[NEW] กายวิภาคศาสตร์กระดูก01-Flip eBook Pages 1 – 32 | triceps brachii คือ – Australia.xemloibaihat

triceps brachii คือ: คุณกำลังดูกระทู้

กายวิภาคศาสตร์ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

Anatomy of Musculoskeletal System
อ.ดร.กภ.กู้เกียรติ ทุดปอ

ความหมายของกายวิภาคศาสตร์ (anatomy)
กายวิภาคศาสตร์ (anatomy) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง รูปร่าง และลักษณะของสิ่ง
มีชีวิตตลอดจนความสัมพันธ์ของโครงสร้างต่างๆเหล่านั้น คำว่า anatomy มีรากศัพท์ มาจากภาษา
กรีก 2 คำ คือ ana หมายถึง apart หรือแยกจากกันเป็นส่วนๆ และ tomy หมายถึง a cutting หรือ การ
ตัด เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันจึงหมายถึงการตัดออกเป็นส่วนๆ กายวิภาคศาสตร์มีความสำคัญต่อ
การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
มหกายวิภาคศาสตร์เชิงระบบ (systematic gross anatomy) เป็นการศึกษากายวิภาคศาสตร์ระบบ
อวัยวะของร่างกาย ที่สามารถศึกษาได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งมีทั้งหมด 11 ระบบ ดังนี้คือ
1. ระบบปกคลุมร่างกาย (integumentary system)
2. ระบบกระดูก (skeletal system)
3. ระบบกล้ามเนื้อ (muscular system)
4. ระบบประสาท (nervous system)
5. ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)
6. ระบบไหลเวียนโลหิต (circulatory system)
7. ระบบน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน (lymphatic and immune system)
8. ระบบหายใจ (respiratory system)
9. ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal หรือ digestive system)
10. ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary system)
11. ระบบสืบพันธุ์ (reproductive system)
สำหรับเนื้อหาในวิชานี้จะกล่าวเฉพาะกายวิภาคศาสตร์ของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเท่านั้น

ศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์ (anatomy terminology)
ศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์มักจะมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ผู้ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์มี

ความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์ เพราะจะช่วยทำให้การศึกษาและ
ค้นคว้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สำหรับศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์ที่อธิบายเกี่ยวกับ
ตำแหน่งและท่าทางต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญๆ มีดังนี้ คือ

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 1

รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ (anatomical position) และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

1. ตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ (anatomical position) คือ ลักษณะของร่างกายที่อยู่ในท่ายืนตรง
หน้ามองตรงไปข้างหน้า ส้นเท้าชิดกัน แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงแนบข้างลำตัว และมือทั้งสอง
ข้างแบหันไปข้างหน้า (ให้นิ้วก้อยจรดกับโคนขา นิ้วหัวแม่มือหันไปด้านนอก)

2. Anterior หรือ ventral หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านหน้า
3. Posterior หรือ dorsal หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านหลัง
4. Superior หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านบน
5. Inferior หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านล่าง
6. Longitudinal หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับตามยาว
7. Transverse หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับตามขวาง

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 2

8. Medial หมายถึง ส่วนที่ใกล้กับเส้นผ่าศูนย์กลางของร่างกายหรืออวัยวะที่เรียกว่า median line
9. Lateral หมายถึง ส่วนที่ไกลออกไปจาก median line
10. Superficial หมายถึง ส่วนที่ตื้นหรือใกล้กับผิวภายนอก
11. Deep หมายถึง ส่วนที่ลึกหรือไกลจากผิวภายนอก
12. Central หมายถึง ส่วนที่เป็นศูนย์กลาง
13. Peripheral หมายถึง ส่วนที่ไกลออกไปจากศูนย์กลาง
14. Internal หมายถึง ส่วนภายในของร่างกาย
15. External หมายถึง ส่วนภายนอกของร่างกาย
16. Visceral หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับอวัยวะภายใน
17. Parietal หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับผนังของช่องหรือโพรง
18. Proximal หมายถึง ส่วนที่อยู่ใกล้ลำตัวหรือส่วนต้นของอวัยวะ
19. Distal หมายถึง ส่วนที่อยู่ไกลจากลำตัวหรือส่วนปลายของอวัยวะ
20. Cephalad หรือ cranial หมายถึง ส่วนที่ค่อนไปทางหัว
21. Caudad หมายถึง ส่วนที่ค่อนไปทางเท้า

ระนาบของร่างกาย (body planes)

ระนาบ (planes) ของร่างกายมีด้วยกัน 3 ระนาบ ดังนี้ คือ
1. Sagittal plane หรือ median plane หมายถึง ระนาบที่แบ่งร่างกายจากด้านหน้ามาด้าน
หลัง แบ่งร่ายกายเป็นระนาบด้านซ้ายกับระนาบด้านขวา
2. Frontal plane หรือ coronal plane หมายถึง ระนาบที่แบ่งร่างกายจากด้านข้างหนึ่งไปอีก
ข้างหนึ่ง แบ่งร่างกายเป็นระนาบด้านหน้ากับระนาบด้านหลัง
3. Transverse plane หรือ horizontal plane หมายถึง ระนาบที่แบ่งร่างกายออกตามขวาง
แบ่งร่างกายเป็นระนาบด้านบนกับระนาบด้านล่าง

ส่วนต่างๆของร่างกาย
ร่างกายมนุษย์เราแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้คือ
1. ศีรษะ (head) แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้ดังนี้คือ
1.1 กระหม่อม (vertex)
1.2 หน้าผาก (frontal region)
1.3 ท้ายทอย (occiput)
1.4 ขมับ (temporal region)
1.5 หู (ears)
1.6 ใบหน้า (face) ประกอบด้วยตา (eyes) จมูก (nose) และปาก (mouth)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 3

2. คอ (neck)
3. ลำตัว (trunk) แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้ดังนี้คือ
3.1) ทรวงอก (thorax) ประกอบด้วย ส่วนหน้าอก (breast) เต้านม (mamma) หลัง (back)
และช่องอก (thoracic cavity)
3.2) ท้อง (abdomen) ประกอบด้วย สะดือ (umbilicus) สีข้าง (flank) ขาหนีบ (groin) เนื้อนูน
เป็นสัน 2 ข้างของสันหลังตอนเอว (loin หรือ lumbus) และช่องท้อง (abdominal cavity)

รูปที่ 2 แสดงระนาบของร่างกาย (body planes) 4

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

3.3) ท้องน้อย (pelvis) ประกอบด้วยช่องท้องน้อย (pelvic cavity) อวัยวะสืบพันธุ์ (genital
organ) ฝีเย็บ (perineum) ก้น (buttocks)

4. แขนและขา (limbs หรือ extremities)
4.1) แขน (upper limbs หรือ extremities) ประกอบด้วย ต้นแขน (arm) ข้อศอก (elbow)

ปลายแขน (forearm) มือ (hand) ซึ่งประกอบด้วยข้อมือ (wrist) ฝ่ามือ (palm) และ หลังมือ (back of
hand) และนิ้วมือซึ่งประกอบด้วย นิ้วหัวแม่มือ (thumb) นิ้วชี้ (index finger) นิ้วกลาง (middle
finger) นิ้วนาง (ring finger) และนิ้วก้อย (little finger)

4.2) ขา (lower limbs หรือ extremities) ประกอบด้วย ต้นขา (thigh) หัวเข่า (knee) ปลายขา
(leg) หน้าแข้ง (shin) กับน่อง (calf) ข้อเท้า (ankle) เท้า (foot) ซึ่งประกอบด้วย ส้นเท้า (heel) ฝ่าเท้า
(sole) และหลังเท้า (dorsum of foot) และ นิ้วเท้าซึ่งประกอบด้วยนิ้วหัวแม่เท้า (great toe) นิ้วเท้าอัน
ที่สอง (second toe) นิ้วเท้าอันที่สาม (third toe) นิ้วเท้าอันที่สี่ (fourth toe) และนิ้วเท้าอันที่ห้า (little
toe)

ชั้นของร่างกาย (body layers)
ร่างกายมนุษย์ตั้งแต่ชั้นนอกสุดถึงชั้นในสุด แบ่งออกได้ เป็น 6 ชั้น คือ
1. ชั้นนอกสุดของร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง (skin)
2. ชั้นพังผืด (fascia) เป็นชั้นที่ต่อจากผิวหนัง
3. ชั้นกล้ามเนื้อ (muscle layer)
4. ชั้นกระดูก (skeleton)
5. ชั้นทรวงอก (pleura)
6. ชั้นเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เป็นชั้นในสุดซึ่งเป็นที่อยู่ของอวัยวะภายในช่องท้องและ

ภายในอุ้งเชิงกราน

ช่องต่างๆ ในร่างกาย (cavities of the body)
ภายในร่างกายมีช่องต่างๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งและเป็นเสมือนเกราะป้องกันอวัยวะภายในร่างกายอยู่

เป็นจำนวนไม่น้อย โดยถ้าเราผ่าร่างกายออกตามแนวยาว (longitudinal section) คือจากศีรษะ อก
จรดสันหลัง จะพบว่าร่างกายมีช่องใหญ่ๆ อยู่ 2 ช่อง ซึ่งถูกกั้นด้วยแนวกระดูกสันหลัง (vertebral
column) ดังนี้ คือ

1. ช่องด้านหน้า (ventral cavity)
เป็นช่องที่อยู่ด้านหน้าแนวกระดูกสันหลัง มีขนาดใหญ่กว่าช่องด้านหลังมาก ไม่มีกระดูกล้อม
รอบอยู่ครบ โดยบางส่วนของฝากั้นเป็นกล้ามเนื้อ ภายในช่องด้านหน้ามีกะบังลม (diaphragm) กั้น
แบ่งเป็นช่องอก (thoracic cavity) กับช่องท้องและเชิงกราน (abdominal cavity และ pelvic cavity)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 5

รูปที่ 3 แสดงช่องต่างๆของร่างกาย (body cavities)

1.1) ช่องอก (thoracic cavity) เป็นช่องที่มีกระดูกซี่โครงเป็นเกราะป้องกัน ภายในช่องอก
ประกอบด้วย หัวใจ (heart) ปอด (lungs) หลอดลม (trachea) หลอดอาหาร (esophagus) และหลอด
เลือดใหญ่ เช่น หลอดเลือดใหญ่ที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ (Aorta) หลอดเลือดใหญ่ที่นำเลือดกลับสู่
หัวใจจากร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง (superior และ inferior vena cave)

1.2) ช่องท้อง (abdominal cavity) เป็นช่องที่อยู่ใต้กะบังลมลงมา ประกอบด้วย กระเพาะ
อาหาร (stomach) ตับ (liver) ถุงน้ำดี (gall bladder) ตับอ่อน (pancreas) ม้าม (spleen) ลำไส้เล็ก
(small intestine) ลำไส้ใหญ่ (large intestine) ไต (kidney) และหลอดไต (ureters)

1.3) ช่องท้องน้อยหรือช่องอุ้มเชิงกราน (pelvic cavity) ช่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของช่องท้องแต่อยู่
ต่ำลงมา มีกระดูกกั้นมากกว่าช่องท้อง ประกอบด้วย ส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ (sigmoid colon)
กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ช่องทวารหนัก (rectum) และอวัยวะสืบพันธุ์บางอย่าง เช่น ในผู้
หญิงมีมดลูก (uretus) ท่อมดลูก (uterine tubes) รังไข่ (ovaries) ส่วนในผู้ชายมีท่ออสุจิ (vas
deferens หรือ ductus deferens) ถุงเก็บน้ำอสุจิ (seminal vesicles) และต่อมลูกหมาก (prostate
gland)

2. ช่องด้านหลัง (dorsal cavity)
เป็นช่องที่อยู่ด้านหลังแนวกระดูกสันหลังมีกระดูกล้อมรอบอยู่โดยรอบเป็นช่องจากกระดูก
กะโหลกศีรษะและกระดูกสันหลัง แบ่งออกเป็น

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 6

2.1) ช่องที่อยู่ในกระดูกกะโหลกศีรษะ (cranial cavity) ประกอบด้วยสมอง (brain) และช่อง
เล็กๆ อีก 3 ช่อง คือ ช่องเบ้าตา (orbital cavity) มีลูกตา ประสาทตา กล้ามเนื้อตา และต่อมขับน้ำตา
ช่องจมูก (nasal cavity) และช่องปาก (buccal cavity หรือ mouth) มีลิ้นและฟัน

2.2) ช่องที่อยู่ในกระดูกสันหลัง (spinal cavity) ช่องนี้ติดกับช่องกะโหลกศีรษะมีไขสันหลัง
(spinal cord) ทอดอยู่โดยติดกับมันสมอง ช่องนี้มีความยาวไปตลอดกระดูกสันหลัง

ระบบกระดูก
ระบบกระดูก คือ ระบบที่ประกอบกันเป็นโครงร่างของร่างกาย นอกเหนือจากกระดูก (bone) ยัง

ประกอบด้วยส่วนอื่นของร่างกาย ได้แก่ กระดูกอ่อน (cartilage) พังพืดยึดข้อต่อ (ligament) และข้อ
ต่อ (joint)

หน้าที่โดยทั่วไปของระบบกระดูก
1. เป็นโครงสร้างของร่างกายที่รองรับอวัยวะต่างๆ ให้อยู่ในตำแหน่งของอวัยวะนั้นๆ และรักษา

ไว้ซึ่งรูปร่างของร่างกาย
2. ช่วยป้องกันอันตรายหรือการกระทบกระเทือนต่างๆ ที่อาจจะมีต่ออวัยวะภายในร่างกาย
3. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็น (tendon)
4. ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะกระดูกเปรียบเสมือนคานในการเคลื่อนไหว
5. ผลิตเม็ดโลหิต
6. เป็นแหล่งสำรองแคลเซียม
7. ปกป้องหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ทอดอยู่ในแนวกระดูก

รูปแบบของการเกิดกระดูก (formation of bone)
กระดูกพัฒนามาจากมีโซเดิร์ม (mesoderm) ซึ่งเป็นส่วนกลางของเยื่อไข่ที่เกี่ยวข้องกับการ

สืบพันธุ์ การเกิดของกระดูกมี 2 รูปแบบดังนี้ คือ
1. กระดูกที่เกิดขั้นในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (intramembrane ossification) โดยเซลล์ของเนื้อเยื่อ

เกี่ยวพัน (mesenchymal cell หรือ fibroblast) จะพัฒนาเป็นเซลล์ที่จะเป็นกระดูก (osteoblasts) และ
เซลล์ที่จะเป็นกระดูกก็จะพัฒนาต่อไปเป็นกระดูกในที่สุด กระดูกที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้แก่
กระดูกกะโหลกศีรษะ

2. กระดูกที่เกิดขึ้นในกระดูกอ่อน (endochondral ossification หรือ intracartilagenosa)
กระดูกในร่างกายส่วนใหญ่ล้วนเกินขึ้นในกระดูกอ่อนทั้งสิ้น การเกิดกระดูกวิธีนี้พัฒนามาจากกลุ่มของ
กระดูกอ่อนไฮยาลีน (hyaline cartilage) และพัฒนาต่อไปเป็นกระดูกในที่สุด กระดูกที่มีส่วนปลาย
(epiphyseal plate) เป็นกระดูกอ่อนยังสามารถที่จะพัฒนาความยาวออกไปได้อีกจนกระทั่งกระดูก
อ่อนที่ส่วนปลายกลายเป็นกระดูกแข็ง (ผู้หญิงอายุ 12-14 ปี และผู้ชายอายุ 14-16 ปี) กระดูกนั้นก็จะไม่
สามารถพัฒนาความยาวของกระดูกได้อีกต่อไป

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 7

ส่วนประกอบของกระดูก

กระดูกประกอบด้วยสาร 2 ชนิด คือ

1. สารอินทรีย์ (organic matter) มีประมาณ 33% หรือ 1 ใน 3 ของน้ำหนักกระดูกเป็นส่วนที่

ทำให้กระดูกเหนียว มีความยืดหยุ่น ประกอบด้วย เซลล์กระดูก เส้นเลือดและสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้น

เช่น คอลลาเจน (collagen)

2. สารอนินทรีย์ (inorganic matter) มีประมาณ 67% หรือ 2 ใน 3 ของน้ำหนักกระดูก เป็นส่วน

ที่ทำให้กระดูกแข็ง ประกอบด้วย

แคลเซียมฟอสเฟต (calcium phosphate) ประมาณ 58%

แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ประมาณ 7%

แคลเซียมฟลูโอไรด์ (calcium fluoride) ประมาณ 1-2%

โซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride) ประมาณน้อยกว่า 1%

กระดูกเด็กจะมีส่วนที่เป็นสารอินทรีย์มากกว่า และมีสารอนินทรีย์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ

กระดูกผู้ใหญ่ ดังนั้นกระดูกเด็กจึงยึดหยุ่นมากกว่าและไม่หักง่ายเหมือนกระดูกผู้ใหญ่

ชนิดของกระดูก
กระดูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้างของกระดูก แบ่งกระดูกเป็น 2 ชนิด คือ
1. กระดูกเนื้อโปร่ง (trabecular bone หรือ spongy bone หรือ cancellous bone) เป็นกระดู

กที่มีลักษณะโครงสร้างเป็นรูๆคล้ายฟองน้ำ มักจะพบมากบริเวณปลายทั้งสองข้างของกระดูกยาว โดย
รูๆ ที่เป็นช่องว่างจะเต็มไปด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งมีบทบาทในการผลิตเม็ดโลหิต

2. กระดูกแข็ง (cortical bone หรือ compact bone) เป็นกระดูกที่แข็งแรงเพราะมีเนื้อกระดูก
มากกว่ารูหรือช่องว่าง จะพบอยู่บริเวณภายนอกของกระดูก

รูปที่ 4 แสดงกระดูกเนื้อโปร่ง (spongy bone) และ กระดูกแข็ง (compact bone) 8

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

การแบ่งส่วนต่างๆของโครงกระดูกร่างกาย
กระดูกในร่างกายของมนุษย์ในช่วงแรกเกิดนั้นมีจำนวนประมาณ 270 ชิ้นแต่เมื่อร่างกายได้

เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจำนวนกระดูกในร่างกายจะมีจำนวน 206 ชิ้น กระดูกในร่างกายของเราไม่ได้
หายไป แต่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะว่าเมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่กระดูกบางชิ้น เช่น กระดูกก้นกบหรือ
กระดูกกระเบนเหน็บจะเกิดจากการรวมตัวของกระดูกหลายชิ้นมารวมกัน กระดูกในร่างกายสามารถ
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้คือ

1. กระดูกแกน (axial skeleton) 80 ชิ้น
กระดูกแกนเป็นกระดูกที่ประกอบเป็นลำตัว และศีรษะตามแกนยาวของร่างกาย ประกอบด้วย
กระดูกที่มีลักษณะและจำนวน ดังต่อไปนี้คือ
1.1) กระดูกกะโหลกศีรษะ (cranial bones) มีลักษณะกลมคล้ายลูกมะพร้าว มีหน้าที่ป้องกัน
สมอง กระดูกกะโหลกศีรษะในเด็กแรกเกิดจะยังไม่เจริญเต็มที่ โดยมีบางส่วนยังคงเป็นเมมเบรนอยู่ซึ่ง
เรียกว่ากระหม่อม (fontanelle) กระหม่อมมีส่วนหน้าและส่วนหลัง ส่วนหน้าจะปิดสนิทเมื่อเด็กมีอายุ
ประมาณ 18 เดือน และส่วนหลังจะปิดสนิทเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ ระหว่างกระดูกกะโหลก
ศีรษะจะดูมีลักษณะเป็นรอยเรียกว่า ซูเชอร์ (suture)

รูปที่ 5 แสดงกระดูกกะโหลกศีรษะ (cranial bones) ทั้ง 8 ชิ้น

กระดูกศีรษะมีจำนวน 8 ชิ้น ดังนี้ คือ จำนวน 1 ชิ้น
1.1.1) กระดูกหน้าผาก (frontal bone) จำนวน 2 ชิ้น
1.1.2) กระดูกด้านข้างกะโหลกศีรษะ (parietal bones)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 9

1.1.3) กระดูกขมับ (temporal bones) จำนวน 2 ชิ้น

1.1.4) กระดูกท้ายทอย (occipital bone) จำนวน 1 ชิ้น

1.1.5) กระดูกรูปผีเสื้อ (sphenoid bone) จำนวน 1 ชิ้น

1.1.6) กระดูกส่วนบนช่องจมูก (ethmoid bone) จำนวน 1 ชิ้น

1.2) กระดูกหน้า (facial bones) มีจำนวน 14 ชิ้น เป็นกระดูกที่เคลื่อนไหวไม่ได้ 13 ชิ้น

เคลื่อนไหวได้เพียงชิ้นเดียว คือ กระดูกขากรรไกรล่าง กระดูกหน้าประกอบด้วย

รูปที่ 6 แสดงกระดูกหน้า (facial bones) ทั้ง 14 ชิ้น

1.2.1) กระดูกสันจมูก (nasal bones) จำนวน 2 ชิ้น
1.2.2) กระดูกตรงกลางจมูกภายใน (vomer bones) จำนวน 1 ชิ้น
1.2.3) กระดูกข้างในจมูก (inferior nasal concha) จำนวน 2 ชิ้น
1.2.4) กระดูกข้างถุงน้ำตา (lacrimal bones) จำนวน 2 ชิ้น
1.2.5) กระดูกโหนกแก้ว (zygomatic boes) จำนวน 2 ชิ้น
1.2.6) กระดูกเพดาน (palatine bones) จำนวน 2 ชิ้น
1.2.7) กระดูกขากรรไกรบน (maxillary bones) จำนวน 2 ชิ้น
1.2.8) กระดูกขากรรไกรล่าง (mandible bone) จำนวน 1 ชิ้น

1.3) กระดูกโคนลิ้น (hyoid bone) มีจำนวน 1 ชิ้น เป็นกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายเกือกม้าอยู่
บริเวณโคนลิ้น ด้านหน้าของคอ เหนือลูกกระเดือก เป็นกระดูกชิ้นเดียวของร่างกายที่ไม่ได้ติดกับ
กระดูกชิ้นใดๆเลย

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 10

รูปที่ 7 แสดงกระดูกโคนลิ้น (hyoid bone)
1.4) กระดูกหู (auditory ossicles) มีจำนวน 6 ชิ้น อยู่ในหูชิ้นกลางดังนี้ คือ

รูปที่ 8 แสดงกระดูกหู (auditory ossicles) ได้แก่ 1) กระดูกรูปค้อน (malleus) 2) กระดูกรูปทั่ง
(incus) และ 3) กระดูกรูปโกลน (stapes) ในหูชั้นกลาง

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 11

1.4.1) กระดูกรูปค้อน (malleus) จำนวน 2 ชิ้น
1.4.2) กระดูกรูปทั่ง (incus) จำนวน 2 ชิ้น
1.4.3) กระดูกรูปโกลน (stapes) จำนวน 2 ชิ้น

1.5) กระดูกสันหลัง (vertebral columm หรือ vertebrae) ในวัยเด็กมีจำนวน 33 ชิ้น ในวัย
ผู้ใหญ่มีจำนวน 26 ชิ้น เนื่องจากในวัยเด็กกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บมีจำนวน 5 ชิ้น แต่พอเป็น
ผู้ใหญ่จะรวมกันเป็นชิ้นเดียว และกระดูกสันหลังส่วนก้นกบในวัยเด็กมีจำนวน 4 ชิ้น แต่พอเป็นผู้ใหญ่
จะรวมกันเป็นชิ้นเดียวเช่นกัน กระดูกสันหลังมีลักษณะโค้งประกอบด้วยกระดูกหลายๆ ชิ้น โดยแต่ละ
ชิ้นจะมีหมอนรองกระดูก (intervertebral discs) รองรับน้ำหนักอยู่ กระดูกสันหลังมีหน้าที่ช่วยรองรับ
ศีรษะและลำตัว ช่วยในการเคลื่อนไหว และช่วยป้องกันไขสันหลังที่ทอดอยู่ภายในอีกด้วย กระดูกสัน
หลังแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้คือ

1.5.1) กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical vertebrae) 7 ชิ้น
1.5.2) กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebrae) 12 ชิ้น

1.5.3) กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar vertebrae) 5 ชิ้น
1.5.4) กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacral
vertebrae)
5 ชิ้นในเด็ก และ 1 ชิ้นในผู้ใหญ่
1.5.5) กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (coccyx vertebrae) 4
ชิ้นในเด็ก และ 1 ชิ้นในผู้ใหญ่ ปลายของกระดูกสันหลัง
ส่วนก้นกบของผู้ชายจะชี้ไปทางด้านหน้าของร่างกายส่วน
ของผู้หญิงจะชี้ลงล่าง

รูปที่ 9 แสดงกระดูกสันหลังผู้ใหญ่ (vertebral columm)
26 ชิ้น ประกอบด้วย
กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical vertebrae) 7 ชิ้น
กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebrae) 12 ชิ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar vertebrae) 5 ชิ้น กระดูก
สันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacral vertebrae) 1 ชิ้น และ
กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (coccyx vertebrae) 1 ชิ้น

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 12

1.6) กระดูกหน้าอก (sternum) มีจำนวน 1 ชิ้น
เป็นกระดูกที่มีลักษณะแบนอยู่ตรงกลางของช่องอก เป็นที่ยึดเกาะของกระดูกซี่โครงแบ่งเป็น 3
ส่วนคือ ส่วนบนสุดเรียกว่า มานูเบรียม (manubrium) ส่วนกลางเรียกว่า บอดี้ (body) และส่วนล่าง
เรียกว่า ซิฟอยด์ (xiphoid)

รูปที่ 10 แสดงกระดูกซี่โครง

1.7) กระดูกซี่โครง (ribs) มีจำนวน 24 ชิ้นหรือ 12 คู่ กระดูกซี่โครงด้านหลังทุกอันจะต่อกับ
กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebrae) สำหรับกระดูกซี่โครงด้านหน้า 7 คู่บน แต่ละอันจะยึดติด
กับกระดูกหน้าอกโดยตรง โดยมีกระดูกอ่อนคอสทัล (costal cartilage) เป็นตัวเชื่อมเรียกกระดูก
ซี่โครง 7 คู่นี้ว่ากระดูกซี่โครงแท้ (true ribs) ส่วนกระดูกซี่โครงด้านหน้า 5 คู่ล่างไม่ได้ยึดติดกับ
กระดูกหน้าอกโดยตรงเรียกว่ากระดูกซี่โครงไม่แท้ (false ribs) โดยคู่ที่ 8 9 และ 10 จะมารวมกันที่
กระดูกซี่โครงคู่ที่ 7 ส่วนกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 ปลายด้านหน้าไม่ได้ยึดกับกระดูกใดๆ เลย เรียก
ว่า กระดูกซี่โครงลอย (floating ribs)

2. กระดูกที่ประกอบเป็นแขนและขา (appendicular skeleton) 126 ชิ้น
กระดูกที่ประกอบเป็นแขนและขาประกอบด้วย กระดูกแขน กระดูกขาและกระดูกที่ช่วยยึดแขน
และขาให้ติดกับกระดูกแกน กระดูกที่ประกอบเป็นแขนและขาประกอบด้วยกระดูกที่มีลักษณะและ
จำนวน ดังต่อไปนี้ คือ

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 13

2.1) กระดูกไหล่ (pectoral girdle) เป็นกระดูกที่ยึดแขนให้ติดกับกระดูกแกน มีหน้าที่รองรับ
แขน และช่วยในการเคลื่อนไหวของแขน กระดูกไหล่มีกระดูกจำนวน 4 ชิ้น ดังนี้คือ

2.1.1) กระดูกไหปลาร้า (clavicle) มีจำนวน 2 ชิ้น อยู่ด้านหน้าเหนือกระดูกซี่โครงคู่ที่ 1 ปลาย
ด้านหนึ่งยึดติดกับกระดูกหน้าอกส่วนปลายอีกด้านหนึ่งยึดติดกับกระดูกสะบัก

2.1.2) กระดูกสะบัก (scapula) มีจำนวน 2 ชิ้น มีลักษณะแบนเป็นรูปสามเหลี่ยมแต่ละชิ้นอยู่ด้าน
หลังทรวงอก ระดับซี่โครงคู่ที่ 2 และคู่ที่ 7 ผิวด้านหลังของกระดูกสะบักมีสันนูนตามขวาง เรียกว่า ส
ไปน์ (spine) และตรงส่วนปลายของสไปน์จะมีลักษณะเป็นปุ่มเรียกว่า อะโครเมียน โพรเซส
(acromion process) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยยึดกระดูกไหปลาร้า และกล้ามเนื้อบริเวณแขนและอก

รูปที่ 11 แสดงกระดูกไหล่ (pectoral girdle)

2.2) กระดูกแขน (upper extremity bones) มีจำนวน 60 ชิ้น แบ่งเป็นข้างละ 30 ชิ้น ประกอบ
ด้วย

2.2.1) กระดูกต้นแขน (humerus) เป็นกระดูกที่ใหญ่และยาวที่สุดของกระดูกแขนมีข้างละ 1 ชิ้น
รวมเป็น 2 ชิ้น

2.2.2) กระดูกปลายแขน มี 4 ชิ้น ข้างละ 2 ชิ้นดังนี้คือ
2.2.2.1) กระดูกปลายแขนอันนอก (radius) ตั้งอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือสั้นกว่ากระดูกปลายแขน
อันใน มีข้างละ 1 ชิ้น

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 14

2.2.2.2) กระดูกปลายแขนอันใน (ulna) ตั้งอยู่ทางด้านนิ้วก้อยยาวกว่ากระดูกปลายแขนอันนอก
มีข้างละ 1 ชิ้น

2.2.2.3) กระดูกข้อมือ (carpal bones) เป็นกระดูกเล็กๆ มีข้างละ 8 ชิ้นเรียงเป็น 2 แถว แถวละ 4
ชิ้น ประกอบด้วย scaphoid bone, lunate bone, triquetrum, pisiform bone, trapezium,
trapezoid bone, capitate bone และ hamate bone

2.2.2.4) กระดูกฝ่ามือ (metacarpal bones) เป็นกระดูกรูปร่างคล้ายทรงกระบอกมีข้างละ 5 ชิ้น
2.2.2.5) กระดูกนิ้วมือ (phalanges) แต่ละข้างมีจำนวน 14 ชิ้น โดยแต่ละนิ้วมี 3 ชิ้น ยกเว้นนิ้วหัว
แม่มือมี 2 ชิ้น

รูปที่ 12 แสดงกระดูกแขนและมือ (bones of upper extremity)

2.3) กระดูกเชิงกราน (pelvic girdle) ประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hip bones) 2 ชิ้น เชื่อมต่อ
เข้าด้วยกันที่บริเวณด้านหน้า ส่วนด้านหลังกระดูกสะโพกแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ
สำหรับกระดูกสะโพกนั้นประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ อิลเลียม (ilium) เป็นกระดูกชิ้นใหญ่สุดใน
จำนวนกระดูกทั้ง 3 ส่วน อิสเคียม (ischium) เป็นกระดูกส่วนล่างสุดของกระดูกสะโพก บริเวณที่เรานั่ง
ทับและ พิวบิส (pubis) เป็นกระดูกทางตอนล่างค่อนไปด้านหน้าอยู่เหนือบริเวณอวัยวะเพศขึ้นมา

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 15

กระดูกเชิงกรานนอกจากจะประกอบด้วยกระดูกสะโพกแล้วยังเชื่อมต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ
และก้นกบอีกด้วย อุ้งเชิงกรานของผู้หญิงจะกว้างกว่าของผู้ชายและมีลักษณะกลมส่วนอุ้งเชิงกรานของ
ชายจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือหัวใจ

2.4) กระดูกขา (lower extremity bones) มีจำนวน 60 ชิ้น แบ่งเป็นข้างละ 30 ชิ้น ประกอบด้วย
2.4.1) กระดูกต้นขา (femur) เป็นกระดูกชิ้นที่ยาวที่สุดของร่างกาย มีข้างละ 1 ชิ้น

รูปที่ 13 แสดงกระดูกขาและเท้า (bones of lower extremity)

2.4.2) กระดูกสะบ้า (patella) มีลักษณะแบนเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้านหน้าของเข่า พัฒนามา
จากเอ็น (sesamoid bone) มีข้างละ 1 ชิ้น

2.4.3) กระดูกปลายขา มี 4 ชิ้น ข้างละ 2 ชิ้นดังนี้ คือ
2.4.3.1) กระดูกหน้าแข้ง (tibia) อยู่ด้านในของปลายขา มีข้างละ 1 ชิ้น

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 16

2.4.3.2) กระดูกน่อง (fibula) เป็นกระดูกเรียวยาวเล็กกว่ากระดูกหน้าแข้งอยู่ด้านนอกของปลาย
ขาขนานกับกระดูกหน้าแข้งมีข้างละ 1 ชิ้น

2.4.4) กระดูกข้อเท้า (tarsals bones) มีข้างละ 7 ชิ้น น้อยกว่ากระดูกข้อมือข้างละ 1 ชิ้น แต่มี
ขนาดใหญ่กว่าข้อมือ

2.4.5) กระดูกฝ่าเท้า (metatarsal bones) มีลักษณะคล้ายกระดูกฝ่ามือ มีข้างละ 5 ชิ้น แต่มี
ลักษณะที่พิเศษคือ มีส่วนโค้ง (foot arch) ซึ่งช่วยในการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง

2.4.6) กระดูกนิ้วเท้า (phalanges) มีข้างละ 14 ชิ้น โดยแต่ละนิ้วมี 3 ชิ้น ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้ามี 2
ชิ้น มีลักษณะสั้นกว่านิ้วมือ

3. ข้อต่อ (joints)
ข้อต่อเป็นส่วนที่เกิดจากกระดูกกับกระดูกมาเชื่อมต่อกันโดยมีผังผืดช่วยยึดกระดูกให้อยู่ติด
กัน มีบทบาทช่วยในการเคลื่อนไหว ช่วยประกอบให้กระดูกต่างๆ เป็นโครงร่างของร่างกายและช่วย
ป้องกันการเสียดสีระหว่างกระดูก ข้อต่อบางอันจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ (synovial fluid) อยู่คอยหล่อ
ลื่น การใช้ข้อต่อเป็นประจำจะช่วยให้น้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อไม่แห้ง ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ แต่
ถ้าขาดการใช้หรือขาดการเคลื่อนไหวข้อต่อจะทำให้น้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อหมดไปอันจะทำให้เกิดอาการ
ข้อต่อยึดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
การเคลื่อนไหวของข้อต่อมีลักษณะและการเรียกลักษณะของการเคลื่อนไหวต่างๆ ดังนี้
1. การงอ (flexion) คือ การทำให้ปลายกระดูกข้างหนึ่งเข้าหากระดูกอีกด้านหนึ่ง โดยมุม
ระหว่างข้อต่อลดลง เช่น งอข้อไหล่ งอข้อเข่า
2. การเหยียด (extension) คือ การเคลื่อนไหวที่ตรงข้ามกับการงอ

รูปที่ 14 แสดงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ การงอ (flexion) ข้อไหล่ ข้อเข่าและกระดูกสันหลัง และ
การเหยียด (extension) ข้อเข่าและกระดูกสันหลัง

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 17

3. การกาง (abduction) คือ การเคลื่อนไหวในลักษณะที่ออกจากลำตัวหรือเส้น middle line
เช่นการกางแขน และกางขา

4. การหุบ (adduction) คือ การเคลื่อนไหวตรงข้ามกับการกาง
5. การหมุนควง (circumduction)
6. การหมุน (rotation) คือ การเคลื่อนไหวรอบแกนใดแกนหนึ่ง

รูปที่ 15 แสดงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ การกาง-การหุบ (abduction-adduction) และการการ
หมุนควง (circumduction) ข้อไหล่ และ การหมุน (rotation) คอและข้อสะโพก

7. การคว่ำมือ (pronation)
8. การหงายมือ (supination)
9. การเปิดข้างเท้าด้านใน (inversion)
10. การเปิดข้างเท้าด้านนอก (eversion)
11. การกดฝ่าเท้าลง (plantar flexion)
12. การยกหลังเท้าขึ้น (dorsi flexion)
13. การยกขึ้นของส่วนต่างๆ (elevation) เช่น ยกกระดูกสะบักขึ้น
14. การกดลงของส่วนต่างๆ (depression)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 18

รูปที่ 16 แสดงการคว่ำมือ-การหงายมือ (pronation-supination) และ การเปิดข้างเท้าด้านใน-นอก
(inversion-eversion) (แถวกลาง) การกดฝ่าเท้าลง-การยกหลังเท้าขึ้น (plantar flexion-
dorsiflexion) และ การยกขึ้น-การกดลง (elevation-depression) ของสะบัก

กายวิภาคศาสตร์ของกล้ามเนื้อ (anatomy of muscles)
โดยทั่วไปกล้ามเนื้อมัดหนึ่งจะมี 2 ปลาย ปลายด้านหนึ่งจะยึดติดกับส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ คือ

จะอยู่นิ่งเมื่อกล้ามเนื้อมัดนั้นมีการหดตัว เรียกปลายด้านนี้ว่า จุดเกาะต้น (origin) ส่วนปลายอีกด้าน
หนึ่งจะยึดติดกับส่วนที่เคลื่อนไหวได้ คือจะเคลื่อนที่เมื่อกล้ามเนื้อมัดนั้นมีการหดตัวเรียกปลายด้านนี้
ว่า จุดเกาะปลาย (insertion) และเมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัวบริเวณ insertion จะถูกดึงเข้าหาบริเวณ
origin กล้ามเนื้อบางมัดมี origin หรือ insertion มากกว่าหนึ่งแห่ง เช่น กล้ามเนื้อ biceps brachii

การตั้งชื่อกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อในร่างกายมีจำนวนถึง 792 มัด ดังนั้นการที่จะเรียนรู้และจดจำชื่อกล้ามเนื้อมัดต่างๆ

ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมายนี้ได้ จำเป็นต้องมีหลักในการตั้งชื่อกล้ามเนื้อขึ้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้ คือ
1. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามทิศทางของเส้นใยกล้ามเนื้อ (direction of muscle fibers) เช่น กล้ามเนื้อที่มี
เส้นใยกล้ามเนื้อตรงหรือขนานกับแนวกลางของลำตัว เรียกว่า เร็คตัส (rectus) กล้ามเนื้อที่มีเส้นใจ
กล้ามเนื้อขวางหรือตั้งฉากกับแนวกลางของลำตัวเรียกว่า แทรนซเวอซ (transverse) และกล้ามเนื้อที่
มีเส้นใยกล้ามเนื้อเฉียงกับแนวกลางลำตัวเรียกว่า อ๊อบลิค (obligue)
2. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามตำแหน่งของกล้ามเนื้อ (location) เช่น กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณกระดูกซี่โครง
เรียกว่า อินเตอร์คอสตัล (intercostal) กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาเรียกว่า ฟีมอริส (femoris) และ
กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณแขนเรียกว่า เบรคิไอ (brachii)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 19

รูปที่ 17 แสดงจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) ของกล้ามเนื้อ biceps brachii

3. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามขนาดของกล้ามเนื้อ (size) เช่นกล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เรียกว่า แม็กซิมัส
(maximus) กล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า มินิมัส (minimus) กล้ามเนื้อที่มีขนาดยาว เรียกว่า
ลองกัส (longus) และขนาดสั่นเรียกว่า เบรวิส (brevis)
4. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามรูปร่างของกล้ามเนื้อ (shape) เช่นกล้ามเนื้อที่มีรูปร่างสามเหลี่ยม เรียกว่า เดล
ทอยด์ (deltoid) กล้ามเนื้อที่มีรูปร่างขนมเปียกปูนหรือสี่เหลี่ยมคาบหมูเรียกว่า ทราพิเซียส
(trapezius) และกล้ามเนื้อที่มีรูปร่างเป็นรูปฟันเลื่อยเรียกว่า เซอร์เรทัส (serratus)
5. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ (action) เช่นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบแขนและ
ขาหาลำตัวเรียกว่า แอดดักเตอร์ (adductor) กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กางแขนและขาออกจากลำตัวเรียก
ว่า แอบดักเตอร์ (abductor) กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่งอเรียกว่า เฟลกเซอร์ (flexor) และทำหน้าที่เหยียด
เรียกว่า เอกเทนเซอร์ (extensor)
6. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามตำแหน่งหรือจุดที่กล้ามเนื้อมัดนั้นไปยึดเกาะ (origin and insertion) เช่น
กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid จะมีจุดยึดเกาะส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (origin) ที่กระดูก sternum
และกระดูก clavicle และมีจุดยึดเกาะส่วนที่เคลื่อนไหวได้ (insertion) ที่ mastoid process ของ
กระดูก temporal
7. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามจำนวนหัวของมัดกล้ามเนื้อที่ยึดกับจุดเกาะต้น (number of heads of origin)
เช่นกล้ามเนื้อไบเซปส์ (biceps) มีจำนวนหัวของมัดกล้ามเนื้อ 2 หัว กล้ามเนื้อไตรเซปส์ (triceps) มี 3
หัว และ ควอไดรเซปส์ (quadriceps) มี 4 หัว ที่ยึดกับจุดเกาะต้น

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 20

กล้ามเนื้อมัดต่างๆของร่างกาย
เนื่องจากกล้ามเนื้อของร่างกายมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงจะขออธิบายเฉพาะกล้ามเนื้อมัดที่

สำคัญๆ เท่านั้น โดยจะแบ่งการศึกษาตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้คือ

1. กล้ามเนื้อศีรษะ (muscles of head) ประกอบด้วย
1.1) กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า (muscles of facial expression) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ชั้นใต้
ผิวหนัง ดังนั้นเมื่อเกิดการหดตัวจึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผิวหนังกล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ที่สำคัญ
ได้แก่

กล้ามเนื้อออร์บิคิวลาริส ออคิวไล (orbicularis oculi muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็น
รูปวงแหวนอยู่รอบขอบตา มีหน้าที่ช่วยในการหลับตาหรือกระพริบตา

กล้ามเนื้อออร์บิคิวลาริส ออริส (orbicularis oris muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็นรูป
วงแหวนอยู่รอบปาก มีหน้าที่ช่วยในการปิดปากหรือเม้นริมฝีปาก

กล้ามเนื้อฟรอนตัล (frontal muscles) เป็นกล้ามเนื้อที่ปกคลุมบริเวณหน้าผาก มีหน้าที่ในการ
ยักคิ้วหรือทำให้หน้าผากย่น

รูปที่ 18 แสดงกล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร และกล้ามเนื้อคอ

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 21

1.2) กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร (muscles of mastication) กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่
กล้ามเนื้อแม็สเซเตอร์ (masseter muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะแบนสัมผัสได้บริเวณข้าง

หูขณะบดฟันมีหน้าที่ในการยกขากรรไกรล่างขึ้น เพื่อหุบปากหรือบดเคี้ยว
กล้ามเนื้อเท็มโพราลิส (temporalis muscle) เป็นกล้ามเนื้ออยู่ที่บริเวณขมับ มีหน้าที่ในการ

ยกขากรรไกรล่างขึ้น ทำให้หุบปาก
กล้ามเนื้อบัคซิเนเตอร์ (buccinator muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณผนังแก้ว มีหน้าที่ใน

การกดแก้ม และดึงมุมปากเวลาดูดหรือเป่า
2. กล้ามเนื้อคอ (muscles of the neck) ประกอบด้วย

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสทอยด์ (stermocleidomastoid muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่
บริเวณด้วนข้างลำคอ ถ้าหดตัวทั่ง 2 ข้างจะทำให้ศีรษะก้มลงมาทางด้านหน้า แต่ถ้าหดตัวข้างเดียว
ศีรษะจะเอียงไปด้านตรงกันข้าม เช่นถ้ากล้ามเนื้อข้างขวาหดตัวศีรษะจะเอียงไปข้างซ้าย

กล้ามเนื้อทราพิเซียส (trapezius muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม
อยู่บริเวณด้านบนของคอและหลัง มีหน้าที่ช่วยยกไหล่ขึ้นข้างบน รั้งสะบักและศีรษะไปข้างหลัง

กล้ามเนื้อพลาติสมา (platysma muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณลำคอด้านหน้า มีหน้าที่ดึง
มุมปากลงขณะเกร็งคอ

3. กล้ามเนื้อลำตัว (muscles of the trunk) ประกอบด้วย
3.1) กล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า (muscles of chest) ประกอบด้วย

กล้ามเนื้อเพ็คโทราลิส เมเจอร์ (pectoralis major muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ปกคลุม
อยู่บริเวณด้านอก มีหน้าที่หุบและหมุนแขนเข้าข้างใน

กล้ามเนื้อเซอร์เรตัส แอนทีเรีย (serratus anterior muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่และโค้ง
อยู่บริเวณด้านข้างทั้งสองของอก มีหน้าที่ช่วยยึดสะบัก ดึงสะบักไปข้างหน้า

รูปที่ 19 แสดงกล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า (muscles of chest) 22

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

3.2) กล้ามเนื้อลำตัวด้านหลัง (muscles of back) ประกอบด้วย
กล้ามเนื้อลาติสสิมุส ดอร์ไซ (latissimus dorsi muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ ปกคลุมอยู่

บริเวณด้านล่างของหลังทั้งหมด มีหน้าที่ช่วยดึงต้นแขนเข้าหาลำตัวไปข้างหลัง

รูปที่ 20 แสดงกล้ามเนื้อลำตัวด้านหลัง (muscles of back)

3.3) กล้ามเนื้อท้อง (muscles of abdomen) ประกอบด้วย
กล้ามเนื้อเอ๊กซ์เทอร์นัล แอบโดมินอล อ๊อบลิค (external abdominal oblique muscle) เป็น

กล้ามเนื้อชั้นนอกสุดและแข็งแรงที่สุดของกล้ามเนื้อท้อง มีหน้าที่หมุนลำตัวไปด้านตรงข้าม
(contralateral trunk rotation)

กล้ามเนื้ออินเทอร์นัล แอบโดมินอล อ๊อบลิค (internal abdominal oblique muscle) เป็น
กล้ามเนื้อท้อง ชั้นกลาง อยู่ใต้กล้ามเนื้อ external abdominal oblique มีหน้าที่หมุนลำตัวไปด้าน
เดียวกันกับกล้ามเนื้อ (ipsilateral trunk rotation) เกร็งผนังช่องท้อง ช่วยในการหายใจออก และ
ป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้เป็นอันตราย

กล้ามเนื้อเร็คตัส แอบโดมินิส (rectus abdominis muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะแบนยาว
ทอดตัวเป็นปล้องๆ ขนานกับแนวกลางลำตัวบริเวณกลางหน้าท้อง มีหน้าที่ช่วยงอลำตัว (trunk
flexion)

กล้ามเนื้อทรานเวอร์ซัส แอบโดมินิส (transversus abdominis muscle) เป็นกล้ามเนื้อท้อง
มัดลึกคือถัดสุด มีหน้าที่ เกร็งผนังช่องท้อง และช่วยในการหายใจออก

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 23

รูปที่ 21 แสดงกล้ามเนื้อท้อง (muscles of abdomen)

3.4) กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (muscles of respiration) ประกอบด้วย
กล้ามเนื้อไดอาแฟรม (diaphragm muscle) เป็นกล้ามเนื้อกะบังลม มีรูปร่างโค้ง คล้ายรูป

โดมอยู่ระหว่างช่องอกกับช่องท้อง ถ้ากะบังลมหดตัวโดมของกะบังลมจะแบนลงทำให้ปริมาตรช่องอก
เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการหายใจเข้า แต่ถ้ากะบังลมคลายตัวโดมจะสูงขึ้นทำให้ปริมาตรช่องอกลดลง จะ
ทำให้เกิดการหายใจออก

กล้ามเนื้อเอ็กซ์เทอร์นัล อินเตอร์คอสตอล (external intercostals muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่
ระหว่างช่องกระดูกซี่โครงทุกช่อง เกาะจากขอบล่างของกระดูกซี่โครงอันบนลงมายังขอบบนของ
กระดูกซี่โครงอันล่างของช่องซี่โครงนั้นๆ เส้นใยกล้ามเนื้อเฉียงไปทางด้านหน้ามีหน้าที่ช่วยในการ
หายใจเข้าโดยการยกกระดูกซี่โครงขึ้น ทำให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้น

กล้ามเนื้อสกาลีน (scalene muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากกระดูกคอลงมาที่ขอบบนของ
กระดูกซี่โครงอันบนลงมายังขอบบนของกระดูกซี่โครงชิ้นที่ 1 และ 2 มีหน้าที่ช่วยในการหายใจเข้า
โดยการยกกระดูกซี่โครงขึ้น ทำให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เช่นกัน

4. กล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน (muscles of the pelvic floor)
กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แอไน (levator ani muscles) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเล็ก 3 มัด ได้แก่

กล้ามเนื้อไอลิโอคอคซิเจียส (iliococcygeus muscle) กล้ามเนื้อพิวโบคอคซิเจียส (pubococcygeus
muscle) และ กล้ามเนื้อพิวโบเร็คตาลิส (puborectalis muscle) ทำหน้าที่รองรับอวัยวะภายในอุ้ง
เชิงกราน

กล้ามเนื้อคอคซีเจียส (coccygeus muscle) ทำหน้าที่ ดึงกระดูกก้นกบกลับสู่ตำแหน่งปกติหลัง
จากขับถ่ายอุจจาระ

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 24

รูปที่ 22 แสดงกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (muscles of respiration)

รูปที่ 23 แสดงกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน (muscles of the pelvic floor) 25

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

5. กล้ามเนื้อแขน (muscles of the upper extremities)
5.1) กล้ามเนื้อหัวไหล่ (muscles of shoulder girdle) ประกอบด้วย

กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (deltoid muscle) มีหน้าที่กางแขนออก
กล้ามเนื้อซูพราสไปเนตัส (supraspinatus muscle) มีหน้าที่ช่วยในการเริ่มกางแขนออก
กล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major muscle) มีหน้าที่หุบแขนเข้า
กล้ามเนื้อเทเรส ไมเนอร์ (teres minor muscle) มีหน้าที่หมุนหัวไหล่ออก
กล้ามเนื้ออินฟราสไปเนตัส (infraspinatus muscle) มีหน้าที่หมุนหัวไหล่ออก
กล้ามเนื้อซับสแคพูลาริส (subscapularis muscle) มีหน้าที่หมุนหัวไหล่เข้า

รูปที่ 24 แสดงกล้ามเนื้อหัวไหล่ด้านหลัง (muscles of shoulder girdle)

รูปที่ 25 แสดงกล้ามเนื้อหัวไหล่กล้ามเนื้อซับสแคพูลาริส (subscapularis muscle) 26

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

5.2) กล้ามเนื้อต้นแขน (muscles of the arm) ประกอบด้วย
กล้ามเนื้อไบเซปส์ เบรคิไอ (biceps brachii muscle) มีหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ
กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis muscle) มีหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ
กล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis muscle) มีหน้าที่ช่วยในการงอข้อศอก
กล้ามเนื้อไทรเซปส์ เบรคิไอ (triceps brachii muscle) มีหน้าที่เหยียดข้อศอก

รูปที่ 26 แสดงกล้ามเนื้อต้นแขน (muscles of the arm)

5.3) กล้ามเนื้อปลายหน้าแขน (muscles of the forearm : anterior group) ประกอบด้วย
กล้ามเนื้อโพรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres muscle) มีหน้าที่คว่ำมือ
กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ คาร์ปาย เรเดียลิส (flexor carpi radialis muscle) มีหน้าที่งอข้อมือ
กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ คาร์ปาย อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle) มีหน้าที่งอข้อมือ
กล้ามเนื้อพาลมาริส ลองกัส (palmaris longus muscle) มีหน้าที่งอข้อมือ
กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ ดิจิทอรุม โพรฟันดัส (flexor digitorum superficialis muscle) มีหน้าที่

งอนิ้วมือ
5.4) กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง (muscle of the forearm : posterior group) ประกอบด้วย

กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ คาร์ปาย เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus
muscle) มีหน้าที่เหยียดข้อมือ

กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ คาร์ปาย อัลนาริส (extensor carpi ulnaris muscle) มีหน้าที่เหยียด
ข้อมือ

กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (extensor digitorum muscle) มีหน้าที่เหยียดนิ้วมือ

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 27

รูปที่ 27 แสดงกล้ามเนื้อปลายแขน (muscles of the forearm)

5.5) กล้ามเนื้อมือ (muscles of the hand) เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ สั้นๆ ทำหน้าที่ช่วยในการ
เคลื่อนไหวของมือได้อย่างละเอียดอ่อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ ดังนี้คือ

รูปที่ 28 แสดงกล้ามเนื้อฝ่ามือ (thenar and hypothenar muscles) 28

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

กล้ามเนื้อทีนาร์ (thenar muscle) เป็นกล้ามเนื้อมือที่ช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ
กล้ามเนื้อไฮโปทีนาร์ (hypothenar muscle) เป็นกล้ามเนื้อมือที่ช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วก้อย
กล้ามเนื้ออินเตอร์รอชชิไอ (interossei muscle) มีหน้าที่ช่วยเคลื่อนไหวนิ้ว

รูปที่ 29 แสดงกล้ามเนื้อภายในฝ่ามือ (interossei muscles)

6. กล้ามเนื้อขา (muscles of the lower extremities) ประกอบด้วย

6.1) กล้ามเนื้อก้น (muscles of the buttock) เป็นกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของ
สะโพกและต้นขา ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ ดังนี้คือ

กล้ามเนื้อกลูเทียส แม๊กซิมัส (gluteus maximus muscle) มีหน้าที่เหยียดสะโพก
กล้ามเนื้อกลูเทียส มีเดียส (gluteus medius muscle) มีหน้าที่กางขาและหมุนขาเข้าด้านใน
กล้ามเนื้อกลูเทียส มินิมัส (gluteus minimus muscle) มีหน้าที่กางขาและหมุนขาเข้าด้านใน

รูปที่ 30 แสดงกล้ามเนื้อก้น (muscles of the buttock) 29

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

6.2) กล้ามเนื้อต้นขา (muscle of the thigh) ประกอบด้วย

6.2.1) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (muscle of the anterior thigh) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ
ดังนี้คือ

กล้ามเนื้อซาร์โทเรียส (sartorius muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ยาวที่สุดของร่างกาย มีลักษณะ
พาดเฉียงเข้าด้านใน ทำหน้าที่ในการงอต้นขาและปลายขา

กล้ามเนื้อควอไดรเซปส์ ฟีมอริส (quadriceps femoris muscles) ทำหน้าที่งอสะโพกและ
เหยียดเข่า ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด คือ กล้ามเนื้อเร็คทัส ฟีมอริส (rectus femoris muscle)
กล้ามเนื้อวาสทัส แลเทอราลิส (vastus lateralis muscle) กล้ามเนื้อวาสทัส มีเดียลลิส (vastus
medialis muscle) และกล้ามเนื้อวาสทัส อินเตอร์มีเดียส (vastus intermedius muscle)

รูปที่ 31 แสดงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (muscle of the anterior thigh)

6.2.2) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (muscle of the posterior thigh) ประกอบด้วยกลุ่มกล้ามเนื้อที่
เรียกว่า แฮมสตริง (hamstring muscles) ซึ่งทำหน้าที่เหยียดสะโพกและงอเข่า โดยกล้ามเนื้อกลุ่มนี้
ประกอบด้วย

กล้ามเนื้อไบเซปส์ ฟีมอริส (biceps femoris muscle)
กล้ามเนื้อเซมิเทนดิโนซัส (semitendinosus muscle)
กล้ามเนื้อเซมิเมมเบรโนซัส (semimembranosus muscle)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 30

รูปที่ 32 แสดงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (muscle of the posterior thigh)

6.3 กล้ามเนื้อปลายขา (muscles of the legs) ประกอบด้วย
6.3.1 กล้ามเนื้อปลายขาด้านหน้า เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของกระดูกหน้าแข้ง (tibia) มีหน้าที่
ช่วยกระดูกปลายเท้าขึ้นและเหยียดนิ้วเท้า ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ คือ

รูปที่ 33 แสดงกล้ามเนื้อปลายขาด้านหน้า-หลัง (muscle of the leg) 31

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

กล้ามเนื้อทิเบียลิส แอนทีเรีย (tibialis anterior muscle) มีหน้าที่กระดกข้อเท้าขึ้น
กล้ามเนื้อฟิบูลาริส เทอร์เทียส (fibularis tertius muscle) มีหน้าที่กระดกข้อเท้าขึ้น
กล้ามเนื้อฟิบูลาริส ลองกัส (fibularis longus muscle) มีหน้าที่ตะแคงเท้าออกด้านนอก
กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม ลองกัส (extensor digitorum longus muscle) มีหน้าที่
เหยียดนิ้วเท้า
6.3.2 กล้ามเนื้อปลายขาด้านหลัง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหลายมัดแต่ที่สำคัญมี 2 มัด คือ
กล้ามเนื้อแก๊สทรอคนีเมียส (gastrocnemius muscle) มีหน้าที่ถีบเท้าลงและงอเข่า
กล้ามเนื้อโซเลียส (soleus muscle) มีหน้าที่ถีบเท้าลง

6.4) กล้ามเนื้อเท้า (muscles of the foot) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญ คือ แอบดัคเตอร์ ฮอลลูซิส
(abductor hallucis) แอบดัคเตอร์ ดิจิไท มินิไม (abductor digiti minimi) เฟล็คเซอร์ ดิจิทอรุม เบ
รวิส (flexor digitorum brevis muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ที่ฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยค้ำจุนและ
เคลื่อนไหวขณะทรงตัว เดินหรือวิ่ง

รูปที่ 34 แสดงกล้ามเนื้อฝ่าเท้า (muscle of the plantar region)

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 32

[NEW] ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) | triceps brachii คือ – Australia.xemloibaihat

กล้ามเนื้อ (Muscle; มาจากภาษาละติน  ”หนูตัวเล็ก” ) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) , กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) , และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)  ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของ ร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา

ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ และ กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง่าย

ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากการเคลื่อนไหว ของกระดูกและข้อต่อแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น  การเต้นของหัวใจ  การบีบตัวของ เส้นโลหิต  การบีบตัวของกระเพาะอาหาร  ลำไส้  และการทำงานของปอด เป็นต้น  การเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ เกิดจากการ ทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น

                  กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบใหญ่ของร่างกายมนุษย์ และเป็นส่วนสำคัญที่สุด ทำหน้าที่ในขณะ ที่มีการเคลื่อนไหว ของร่างกาย หรือ เพียงบางส่วน เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อน ไหวของระบบทาง เดินอาหาร เป็นต้น กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมี น้ำหนักประมาณ 2/5 ของน้ำหนัก ตัวส่วนใหญ่อยู่บนรอบแขนและขา ซึ่งยึดติดกันอยู่โดยอาศัยข้อต่อ (Joints) และเอ็น (Tendon) ทำให้ร่างกายประกอบเป็นรูปร่างและทรวดทรงขึ้นมาอย่าง เหมาะสม

ชนิดของกล้ามเนื้อ

             1. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)   เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่อวัยวะภายในของร่างกายเช่น หลอดอาหาร หลอดเลือด เป็นต้น  เซลล์มีรูปร่างคล้ายกระสวย แต่ละเซลล์  มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ไม่มีลาย ตามขวาง ตรงรอยต่อของเยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนจะมีบริเวณถ่ายทอดคลื่นประสาทเรียกว่า อินเตอร์คอนเนกติง บริดจ์ (interconnecting bridge) เพื่อถ่ายทอดคลื่น ประสาทไปยังเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่นอกอำนาจจิตใจ การหดตัวเกิดได้เองโดยมีเซลล์เริ่มต้นการทำงาน (pace maker cell point) และการหดตัวถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นกล้ามเนื้อชนิดนี้ปลายประสาทจึงไม่ได้ไปเลี้ยงทุกเซลล์ ยกเว้นกล้ามเนื้อเรียบในบางส่วนของร่างกายมี ีปลายประสาทไปเลี้ยงทุกเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อในลูกตา กล้ามเนื้อชนิดนี้เรียกว่า กล้ามเนื้อเรียบหลายหน่วย (multiunit smooth muscle) ส่วนกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดแรกที่กล่าวถึง ในตอนต้นเรียกว่า กล้ามเนื้อหน่วยเดียว (single unit smooth muscle)

          2 กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่กับกระดูก และมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย

                 กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาวจึงเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ความยาวของใยกล้ามเนื้อจะเท่ากับมัดกล้ามเนื้อที่ใยกล้ามเนื้อนั้นเป็น องค์ประกอบอยู่ ใยกล้ามเนื้อมีลายตามขวาง และมีเยื่อหุ้มเซลล์ ์เรียกว่า ซาร์โค เลมมา (sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า เอนโดไมเซียม (endomysium) ใยของกล้ามเนื้อลายมีนิวเคลียสหลายอันอยู่ด้านข้างของเซลล์ เรียงตัวกันเป็นระยะตลอดแนวความยาวของเซลล์ แต่ละเซลล์มีปลายประสาทมาเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัว ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า ไมโอไฟบริล (myofibril) แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา (thick filament) และชนิดบาง (thin filament) ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม (perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้รวมกันเป็นมัดใหญ่และ มีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม (epimysium)หุ้มอยู่ การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอำนาจจิตใจจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อโวลันทารี (voluntary muscle)

              3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)  เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่หัวใจเพียงแห่งเดียว

กล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์เป็นเส้นใยยาว มีลายตามขวาง เซลล์เรียงตัวหลายทิศทาง และเซลล์มีแขนงเชื่อมเซลล์อื่นเรียกว่า อินเตอร์คาเลทเตท ดิสค์ (intercalated disc) มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์เป็นรูปไข่ เซลล์บางกลุ่มเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นเซลล์นำคลื่นประสาท (special conducting system) ซึ่งได้แก่ เอ-วี บันเดิล (A-V bundle) และเส้นใยเพอร์คินเจ (perkinje fiber) การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกอำนาจจิตใจ และทำงานได้เอง

 คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ

·        มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง

·        มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้

·        มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น

·        มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น

·        มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ

การหดตัวของกล้ามเนื้อ

           การหดตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการกระตุ้น กลไก การหดตัวของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจจะคล้าย กัน ในมนุษย์การทำงานของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อ มีการ กระตุ้นของ ระบบประสาท หรือกระตุ้นโดยความร้อนหรือสารเคมี หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ แล้วแต่ กล้ามเนื้อจะหดตัวได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าขณะเซลล์ทำงาน ( Action potential) ซึ่งเกิดขึ้น ที่บริเวณ เยื่อแผ่นของ เส้นใยของกล้ามเนื้อ รวมทั้งต้องอาศัยพลังงานอย่างมา

กล้ามเนื้อตะคริว

          การเป็นตะคริว เกิดจากมีการเกร็งชั่วคราวของมัด กล้ามเนื้อทั้งหมด ขณะที่มีการหดตัวทำให้กล้าม เนื้อมัดนั้นมีลักษณะแข็งเป็นลูกและ เจ็บปวดมาก อาการเกร็งของตะคริว กล้ามเนื้อเกิดขึ้น นอกเหนืออำนาจจิตใจ และเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาไม่นาน ก็จะหายไปเอง แต่กลับ เป็นซ้ำขึ้นมา ที่เดิมได้อีก ในบางครั้งกล้ามเนื้ออาจเป็นตะคริว พร้อมกันหลายๆ มัดได้ สาเหตุที่ พบบ่อย ได้แก่

·        กล้ามเนื้อขาดการฟิตซ้อมหรือฟิตซ้อมไม่เพียงพอ

·        สภาวะแวดล้อมของอากาศ

·        ร่างกายขาดเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม

·        การใช้ผ้ายึดหรือสนับผ้ายืดพันหรือรัดลงไปบนกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่นขณะที่มีการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหรือ ขยายตัวได้ไม่เต็มที่

การปฐมพยาบาล

·        หยุดพักการออกกำลังกายทันที ถ้ามีเครื่องพันธนาการ เช่น สนับเข่า หรือผ้ายืดรัด อยู่ให้ปลดออก

·        ให้ผู้ป่วยนอนราบ งอตะโพก 90  องศา  งอเข่า 90  องศา

·        ค่อยๆ ดันปลายเท้าเพื่อให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ทำช้าๆ ขณะที่ข้อเท้ากระดกขึ้นนั้น กล้ามเนื้อน่องจะค่อยๆ คลายตัวออกหรือยืดออก

·        ประกบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน หรือถูนวดเบาๆ ด้วยน้ำร้อนๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียน ให้ไปยังบริเวณ นั้น

 กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย

              กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing) เป็นต้น เพื่อสะดวกในการจดจำและทำให้เกิดความเข้าใจ จึงต้องมีการตั้งชื่อกล้ามเนื้อขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี คือ

·        โดยลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ (By Action) เช่น กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา Adductor Muscle ทำหน้า ที่ในการหุบ ขา และกล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง Flexor carpiradialis ซึ่งทำ หน้าที่ในการงอปลายแขน

·        โดยตำแหน่งที่ตั้ง (By location) เช่น กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหน้า ติดกับกระดูก Tiibia,Tibialis antorioi และกล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า Pectoralis major

·        โดยจุดเริ่มต้นหรือส่วนยึด (By heads of origin) เช่น กล้ามเนื้อ Biceps brachii ซึ่งมี Origin 2 จุด กล้ามเนื้อ Triceps และ Quadraceps

·        โดยรูปร่าง (By shape) เช่น กล้ามเนื้อ Trapezius ซึ่งมีลักษณะ เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กล้ามเนื้อ Detoid ที่ปกคลุมไหลมีรูปร่าง คล้ายตัว D

·        โดยตำแหน่งที่กล้ามเนื้อเกาะหรือยึดอยู่ Sternum กระดูก Clavicle และ Mastoid process ของ กระดูกขมับ

1. กล้ามเนื้อของศรีษะ (The Muscles of head) กล้ามเนื้อของศรีษะแบ่งออกเป็น 2 พวก ซึ่งแบ่งตามหน้าที่ คือ
       1.1 กล้ามเนื้อแสดงสีหน้า (Muscles of facial expression) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ติดกับผิวหนังมาก จึงมีหน้าที่ทำ ให้ผิวหนัง เคลื่อนไหว และเปลี่ยนลักษณะของสีหน้าประกอบด้วย

·        Orbicularis Oculi ทำหน้าที่ หลับตา

·        Orbicularis Oris หุบปาก,เม้มริมฝีปาก

·        Frontal Muscle ยักคิ้ว,หน้าผากย่น

2. กล้ามเนื้อคอ (Muscles of the Neck) ประกอบด้วย
Sternocleido mastoid ถ้า 2 มัดทำงานจะก้มศรีษะลงถ้ามัดเดียวทำงานจะเอียงศรีษะ ไปข้างที่หดตัว

·        Platysma ทำหน้าที่ ดึงฝีปากล่างและมุมปากลง

3. กล้ามเนื้อของลำตัว (TheMuscles of the Trunk) แบ่งออกเป็นพวกๆ คือ
      3.1 กล้ามเนื้อของหลัง (Muscles of back) มีอยู่หลายมัด อยู่ที่เบื้องหลังของลำตัวตั้งแต่หลังคอ หลังอก ไปจนถึง บั้นเอว ที่ชั้นตื้นมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ อยู่ 2 มัด และชั้นลึกที่สุดอีก 1 มัด

·        Trapezius ทำหน้าที่ รั้งสะบักมาข้างหลัง,ยกไหล่ขึ้นข้างบน,รั้งศรีษะไปข้างหลัง

·        Latissimus dorsi ทำหน้าที่ ดึงแขนลงมาข้างล่างไปข้างหลังและเข้าข้างใน

·        Sacrospinalis (Elector spinae) ทำหน้าที่ ดึงกระดูกสันหลังให้ตั้งตรง

     3.2 กล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า (Muscles of the chest)

·        Pectoralis major หุบ,งอและหมุนต้นแขนเข้าข้างในมาข้างหน้า

·        Pectoralis minor ดึงไหล่ลง,หมุนสะบักลงข้างล่าง

·        erratus anterior ยึดสะบักให้อยู่กับที่,ดึงสะบักไปข้างหน้าและข้างๆ

     3.3 กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (TheMuscles of respiration)

·        Diaphragm ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้นและช่วยดันปอดให้ลมออกมา

·        External Intercostal ยกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น

·        Internal Intercostal ทำให้ช่องอกเล็กลง

       3.4 กล้ามเนื้อของท้อง (The Muscles of abdomen) แบ่งเป็น 2 พวก คือ
       3.4.1 กล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นผนังข้างหน้าและข้างๆ ของท้อง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด คือ

Rectus abdominis ทำหน้าที่ เมื่อหดตัวจะกดอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เพิ่มแรงกดดัน (Pressure) ในช่อง ท้อง ช่วยในการคลอดบุตร ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน
External obligue , Internal obligue , Transversus abdominis ทำหน้าที่ ช่วยกดอวัยวะในช่องท้อง ช่วยในการหายใจออก ช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้เป็นอันตราย และไม่ให้เคลื่อนที่ ช่วยงอและหมุนกระดูก สันหลัง

      3.4.2 กล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นผนังด้านหลังของท้อง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ Psoas muscle Iliacus Quadratus lumborum

Psoas major ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
Psoas minor ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
Iliacus ทำหน้าที่ งอต้นขา หุบและหมุนเข้าข้างใน
Quadratus lumborum ทำหน้าที่ ช่วยในการหายใจเข้า (inspiration) โดยพยุงให้มุมนอกของ diaphargm มั่นคงและงอกระดูกสันหลังไปข้างๆ เหยียดกระดูกสันหลัง

4. กล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน (Muscles of pelvis) Levator ani และ Coccygeus ทำหน้าที่ ขึงอยู่ใน Pelvic cavity คล้ายเป็น Pelvic diaphagm รองรับ อวัยวะที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไว้
5. กล้ามเนื้อของแขน (Muscles of the upper extremities)
     5.1 กล้ามเนื้อไหล่ (Muscles of the shoulder)

·        Deltoid ทำหน้าที่ กางต้นแขนขึ้นมาเป็นมุมฉาก

·        Supraspinatus , Infraspinatus , Teres minor ทำหน้าที่ พยุงไหล่ หุบแขน และหมุนต้นแขนไปข้างๆ

·        Teres major ทำหน้าที่ หุบแขนและหมุนต้นแขนเข้าข้างใน

·        Subscapularis ทำหน้าที่ หมุนต้นแขนเข้าข้างใน และพยุงหัวไหล่

     5.2 กล้ามเนื้อต้นแขน (Muscles of the arm)

·        Biceps brachii คล้ายกระสวยปลายบนมี 2 หัว ทำหน้าที่ งอข้อศอกและหงายมือ

·        Triceps brachii มัดใหญ่อยู่หลังต้นแขน ปลายบนมี 3 หัว ทำหน้าที่ เหยียดปลายแขน หัวยาวเหยียดและหุบแขน

·        Brachialis คลุมส่วนหน้าของข้อศอก ทำหน้าที่ งอปลายแขน

·        Coracobrachialis ทำหน้าที่ งอและหุบแขน ช่วยให้หัวของกระดูก humerus อยู่ใน Glenoid

   5.3.1 กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหน้า (Volar group)

·        Pronator Teres ทำหน้าที่ คว่ำมือและงอแขนท่อนล่าง

·        Pronator guadatus ทำหน้าที่ คว่ำแขนท่อนบน

·        Flexor carpi Ulnaris ทำหน้าที่ คว่ำแขนท่อนล่าง งอและหุบมือ

·        Flexor digitorum Profundus ทำหน้าที่ งอมือและงอปลายนิ้ว

    5.3.2 กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง (Dorsal group)

·        Brachioradialis ทำหน้าที่ งอปลายแขนและหงายมือ

·        Extensor carpi Radialis brevis ทำหน้าที่ เหยียดแขนท่อนล่างเหยียดและกางข้อมือ

·        Extensor carpi Ulnaris ทำหน้าที่ เหยียดและกางข้อมือ

·        Extensor digitorum ทำหน้าที่ เหยียดนิ้วมือและข้อมือ

5.4 กล้ามเนื้อของมือ (Muscles of the hand) กล้ามเนื้อของมือเป็นกล้ามเนื้อสั้นๆ ที่ทำหน้าที่ ในการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่นิ้วมืออีกจำนวนมาก ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วมือ อีกด้วย
6. กล้ามเนื้อขา (Muscle of lower extremities) จำแนกออกเป็น
       6.1 กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ทำหน้าที่ เคลื่อนไหวขาท่อนบน ได้แก่

·        Gluteus maximus ทำหน้าที่ เหยียดและกางต้นขา

·        Gluteus medius ทำหน้าที่ กางต้นขา

·        Gluteus minimus ทำหน้าที่ หมุนต้นขาเข้าข้างใน

6.2 กล้ามเนื้อของต้นขา (The Muscles of the thigh)
     6.2.1 กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ที่เรียกว่า Quadriceps femoris มีหน้าที่เหยีดปลายขามี 4 มัด คือ
           Rectus femoris , Vastus lateralis or Vastus externus , Vastus medialis or Vastus internus , Vastus Intermedius ทำหน้าที่ เหยียดปลายขาและงอต้นขา

6.2.2 กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อกลุ่ม Hamstring muscles เป็นพวก งอปลายขาขึ้นมา มี 3 มัด คือ

·        Biceps femoris ทำหน้าที่งอปลายขาเหยียดต้นขา

·        Semitendinosus , Semimembranosus ทำหน้าที่ งอปลายขา หมุนปลายขาเข้าข้างใน

6.3 กล้ามเนื้อของปลายขา (The Muscles of the legs)
     6.3.1 กล้ามเนื้อของปลายขาด้านหน้า

·        Tibialis anterior ทำหน้าที่ งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า หมุนฝาเท้าเข้าข้างใน

·        Extensor digitorum longus ทำหน้าที่ งอเท้า เหยียดนิ้วเท้า หันเท้าออกข้างนอก

·        Peroneus longus ทำหน้าที่ เหยียดเท้า กางและหมุนเท้าออกข้างนอก

·        Peroneus brevis ทำหน้าที่ เหยียดเท้า หมุนเท้าออกข้างนอก

6.3.2 กล้ามเนื้อของปลายขาด้านหลัง

·        Gastrocnemius มี 2 หัว ทำหน้าที่ เหยียดข้อเท้างอปลายขา

·        Soleus ทำหน้าที่ เหยียดข้อเท้า

          กล้ามเนื้อทั้ง 2 มัด รวมกันเป็น Tendon ที่หนาและแข็งแรงที่สุดในร่างกาย แล้วไปเกาะที่กระ ดูกสันเท้า ตรงที่เรียกว่า เอ็นร้อยหวาย
6.4 กล้ามเนื้อของเท้า (The Muscles of the foot) เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กสั้นๆ เหมือนกับที่มืออยู่หลังเท้า และฝ่าเท้า หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยยึดเท้าให้เป็นอุ้งเท้า (Arch) อยู่ได้

Share this:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…


FREAKY ARMS – 3D BICEPS AND TRICEPS – LEE PRIEST ARM DAY MOTIVATION


FREAKY ARMS 3D BICEPS AND TRICEPS LEE PRIEST ARM DAY MOTIVATION
This is Lee Priest arm day motivation. Lee Priest got the freakiest arms in bodybuilding. This videos shows how Lee Priest got his 3D biceps and triceps.
Watch this Lee Priest tribute videos that is made for bodybuilding motivation purpose.
This video is edited by Shred Hulk Motivation using Lee Priest arm workout, Lee Priest biceps workout, Lee Priest triceps workout, Lee Priest bulking, Lee Priest workout, Lee Priest tips to grow arms, Lee Priest forearms
Lee Priest arms bodybuilding motivation
►This video is edited by Shred Hulk Motivation
►This video is edited for motivational purpose.
►Goal of shred hulk motivation is to motivate people around the world thought bodybuilding motivation videos, fitness motivation videos, gym motivation videos and workout motivation videos.
Subscribe and 🔔 Turn On Notifications for daily Motivational Videos!
►For Business inquiries or removal of video contact me here : [email protected]
►Footage Credits:
Lee Priest https://www.instagram.com/officialleepriest/
Generation Iron Fitness \u0026 Bodybuilding Network https://www.youtube.com/user/GenerationIron
Mocvideo Productions https://www.youtube.com/channel/UCHpvF2XvWir_LlmUPrCdmywr

►Thumbnail: Lee Priest
►Subscribe for more Daily Motivational Videos on
Bodybuilding Motivation
Fitness Motivation
workout Motivation
Gym Motivation
STAY MOTIVATED !

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

FREAKY ARMS  - 3D BICEPS AND TRICEPS  - LEE PRIEST ARM DAY MOTIVATION

The Best Science-Based Triceps Exercises for Each Head (Work Your Weak Points!)


When it comes to the “best tricep exercises for mass” or the “best triceps workout”, it’s important that you consider more than just the sheer size of your triceps. Because it’s the proportionate development of all three triceps heads (the lateral head, medial head, and long head of the triceps) that is what creates aestheticlooking triceps. To target the long head, we know that we can take advantage of the fact that it crosses over the shoulder joint. Two triceps exercises that take advantage of this are incline dumbbell tricep kickbacks and incline dumbbell overhead tricep extensions. But, as shown in the video, proper form becomes essential for these triceps exercises in order to really emphasize the long head. For the lateral head, overhand cable tricep pushdowns/extensions seem to be the best option whereas the rope tricep pushdowns/extensions seems to be the best option for the medial head (and for overall triceps development). I would also add the weighted tricep dips to the mix as well given that the triceps tend to respond best to heavy weight. Now instead of performing all these “tricep head exercises”, you want to instead pick a couple based on where your triceps are lagging. Then incorporate that into your triceps routine!
JOIN THE WAITING LIST FOR MY PROGRAMS HERE:
https://builtwithscience.com/programavailability/
MY SCIENCEBASED PROGRAMS:
https://builtwithscience.com/bwsfreefitnessquiz/gender?utm_source=Youtube\u0026utm_medium=Video\u0026utm_content=Description%20box\u0026utm_campaign=Tricep%20exercises%20for%20each%20head%20Aug%2012%2F2018
LINK TO WRITTEN ARTICLE (BUILTWITHSCIENCE.COM):
https://builtwithscience.com/besttricepexercises/
FOLLOW ME ON INSTAGRAM AND FACEBOOK:
https://www.instagram.com/jeremyethier/
https://www.facebook.com/Jeremyethierfit/
STUDIES \u0026 EMG ANALYSES:
http://suppversity.blogspot.com/2011/08/suppversityemgseriesmtriceps.html
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1050641110001409
https://www.tnation.com/training/insidethemusclesbestchestandtricepsexercises
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16795030
MUSIC:
https://soundcloud.com/lakeyinspired
Song 1: Lakey Inspired – Island
Song 2: Lakey inspired – Better Days

The Best Science-Based Triceps Exercises for Each Head (Work Your Weak Points!)

The PERFECT Triceps Workout (Sets and Reps Included)


The perfect triceps workout should consist of exercises for the lateral head, medial head and long head of the tricep muscle. That said, even that doesn’t make the triceps workout complete. In order to round out your arms with a well rounded workout you need to fill in the gaps of what is lacking on those popular triceps exercises and put science back in your training. That is what we do in this video.
If you look at the four main exercises that people do in their triceps workouts you will see dips, close grip bench presses, pushdowns and lying dumbbell extensions or skullcrushers. Take a close look into each of these classic movements and you will see one thing in common. That is, each of these exercises is adept at hitting some portion of the triceps through a specific part of their range of motion but none of them hits them completely.
This is a problem when it comes to developing a complete triceps. Just because you are going through a full range of motion on the exercises that you are doing it does not mean that you are taking a muscle through its full range of motion. For instance, only those triceps exercises that change the angle of the arm at the shoulder will have a secondary influence on the long head of the triceps given it’s attachment on the shoulder blade. The lateral and medial heads of the triceps originate on the humerus and cross the elbow joint only limiting their influence to elbow extension only.
That said, in order to fully work the triceps muscle in your workout you want to be sure that you are including exercises that hit the long head. But it goes even further than this. You can’t just hit it with exercises that place your arm over your head (to supposedly increase the stretch reflex on the triceps) but you also must take into consideration that you want to fully shorten the muscle by placing the arm back into extension behind your body as well.
This is in addition of course to wanting to make sure that you look into the science of strength curves when it comes to triceps training. Just as you could do with the banded dumbbell curl in our perfect biceps workout, you can do the same with triceps. Exploring exercises that overlap strength curves for the triceps will help you to construct a workout that is great at developing your tricep muscles maximally.
Finally, as is always the case when trying to build muscle, you will not want to forego the popular mass building triceps exercises but add to them, with drop sets and partials. Here is how to construct the perfect triceps workout with that in mind.
Close Grip Pin Press 3 sets of 10,6,4 reps
Choose a weight that allows you to reach failure in each rep range
Weighted Dip TriSet 3 sets to failure in each position
Immediately drop from weighted dips to bodyweight to assisted. No rest in between failures.
Tricep Pushaways into Drag Pushdowns 3 sets with 12 RM on first exercise to failure
Immediately into the pushdowns without changing the weight.
Rocking Pushdowns 2 sets to Failure using 12RM
Banded Lying Tricep Extensions 2 sets to Failure using 15RM
When you put this together in the format as I’m suggesting here, you not only now hit the triceps through its full range of motion but you hit every area of the tricep muscle as well. The drop down allows for the lesser intense exercise to be more taxing since it was just preceded by a more difficult compound lift.
This is just one example of how to apply science to your tricep workouts. If you want to train like an athlete you want to put science back in every workout you do. You can do that with the ATHLEANX Training Programs available at http://athleanx.com or click the link below and get started right away on building a ripped, muscular, athletic body.
For more tricep workout videos for the lateral head, medial head and long head of the triceps, be sure to subscribe to our channel here on youtube at the link below and don’t forget to turn on notifications so you never miss one.
Build Muscle in 90 Days http://athleanx.com/x/myworkouts
Subscribe to this channel here http://youtube.com/user/jdcav24

The PERFECT Triceps Workout (Sets and Reps Included)

Triceps | Muscle Anatomy


In this tutorial we will take you through the anatomy of the triceps muscle. We hope you find this interesting and useful for your learning!
\r
Subscribe to the channel for more videos and updates: http://www.youtube.com/subscription_center?add_user=theanatomyzone
http://www.anatomyzone.com
3D anatomy tutorial on using the BioDigital Human (http://www.biodigitalhuman.com).

Triceps | Muscle Anatomy

[Favourite] Level 4 – Killer Fat-Burning Home Cardio!


30 minutes of pure cardio, pure burning! This workout is probably the best home cardio routine I’ve ever made! Download My Training App here: https://bit.ly/trainwithjordanapp
Progressive Pyramid workout:
Accending / The Climb: Starting it easy and it gets harder minutes by minutes
Descending / Down Hill: Starting from the peak and slowly finishing the workout easier than before
Estimated calories burned in this session: 400+ kcal above, more reps in = more calories out!
(your fitness tracker might show different results)
▷Connect with Me
Instagram: https://www.instagram.com/jordanyeohfitness
Facebook: http://facebook.com/jordanyeohfitness
Training \u0026 Coaching App: https://bit.ly/trainwithjordanapp
DISCLAIMER
The exercises and workouts provided in this video are for educational purposes only and are not to be interpreted as a recommendation for a specific treatment plan, product, or course of action.
Before beginning this or any exercise program, please consult a physician for appropriate exercise prescription and safety precautions.
The exercise instruction and advice presented are in no way intended as a substitute for medical consultation. As with any exercise program,
if at any point during your workout you begin to feel faint, dizzy or have physical discomfort,
you should stop immediately and consult a physician.
fitness workout weightloss

[Favourite] Level 4 - Killer Fat-Burning Home Cardio!

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ triceps brachii คือ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *