน
3. การควบคุมการผลิต และดำเนินงาน
    3.1. กระบวนการควบคุมการผลิต และการดำเนินงาน
    3.2. เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการผลิต และการดำเนินงาน

_______________________________________________________

Content

1. การพยากรณ์เพื่อการผลิต และดำเนินงาน

    1.1. ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของการพยากรณ์

ความหมายของการพยากรณ์

การพยากรณ์ คือ การคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตจากข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และหรือ ประสบการณ์ การพยากรณ์จะให้ค่าพยากรณ์ คือ จำนวนหรือปริมาณที่ต้องการทราบในอนาคต

ความสำคัญของการพยากรณ์

1. การพยากรณ์ทำให้สามารถคาดคะเนปริมาณความต้องการสินค้าและบริการ

2. การพยากรณ์ช่วยในการวางแผนการผลิต และดำเนินงาน

3. การพยากรณ์ช่วยในการตัดสินใจด้านการวางแผนทางการตลาด

4. การพยากรณ์ช่วยในการวางแผนด้านการเงิน

5. การพยากรณ์ช่วนในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

ประเภทของการพยากรณ์

การแบ่งประเภทของการพยากรณ์ นิยมใช้เกณฑ์การแบ่งอยู่ 2 ลักษณะ

1. เกณฑ์การใช้ช่วงเวลา

    1.1. การพยากรณ์ระยะสั้น 

    1.2. การพยากรณ์ระยะปานกลาง

    1.3. การพยากรณ์ระยะยาว

2. เกณฑ์การใช้ลักษณะกระบวนการพยากรณ์

    2.1. การพยากรณ์เชิงคุณภาพ 

    2.2. การพยากรณ์เชิงปริมาณ

    1.2. วิธีการพยากรณ์

วิธีการพยากรณ์เชิงคุณภาพจะใช้เมื่อมีสภาพดังนี้

1. ข้อมูลในอดีตมีน้อย หรือไม่มี

2. สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มไม่คงที่ในช่วงเวลาที่พยากรณ์

3. การพยากรณ์ในระยะยาว

    

วิธีการพยากรณ์เชิงคุณภาพทำได้หลายวิธีดังนี้

1. การใช้ความเห็นของพนักงานขาย

2. การใช้ความเห็นของคณะผู้บริหาร

3. การใช้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา

4. การสำรวจตลาด

5. วิธีเดลไฟ

วิธีการพยากรณ์เชิงปริมาณแบ่งเป็น 2 รูปแบบ

1. ตัวแบบอนุกรมเวลา เช่น วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

วิธีการปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียล วิธีการหาแนวโน้ม

2. ตัวแบบแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร

2. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน

    2.1. แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนการผลิต และดำเนินงาน

ประเภทของแผนการผลิต

1. แผนระยะสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน

2. แผนระยะปานกลาง ระยะเวลา 3-12 เดือน

3. แผนระยะยาว ระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป

การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน

แผนการผลิตเป็นแผนในระยะปานกลาง ซึ่งแผนการผลิตประกอบไปด้วย

1. การวางแผนกำลังการผลิต

2. การวางแผนการผลิตรวม

3. การจัดตารางการผลิตหลัก

4. การวางแผนความต้องการวัสดุ

5. การจัดลำดับงาน

    2.2. กลยุทธ์การวางแผนการผลิตรวม

การวางแผนการผลิตรวม เป็นการกำหนดปริมาณการผลิตที่ต้องทำการผลิต จัดเป็นแผนระยะปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดต้นทุนการผลิตต่ำสุดในช่วงระยะเวลาของแผนนั้น

กลยุทธ์การวางแผนการผลิตรวม

กลยุทธ์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1. การปรับอุปสงค์

    1.1. การใช้ส่วนประสมทางการตลาดเมื่ออุปสงค์ต่ำ

    1.2. การรับจอง ในช่วงที่มีอุปสงค์สูง

    1.3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริม ในกรณีที่อุปสงค์มีลักษณะของฤดูการ

2. การปรับอุปทาน

    2.1. การเปลี่ยนแปลงระดับสินค้าคงเหลือ

    2.2. การเปลี่ยนแปลงขนาดของแรงงาน

    2.3. การเปลี่ยนแปลงอัตราการผลิต

    2.4. การจ้างผู้รับช่วง

    2.5. การใช้พนักงานชั่วคราว

สำหรับการเลือกใช้กลยุทธ์นั้นมีวิธีเลือกใช้อยู่ 2 แบบ คือ

1. การใช้กลยุทธ์แบบเดียว

    1.1. กลยุทธ์การผลิตในระดับสม่ำเสมอ

    1.2. กลยุทธ์การผลิตตามความต้องการ

2. การใช้กลยุทธ์แบบผสม

ค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาในการวางแผนการผลิตรวม

1. ค่าใช้จ่ายในการจ้าง และปลดพนักงาน

2. ค่าใช้จ่ายในกรทำงานล่วงเวลา และการว่างงาน

3. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง

4. ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้รับเหมาช่วงผลิต

5. ค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานชั่วคราว

6. ค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดการขาดแคลนสินค้า

    2.3. วิธีการวางแผนการผลิตรวม และตารางการผลิตหลัก

วิธีการวางแผนการผลิตรวมด้วยวิธีการเปรียบเทียบต้นทุน ซึ่งแผนกลยุทธ์ที่ใช้อาจเป็นดังนี้
1. กลยุทธ์การผลิตในระดับสม่ำเสมอ
2. กลยุทธ์การผลิตตามความต้องการของตลาด

ตารางการผลิตหลัก
กระบวนการแปลงแผนการผลิตรวมออกเป็นแผนสำหรับการผลิตสินค้าแต่ละชนิดสำหรับแต่ละสัปดาห์ เรียกว่าการแปลงแผนการผลิตรวม ซึ่งผลที่ได้คือตารางการผลิตหลัก ซึ่งเป็นแผนการผลิตซึ่งแสดงถึงปริมาณและเวลาที่ทำการผลิตสินค้าแต่ละชนิด

    2.4. การจัดลำดับงาน

การจัดลำดับงานเป็นการกำหนเกิจกรรมว่างานใดจะทำก่อนหลังตามลำดับ การจัดลำดับงานมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของการผลิต ในส่วนของการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีการพิจารณาถึงเรื่องการจัดลำดับงานโดยแบ่งการจัดลำดับงานเป็น 3 ประเภท

1. การจัดลำดับงานผ่านเครื่องจักร 1 เครื่อง มีวิธีที่นิยมใช้ด้วยกัน 3 วิธี คือ

    1.1. การจัดลำดับงานแบบมาก่อนบริการก่อน (First comes First served : FCFS)

    1.2. การจัดลำดับงานแบบทำงานที่ใช้เวลน้อยที่สุดก่อน (Shortest Processing Time : SPT)

    1.3. การจัดลำดับงานแบบทำงานที่มีวันกำหนดส่งก่อน (Earliest Due Date : EDD)

2. การจัดลำดับงานผ่านเครื่องจักร 2 เครื่อง จะใช้เทคนิคการจัดลำดับงานของ Johnsom’s Rule

3. การจัดลำดับงานผ่านเครื่องจักรมากกว่า 2 เครื่อง จะใช้คอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดลำดับงาน

3. การควบคุมการผลิต และดำเนินงาน

    3.1. กระบวนการควบคุมการผลิต และการดำเนินงาน

กระบวนการควบคุมการผลิตและดำเนินงานประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ

1. การกำหนดมาตรฐาน (ต้องการอะไร)

2. การวัดผลการปฎิบัติงาน (ได้ผลอย่างไร)

3. การวิเคราะห์ผลการปฎิบัติงาน (ทำไมจึงได้ผลเช่นนั้น)

4. การแก้ไข (ควรแก้ไขอย่างไร)

    3.2. เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการผลิต และการดำเนินงาน

เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการผลิต และดำเนินงาน ประกอบด้วย

1. แผนภูมิแกนท์

2. ระบบการควบคุมปริมาณงานเข้าออก

3. รายงานต่างๆ เช่น รายงานความล่าช้าของการผลิต รายงานจำนวนของเสีย จำนวนของที่ส่งไปแก้ไข หรือซ่อมแซม รายงานการขาดแคลนวัตถุดิบ  และรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

_________________จบ__________________________

1. การพยากรณ์เพื่อการผลิต และดำเนินงาน1.1. ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของการพยากรณ์1.2. วิธีการพยากรณ์2. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน2.1. แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนการผลิต และดำเนินงาน2.2. กลยุทธ์การวางแผนการผลิตรวม2.3. วิธีการวางแผนการผลิตรวม และตารางการผลิตหลัก2.4. การจัดลำดับงาน3. การควบคุมการผลิต และดำเนินงาน3.1. กระบวนการควบคุมการผลิต และการดำเนินงาน3.2. เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการผลิต และการดำเนินงาน_______________________________________________________วิธีการวางแผนการผลิตรวมด้วยวิธีการเปรียบเทียบต้นทุน ซึ่งแผนกลยุทธ์ที่ใช้อาจเป็นดังนี้1. กลยุทธ์การผลิตในระดับสม่ำเสมอ2. กลยุทธ์การผลิตตามความต้องการของตลาดตารางการผลิตหลักกระบวนการแปลงแผนการผลิตรวมออกเป็นแผนสำหรับการผลิตสินค้าแต่ละชนิดสำหรับแต่ละสัปดาห์ เรียกว่าการแปลงแผนการผลิตรวม ซึ่งผลที่ได้คือตารางการผลิตหลัก ซึ่งเป็นแผนการผลิตซึ่งแสดงถึงปริมาณและเวลาที่ทำการผลิตสินค้าแต่ละชนิด


พยากรณ์ได้อย่างไร (วิทย์ ป.1 เล่ม 1 หน่วย 1 บท 1)


วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.1 เล่ม 1
บทที่ 1 เรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ 4 พยากรณ์ได้อย่างไร
เอกสารประกอบการเรียน กิจกรรมที่ 4 พยากรณ์ได้อย่างไร
1. แบบบันทึกผลการทำกิจกรรม (https://drive.google.com/file/d/1C9JyOUpA77L54Cf0G3yDY_9bldTaL/view?usp=sharing)
2. แบบบันทึกกิจกรรม ฉันรู้อะไร (https://drive.google.com/file/d/1ffigCRJK2Jty_E9PWlvSW6hLbuxunHO5/view?usp=sharing)
วีดิทัศน์นี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ Project 14 ของ สสวท.
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://proj14.ipst.ac.th/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

พยากรณ์ได้อย่างไร (วิทย์ ป.1 เล่ม 1 หน่วย 1 บท 1)

สอนทำ Data Mining ด้วย Excel: การพยากรณ์อนุกรมเวลา (Time series forecasting) ตอนที่ 1


ทดสอบ Microsoft Time Series Algorithm ที่ใช้ในการพยากรณ์อนุกรมเวลา (Time series forecasting) โดยใช้ SQL Server Data Mining Addin สำหรับ Excel
เนื้อหาจะประกอบไปด้วยการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาโดยจำลองข้อมูลเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1) เชิงเส้น (linear)
2) ไม่เชิงเส้น (nonlinear)
3) สุ่ม (random)

สอนทำ Data Mining ด้วย Excel: การพยากรณ์อนุกรมเวลา (Time series forecasting) ตอนที่ 1

การพยากรณ์ด้วย Excel เบื้องต้น


การพยากรณ์ด้วย Excel เบื้องต้น Moving Average, Weight Moving Average, Exponential Weight Moving Average และการหาค่าความคลาดเคลื่อน MAD, MSE, MPAE

การพยากรณ์ด้วย Excel เบื้องต้น

การพยากรณ์การผลิต


การพยากรณ์เป็นสิ่งที่ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการวางแผนเพื่อตัดสินใจ
หลักการพยากรณ์
การพยากรณ์สามารถผิดพลาดได้
การพยากรณ์ยอดขายสินค้าบางอย่างไม่สามารถพยากรณ์ได้ในระยะยาว
การพยากรณ์สินค้าจะต้องมีการเคลื่อนไหว
การพยากรณ์ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
การพยากรณ์ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) เป็นวิธีพยากรณ์ความต้องการโดยอาศัยข้อมูลในอดีตมาพยากรณ์ความต้องการ ค่าพยากรณ์ที่ได้อาจจะเป็นการเพิ่มหรือลดค่าก็ได้ เหมาะสำหรับการพยากรณ์ความต้องการที่มั่นคง ราบเรียบและไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

การพยากรณ์เคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก
การพยากรณ์เคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (Weight Moving Average) เป็นวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ซึ่งมีการถ่วงน้ำหนักเพื่อให้มีความถูกต้องมากขึ้น
การพยากรณ์โดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นตรง
การพยากรณ์โดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นตรง (Linear Regression) เป็นเทคนิคที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในรูปแบบเชิงเส้นตรง

การพยากรณ์การผลิต

การพยากรณ์อย่างง่าย Naive Method


การพยากรณ์อย่างง่าย Naive Method

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การพยากรณ์คือ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *