[NEW] การแต่งกายของทวีปยุโรป – European culture | การ แต่ง กาย แบบ ตะวันตก – Australia.xemloibaihat

การ แต่ง กาย แบบ ตะวันตก: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Table of Contents

ศตวรรษที่ 1 หลังคริสตกาล (The first Centuries A.D.)

ชาวยุโรปตอนเหนือจะถูกเรียกว่า ชาวบาบาเรียน (Northern Barbarians) จะใส่เสื้อผ้า คล้ายกับชาวเปอร์เซีย ส่วนมากเสื้อผ้าจะนำมาใส่เพื่อกันหนาว ใช้หนังแบนมาปกปิดบริเวณขา แล้วใช้เข็มขัดรัดทับไว้เพื่อกันไม่ให้หลุด ส่วนด้านบนก็ใช้ผ้าขนสัตว์ผืนสี่เหลี่ยมพับแล้วคลุมไว้ ส่วนผู้หญิงจะใส่ Tunic ยาวบ้างสั้น บ้าง สวมกระโปรงชั้น ใน (Petticoat) หรือเครื่องรัดสะโพก ใช้ผ้าคลุมไหล่แล้วกลัดด้วยเข็มกลัด คาดเข็มขัดรัดใต้อกที่ชุด tunic ทำให้มีรอยจีบรูด 

ตอนที่อยู่ใต้การปกครองของโรมันพบว่า ชาวบาบาเรียนจะใส่กางเกงสวมชุดทูนิคสั้น รัดเข็มขัด เสื้อมีแขนมีเสื้อคลุมไหล่ บางทีฤดูฝนจะใส่หมวก (Cap) ทำจาก Fur ชาวบาบาเรียน จะทอและย้อมผ้าเอง นิยมคลุมไหล่ด้วยผ้าขนสัตว์สี่เหลี่ยมมีสีน้ำเงินและดำ เสื้อและกางเกงจะมี สีสดใส มีทั้งลายทางและเป็นตา จะใช้สีแดงเพื่อให้ดูเด่น ผู้หญิงไว้ผมยาวบ้างก็ถักเปีย ผู้ชายไว้ ผมยาวประบ่า รู้จักการใช้วิกที่ทำจากขนสัตว์ และไหม นิยมย้อมผมสีแดง 

เครื่องประดับ มีเข็มกลัด หัวเข็มขัด ปิ่นปักผม สร้อยคอ แถบคอเสื้อ ทำจากโลหะผสม ทองแดง ดีบุก และทองคำ 

ในสมัยที่พ้นจากการปกครองของโรมัน ผู้ชายจะใส่ชุดทูนิคสั้น ผู้หญิงใส่ชุดทูนิคยาว สี ขาว แดง เขียว ม่วง มีสายสะพายเป็นสี 

รองเท้าจะเป็นรองเท้าแตะธรรมดา Style แบบอินเดียแดงมีสายคาด ถ้าเป็นรองเท้า Boot จะมีสายหนังคาดจนถึงใต้เข่า ผู้ชายสวมหมวกหนังหรือขนสัตว์ ลักษณะเหมือนฝาชี มีสายรัดใต้คาง เหมือนหมวกผู้หญิง แต่ผู้หญิงกลับใช้ผ้าสี่เหลี่ยมพับเหมือนผ้าคลุม Palla คลุมศีรษะและคลุมทั้งทูนิค 

ต่อมาในสมัยที่ Byzantine รุ่งเรือง ผู้ชายสวมกางเกงยาว เสื้อทูนิค แขนยาว ตัวสั้น รัดเข็มขัด มีผ้าคลุมที่ไหล่ มีเข็มกลัด ใส่ถุงมือที่เรียกว่า Mitten มีลักษณะไม่มีนิ้ว 

ผู้หญิงใส่เสื้อทูนิค 2 ชั้น ชั้น ในแขนยาวทำจากผ้าลินิน ต่อมาเรียกว่า lingerie ชั้น นอก ทูนิคยาวตรง ทำจากผ้าที่หรูหรามีแขนบาน ประดับด้วยทอง หิน มีเสื้อ คลุมไหล่ ไม่มีแขน (Mantle) มีเข็มกลัดไว้ด้านหน้า เวลาเข้าโบสถ์จะมีผ้าคลุมศีรษะ 

เครื่องประดับจะทำจากทอง เงิน มุก และหินสี เครื่องรัดชั้น ใน (Girdles) จะตกแต่ง ด้วยทอง และเพชรพลอย

การแต่งกายBYZANTINE (บาเซ็นไทน์)

บาเซ็นไทน์ เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันทางตะวันออก ทางตะวันตกคือโรม กษัตริย์ จัสติเนียน (Justinian) ได้ให้การสนับสนุนการแต่งกายของชาวบาเซ็นไทน์ โดยให้นำการทอผ้า ของชาวซีเรียนมาทอผ้าเป็นผืน โดยการใช้กระสวยและให้นำเอาตัวไหมและรังไข่จากจีนมาเลี้ยง โดยใช้ใบหม่อนมาเลี้ยง 

ชาวบาเซ็นไทน์ มีการแต่งกายผสมผสานกันระหว่างโรมัน และชาวตะวันออก ทั้งหญิงและ ชายจะใส่ชุดทูนิคยาวทรงตรง แขนยาว ทำจากผ้าไหม หรือผ้าลินิน จะมีการทอผ้ายกดอกยกดิ้นทอง 

ผู้ชายจะมีเสื้อคลุมที่เรียกวา Mantle เหมือนกับ Toga ของ Roman จะมีแถบริมด้านซ้าย บอกถึงยศฐาบรรดาศักดิ์ ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อคลุมชุดทูนิคที่เรียกว่า Stola หรือ Pealla จะใช้ คลุมศีรษะด้วย ทั้งหญิงและชายจะกลัดเข็มกลัดที่ไหล่ข้างขวาเป็นเพชรหรือหินสีต่าง ๆ 

ชุดทูนิคที่เป็นชุดยาว ต่อมาเป็นชุดสตรียาว เรียก Gunna ชุดทูนิคสั้น เรียกว่า Juppe ใส่กับชุดทูนิคยาวอีกที มีลักษณะแขนยาวเหมือนแขนปีกค้างคาว 

ผู้หญิงจะสวมหมวกที่ทำจากผ้าไหมเป็นตาข่าย ปักด้วยเพชร พลอย และแก้วสีต่าง ๆ ตาม Style ของยุโรปตอนกลาง ใส่แหวน ต่างหู เป็นรูปนกคู่ ใช้นำ้หอม 

รองเท้าแตะก็ยังใช้อยู่ แต่เท้าจะสวมใส่ด้วยรองเท้าที่ทำจากหนังนุ่มถึงข้อเท้าและตกแต่ง ด้วยทองและมุก 

การแต่งกายสมัย Byzantine มีความหรูหรา ฟุ่มเฟือยมาก และนิยมไปจนถึงสมัยกลาง และสมัยฟื้นฟูของยุโรป และยังเป็นพื้น ฐานการแต่งกายของชาวรัสเซียด้วย

การแต่งกายสมัยแขกมัว

 (Moorish or Saracenic Spain)

เป็นสมัยที่ประเทศสเปนอยู่ในความครอบครองของแขกมัว หรือชาวมอสเล็มอยู่ประมาณ 800 ปี การแต่งกายจะมีลักษณะผสมผสานของแขกมัวกับชาวเปอร์เซีย กางเกงที่ใช้มี 3 แบบคือ

  • กางเกงขายาว ทรงตรงรัดขา
  • กางเกงขาบานยาว
  • กางเกงขาพอง และรวมรัดที่ข้อเท้า (Pantaloon)

ผู้หญิงจะสวมกระโปรงสั้น บานและจีบ ยาวแค่เข่า บางครั้งสวมชุดทูนิคยาวคลุมกางเกง หรือกระโปรงอีกที แล้วสวม Hood ซึ่งจะคลุมตลอดศีรษะและไหล่

รองเท้าทั้งชายและหญิงจะสวมรองเท้าแตะเป็นหนังนุ่ม ๆ สีฉูดฉาด หรือหุ้มข้อ

การแต่งกายสมัยฟื้นฟูของสเปน

เป็นสมัยที่สเปนพ้นจากการยึดครองของแขกมัว เป็นยุคของพระเจ้า Philip ทรงชอบคอ เสื้อที่ตั้งแข็งปกแผ่กว้าง กับกระโปรงทรงบานเป็นสุ่ม รูปแบบจะกางออกทางด้านข้าง ตั้งแต่เอว ลงไป รอบข้อมือมีระบายแผ่กว้าง ทรงผมก็แผ่กว้างตามรูปแบบของกระโปรง รองเท้าจะประดับ ด้วยโบว์หรือดอกกุหลาบ สตรีสวมรองเท้าส้นสูง

การแต่งกายอิตาเลียนสมัยกลาง (Gothic)

เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างศตวรรษที่ 10, 11 และ 15 เป็นช่วงที่อาณาจักรโรมันเสื่อม อำนาจลงและหมดยุคของ Constantinople ใน ค.ศ. 1453 การแต่งกายของชายหญิง ยังคง คล้ายกับสมัย Byzantine ซึ่งสีและแบบของเสื้อผ้าจะได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของพระ 

ตอนแรกผู้ชายจะสวมชุดทูนิคแขนยาว ตัวยาวถึงเข่าเรียกว่า Bliaud ส่วนผู้หญิงสวมชุด แบบเดียวกันยาวถึงข้อเท้า จะใส่เสื้อคลุมที่เรียกว่า Pallium มีเข็มกลัดกลัดไว้ ผู้ชายจะใส่ถุงน่อง ยาวรัดรูปเรียกว่า Stockings ซึ่งได้แบบมาจากตอนเหนือของบาบาเรียน ถุงน่องยาวจะยึดกับ เข็มขัดที่คาดเอว ซึ่งสายนี้จะคาดไขว้มาจากใต้เข่า ต่อมาผู้ชายก็เปลี่ยนมาใส่ Bliaud ยาวถึงหน้า แข้ง 

ศตวรรษที่ 11 มีชุดชั้น ในเรียกว่า Chainse ที่ทำจากผ้าขนสัตว์ ลินิน ป่าน หรือไหม ซึ่งจะใช้เป็นกระดุมหรือผูกเชือกติดที่คอ ใช้ใส่ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่อมา Chainse ได้กลายมา เป็นชุดชั้น ในที่เรียกว่า Lingerie ซึ่งทำจากผ้าแพรบางสามารถซักได้ และมีประดับตกแต่งด้วยลูกไม้ บริเวณรอบคอและข้อมือ แล้วสวม Bliaud หรือชุดทูนิคยาวถึงพื้น ทับ ซึ่งใส่ได้ทั้งปล่อยตรง ๆ หรือ ใช้เครื่องรัดเอวที่ตกแต่งด้วยเพชรอีกทีก็ได้ ชุดนี้จะมีแขนยาว ผ้าจะมีการแตกต่างหรูหรามาก ถ้าหนาวจะมีการตกแต่งชายเสื้อ หรือแนวเส้นตะเข็บต่าง ๆ ด้วยขนสัตว์ที่เรียกว่า Ermine 

ส่วนในศตวรรษที่ 13 ผู้ชายจะสวมชุดทูนิคที่สั้น มากเหนือเข่าขึ้น มา บางทีก็ใส่ตรงหรือไม่ ก็คาดเข็มขัด โดยจะมีชายเหลือต่ำจากเอวประมาณ 2-3 นิ้ว ใส่ถุงน่องยาวถึงสะโพกสีแดงและ ประดับด้วยทองและเพชร สวมรองเท้าหนังนิ่ม ๆ 

ผ้า ใช้ผ้าลินินจะย้อมด้วยสีแดงเลือดหมู เขียว นำ้เงิน และม่วงแดง ผ้าทอยกดอกและ ผ้ากำมะหยี่ปัก ซึ่งในศตวรรษที่ 12, 13 ชาวซิซิลีจะทอผ้าไหมยกดอกได้สวยที่สุดในโลก แต่ผ้า ขนสัตว์ก็ยังใช้อยู่ 

ชุดไว้ทุกข์ใส่ทูนิคสีดำและเสื้อคลุมเป็นแถบสีขาว ผู้หญิงจะสวมชุดสีขาวใส่หมวกแก๊บ และมีผ้าคลุมไหล่ 

เพศชายที่สูงอายุจะสวมที่คลุมศีรษะที่เรียกว่า Liripipe มีลักษณะเป็นทั้งที่คลุมศีรษะ (Hood) และคลุมไหล่ด้วย ด้านหน้าจะมีส่วนยื่นออกมาคล้ายปีกหมวก แล้วสวมใส่จะปิดคอ หรือแขน หรืออาจจะปล่อยลงไปทางด้านหลังก็ได้ ต่อมาวิวัฒนาการเป็นผ้าจีบและม้วนบนหมวก ลักษณะเหมือนหมวกแขก เรียกว่า Roundlet 

ผู้ชายจะใส่หมวกเป็นรูปครึ่งวงกลม ขอบหมวกจะม้วนขึ้น และมีขนนกยาวจะสวมทับ บนผ้าคลุมศีรษะอีกที 

ในศตวรรษที่ 14 ผู้หญิงมีการใช้เครื่องรัดทรง สวมเสื้อกระโปรงเป็นชุดติดกัน ตัวกระโปรง มีจีบรูดพอง มีการตกแต่งด้วยลูกไม้ด้านหน้าตามแนวตะเข็บเปิดด้านหน้า เป็นรูปแบบของการ เน้นรูปร่างทรวดทรงให้เห็นลักษณะเส้นกรอบนอก (Silhouette) ของรูปร่าง 

ในยุคกลางนี้ การคลุมศีรษะของสตรีเป็นสิ่งที่สำคัญจะคลุมด้วยผ้าฝ้ายหรือไม่ก็ผ้าลินิน จะเป็นผ้าสี่เหลี่ยมหรือวงกลม จะคลุมไหล่แล้วปล่อยเป็นหางตํ่าลงมา เหมือนกับการห่มแบบ Palla เรียกว่า Headrail หรือ Wimple แล้วใส่มงกุฎทับอีกที ซึ่งเป็นเครื่องแสดงยศฐาบรรดาศักดิ􀃍 จนกระทั่วถึงศตวรรษที่ 16 หมวกมีลักษณะการใช้ผ้าลินินสีขาวพันใต้คางและรอบศีรษะ ที่เรียกว่า Chinband ผมทรง Madonal Style คือเป็นทรงแสกกลางแล้วปล่อยยาวลงไปก็เป็นที่นิยมกัน 

หมวกที่ใช้ก็มีหลายรูปแบบ เป็นแบบ Hood หรือ Chaperon แบบ Chinband แบบ Wimple เป็นการใช้ผ้าคลุมศีรษะถึงคอ ใช้ Net คลุมผม หมวกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Hennin เป็นหมวกลักษณะเหมือนภูเขาสูง 2 ลูก และมีผ้าบาง ๆ คลุมเวลาสวมใส่ 

รองเท้าจะใช้ผ้ากำมะหยี่ปักด้วยเพชรนิลจินดาสีต่าง ๆ หุ้มถึงข้อเท้า ต่อมานิยมใช้หนังอ่อน นุ่มแทน รองด้วยไม้หนาเหมือนเกี๊ยะเรียกว่า Chopine สวมถุงมือทำด้วยหนังปักด้วยเพชรนิล จินดา 

ในสมัยกลาง เสื้อผ้าจะมีราคาแพง หรูหรามาก เครื่องประดับต่าง ๆ จะเป็นเพชรนิลจินดา เป็นทองรูปพรรณ

การแต่งกายของชาวอิตาเลียนสมัยกลางรูปแบบหนึ่ง 

อิตาเลียนสมัยฟื้นฟู (Italian Renaissance) 

สมัยฟื้นฟูเป็นช่วงสมัยในศตวรรษที่ 13, 14 จนกระทั่งถึงต้นศตวรรษที่ 15 และรุ่งเรืองมาก ในประมาณกลางศตวรรษ ประมาณ ค.ศ. 1500 

ในประเทศอิตาลี การแต่งกายมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีผลต่อการแต่งกายของชาย มากกว่าหญิง ซึ่งเรียกว่า “Conventional” Style 

การแต่งกายของชายประกอบไปด้วยเสื้อ เชิ้ต 1 ตัว ใส่ Tunic หรือไม่ก็ใส่เสื้อ รัดรูป (Doublet) กับกางเกงรัดรูป (Hose) มีเสื้อคลุมทับ Doublet เรียกว่า Pourpoint เสื้อเชิ้ต นั้น จะตัด จากผ้าลินินที่ทำให้มีความพองมาก ๆ และรวบไว้ที่รอบคอและรอบข้อมือ คอเสื้อจะมีทั้งคอกลม และคอวี และคอสี่เหลี่ยม ซึ่งมีมาก่อน ค.ศ. 1500-1525 เป็นลักษณะที่มีระบายเล็ก ๆ โดยรอบ ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นแบบ Ruff (เป็นรอยพับ) ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 และเสื้อรัดรูป เปลี่ยนเป็นใช้ Tunic ชนิดสั้น แล้วสวมเสื้อนอกมีแขน ปลายแขนแคบ โคนแขนพองรัดเป็นปล้อง ๆ ทำตอนบนของแขนให้พอง 

เสื้อคลุมค่อนข้างสั้น คลุมชุด Tunic ที่มีลักษณะหลวมและมีเข็มขัดรัดไว้มีจีบรูด คอเสื้อ กลมหรือเหลี่ยม มีแขนยาว แขนเสื้อสามารถถอดออกจากตัวเสื้อได้ 

เสื้อคลุมของชายจะผ่าหน้าตลอด มีความยาวต่างกัน มีแขนยาว มีปกหรือไม่มีก็ได้ ใช้ผ้า อย่างดีหรือขนสัตว์ เสื้อคลุมมีทั้งสั้น และยาว ใช้ผ้าวงกลมตัด มีความกว้างมากใช้คลุมจากไหล่ ทั้ง 2 ข้าง ผู้ชายสวมถุงน่องรัดรูปสีหลายสี รวมผูกไว้กับปลายขากางเกง กางเกงเป็นกางเกงขาสั้น ทรงกระบอก รูปปลายขาและตกแต่งให้โป่ง ใช้ผ้าไหมปักดอกและนิยมเจาะกางเกงให้เห็นผ้ารองใน ต่อมาเปลี่ยนกางเกงมาเป็นกางเกงขายาวแค่เข่า หรือรวบปลายขาไว้มีริบบิ้น ผูกเรียกว่า Venetians 

ผู้ชายไว้ผมยาวประบ่า มีผมปกหน้าผาก สวมหมวกใบเล็ก ๆ คล้ายมงกุฎตกแต่งด้วย ขนนก เพชร พลอย มีชาวอิตาเลียนได้คิดประดิษฐ์หมวกที่ทำจากผ้ากำมะหยี่ สักหลาด ไหม ตัดเป็น รูปวงกลม ร้อยเชือกโดยรอบผูกพอดีศีรษะ เหลือไว้เป็นโบว์เล็ก ๆ บนหมวกจะประดับ เพชร นิล จินดา พลอย ต่อมามีการตกแต่งด้วยลูกไม้บริเวณริมขอบหมวก 

รองเท้าผู้ชายเป็นรองเท้า Boot ใช้ผ้าผูก เครื่องเกาะเกี่ยวส่วนมากจะทำจากโลหะ 

เครื่องแต่งกายของผู้หญิง ใช้เสื้อผ้าหรูหรามาก ใช้ผ้าทอยกดอกเป็นกำมะหยี่หรือใช้ผ้าซาติน ปักมุก และทอง เป็นสมัยที่เรียกว่า Pearl age การแต่งกายหญิงจะใส่เสื้อลักษณะคล้ายกัน คือ สวมเสื้อคอกลม คอวี และคอเหลี่ยม ต่อมานิยมใช้ปกตลบได้ และวิวัฒนาการมาเป็นจีบรอบคอ มีการเจาะและแทรกผ้า สลับสีให้ตัดกัน ตามชายแขนเสื้อตกแต่งด้วยระบาย ตัวเสื้อจะมีเครื่องรัดอก และเอวให้ดูเล็ก เรียกว่า Corset กระโปรงจะจีบรูดพอง แล้วมีเสื้อคลุมไม่มีแขนคลุมอีกทีหนึ่ง รองเท้าเริ่มใส่รองเท้าส้นสูง ทำด้วยผ้าหรือหนังเจาะ เครื่องประดับ ต่างหู ประดับด้วยเพชรพลอย มีเข็มขัด ทองเงิน เข็มกลัด นิยมถุงมือ ทำ จากผ้าไหม กำมะหยี่ปักด้วยเพชรนิลจินดา นิยมใช้น้ำหอมที่ใช้กันในยุโรป

การแต่งกายอังกฤษสมัยกลาง

ในช่วงต้นศตวรรษ ชาวอังกฤษชายหญิงจะสวมเสื้อ Shirt หรือ Camise หรือ Chemise ทำจากผ้าลินินหรือผ้าขนแกะเนื้อ บางแนบตัว เอาไว้ชั้น ใน ชั้น ที่ 2 จะสวมชุด Cotte หรือ Stola ซึ่งเป็นเสื้อแขนยามีกระดุมตั้งแต่ศอกถึงข้อมือ ชั้น ที่ 3 สวม Bliaud หรือ Tunic เป็นเสื้อหลวมยาว ถึงข้อเท้า แขนกว้าง ต่อมาผู้ชายจะเปลี่ยนมาใส่ Bliaud สั้น สวมถุงเท้าหนาเรียกว่า Stocking 

หมวกผู้ชายสวม Skullcaps หรือ Hood ผู้หญิงจะสวม Headrail เป็นหมวกทำจาก ผ้าลินิน หรือฝ้ายทรงเหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง รีบ้าง แล้วมีเชือกผูกใต้คาง 

ตอนกลางศตวรรษ ชายหญิงชาวอังกฤษจะสวมเสื้อแบบใหม่เรียกว่า Surcoat มีลักษณะ เหมือนเอียมโค้ง เว้าวงแขนลึกประมาณระดับสะโพก ต่อมาจะเป็น Dress ส่วนชุดชั้น ใน Cotte จะเปลี่ยนไปเป็น Petticoat และใส่หมวกที่เรียกว่า Chinband ทำด้วยผ้าแข็งจีบมีสายคาดคาง ต่อมาจะสวมเสื้อที่เรียกว่า Cotehardis ไว้ใน Surcaot มีลักษณะเข้ารูปรัดตัดผ่าหน้า มีกระดุมติด แขนยาวมีกระดุมติดจากศอกถึงนิ้วก้อย ภายหลังเรียกว่า Jacket 

ตอนปลายสมัยมีหมวกเกิดขึ้น หลายแบบ มี liripipe หรือ Hood ใช้คลุมศีรษะและคอ มีหางยาวแบบ Turban หมวกทรง Bonnets และทรง Hennes 

ทรงผมของชายจะตัดสั้น บางคนตัดเกรียนแบบพระ กันท้ายทอย ส่วนหญิงไว้ทรง Reticulated Headdress หรือถักเปีย 2 ข้าง ขมวดไว้ข้างหูแล้วคลุมด้วย Net ประดับเพชรพลอย 

เสื้อคลุมจะมีหลายแบบลักษณะตัดยาว ทั้งมีปกและไม่มีปก แขนกว้างทรงกระบอกหรือ ปลายแขนกว้างประดับด้วยขนสัตว์ 

รองเท้าจะเป็นรองเท้าปลายงอน

อังกฤษสมัยฟื้นฟู

สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7-8 (1485-1447) 

ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 (1485-1509) เสื้อทูนิคของชายสั้น เปิดอก มองเห็นชุดปักด้านใน บริเวณคอเสื้อมีจีบ สวมเสื้อ Gown ทับ แขนพอง เจาะผ้า ผู้หญิงทรงกระโปรงยังเป็นทรงระฆัง ชั้น ในเป็นผ้าดิบแข็งเพื่อช่วยให้กระโปรงพอง เสื้อรัดรูป แขนเสื้อจะยาวและกว้าง 

ผม ชายไว้ทรงบ๊อบ สวมหมวกกำมะหยี่ดำ เรียกว่า Gable hood ใช้สวมทับหมวกชั้น ใน อีกที มีเชือกผูกให้พองไว้ด้านหลัง ด้านหน้าเป็นกระบังมีปักลวดลาย มีผ้าอีกชั้น รัดไว้ใต้คาง 

รองเท้าเป็นผ้าหนัง หรือกำมะหยี่ มีปักและประดับด้วยเพชรพลอย 

ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (1509-1541) การแต่งกายมี 2 แบบ 
แบบเสื้อไหล่กว้างและหนุนให้ตั้งเพื่อให้ดูสง่า แขนพองมีการเจาะผ้า สวมกางเกงรัดรูป รองเท้าหัวเหลี่ยม สวมเสื้อเชิ้ต และทูนิคไว้ข้างใน ปกระบายรูดติดลำคอ มีไหมสีดำ ผ้าผูกที่คอเสื้อ ต่อมากลายเป็นไทด์ (Tied) ปลายแขนเสื้อเชิ้ต รูดระบายมีปักแบบสเปน 

อีกแบบคือ แบบไหล่แคบเพื่อทำให้ดูผอม ชั้น ในจะสวม Waistcoat เป็นเสื้อรัดรูปทำให้ เห็นเชิ้ต ตัวใน สวมกางเกงรัดรูป 

การแต่งกายทั้ง 2 แบบ จะสามารถเปลี่ยนแบบได้หลายแบบ โดยเฉพาะแขนทำเป็น แขนปลอมไว้ สามารถถอดเปลี่ยนได้โดยมีเชือกผูกที่หัวแขน 

ผู้หญิง กระโปรงทรงบานบริเวณสะโพก และหน้าท้องมีเครื่องรัดเรียกว่า Kirtle สวม เสื้อ ผ้าต่วนลายดอกทับข้างนอก ดอกทับ และสวมเสื้อคลุม (Gown) ทำจากผ้ากำมะหยี่ คอเหลี่ยม กว้าง แขนหลวมสวมทับอีกที เริ่มมีชุดนอนทำจากผ้าต่วนสีดำ กุ๊นด้วยกำมะหยี่สีดำ นิยมน้ำหอม

สมัยพระเจ้า Edward ที่ 6, พระนาง Mary พระนาง Elizabeth (1547-1603) 

ในช่วงของสมัยพระเจ้า Edward ที่ 6 และพระนาง Mary (1547-1553, 1553-1558) การแต่งกายไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ความหรูหราจะมีน้อยลง แต่ก็มีการเริ่มใช้ปกเสื้อ เป็นครั้งแรก ปลายปกจะมีลวดตรึงติดเพื่อการจับจีบและระบาย และมีการปักตกแต่งได้รับอิทธิพล การแต่งกายมาจากสเปน จนกระทั่งถึงสมัยพระนางอลิซาเบท (1558-1603) มีการเปลี่ยนแปลง การแต่งกายใหม่บ้าง ได้เปลี่ยนทรงกางเกงผู้ชายเป็นแบบ Trunk hose เป็นกางเกงที่ส่วนบนจีบ พองและเจาะผ้า และรัดไว้ที่ปลายขาโดยมีแถบริบบิ้น ผูกไว้ ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ยางยืดเป็นเสื้อ เข้ารูปปลายบานเหมือนกระโปรงสั้น มีเจาะผ้าและปักตามรอยเจาะ 

ผมของผู้ชายตัดสั้น ไว้หนวด แต่งเรียวแหลม สวมหมวกมีปีก 

การแต่งกายของผู้หญิง การแต่งกายก็เหมือนกับสมัยก่อน แต่กระโปรงจะบานมาก มีการใช้ โครงในที่เรียกว่า Wheel Farthingale กระโปรงจะแยกตรงกลางให้เห็นผ้าลวดลายชั้น ใน รองเท้า จะประดับด้วยลูกไม้ หรือปักด้วยไหมส้นสูง ผมนิยมไว้ผมปลอมประดับด้วยเพชรพลอย ย้อมผม สีแดง และสีบรอน 

ในยุคนี้ค้นที่ไม่ใช่เจ้าห้ามใส่ชุดสีแดง และนุ่งกางเกงขาสั้นรัดปลายขา

สมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 และพระเจ้าชาลส์ที่ 1 (1603-1625, 1625-1649) 

ในระยะแรกการแต่งกายของชายจะเป็นเสื้อรัดรูปที่เรียกว่า Doublet มีชายเหลือคลุมถึง ระดับสะโพกเหมือนกระโปรงสั้น ไหล่พอง มีปีกแขนเสื้อ ต่อมานิยมใช้ปักผ้าลินินกว้างพอดีไหล่ ตกแต่งริมด้วยลูกไม้ มีสายริบบิ้น ผูกด้านหน้าเป็นปกหลอก ต่อมาเปลี่ยนใช้เสื้อแบบ Cavalier จะเป็นเสื้อเอวปล่อยแทน Doublet เรียก Jacket สวมทับบนเสื้อเชิ้ต มีสายคาดทับบน Jacket ทำจากหนังหรือผ้าต่วน กางเกงชายจากเดิมพอง ๆ และรูดที่ปลายขาเปลี่ยนมาเป็นทรงหลวม ๆ ยาวถึงเข่า รวบปลายขา ผูกด้วยลูกไม้ หรือเป็นเสื้อคลุมหลวม ๆ ตัวสั้น ผมยาวม้วนหยิกเป็นหลอด สวมหมวกขอบใหญ่ทรงเตี้ย หรือขอบเล็ก ทรงสูงนิยมด้วยขนบีเวอร์ รองเท้านิยม Boot ทำด้วย หนังนิ่มสีอ่อน ๆ เสริมพื้น ใต้รองเท้าสูง เรียกว่า Platform นิยมสีแดงมี Spur 

การแต่งกายของผู้หญิง ระยะแรกจะใส่กระโปรงมีโครงด้านในที่เรียกว่า Farthingale ต่อมาสวมเสื้อคนละท่อนกัน กระโปรงตัวหลวม ด้านหลังมีเชือกร้อยรัดแน่น กระโปรงชั้น นอกจับ ให้หยักรั้งขึ้น ไปให้เห็นกระโปรงชั้น ใน ปกเสื้อใหญ่จากคอลงไปปิดไหล่ ประดับลูกไม้หรือปักมีทั้ง แขนยาวและสั้น 

ผมของผู้หญิง ทำเป็นหลอดปรกหน้าผากด้านหน้าและด้านข้าง รองเท้าหัวเหลี่ยมส้นไม่สูง ผูกริบบิ้น ติดดอกกุหลาบ

ต่อมาในสมัยโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell 1694-1660) เป็นขุนนางอังกฤษ ที่ทนดูการฟุ่มเฟือย หรูหรา ในราชสำนักไม่ไหวจึงยึดอำนาจ และได้เปลี่ยนแปลงการแต่งกายใหม่ ลดความหรูหรา สุรุ่ยสุร่ายลง เป็นแบบเรียบ ๆ ง่าย ๆ ใช้สีตกแต่งแทนเครื่องประดับ สีที่ใช้เป็น สีขรึม ๆ เสื้อผู้ชายเสื้อคลุมเปลี่ยนเป็นแบบไม่มีแขน ปกเรียบ ผู้หญิงกระโปรงก็ไม่บานมาก เสื้อ รัดรูป ข้างหน้าทำเหมือนผ้ากันเปื้อนสีขาว ผูกติดไม่มีผ่ากลาง แยกให้เห็นชั้น ในเหมือนในสมัยก่อน

ต่อมาเมื่อ Oliver Cromwell เสียชีวิตมีการปฏิรูปให้กษัตริย์กลับมีอำนาจอีกเรียกว่า สมัย The English Restoration ของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และพระเจ้า James ที่ 2 (1660-1685, 1685-1689) การแต่งกายก็มีการเปลี่ยนแปลงไป 

ชายจะแต่งตัวสวมเสื้อรัดรูป มีการตกแต่งลูกไม้และจีบบริเวณแขนเสื้อและรัดเป็นปล้อง ๆ ให้พองเหมือนเดิม ผมไว้ยาวและสวมหมวก สวมรองเท้าหนังประดับริบบิ้น 

หญิงสวมเสื้อรัดรูป โดยมี Corset เป็นเครื่องรัด เสื้อคอกว้าง ดันหน้าอกให้สูงขึ้น แขนเสื้อ กว้างและรัดเป็นปล้อง ๆ ให้พอง ชายกระโปรงและชุดชั้น ในตกแต่งด้วยลูกไม้

การแต่งกายฝรั่งเศสสมัยกลาง

ในสมัยนี้ผู้หญิงและผู้ชายยังคงสวมเสื้อผ้าเหมือนชาวโรมัน จะใส่ชุดทูนิค 2 ชั้น และมีเสื้อ Mantle คลุม เสื้อชั้น ในจะยาวเป็นทรงตรงมีแขน มีเข็มขัดคาดเรียกว่า Chainse อีกชั้น หนึ่งจะ สวมชุดที่เรียกว่า Bliaud หรือ Bliaut ซึ่งไม่มีแขนและคอปก เสื้อคลุมจะมีที่กลัดไว้ที่ด้านหน้าหรือ ด้านข้างขวาที่ไหล่ (ชุด Bliaud ต่อมาจะเป็น Blouse) 

ในศตวรรษที่ 13 ชุดทูนิคชั้นในที่เรียกว่า Chainse ต่อมาวิวัฒนาการเป็น Chemise ทำจาก ผ้าขนสัตว์ หรือลินินเนื้อนิ่มบางนุ่ม สีนวลอ่อน ๆ เป็นการเริ่มต้นของเสื้อชั้น ในเรียกว่า Lingerie ต่อมา มีการเปลี่ยนการใช้ผ้าที่ใช้ทำเสื้อผ้ามาเป็นผ้า Batiste Chambray เป็นผ้าที่ทำจากด้าย ลินินอย่างดี 

ต่อมาเสื้อเชอร์โคท (Surcoat) ก็เป็นที่นิยมกัน ลักษณะเสื้อเป็นทรงหลวม ๆ คล้ายเอี้ยมเด็ก ตัวยาวด้านข้างจะโค้งลงมาเผยให้เห็นแนวสะโพก ซับในด้วยขนสัตว์ เสื้อเชอร์โคทเวลาใส่จะ มองเห็นชุดชั้น ในที่เรียกว่า คอทฮาร์ได (Cotehardie) มีลักษณะรัดรูปผ่ากลางหน้า แขนยาว กระชับติดกระดุมที่แนวข้อศอกถึงนิ้วก้อย 

ประมาณกลางศตวรรษที่ 15 เสื้อ Surcoat เริ่มหมดความนิยมมานิยมเสื้อลาโรป (Larobe) แทน มีลักษณะเข้ารูปรัดเอว แขนแคบ กระโปรงพองกลางยาวถึงพื้น ผู้ชายใส่เสื้อ Jacket แทน Surcoat ต่อมานิยมใช้เสื้อคลุมแบบใหม่แทน Mantle หรือ Cloaks เรียกว่า Houppeland เป็น เสื้อคลุมตัวยาว แขนกว้าง ชายแขนเป็นชายโค้งประดับด้วยขนสัตว์ คอตั้งมีเข็มขัดคาด 

ผมในสมัยแรกชายนิยมไว้ผมยาวถึงไหล่ ไว้หนวด ต่อมาโกนหนวดทิ้ง ทำผมบ๊อบ ข้างหน้า ไว้ผมหน้าม้า ระยะหลังจึงกลับมาไว้ผมยาวอีก 

ผู้หญิง ไว้ผมแสกกลางถักเปีย 2 ข้าง บางทีใส่วิก ระยะหลังไว้ทรงมาดอนน่า คือ แสก กลางหวีลงมาข้างแก้ม ระยะหลังจะถักเปียแล้วขมวดเป็นวงกลมไว้ข้างหู หรือปิดหูทั้ง 2 ข้าง 

การใช้หมวก ในระยะแรกผู้หญิงไว้ผมยาวถักเปีย แล้วใช้ผ้าลินินคลุมเรียกว่า Couvechef อังกฤษเรียก Wimple ต่อมาดัดแปลงเป็นหมวกเล็ก ๆ ทำจากผ้าลินินลงแป้งแข็งจับ เป็นจีบ มีสายรัดใต้คางเรียกว่า Toque ผู้ชายสวมหมวกที่เรียกว่า Chaperon turban ลักษณะ เหมือนหงอนไก่ ต่อมามีการใช้ net คลุมผมในลักษณะต่าง ๆ กัน 

รองเท้า เรียกว่า พัวเลนซ์ (Poulaines) ได้แบบมาจากโปแลนด์ ลักษณะหัวรองเท้า ปลายทำงอนยาวและแข็ง มียศมากยิ่งยาวมาก ปลายยาวขนาดต้องเอาโซ่มาผูกกับข้อเท้า คน ธรรมดายาวเพียง 6 นิ้ว

ฝรั่งเศสสมัยฟื้นฟู 

สมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 8 (1483-1498) หลุยส์ที่ 12 (1498-1515) 

ผู้ชาย ใส่เสื้อรวม 3 ชั้น สวมเสื้อชั้น ในเป็นผ้าเนื้อบาง มีตกแต่งที่คอด้วยลูกไม้หรือกำมะหยี่ มีเสื้อตัวสั้น อีกชั้น เรียก Pourpoint เป็นเสื้อคอกว้าง นิยมคอเหลี่ยมนุ่งกางเกงรัดรูป มีสีสัน มีเสื้อ คลุม 

ผู้หญิง เสื้อเป็นแบบเข้ารูป ชั้น ในจะมีรัดทรงทำจากผ้าลินิน เสื้อมี 2 แบบ

  • แบบอิตาเลียน จะเป็นเสื้อตัวยาวถึงพื้น แขนยาว พองรัดเป็นปล้อง ๆ
  • แบบฝรั่งเศส ลักษณะเหมือนกัน แต่แขนกว้างพับตลบเป็นขอบใหญ่

นิยมเสื้อคอสี่เหลี่ยม กระโปรงทรง Aline บาน ผ่าหน้าแยกให้เห็นชุดชั้น ใน ข้างในกระโปรง มีผ้าหนา ทำเป็นกระโปรงชั้น ในเพื่อให้กระโปรงชั้น นอกทรงรูปอยู่ได้ 

รองเท้า ทำจากไหม กำมะหยี่ นิยมหัวเหลี่ยม มีสายคาดทำด้วยทองหรือโลหะ

สมัยพระเจ้าฟรังสวาที่ 1 (1515-1547) พระเจ้าเฮนรี่ 2 (1547-4559) 

ทั้งชายและหญิงยังนิยมสวมเสื้อคอกว้าง สี่เหลี่ยม และคอระบายสูงติดลำคอ แขนกว้าง และพองเป็นปล้อง ๆ นิยมเจาะผ้า กางเกงผู้ชายจะรัดปลายขาติดกับถุงเท้า มีเจาะผ้าตามตัว กางเกงให้เห็นผ้าชั้น ในเรียก Panes Breeches 

ผู้หญิงเริ่มใส่กระโปรงชั้น ในแบบมีโครงเป็นสุ่มเรียก Hoop ช่วงบนของโครงกระโปรง ทำด้วยผ้าเนื้อหนา ช่วงล่างทำด้วยหวาย กางออกจากเอวถึงพื้น เรียกทรง Conical Shape จะมี Cotte สวมทับบนสุ่มเป็นชุดที่ปักฝีมืองดงาม กระโปรงชั้น นอกจะผ่าหน้าให้เห็นรอยปัก ตัวเสื้อคับ เข้ารูป มีเครื่องรัดทรงเรียกว่า Basquine ไม่เรียกว่า Corset 

ทรงผมยังคงไว้ทรง Madonna แล้วมีผ้าคลุม มีปักตกแต่งด้วยมุก 

สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 รูปทรงกระโปรงเป็นสุ่มกว้างออกด้านข้าง โดยใส่นุ่นหรือสำลี หนุนเสริมให้กางออก เครื่องเสริมกระโปรงทำโดยใช้ลวดหรือเหล็กหรืองาช้างหรือเงิน ใช้ผ้าหุ้ม เสื้อ เอวต่ำถึงแนวสะโพก มีเครื่องรัดอกและเอว เสื้อคอสูงติดคาง มีจีบรอบโดยมีโครงลวดเล็ก ๆ เป็นที่ยึดให้เป็นจีบ ริเริ่มการใช้ถุงมือหนัง และสวมรองเท้าส้นสูงจนถึงปัจจุบัน ใช้น้ำหอม

สมัยราชวงศ์ The Valois 

พระเจ้าชาร์ลที่ 9 และพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 (1560-1574, 1574-1589) 

ในสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 9 เสื้อผ้าชายจะมีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือใส่เสื้อ Pourpoint หรือ Doublet เป็นเสื้อเข้ารูปจากเอวลงมาจะมีชายเสื้อเหลือคลุมถึงสะโพกเหมือนใส่กระโปรงสั้น เจาะผ้า แขนยาว ปลายแขนคับ เสื้อชั้น ในมีปก บางทีคอฟู ๆ สวมเสื้อคล้ายปีกนก หนุนไหล่ให้ตั้ง นิยมแขวน นาฬิกาไว้ข้างเอว และมีกระเป๋าติดไว้ที่แขนเสื้อนอก สวมหมวกกำมะหยี่และไหม ประดับขนนก 

หญิงนิยมสวมกระโปรงซึ่งมีโครงด้านในลักษณะเป็นวงล้อกลม ๆ ติดไว้ที่สะโพกเพื่อให้ กระโปรงภายนอกบานออก สวมเสื้อคอสูง บานรอบคอหนุนไหล่ให้ตั้ง แขนพอง มีแขนปลอมสวมไว้ 

ผม ชายตัดสั้น ไว้หนวดตัดเรียวแหลม หญิง ผมแสกกลางม้วนไว้ด้านข้าง นิยมใช้ปลอกมือ เรียกว่า Muffs ทำด้วยขนสัตว์สีต่าง ๆ เครื่องแต่งกายนิยมสีดำ 

สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 แบบเสื้อนับว่าเสื่อมลงเพราะพระองค์นิยมฉลองพระองค์แบบผู้หญิง สวมเสื้อซับในให้พอง มีลายตามขวาง ชายเสื้อด้านหน้าแหลม ด้านข้างพอดีเอว คอเสื้อขดด้วยลวด บนผ้า ปลายจะบานออก ชายเสื้อจะลงมาคลุมสะโพก ช่วงขาสวมกางเกงยาวแค่เข่า เรียกว่า Canions ใส่เสื้อคลุมทั้งยาวและสั้น เรียกว่า Capes ถ้ามีหมวกติดกับเสื้อคลุมเรียกว่า Cowl 

เสื้อของผู้หญิงไม่มีการเปลี่ยนแปลง กระโปรงจะมีโครงด้านในเรียกว่า Frencdh verdingale เป็นหมอนผูกไว้ที่ส่วนสะโพกเพื่อให้กระโปรงกางออก รูปทรงกระโปรงจะแบน ด้านหน้าและหลังพองออกมาก ๆ เสื้อคลุมส่วนมากจะยาวถึงพื้น กางออกเป็นรูประฆัง ริมชายเสื้อ ประดับด้วยขนสัตว์ แขนพอง ผ่ากลางหน้า 

ผม นิยมขดเป็นก้นหอย แสกกลาง เกล้ามวยไว้ข้างหลัง รองเท้า นิยมรองเท้า Boots ทำจากหนัง

สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 และพระนางแมรี่ เดอร์ มิดิซี (1589-1610-1617) 

มีการใช้ waistcoat แทน doublet หรือ Pourpoint ใช้ Jacket เป็นตัวเสื้อนอกแทน เสื้อ คลุม ชุดทูนิคเปลี่ยนเป็น dress รองเท้าผู้ชายนิยมส้นสูงที่ตกแต่งด้วยดอกกุหลาบ 

กระโปรงผู้หญิงกางออกมาจากเอวเป็นวงกลม บางทีก็ออกจากด้านข้างแบบสเปนยังคงใช้ โครงด้านใน เครื่องรัดทรง กระโปรงทำจากผ้าไหมปัก และตกแต่งริบบิ้น

สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 (1610-1643) 

ระยะแรกยังคงใช้เสื้อรัดรูป มีตกแต่งที่คอและแขนด้วยลูกไม้ สวมกางเกงขายาวถึงเข่า รวบรัดปลายขา ไว้ด้วยริบบิ้น เรียกว่า Cannons เลิกใช้กางเกง Trunk hose ใส่ Waistcoat แขนเสื้อจะเป็นแขนของตัวเสื้อเอง ไม่ใช้แขนเสื้อปลอม เสื้อเจาะเห็นเสื้อเชิ้ต ตัวใน ปกเป็นปกหลอก 

รองเท้าบูท ทำด้วยหนัง ได้แบบจากสเปน รองเท้าจะมี Spurs ที่ส้นรองเท้า ถุงเท้าถักจาก ไหมสีแดง 

ผมนิยมสวมวิกเป็นหลอด ๆ ชายไว้ผมแสกกลางดัดหยิกปล่อยยาวถึงไหล่ ผู้หญิงรวบขึ้น แล้วปล่อยบางส่วนลงมาเป็นหลอด 

หญิง ระยะแรกแต่งกายเหมือนเดิม ระยะหลังเสื้อไม่รัดตัวมาก ตัวกระโปรงพองน้อยลง เอวเริ่มสูงขึ้น บางทีสวมผ้ากันเปื้อนประดับลูกไม้ 

รองเท้าทำด้วยผ้าต่วนไหมหรือหนังจากมอรอคโค ส้นสูง ส่วนถุงน่องสีชมพู สีแดง รองเท้า มีลิ้น ข้างบนติดดอกกุหลาบบนลิ้น ด้านบน

สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ค.ศ. 1644-1661-1670 

ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะเป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเป็นผู้นำแฟชั่น เครื่องแต่งกายจะนิยม ประดับด้วยลูกไม้ 

ผู้ชาย จะสวมเสื้อข้างในรูดพองที่ข้อมือ และมีระบายลูกไม้เป็นแถบกว้างที่ปลายแขน และติดลูกไม้บริเวณอกเสื้อ สวมเสื้อตัวนอกเป็น Jacket เอวลอย นิยมผ้าพันคอประดับลูกไม้ คาดสายสะพายประดับลูกไม้บาง บางแบบสวมเสื้อคลุมยาวและพอง บางแบบจะสวมทั้งกางเกง และกระโปรง ลักษณะกระโปรงจีบพองประดับลูกไม้ กางเกงจะรูดพองที่ปลายขา และมีระบาย ลูกไม้กว้างที่ปลายขากางเกง 

ผู้หญิง สวมกระโปรงชั้น ในพองประดับด้วยทอง เงิน ลูกไม้ ริบบิ้น เป็นผ้าไหมคอกว้าง แขนจีบพองติดลูกไม้เป็นระบาย กระโปรงชั้น ที่ 2 สวมทับตัวแรกมีผ่าหน้า ด้านหลังปล่อยยาว เป็นหาง สวมเสื้อคลุมมีจีบพองด้านหลังมีหมวกเย็บติด รูปทรงของเสื้อด้านในจะรัดรูป 

รองเท้า ผู้หญิงจะสวมรองเท้าส้นสูง ทำจากผ้าต่วนปัก หรือหนังตกแต่งด้วยริบบิ้น ดอกกุหลาบ เพชรพลอย ผู้ชายสวมรองเท้า Baskin เป็นรองเท้าหนัง และผ้ามีสายรัดยาวครึ่งน่อง หัวเหลี่ยม ส้นใหญ่ ด้านหน้ามีโบว์ประดับ 

ผม นิยมสวมวิก ให้ยาวและหยิก

สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์ต่อมาไม่นานก็ลง สำเร็จโทษโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฉะนั้น การแต่งกายของสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จะมีการ เปลี่ยนแปลงเครื่องประกอบการแต่งกายเล็กน้อย ทรงผมของผู้ชายจะสวมวิกที่เรียกว่า Cadogan wig มีม้วนเป็นหลอดอยู่สองข้าง รูปทรงของหมวกและการผูกผ้าพันคอของผู้ชาย ส่วนของผู้หญิง รูปทรงกระโปรงยังคงบานในลักษณะวงกลมเช่นเดิม มีโครงในกระโปรงเรียกว่า Doble Panmiers ชุดก็ยังคงมีลูกไม้และริบบิ้น ตกแต่งเป็นผ้าต่วนไหมและกำมะหยี่ กระโปรงจะมีผ่าหน้าและยกหยัก รั้งด้านข้าง ทั้ง 2 ข้างขึ้น ไปพองอยู่ด้านข้าง 2 ข้าง

ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความสุรุ่ยสุร่าย หรูหรามาก ประกอบกับพระมเหสีคือ พระนางแมรี่ อังตัวเนต ชอบการแต่งกาย ฉลองพระองค์ด้วยเสื้อ รัดรูป คอลึก กระโปรงพอง ด้านหลังด้วยการจับจีบเดรฟ มีโครงกระโปรงที่เรียกว่า สุ่มไก่ ทำด้วยโลหะสามารถกางและหุบได้ ทรงผมประดับด้วยไข่มุก ขนนก และดอกไม้ 

ผู้ชายจะสวมเสื้อคลุมยาวปิดสะโพก นุ่งกางเกงรัดขา ใส่ถุงเท้ายาว เสื้อชั้น ในเป็นเชิ้ต มี จีบระบายที่อกและแขน มีเสื้อตัวสั้น ทับก่อนใส่เสื้อคลุม

สมัยไดเรคโตรี่ Directories (1795-1799) 

คณะกรรมการไดเรคโทรี่ เข้าปกครองประเทศฝรั่งเศสหลังจากฝรั่งเศสกำลังปฏิวัติครั้งใหญ่ และมีนักออกแบบได้เปลี่ยนแนวคิดการออกแบบเครื่องแต่งกายแนวใหม่ เรียกว่านิวคลาสสิคซีซัม (New Cassicism) ซึ่งมีลักษณะเหมือนการแต่งกายของกรีกและโรมันในยุคท้าย ๆ คือ เสื้อมี ลักษณะเอวสูงขึ้น ไปถึงอก ทรงหลวม ๆ มีโบว์ตกแต่งใต้อก คอกว้าง เลิกใช้เครื่องรัดทรง ใช้ผ้า เนื้อบางเบา สวมรองเท้าสานเตี้ย 

การแต่งกายของชาย จะสวมเสื้อเชิ้ต สีขาว ใส่เสื้อรัดตัวที่เรียกว่า waist coats ทับสวม กางเกงรัดขายาวครึ่งน่องหรือถึงข้อเท้า สวมเสื้อโคทยาวปิดสะโพก แขนรัดรูปปกแบะใหญ่ออก มีขนาดใหญ่ นิยมผูกผ้าพันคอสูง ไว้ผมทรงยุ่ง ๆ มีจอนข้างหูเรียก “dog’s ears” สวมรองเท้าบูท

สมัยฝรั่งเศสคอนซูเลท และเอ็มไพร์ 

The French Consulate and first Empire 1799-1815 

ในสมัยนี้ประเทศฝรั่งเศสจะตกอยู่ในการปกครองของจักรพรรดิ โปเลียน ซึ่งทำการปฏิวัติ มาจากคณะไดเรคโตรี่ 

เครื่องแต่งกายจะเหมือนกับสมัยของ Directories แต่จะเรียกทรงเอ็มไพร์ หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า คลาสสิเคอร์ สไตล์ “Classical Style” มีลักษณะเหมือนกับกรีกและโรมัน คือ ลักษณะชุดกระโปรงจะตรงลงไประดับของเอวอยู่ใต้อก 

เครื่องแต่งกายชายเริ่มจะเป็นปัจจุบันมากขึ้น เริ่มนุ่งกางเกงทรงใหม่ ๆ เริ่มใช้ผ้าพันคอ และออกแบบเสื้อสูทแบบต่าง ๆ มีทั้งแบบ Claw hammer taill เป็นเสื้อสูทที่ข้างหน้าสั้น แค่เอว ข้างหลังเป็นหางยาวคลุมสะโพกมีแหวกตรงกลาง และแบบเต็มทั้งตัว 

ในสมัยนี้จะมีเสื้อยกทรงตัวแรกทำด้วยผ้ามัสลิน เรียก แบนเดิน “Bandean” ซึ่งต่อมา วิวัฒนาการเป็นเสื้อยกทรง

สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (1815-1824) 

จะเป็นสมัยที่ฝรั่งเศสกลับมาหรูหรา ฟุ่มเฟือยอย่างเดิมอีก โดยนำเอาการแต่งกายของ สมัยพระนางแมรี่ อังตัวเนต และพระนางโยเซฟฟิน ซึ่งเป็นมเหสีของนโปเลียนมาผสมผสานกัน มีการตกแต่งหรูหราเพิ่มขึ้น แต่พอควร ให้ความรู้สึกละเอียดอ่อน เอวซึ่งเคยสูงก็กลับมาอยู่ในระดับ ปกติและรัดรูป กระโปรงบานออก แขนใหญ่ พองฟู ติดลูกไม้หรือโบว์ที่ขอบแขนเสื้อ แขนเสื้อทรง ขาหมูแฮม ผมเป็นลอนที่ท้ายทอยและหน้าผาก

สมัยพระเจ้าหลุยส์ฟิลลิป (1830-1848) 

ในสมัยนี้จะลดความหรูลง มีการจีบและระบายน้อยลง มาใช้การปักแทน ผู้หญิงจะไว้ผม เป็นหลอดและใช้โบว์คาดไว้ สวมรองเท้าหนัง มีขนสัตว์และริบบิ้นผูก เครื่องรัดทรงมีลูกไม้ตกแต่ง สีดำ ส่วนชายสวมเสื้อคลุมมีปก ตัวเสื้อยาวผ่าหน้าเข้ารูป เรียกว่า frock coat สวมกางเกงทรงแคบ เสื้อชั้น ในสีขาวมีปกตลบที่คอ

ฝรั่งเศสสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (1848-1870) ในสมัยนี้ฝรั่งเศสจะมีการปกครองแบบมีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารประเทศ จะมีการ แต่งกายที่มีลักษณะที่เรียกว่า S-line สตรีจะสวมกระโปรงที่มีเส้น Princess ใช้ผ้าไหม ใช้ผ้าเนื้อ บางทำเป็นปก สวมถุงมือ ผมหยัก ใช้โครงลวดข้างในดันเฉพาะด้านหลัง เอวเล็ก และดันทรงให้ อกแอ่น เสื้อมีแขนปลอม สำหรับผู้ชายสวมเสื้อคลุมตัวหลวม ซับในด้วยผ้าต่วน เสื้อเชิ้ต สวมด้านในนุ่งกางเกง ลายทางที่นิยมกัน สวมหมวกไหมสีดำ รองเท้าดำ 

ฝรั่งเศสสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (1870-1880) 

การแต่งกายของสตรีสมัยนี้จะคล้ายสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ลักษณะของทรงกระโปรง จะเป็นตัว “S” มีการดันก้นด้านหลังให้โด่งขึ้น ด้วยการใช้เครื่องชั้น ในเรียกว่า Braided Wire bustles เป็นโครงลวดที่ทำเป็นชั้น ๆ กระโปรงที่ใส่ด้านในจะมีลูกไม้ประดับเป็นชั้น ๆ เพื่อให้ข้างหลังพอง 

และในปีต่อ ๆ มาก่อนมีสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เริ่มมีนักออกแบบเกิดขึ้น มีแฟชั่นที่เรียกว่า Gibson girl มีลักษณะเป็นเสื้อรัดรูปดันอกใช้ผ้าตาเล็ก ๆ สี่เหลี่ยมเป็นผ้าทาฟต้า สวมเสื้อกัก สั้น ผ่าหน้าที่เรียกว่า Bolero ผูกโบว์ที่คอ ประดับด้วยกุหลาบ ใบไม้ ลูกไม้ มีเสื้อ Princess line จากสมัยนี้

ฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (1920-1930-1942) 

ในสมัยที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยเราอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 หลังจาก สงครามโลกแล้ว ผู้หญิงจะมาแต่งตัว นุ่งกระโปรงรัดรั้งอย่างเดิมไม่ได้ เพราะในช่วงสงครามผู้หญิง จะต้องแต่งตัวแบบสบาย ๆ และเศรษฐกิจหลังสงครามตกต่ำ จึงมีการเปลี่ยนแปลงแฟชั่นใหม่ในปี ค.ศ. 1920 ซึ่งเรียกว่า The Gay Twenties หรือแฟชั่นปี 1920 ซึ่งเป็นมูลฐานในการเรียกแฟชั่นแต่ ละปี 

The Gay Twenties เป็นเสื้อที่เก๋สวมใส่สบาย ทรงหลวม ตัวยาวแค่สะโพก กระโปรง คลุมเข่าเรียกว่า Gasby สำหรับชุดราตรียาว นิยมผ้าต่วนดำ ทรงกระโปรงจะบานตรงชาย เล็กน้อย เปิดผ่าด้านหลัง เริ่มมีชุดอาบน้ำที่ทำจากผ้าเจอร์ซี่ ถุงน่อง เสื้อยกทรง “Brassiere” กระโปรงชั้น ใน “Petticoat” ทำด้วยผ้าเจอร์ซี่ ชุด Slip มีสเตย์รัดหน้าท้อง

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (1942) 

เป็นภาวะที่ฝรั่งเศสขาดแคลนเครื่องแต่งกาย สินค้าผ้าขาดแคลน การแต่งกายของผู้หญิง ต้องมีการจำกัดเรื่องผ้า เป็นกระโปรงทรงตรง ๆ แคบ ผ่าข้างหลัง หรือหน้าเพื่อให้เดินสะดวก ชายเสื้อกระโปรงพับได้ไม่เกิน 1 นิ้ว

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (New Look 1974) 

เมื่อสงครามโลกดำเนินมาได้ 4 ปี หลังจากนี้ก็มีนักออกแบบเสื้อผ้าเกิดขึ้น หลายคน จนกระทั่ง ค.ศ. 1974 Christian Diro ได้นำผลงานที่ชื่อ New Look ออกแสดงและประสบ ความสำเร็จเป็นลักษณะกระโปรงบาน คลุมเข่า จนถึงข้อเท้ามีหลายแบบทั้งเป็นผ้าเฉลียง จีบ รอบตัว ต่อระบายเป็นชั้น ๆ มีความกว้างมาก เสื้อเป็นเสื้อเข้ารูป และมีกระโปรงทรง A-line ที่ น่าสนใจอีกชั้น หนึ่ง ลักษณะกระโปรงจะบานออกเล็กน้อย และใช้เกล็ดตามยาวช่วยทำให้ดู รูปร่างดีขึ้น 

สำหรับเครื่องแต่งกายของผู้ชายได้วิวัฒนาการจากเดิมมาก ตัดความหรูหราเกินความ จำเป็น ลงไปบ้าง และใช้เป็นชุดสากลมาจนปัจจุบันนี้

อ้างอิงhttps://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/09.html

แบ่งปันสิ่งนี้:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…

[NEW] การแต่งกายของไทย ในรัชกาลที่ 4 – 5 | การ แต่ง กาย แบบ ตะวันตก – Australia.xemloibaihat

การแต่งกายของไทย ในรัชกาลที่ 4 – 5

การแต่งกายของไทย ในรัชกาลที่ 4 – 5

   สมัยรัตนโกสินทร์ ( 2310-2394 ) การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์ในระยะแรก คงมีลักษณะ คล้ายคลึงกับ สมัยอยุธยา ตอนปลาย แต่ต่อมาภายหลัง เมื่อได้ติดต่อกับ ชาวยุโรป และได้รับ วัฒนธรรมตะวันตก แบบอย่าง ประเพณีและการแต่งกาย จึงเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม ในรัชกาลที่ 1-3 ผู้ชายนิยมไว้ “ผมทรงมหาดไทย” หรือ “ทรงหลักแจว” ไม่นิยมใส่เสื้อ นุ่งโจงกระเบน ผู้หญิงไว้ผมทรงปีก เพียงแต่ไม่สั้นเกรียน แบบผู้ชาย ห่มสไบทับเสื้อแบบแขนทรงกระบอก นุ่งผ้าโจงกระเบน ส่วนเจ้านายฝ่ายใน นิยมห่มสไบปัก นุ่งผ้าลายทอง

ทรงหลักแจว

การแต่งกายของไทยผมทรงมหาดไทย

การแต่งกาย ในรัชกาลที่ 4 ( 2394-2411 )

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร 4 ) ได้มีการติดต่อกับฝรั่งมากขึ้น การแต่งกาย ของข้าราชการฝ่ายชาย เริ่มมีการ ใส่เสื้อเข้าเฝ้า และสวมรองเท้า ส่วนผู้หญิงห่มสไบ ใส่เสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าโจงกระเบน ถ้าเป็นเด็ก นิยมเกล้าผมไว้ เป็นจุก ใส่เสื้อคอกลม ติดลูกไม้

รัชกาลที่ 4

ในรัชกาลที่ 5 ( 2411-2453 )

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร 5 ) ภายหลังจากที่ได้เสด็จประพาสยุโรปแล้ว อิทธพลการแต่งกาย ของฝรั่งได้เข้ามา เจ้านายฝ่ายในได้เปลี่ยนจากห่มสไบ มาใส่ เสื้อลูกไม้แขนพองแบบฝรั่ง ตกแต่งด้วยสร้อยคอยาว สวมถุงเท้ายาว ซึ่งเจ้านายสตรีชั้นสูง เป็นผู้ริเริ่มการแต่งกายของสตรี โดยเฉพาะสตรีในราชสำนักมี การดัดแปลง แก้ไข หลายครั้ง ต้นรัชกาลภายในวังฝ่ายใน ขึ้นกับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราประยูร (พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 ) ซึ่งโปรดให้เจ้านายฝ่ายใน เปลี่ยนจากนุ่งโจง มานุ่งจีบ ห่มแพรสไบเฉียงตัวเปล่า ถึงพ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้แก้ไขใหม่คือ ให้คงการนุ่งจีบไว้เฉพาะ เมื่อจะแต่งกับห่มตาด หรือ สไบปัก ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายเต็มยศใหญ่ของสตรีในวังเท่านั้น ปกติให้นุ่งโจงใส่เสื้อแขนกระบอก แล้งห่มผ้าสไบเฉียง ทับตัวเสื้อ และให้สวมรองเท้ากับถุงเท้าหุ้มให้ตลอดน่อง สำหรับ เสื้อแขนกระบอกในสมัยนี้ มีการดัดแปลง เป็นแบบต่างๆ แล้วแต่ ความพอใจของ แต่ละ บุคลล เชื่อว่าเมื่อเลิกนุ่งจีบห่มสไบตัวเปล่า เครื่องประดับแบบ ที่เหมาะกับการแต่งกาย ดังกล่าว เช่น สร้อยสังวาลย์ กำไลต้นแขน จี้ขนาดใหญ่ ก็มักจะไม่ได้นำออกมาใช้ จึงหันไป ประดับเครื่องประดับอื่นแทน เช่น เข็มกลัดติดผ้าสไบ ทำรูปแบบ อย่างเข็มกลัด ติดเสื้อของสตรีตะวันตก ต่อมาได้มีการดัดแปลงการห่มสไบ มาเป็นสะพายแพรแทน โดยการนำแพรที่จีบตามขวางเอว มาจีบตามยาวอีกครั้ง จนเหลือเป็น ผ้าแอบตรึงให้เหมาะ แล้วสะพายบนบ่าซ้ายรวมชายไว้ที่เองด้านขวา เป็นที่นิยมกว่าการห่มสไบเฉียง อาจเป็น เพราะว่าแพรสะพาย ไม่ปิดบัง ความงามของเสื้อ เช่น การห่มสไบ เพราะตัวเสื้อ ไม่มีการประดับประดามากต่อๆมา

หลังจากที่การ เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2440 มีการนำแบบอย่าง การแต่งกาย ของสตรียุโรป มาดัดแปลงแก้ไข สตรีชั้นสูงเริ่มใช้เสื้อตัดตามแบบอังกฤษ สมัยควีนวิคตอเรีย เป็นเสื้อแขนพองตรงไหล่ แขนยาวและบางครั้ง ก็นิยมแขนเพียงศอก เรียกว่า ”เสื้อแขนหมูแฮม” หรือ ”ขาหมูแฮม” ตัวเสื้อประดับประดาด้วย อย่างงดงาม ด้วยลูกไม้ หรือติดโบว์ระยิบไปทั้งตัว ตัวเสื้อพอดีตัว คอเสื้อนิยมตั้งสูง แต่ยังคง นุ่งโจงกระเบน เป็นผ้าม่วง ผ้าลายหรือผ้าพื้นเมือง เข้ากับสีเสื้อแล้วแต่โอกาส และสะพายแพร สวมถุงน่องรองเท้า

ตอนปลายรัชกาล แบบเสื้อได้เปลี่ยนไปอีก ช่วงนี้นิยมใช้ผ้าแพร ผ้าไหมและผ้าลูกไม้ ตัดแบบยุโรปที่นิยมกัน ในสมัยนั้นคือ คอตั้งสูงแขนยาวฟูพอง มีระบายลูกไม้เป็นชั้นๆ รอบแขนเสื้อ เอวเสื้อจีบเข้ารูป หรือคาดเข็มขัด และยังสะพาย แพรสวมถุงเท้า ที่มี ลายโปร่ง หรือปักด้วยดิ้นงดงาม สวมรองเท้าส้นสูง

สำหรับแพรสะพาย ไม่ใช้แพรจีบ แล้วตรึงอย่างแต่ก่อน แต่ใช้แพรฝรั่งระบายให้หย่อนพองามแทน เป็นผ้าที่สั่งเข้ามา สำหรับเป็น แพรสะพาย โดยเฉพาะ เริ่มใช้เครื่องสำอาง ที่ส่งมาจากตะวันตกบ้างเช่น น้ำหอม เครื่องประดับนิยม สร้อยไข่มุก ซ้อนกันหลายๆสาย ประดับ เพชรนิลจินดา มากกว่าแต่ก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะออกแบบ แล้วสั่งทำจากต่างประเทศ

Share this:

Like this:

Like

Loading…

This entry was posted on November 4, 2012 . It was filed under Uncategorized .


หมายเหตุประเพทไทย #26 เสื้อผ้า อำนาจ และนางใน สมัยรัชกาลที่ 5


หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พบกับ ‘อรรถ บุนนาค’ และพิธีกรรับเชิญ ‘ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง’ มาคุยกันถึงเรื่องแฟชั่นการแต่งกายในอดีตของนางในและสาวชาววังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่สยามปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่ของตะวันตกมากขึ้น
ในอดีตชนชั้นสูงและข้าราชบริพารในวังถือเป็นผู้นำด้านการแต่งกาย มาชมรายละเอียดของแฟชั่นและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมถึงบรรยากาศการประชันขันแข่ง การจัดลำดับชั้น และความหมายของชุดแต่งกาย รวมไปถึงความนิยมในการแต่งกายแบบราชนิยมและสัญญะทางการเมือง และการต่อต้านผ่านการแสดงออกโดยการไม่แต่งกายตามแบบราชนิยมของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงแห่งล้านนา
http://prachatai.org/journal/2014/10/55965
ติดตามข่าวสารที่เฟซบุกแฟนเพจรายการหมายเหตุประเพทไทย
facebook.com/maihetpraphetthai

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

หมายเหตุประเพทไทย #26 เสื้อผ้า อำนาจ และนางใน สมัยรัชกาลที่ 5

motion graphic เรื่องวัฒนธรรมการแต่งกาย 4 ภูมิภาค ของประเทศไทย


motion graphic เรื่องวัฒนธรรมการแต่งกาย 4 ภูมิภาค ของประเทศไทย

ร้ายกาจนักนะ แดนซ์พาใครมาด้วย ? เด็กตกปลา


ซินเจียยู่อี่ซินนี้ฮวดใช้ !! พาสาวหมวยที่ไหนมาตกปลาเนี่ยแด๊นซ์
กิจกรรมรับอังเปาจากลุง … หาปลาช่อน 1 ตัวแล้วขึ้นมาหยิบซองแดงไปเลย ใครดวงดีได้อะไรมาลุ้นกันวันนี้

ร้ายกาจนักนะ แดนซ์พาใครมาด้วย ? เด็กตกปลา

infographics (อินโฟกราฟฟิค) – การแต่งตัวให้เข้ากับรูปร่าง


infographics (อินโฟกราฟฟิค) - การแต่งตัวให้เข้ากับรูปร่าง

เรือนงาม (เครื่องแต่งกายสไตล์12ปันนา)


เรือนงาม ชุดไทยใหญ่ ชุดไตยใหญ่ ชุดไตยลื้อ ชุดไตยขืน เครื่องแต่งกายสไตล์12ปันนา
📲สั่งซื้อ/ติดต่อ/สอบถามก่อนใคร ทักอินบล็อก
หรือ คลิ๊กเลยค่ะ 👇👇👇👇👇👇
http://line.me/ti/p/iJtBPDZ2P1
https://www.facebook.com/ruanngam12punna
✳️ID Line:: nooantpapa. โทร.0624189987
เรือนงาม เครื่องแต่งกายสไตล์12ปันนา
ชุดไทยใหญ่ : ชุดไทยใหญ่ เรือนงาม ไตใหญ่ ไตยใหญ่
มีหลากหลายรูปแบบ ชุดไทยใหญ่ ชาย หญิง เด็กชาย เด็กหญิง
เครืองประดับ ชุดแต่งกายไทยใหญ่ สไตล์ 12 ปันนา
ชุดไทเขิน ไตยขืน เจ้านางเชียงตุง
https://www.youtube.com/watch?v=jvtnnQqtRAk สีเขียว
https://www.youtube.com/watch?v=yLNyrxBViTk สีเงิน
https://www.youtube.com/watch?v=oEb5n7R7Ac4 สีชมพู บานเย็น
https://www.youtube.com/watch?v=S3L5PGoEkdE สีแดง
https://www.youtube.com/watch?v=zXE58cjve30 สีม่วง
ชุดไทยใหญ่ เรือนงาม Intro
https://www.youtube.com/watch?v=pKrSTaG4MxE\u0026list=PL1nbzPuYhDFXauP2m_zPnBYnRPhI9Dd5

เรือนงาม (เครื่องแต่งกายสไตล์12ปันนา)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การ แต่ง กาย แบบ ตะวันตก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *