[NEW] | จักรวรรดิโรมันตะวันตก – Australia.xemloibaihat

จักรวรรดิโรมันตะวันตก: คุณกำลังดูกระทู้

อารยธรรมสมัยโบราณ เป็นรากฐานของความเจริญในยุคต่อมา อู่อารยธรรมในโลกตะวันตกนั้นประกอบไปด้วย อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมกรีก และอารยธรรมโรมัน ซึ่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย และอารยธรรมอียิปต์นั้น ถือเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกตะวันตก ทั้งสองอารยธรรมเกิดขึ้นในดินแดนที่ใกล้เคียงกัน แต่ภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ทำให้มีเอกลักษณ์แตกต่างกัน อารยธรรมทั้ง 2 แหล่งนี้ โดยเฉพาะอารยธรรมอียิปต์ ได้มีอิทธิพลต่อการก่อรูปของอารยธรรมกรีกอย่างมาก ซึ่งโรมันเป็นพวกที่รับช่วงเอาอารยธรรมกรีกไปใช้ และต่อยอดจนกลายเป็นอารยธรรมโรมัน ที่ได้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ที่จักรวรรดิโรมันเคยยึดครอง และได้กลายเป็นแม่แบบทางวัฒนธรรมของโลกตะวันตกในปัจจุบัน


ภาพ : shutterstock.com

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

“เมโสโปเตเมีย” เป็นคำในภาษากรีก แปลว่า “ระหว่างแม่น้ำ” หมายถึงดินแดนที่ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำ “ไทกริส” และ “ยูเฟรตีส” ปัจจุบันคือดินแดนของประเทศอิรัก

อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นหลายด้าน ทั้งเป็นกลุ่มอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เท่าที่มีบันทึกหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน และเป็นอารยธรรมที่เกิดจากการผสมผสานความรู้ และวิทยาการจากหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกัน โดยเป็นการรับมา และต่อยอดความคิดตลอดระยะเวลานับพันปี

สาเหตุที่อารยธรรมเมโสโปเตเมียเกิดจากการผสมผสานความรู้ และวิทยาการจากชนหลายเผ่า เกิดจากความที่เป็นดินแดนที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ำใหญ่สองสาย กินพื้นที่ส่วนใหญ่ของ “ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์รูปจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) ซึ่งแวดล้อมไปด้วยพื้นที่อันแห้งแล้งกันดารแบบทะเลทราย ทำให้ชนชาติต่างๆ หมายปองที่จะเข้ามาแย่งชิงพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์นี้ แต่เมื่อครอบครองดินแดนนี้ได้แล้ว กลับรักษาอำนาจไว้ได้ไม่นานนัก เมื่อถูกรุกรานก็ปราชัยแก่ผู้มาใหม่ เพราะปราการธรรมชาติไม่แข็งแรงพอ ที่จะช่วยป้องกันผู้ครอบครองอู่อารยธรรมแห่งนี้

ผู้ที่ครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมีย จึงหมุนเวียนเปลี่ยนมือไปตลอดในหน้าประวัติศาสตร์ ชนกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาครอบครองดินแดนนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ชาวสุเมเรียน อัคคาเดียน อามอไรต์ ฮิตไทต์ คัสไซต์ อัสซีเรียน และ คาลเดียน ก่อนที่จะปิดฉากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ด้วยการถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเปอร์เซียในที่สุด

ชาวสุเมเรียน (3500 B.C.) เป็นชนเผ่าที่ยึดครองดินแดนแถบนี้เป็นพวกแรกในหน้าประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะถูก ชาวอัคคาเดียน เข้ามายึดครอง อารยธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นจากชาวสุเมเรียนได้แก่

       – ด้านเกษตรกรรม สร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง มีเขื่อนกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำ คลองระบายน้ำ ประตูน้ำ มีการเพาะปลูกด้วยเครื่องทุ่นแรงอย่างคันไถ เครื่องหยอดเมล็ดพืช เพาะปลูกข้าวสาลีเป็นหลัก มีการเลี้ยงวัวเพื่อรีดนมและเลี้ยงแกะเพื่อเอาขน
       – ด้านหัตถกรรม ทำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้าและย้อมสีผ้า
       – ด้านอุตสาหกรรม มีการใช้โลหะผสมอย่าง สำริด ทำเครื่องมือเครื่องใช้
       – ด้านเศรษฐกิจ มีการใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย มีการใช้สัญญาทางการค้า
       – ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ใช้วัสดุก่อสร้างคือ “อิฐ” ที่ทำจากดินเหนียวตากแห้ง และดินเหนียวเผาไฟ สร้างเทวาลัยที่มีรูปแบบเฉพาะตัวที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurat)
       – ด้านรัฐศาสตร์ ปกครองในรูปแบบนครรัฐ มีการแบ่งโครงสร้างชนชั้นในการปกครอง
       – ด้านคณิตศาสตร์ มีความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ ทั้งพีชคณิต และเรขาคณิต เช่น การคำนวณพื้นฐาน เลขฐาน 60 การแบ่งวงกลมออกเป็น 360 องศา มีมาตราชั่งตวงวัด
       – ด้านดาราศาสตร์ แบ่ง วัน เดือน ปี โดยสร้างปฏิทินจันทรคติด้วยความรู้ทางดาราศาสตร์
       – ด้านวรรณกรรม ประดิษฐ์อักษรรูปลิ่มที่เรียกว่า “ตัวอักษรคูนิฟอร์ม” (Cuneiform) หนึ่งในตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีการจารึกมหากาพย์ “กิลกาเมซ” (Gilgamesh) ลงบนแผ่นดินเหนียวเผาไฟ
       – ด้านศาสนา มีความเชื่อในพหุเทวนิยม มีการประพันธ์เทวปกรณ์อย่าง “เอนลิล” (Enlil) เป็นตำนานเทพเจ้า เรื่องราวของการกำเนิดโลก และเหตุการณ์น้ำท่วมโลก มีเทวาลัยของเทพแต่ละองค์ประจำเมือง มีนักบวชผู้ทำพิธีทางศาสนา

 

ชาวอามอไรต์ (1900-1600 B.C.) เป็นชนเผ่าที่มีอำนาจในดินแดนเมโสโปเตเมียต่อจากอัคคาเดียน โดยสามารถก่อตั้งจักรวรรดิ “บาบิโลเนีย” ครั้งที่หนึ่งขึ้นได้ สืบทอดอารยธรรมต่อจากสุเมเรียน และมีการต่อยอดทางอารยธรรมดังนี้

       – ด้านรัฐศาสตร์ ขยายอาณาเขต และสถาปนาเป็นจักรวรรดิบาบิโลเนีย
       – ด้านนิติศาสตร์ จัดทำประมวลกฎหมาย “ฮัมมูราบี” (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แนวคิดสำคัญคือรัฐมุ่งผดุงความยุติธรรมเพื่อมอบสวัสดิภาพให้แก่พลเมือง โดยอาศัยหลัก “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” คือใครทำผิดอย่างไร ก็จะได้รับโทษอย่างเดียวกัน ซึ่งแนวคิดนี้ยังมีอิทธิพลในโลกอาหรับมาจนถึงปัจจุบัน

 

ชาวฮิตไทต์ เป็นเผ่าอินโดยูโรเปียนที่เก่งกาจในการรบมาก เนื่องจากเป็นพวกแรกที่รู้จักการถลุงเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ ทำให้กองทัพฮิตไทต์มีความเกรียงไกรมาก จนสามารถขยายอาณาเขตจากเอเชียไมเนอร์ มาจนถึงกรุงบาบิโลน และโค่นล้มจักรวรรดิบาบิโลเนียครั้งที่หนึ่งลงได้ จึงได้ปกครองเมโสโปเตเมียต่อมา ก่อนที่จะถูก ชาวคัสไซต์ เข้ามายึดครองกรุงบาบิโลนต่อในภายหลัง

 

ชาวอัสซีเรียน (800 B.C.) เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของกรุงบาบิโลน ต่อมาสามารถก่อตั้งจักรวรรดิอัสซีเรียได้สำเร็จ มีเมืองหลวงคือ เมืองนิเนเวห์ ชาวอัสซีเรียเป็นชนเผ่าที่รบเก่ง ภายหลังสามารถกรีฑาทัพลงมายึดครองบาบิโลเนียได้สำเร็จ อัสซีเรียมีความเจริญสูงสุดในสมัยของพระเจ้า “อัสซูบานิปาล” (Assurbanipal) ก่อนจะถูกทำลายลงโดยกองทัพผสมของเหล่าอริ อัสซีเรียนรับอารยธรรมจากสุเมเรียนเช่นกัน และได้ฝากอารยธรรมของชาตินักรบไว้ดังนี้

       – ด้านคมนาคม สร้างถนนเชื่อมดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองทั้งหลาย ให้สะดวกในการสัญจร ทั้งการติดต่อสื่อสาร การค้าขาย และการเคลื่อนกำลังพลในการทำสงคราม
       – ด้านการทหาร ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในสมัยนั้น มีการใช้ทหารรับจ้างในการรบ
       – ด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ก่อสร้าง “พระราชวังซาร์กอน” (Palace of Sargon at Khosrabad)
       – ด้านศิลปกรรม แกะสลักภาพนูนต่ำ และภาพลอยตัว แสดงชีวิตประจำวันของชาวอัสซีเรีย
       – ด้านอักษรศาสตร์ สร้างห้องสมุดนิเนเวห์ ห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เก็บรวบรวมแผ่นจารึกไว้กว่า 22,000 แผ่น

 

ชาวคาลเดียน (612-538 B.C.) เป็นเผ่าที่เข้าร่วมกับเผ่าอื่นในการทำสงครามกับอัสซีเรีย จนสามารถเข้ายึดกรุงนิเนเวห์ของอัสซีเรียได้ในที่สุด และได้สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นมาใหม่ รวมทั้งได้ดำเนินการรื้อฟื้นอารยธรรมเก่าแก่ของบาบิโลนด้วย อารยธรรมที่สำคัญของคาลเดียนมีดังนี้


ภาพ : shutterstock.com

       – ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ในสมัยพระเจ้า “เนบูคัดเนสซาร์” (Nebuchadnezzar) ด้วยความรู้ในระบบชลประทานที่เยี่ยมยอด ได้มีการสร้าง “สวนลอยบาบิโลน” (Hanging Gardens of Babylon) อันเลื่องชื่อ และเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ซึ่งอาศัยแรงงานของเชลยชาวยิว ที่ทรงกวาดต้อนมาหลังจากตีกรุงเยรูซาเลมแตก
       – ด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ พัฒนาองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถทำแผนที่ดวงดาวได้ สามารถคำนวณการเกิดสุริยคราส และจันทรคราสได้ เป็นต้นกำเนิดของการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน และยังมีการนำเอาการโคจรของดวงดาวบนท้องฟ้า มาทำนายโชคชะตาของผู้คนอีกด้วย

 

อารยธรรมอียิปต์

“อียิปต์” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ไอยคุปต์” เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความเก่าแก่ไม่น้อยไปกว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่อยู่ใกล้กัน ในสมัยโบราณ อียิปต์นั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ อียิปต์ตอนบน และอียิปต์ตอนล่าง โดยอียิปต์ตอนบน (พื้นที่สูงกว่า) จะอยู่ด้านทิศใต้ ส่วนอียิปต์ตอนล่าง (พื้นที่ต่ำกว่า) จะอยู่ทางด้านทิศเหนือบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ “ไนล์” ที่ไหลออกสู่ทะเล “เมดิเตอร์เรเนียน”


ภาพ : shutterstock.com

บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์รูปจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) เช่นเดียวกับเมโสโปเตเมีย แม่น้ำไนล์จะมีน้ำหลากท่วมสองฝั่งทุกปี ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม กระแสน้ำจะพัดพาเอาตะกอนดินโคลนมาทับถมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งจะทำให้ดินฝั่งแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูก

“เฮโรโดตุส” นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกว่า “อียิปต์คือของขวัญจากแม่น้ำไนล์” คำกล่าวนี้นับว่าไม่เกินเลย เนื่องจากอารยธรรมของอียิปต์ เกิดจากการฟูมฟักของธรรมชาติที่โดดเด่น อย่างลุ่มน้ำไนล์อย่างแท้จริง

ชาวอียิปต์ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์แทบจะทุกด้าน เป็นแหล่งอาหาร ทั้งแหล่งประมง และพื้นที่เกษตรกรรม เป็นเส้นทางสัญจร ทั้งการคมนาคม การค้าขาย และการเดินทัพ อารยธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาได้ส่วนหนึ่ง ก็อาศัยการบันทึกลงบนกระดาษที่ทำจากต้นกก “ปาปิรุส” ซึ่งขึ้นอยู่ตามริมน้ำนี้เอง

และนอกจากนั้น สภาพภูมิศาสตร์ที่แวดล้อมไปด้วยทะเลทรายกว้างใหญ่ มีลำน้ำผ่ากลางและท่วมหนักทุกปี ก็ยังเป็นปราการธรรมชาติที่ช่วยให้อียิปต์ได้มีช่วงเวลายาวนาน เพียงพอที่จะสั่งสมอารยธรรมโดยไม่ต้องคอยพะวงกับการรุกรานจากภายนอก เหมือนแถบเมโสโปเตเมียอีกด้วย

อารยธรรมอียิปต์แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ สมัยก่อนราชวงศ์ สมัยราชวงศ์ และสมัยเสื่อมอำนาจ

สมัยก่อนราชวงศ์มีเหตุการณ์สำคัญคือ “ราชาแมงป่อง” (Scorpion King) พยายามรวมอียิปต์ตอนบน และตอนล่างเป็นหนึ่งเดียว แต่สิ้นพระชนม์ก่อน จนถึงสมัย “ฟาโรห์เมเนส” (3150 B.C.) จึงสามารถรวมทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จ และสถาปนาตนเองเป็นฟาโรห์องค์ที่ 1 แห่งอียิปต์ มี “เมมฟิส” เป็นเมืองหลวง เริ่มเข้าสู่ช่วงราชวงศ์

จนกระทั่งสิ้นราชวงศ์ที่ 20 อียิปต์เข้าสู่ยุคเสื่อม เมื่อตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างเผ่าอย่าง ลิเบียน นูเบียน ต่อมาพ่ายแพ้ให้กับอัสซีเรียน (664 B.C.) และถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเปอร์เซีย 2 ครั้ง (525-404 B.C. และ 341-332 B.C.) ก่อนที่เปอร์เซียจะปราชัยให้กับกรีก ซึ่งปกครองอียิปต์ต่อมา (332-30 B.C.) จนท้ายที่สุด ราชวงศ์ทอเลมีก็สิ้นสุดลง เมื่ออียิปต์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน (30 B.C.)


ภาพ : shutterstock.com

อารยธรรมที่โดดเด่นของอียิปต์มีดังนี้

– ด้านเกษตรกรรม มีระบบชลประทาน มีการทำนาริมฝั่งแม่น้ำ ปลูกข้าวสาลีทำขนมปัง ปลูกข้าวบาร์เลย์ผลิตเบียร์

– ด้านหัตถกรรม ทอผ้าลินิน ผลิตกระดาษปาปิรุส ทำเครื่องปั้นดินเผา ผลิตแก้ว

– ด้านอุตสาหกรรม ทำเหมืองหินแกรนิต หินทราย

– ด้านการแพทย์ มีการรักษาด้วยการผ่าตัด มีทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ มีเทคนิคในการดองศพ หรือมัมมี

– ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ก่อสร้าง มัสตาบา (Mastaba) เทวาลัย สุสานกษัตริย์ พีระมิดหลายขนาด โดย “มหาพีระมิดแห่งกิซา” (The Great Pyramid of Giza) เป็นพีระมิดที่ใหญ่ที่สุด สร้างในสมัยฟาโรห์คูฟู และยังเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันอีกด้วย

– ด้านศิลปกรรม รูปเขียนสีตามฝาผนังสิ่งก่อสร้าง เสาวิหาร งานแกะสลักหินทั้งรูปนูนต่ำ รูปลอยตัว ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

– ด้านรัฐศาสตร์ มีระบบการปกครองแบบสมมติเทพ ฟาโรห์มีอำนาจสูงสุด แบ่งชนชั้นเป็น 4 ชนชั้น

– ด้านคณิตศาสตร์ มีความก้าวหน้าทางคณิตศาตร์ พีชคณิต เรขาคณิต

– ด้านดาราศาสตร์ สร้างปฏิทินสุริยคติ แบ่งวันออกเป็น 365 วัน

– ด้านอักษรศาสตร์ ประดิษฐ์อักษรภาพ ไฮโรกลิฟฟิก (Hieroglyphic)

– ด้านศาสนา มีความเชื่อในพหุเทวนิยม เชื่อในชีวิตหลังความตาย มีคัมภีร์ทางศาสนาคือ “คัมภีร์มรณะ” (Book of the Dead)

 

อารยธรรมกรีก

“กรีก” เป็นชื่ออู่อารยธรรมที่สำคัญที่สุดในโลกตะวันตก เพราะเป็นรากเหง้าของความคิด และวิทยาการที่เจริญต่อมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ “กรีก” เป็นคำที่ชาวโรมันเรียก ส่วนชาวกรีกจะเรียกตัวเองว่า “เฮลลีน” (Hellene) และเรียกดินแดนของตัวเองว่า “เฮลลาส” (Hellas)

อารยธรรมกรีก เป็นผลรวมของอารยธรรมของอินโดยูโรเปียนเผ่าต่างๆ เช่น ไอโอเนียน ไมซีเนียน ดอเรียน ที่ครอบครองพื้นที่รอบๆ บริเวณทะเล “อีเจียน” (Aegean Sea) ตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน โดยภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นภูเขา และเกาะ ชาวกรีกจึงถนัดในการเดินเรือ ทั้งในการประมง การติดต่อค้าขาย และการเดินทัพเพื่อทำสงคราม แต่ไม่โดดเด่นเรื่องการเพาะปลูก เพราะที่ราบลุ่มมีน้อย และด้วยเหตุนี้ กรีกจึงมีลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ รัฐต่างๆ เป็นอิสระต่อกัน ต่างจากอียิปต์ที่ลักษณะภูมิประเทศเอื้อให้มีการรวมศูนย์อำนาจได้ง่ายกว่า

แต่การที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกไม่ได้รวมตัวเป็นจักรวรรดิใหญ่อย่างอียิปต์ หรือบาบิโลน ก็ไม่ได้ทำให้การพัฒนาอารยธรรม หรือวิทยาการของกรีกด้อยไปกว่าทั้งสองจักรวรรดิ เพราะกรีกได้เปรียบจากการเดินเรือติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ ทำให้ชาวกรีกมีโลกทัศน์กว้างกว่าชนชาติอื่นในเวลานั้น

การได้เห็นโลกมากกว่า พบประสบการณ์แปลกใหม่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการพัฒนาความคิดทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างวิทยาการ และองค์ความรู้ใหม่ๆ และเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการลอกเลียน และต่อยอดความรู้ของชนชาติอื่น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้กรีกสามารถพัฒนาระบบความคิดได้อย่างโดดเด่น จนกลายเป็นแม่แบบของความคิดในโลกตะวันตกจนปัจจุบัน

ก่อนอารยธรรมกรีกจะเริ่มขึ้นนั้น มีอารยธรรมของ “ไมโนน” (Minoan) ที่ได้ก่อร่างขึ้นที่ “เกาะครีต” อยู่ก่อน จนต่อมาเผ่าอินโดยูโรเปียนพวก “เอเคียน” (Achaean) หรือชื่อใหม่คือ “ไมซีเนียน” (Mycenaean) จากแผ่นดินใหญ่เข้ามาแทนที่ (1400-1200 B.C.) จนกระทั่งไมซีเนียนถูกพวก “ดอเรียน” (Dorian) เข้ารุกราน จนอารยธรรมไมซีเนียนสิ้นสุดลง (1100 B.C.) จึงเริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคมืด


ภาพ : shutterstock.com

ยุคมืดนี้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์น้อยมาก แต่มีเรื่องราวการรบพุ่งของวีรบุรุษชาวกรีก กับกรุงทอย ปรากฏอยู่ในมหากาพย์ “อีเลียด” (Iliad) และ “โอดิสซี” (Odyssey) บทประพันธ์ของมหากวีเอก “โฮเมอร์” (Homer) จึงเรียกชื่อยุคนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ยุคโฮเมอร์ มหากาพย์ทั้ง 2 เรื่องนี้ได้รับการบอกเล่าแบบปากต่อปาก จนกระทั่งกรีกมีตัวอักษรใช้ จึงได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง (750-700 B.C.)

อารยธรรมกรีกแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ “อารยธรรมเฮลเลนิก” (Hellenic Civilization, 750-336 B.C.) และ “อารยธรรมเฮลเลนิสติก” (Hellenistic Civilization, 336-31 B.C.) โดยช่วงอารยธรรมเฮลเลนิก หรือยุคคลาสสิก (Classical Age) ได้เกิดนครรัฐกรีกที่สำคัญคือ “เอเธนส์” (Athens) และ “สปาร์ตา” (Sparta)

เอเธนส์มีการปกครองแบบประชาธิปไตย พลเมืองมีความคิดก้าวหน้า มีเสรีภาพ เป็นบ้านเกิดของอารยธรรมทางความคิดของกรีก ส่วนสปาร์ตาปกครองแบบคณาธิปไตย เป็นรัฐเผด็จการทหาร ชาวสปาร์ตามีวินัยมาก มีความสามารถในการรบ ต่อมาจักรวรรดิเปอร์เซียได้ขยายอำนาจเข้ามาในเอเชียไมเนอร์ จนนำไปสู่สงครามกับเอเธนส์ (497 B.C.) แต่ผลของการรบเอเธนส์เป็นฝ่ายกำชัยชนะ (479 B.C.)

ภายหลังสงคราม นครรัฐต่างๆ ของกรีกได้รวมกันจัดตั้งสหพันธรัฐแห่งเกาะเดลอส เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกองทัพเปอร์เซีย โดยมีเอเธนส์เป็นหัวเรือใหญ่ ทว่าสหพันธรัฐเดลอสมีทีท่าว่าจะกลายเป็นจักรวรรดิเอเธนส์ สปาร์ตาจึงเปิดศึกกับเอเธนส์ และได้ชัยชนะ แต่สปาร์ตามีอำนาจเหนือเอเธนส์เพียงไม่นาน ก็ถูกเอเธนส์และนคร “ธีบีส” โจมตีจนพ่ายแพ้ (371-362 B.C.) ก่อนที่ “พระเจ้าฟิลลิปที่ 2” (Phillip II) แห่ง “มาเซโดเนีย” (Macedonia) จะยึดครองนครรัฐกรีกไว้ได้ทั้งหมด (338 B.C.)

หลังจากเมเซโดเนียปกครองกรีกทั้งปวงแล้ว อารยธรรมกรีกก็นับว่าเข้าสู่ยุคเฮลเลนิสติก “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช” (Alexander the Great) โอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 ได้กรีฑาทัพไปปลดแอกหัวเมืองกรีกในเอเชียไมเนอร์ ที่ถูกเปอร์เซียยึดครองไว้ก่อนหน้า แล้วเคลื่อนทัพบุกยึดดินแดนต่างๆ ทั้ง อียิปต์ เมโสโปเตเมีย จนกระทั่งเอาชนะ “พระเจ้าดาริอัสที่ 3” แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียได้อย่างเด็ดขาด

แล้วยังเคลื่อนทัพต่อมาจนกระทั่งถึงลุ่มน้ำ “สินธุ” ของอินเดีย สามารถยึดครองอินเดียทางเหนือได้บางส่วน ก่อนที่ทหารส่วนหนึ่งจะก่อหวอดเนื่องจากคิดถึงบ้าน อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงยกทัพกลับ แต่ก็สิ้นพระชนม์ที่กรุงบาบิโลนเสียก่อน (323 B.C.) ด้วยวัยเพียง 33 ชันษา

การที่กรีกสามารถยกทัพข้ามทวีปยึดครองดินแดนได้ค่อนโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน เป็นรองเพียงดินแดนของจักรวรรดิมองโกลในเวลาต่อมาเท่านั้น ทำให้อารยธรรมกรีกได้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ อย่างกว้างขวาง จึงเป็นที่มาของชื่อยุคเฮลเลนนิสติก อย่างไรก็ตาม อารยธรรมเฮลเลนนิสติกก็ถึงกาลสิ้นสุดลง เมื่อตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิโรมัน (31 B.C.)


ภาพ : shutterstock.com

อารยธรรมที่เป็นมรดกตกทอดของกรีกมีดังนี้

– ด้านเกษตรกรรม พืชสำคัญ ได้แก่ มะกอก และองุ่น

– ด้านหัตถกรรม เกิดเครื่องปั้นดินเผากรีกโบราณ

– ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ซุ้มประตูโค้ง เสาหินแบบต่างๆ “ดอริก” “ไอโอนิก” และ “โครินเธียน” หลังคาจั่ว โรงละคร สนามกีฬากลางแจ้ง วิหารเทพเจ้าต่างๆ เช่น “วิหารพาร์เธนอน” (Parthenon) เทวาลัยของเทพี “อธีนา” “เทวรูปซูสแห่งโอลิมเปีย” (Statue of Zeus at Olympia) “วิหารอาร์ทิมิส” (Temple of Artemis at Ephesus) “มหารูปแห่งโรดส์” (Colossus of Rhodes) ในทะเลเอเจียน “ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย” (Lighthouse of Alexandria) ซึ่ง 4 อย่างหลังเป็น 4 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

– ด้านกีฬา ต้นกำเนิดกีฬา “โอลิมปิก” (Olympic Game, 776 B.C.)

– ด้านศิลปกรรม รูปปั้นเทพเจ้า และวีรบุรุษที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ สมจริง ลายจิตรกรรมบนผนัง และภาชนะ ละคร “สุขนาฏกรรม” (Comedy) และ “โศกนาฏกรรม” (Tragedy)

– ด้านการแพทย์ เกิดบิดาแห่งการแพทย์ “ฮิปโปเครตีส” (Hippocrates)

– ด้านรัฐศาสตร์ กรุงเอเธนส์เป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตย

– ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ กำเนิดทฤษฎีบทของ “ไพธากอรัส” (Pythagoras) เรขาคณิตแบบ “ยูคลิด” (Euclid) และ “อาร์คิมีดีส” (Archimedes)

– ด้านดาราศาสตร์ “เอราทอสธีนีส” (Eratosthenes) คำนวณความยาวรอบโลกได้ และค้นพบว่าการขึ้นลงของระดับผิวน้ำบนโลกขึ้นกับดวงจันทร์

– ด้านวรรณกรรม มหากาพย์ “อีเลียด” และ “โอดิสซี” ของ “โฮเมอร์”

– ด้านอักษรศาสตร์ ประดิษฐ์ตัวอักษรกรีก

– ด้านประวัติศาสตร์ กำเนิดบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์โลก เฮโรโดตุส (Herodotus) และทูซิดิเดส (Thucydides) ผู้บันทึก “สงครามเพโลโพนีเซียน” (The Peloponnesian War)

– ด้านศาสนา ระบบความเชื่อแบบพหุเทวนิยม เทวปกรณ์กรีก

– ด้านปรัชญา มี “ธาลีส” (Theles) บิดาแห่งปรัชญาตะวันตก ผู้เริ่มอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติด้วยเหตุผล รวมถึง “โซคราตีส” (Socrates) “พลาโต” (Plato) “อาริสโตเติล” (Aristotle) สามมหาปราชญ์แห่งเอเธนส์


ภาพ : shutterstock.com

อารยธรรมโรมัน

“อารยธรรมโรมัน” เป็นอารยธรรมของพวกอินโดยูโรเปียนเผ่า “ละติน” (Latin) และเผ่า “อีทรัสกัน” (Etruscan) ซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่กรุงโรม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลี จักรวรรดิโรมันรับช่วงอารยธรรมต่อมาจากจักรวรรดิมาเซโดเนีย หรือกรีก อีกทอดหนึ่ง หลังจากกลืนดินแดนกรีกไว้ใต้อำนาจได้ แม้จะเป็นผู้ชนะสงคราม แต่โรมันกลับเป็นฝ่ายรับเอาอารยธรรมในด้านต่างๆ จากกรีกมาเป็นแม่แบบ

ด้วยความที่ภูมิประเทศเป็นแหลมที่ยื่นยาวไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวโรมันจึงเดินเรือติดต่อค้าขาย และทำสงครามชิงดินแดนอื่นได้อย่างสะดวก แม้พื้นที่ส่วนมากจะเป็นภูเขา แต่ก็ยังมีที่ราบลุ่มให้เพาะปลูกได้อย่างเพียงพอ ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทางตอนบนยังมีเทือกเขาสูง คอยเป็นปราการธรรมชาติป้องกันผู้รุกรานจากทางบกอีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้เอื้อให้โรมันสั่งสมอำนาจ ความมั่งคั่ง และบ่มเพาะอารยธรรมของตนเองได้อย่างมั่นคง


ภาพ : shutterstock.com

ตามตำนานแล้ว กรุงโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อ 753 ปีก่อนคริสตศักราช โดย “โรมูลัส” (Romulus) และ “รีมัส” (Remus) สองพี่น้อง โดยชื่อกรุงโรมตั้งตามชื่อของโรมูลัส ซึ่งโรมในช่วงแรกปกครองโดยกษัตริย์ ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนให้เป็น “สาธารณรัฐ” ซึ่งปกครองโดย “วุฒิสภา” แทน (509 B.C.)

การปฏิวัตินี้เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง พวกละติน และผู้ปกครองชาวอีทรัสกัน หลังจากขับไล่กษัตริย์อีทรัสกันออกไปแล้ว ทั้ง 2 เผ่าก็ได้ผสมกลมกลืนกัน จนกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวโรมันในเวลาต่อมา

ต่อมาภายหลัง เกิดความขัดแย้งในเรื่องสิทธิตามกฎหมายระหว่างชนชั้น ผลของความขัดแย้งนี้กลายเป็น “กฎหมาย 12 โต๊ะ” เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้ความยุติธรรมแก่พลเมืองโดยเท่าเทียมกัน ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นมรดกของชาวโรมันโดยแท้ ที่ได้มอบไว้ให้แก่ชาวโลก

สาธารณรัฐโรมันมีกำลังกล้าแข็งขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถยึดครองคาบสมุทรอิตาลีได้ทั้งหมด และยังขยายอาณาเขตไปโดยรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากเอาชนะพวก “คาร์เทจ” (Carthage) ซึ่งมีอำนาจในแถบตอนเหนือของอาฟริกาลงได้อย่างราบคาบ โรมันก็ยึดครองดินแดนยุโรปฝั่งตะวันตก ไปจนถึงสเปนในปัจจุบัน รวมทั้งดินแดนอาฟริกาตอนเหนือรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย

กระทั่งถึงยุคของ “จูลีอัส ซีซาร์” (Julius Caesar) แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ของโรมัน ซึ่งตั้งตนเองเป็นผู้เผด็จการตลอดชีพ หลังจากปราบจลาจลในกรุงโรมลงได้ ซีซาร์กุมอำนาจเหนือวุฒิสภา ฝ่าฝืนกฎหมายโรมัน ยังความไม่พอใจให้วุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเกรงว่าโรมันจะกลายเป็นระบอบจักรวรรดิ จึงวางแผนการลอบสังหารผู้เผด็จการตลอดชีพ แต่โรมันก็ไม่อาจเปลี่ยนชะตาได้

ภายหลังซีซาร์ถูกลอบสังหาร (44 B.C.) “ออคตาวีอัส” (Octavius) ทายาทบุญธรรมของซีซาร์ก็สามารถรวบอำนาจการปกครองอาณาจักรโรมันไว้ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ (Emperor) แห่งจักรวรรดิโรมัน (27 B.C.) มีพระนามว่า “ออกัสตัส” (Augustus) โดยตำแหน่งจักรพรรดิต่อมานิยมเรียกว่า “ซีซาร์” ตามชื่อสกุลของออคตาวีอัส

การที่โรมันสามารถยึดครองเมเซโดเนียได้ ทำให้ดินแดนส่วนที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเมเซโดเนีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ไปด้วย ในยุคของจักรพรรดิออกัสตัสนี้ นับเป็นยุคทองที่จักรวรรดิโรมันรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด อารยธรรมกรีกผสมโรมันได้แพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วภาคพื้นยุโรป อาฟริกาตอนบน ตลอดจนแถบเมโสโปเตเมีย

จักรวรรดิโรมันยังคงเรืองอำนาจต่อมา จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ เมื่อจักรพรรดิ “คอนสแตนติน” (Constantine) โปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมไปที่ “ไบแซนติอุม” (Byzantium) และตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่ตามพระนามของพระองค์ว่า “คอนสแตนติโนเปิล” (Constantinople) ซึ่งปัจจุบันนี้คือเมือง “อิสตันบูล” ในประเทศตุรกี ส่งผลให้โรมันแตกออกเป็นสองอาณาจักรในเวลาต่อมา (395 A.C.) คือ โรมันตะวันตก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรมตามเดิม และโรมันตะวันออกซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “จักรวรรดิไบแซนไทน์” (Byzantine) มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล

จากนั้น อำนาจที่เคยยิ่งใหญ่ของโรมันก็เสื่อมถอยลงตามลำดับ จนกระทั่งอนารยชนเยอรมันเผ่า “วิซิกอธ” (Visigoth) ได้เข้ามารุกรานกรุงโรม (410 A.C.) จนกระทั่งจักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่ต้องล่มสลายลงในปีคริสตศักราช 476 ถือเป็นการปิดฉากของอารยธรรมโลกตะวันตกสมัยโบราณลงแต่เพียงเท่านี้

อย่างไรก็ตาม แม้กรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิไบแซนไทน์จะยังคงอยู่ แต่ด้วยเหตุที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมัน ทำให้อารยธรรมทางความคิดนับจากนี้ไปถูกปิดกั้น ไม่มีการพัฒนาทางความคิด และวิทยาการมากนัก ซึ่งต่างจากสมัยกรีกโดยสิ้นเชิง อารยธรรมตะวันตกจึงถือว่าเริ่มเข้าสู่ยุคมืด หรือยุคกลางนับจากนั้นมา

 

อารยธรรมที่โดดเด่นของโรมันมีดังนี้

– การทำปฏิทิน จูเลียส ซีซาร์ได้ปฏิรูปปฏิทินโรมันให้เป็น “ปฏิทินจูเลียน” เริ่มใช้เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตศักราช โดยใน 1 ปี จะแบ่งเป็น 12 เดือน มี 365 วัน คล้ายกับระบบปฏิทินในปัจจุบัน


ภาพ : shutterstock.com

– ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้ปูนซีเมนต์ ถนนคอนกรีตเชื่อมดินแดนต่างๆ มีท่อระบายน้ำ สะพาน ท่อส่งน้ำ (Aqueduct) โรงอาบน้ำสาธารณะ ระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล เสาโรมัน หลังคาโดม ประตูชัย (Triumphal Arch) ลานคนเมือง ฟอรัมทราจัน (Forum of Trajan) โรงละครและสนามกีฬา “โคลอสเซียม” (Colosseum) ซึ่งเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ เทวาลัยหรือวิหารเทพเจ้า “วิหารแพนธีออน” (Pantheon)

– ด้านศิลปกรรม ต่อยอดจากกรีก แกะสลักรูปลอยตัวเหมือนจริง

– ด้านการแพทย์ วิธีทำคลอดด้วยการผ่าหน้าท้อง มีการใช้ยาสลบ

– ด้านรัฐศาสตร์ ต้นแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ จัดทำประมวลกฎหมายคือ “กฎหมาย 12 โต๊ะ”

– ด้านอักษรศาสตร์ ประดิษฐ์ตัวอักษรโรมัน ภาษาละตินซึ่งเป็นรากของภาษายุโรปส่วนใหญ่

– ด้านศาสนา ระบบความเชื่อแบบพหุเทวนิยม การเผยแผ่ศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก

เรียบเรียงโดย : ​มรุตเทพ วงษ์วาโย

 

 

 

 

[NEW] | จักรวรรดิโรมันตะวันตก – Australia.xemloibaihat

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (RENAISSANCE) เกิดในช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 คือ ปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหม่ ถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อ (TRANSITIONAL PERIOD) ของ ประวัติศาสตร์สองยุค การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเริ่มขึ้นที่นครรัฐต่างๆ บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งมีความ มั่งคั่งและร่ำรวยจากการค้าขาย ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่บริเวณอื่นๆ ในยุโรป

คำว่า RENAISSANCE แปลว่า เกิดใหม่ (REBIRTH) หมายถึง การนำเอาศิลปวิทยาการของ กรีกและโรมันมาศึกษาใหม่ ทำให้ศิลปวิทยาการกรีก-โรมันเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เป็นสมัยที่ ชาวยุโรปเกิดความกระตือรือร้นสนใจอารยธรรมกรีก-โรมัน จึงถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองที่ ชาวยุโรปมีสิทธิและเสรีภาพ ช่วงเวลานี้จึงถือว่าเป็นขบวนการขั้นสุดท้ายที่จะปลดปล่อยยุโรปจาก สังคมในยุคกลางที่เคยถูกจำกัดโดยกฏเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนาสาเหตุและความเป็นมาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

สาเหตุและความเป็นมาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีดังนี้

1. การขยายตัวทางการค้า ทำให้พ่อค้าชาวยุโรปและบรรดาเจ้าผู้ครองนครในนครรัฐ อิตาลีมีความมั่งคั่งขึ้น เช่น เมืองฟลอเรนซ์ เมืองมิลาน หันมาสนใจศิลปะและวิทยาการความ เจริญในด้านต่างๆ ประกอบกับที่ตั้งของนครรัฐในอิตาลีเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตก มาก่อน ทำให้นักปราชญ์และศิลปินต่างๆ ในอิตาลีจึงให้ความสนใจศิลปะและวิทยาการของโรมัน

2. ความเจริญทางเศรษฐกิจและการเกิดรัฐชาติในปลายยุคกลาง ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งด้านองค์กรทางการเมือง องค์กรทางเศรษฐกิจซึ่งต้องใช้ความรู้ความ สามารถมาบริหารจัดการ แต่การศึกษาแบบเดิมเน้นปรัชญาทางศาสนาและสังคมในระบบฟิวดัล จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ ดังนั้นนักปราชญ์สาขาต่างๆ จึงหันมาศึกษา อารยธรรมกรีกและโรมัน เช่น นักกฎหมายศึกษากฎหมายโรมันโบราณเพื่อนำมาใช้พิพากษาคดี ทางการค้า นักรัฐศาสตร์ศึกษาตำราทางการเมือง เพื่อนำมาใช้ในการทูตและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ ก็ค้นหาความจริงและสนใจ ศึกษาอารยธรรมกรีก-โรมันเช่นกัน เป็นต้น
3. ทัศนคติของชาวยุโรปในช่วงปลายสมัยกลางต่อการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป จากเดิม จากการที่เคร่งครัดต่อคำสั่งสอนทางคริสต์ศาสนา มุ่งแสวงหาความสุขในโลกหน้า ใฝ่ใจ ที่จะหาทางพ้นจากบาป และปฏิบัติทุกอย่างเพื่อเสริมสร้างกุศลให้แก่ตนเอง ได้เปลี่ยนมาเป็นการ มองโลกในแง่ดี และเบื่อหน่ายกับระเบียบสังคมที่เข้มงวดกวดขันของคริสตจักร รวมทั้งมีอคติต่อ การกระทำมิชอบของพวกพระ จึงหันไปสนใจผลงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมนุษยชาติ และเห็น ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาชีวิตตนเองให้ดีและมีคุณค่าขึ้นได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่มาของแนวคิด แบบมนุษยนิยม (HUMANISM) ที่สนใจโลกปัจจุบันมากกว่าหนทางมุ่งหน้าไปสู่สวรรค์ดังเช่นเคย
4. การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก เพราะถูกพวก มุสลิมเติร์กยึดครองใน ค.ศ. 1453 ทำให้วิทยาการแขนงต่างๆ ที่จักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดไว้ หลั่งไหลคืนสู่ยุโรปตะวันตก
ความเจริญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นการศึกษาอารยธรรมกรีก-โรมัน ทั้งด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และวิทยาการด้านต่างๆ โดยให้ความสำคัญของมนุษย์กับการดำเนิน- ชีวิตในโลกปัจจุบัน ที่เรียกว่า มนุษยนิยม (HUMANISM) โดยผู้ที่มีความคิดความเชื่อเช่นนี้เรียก ตนเองว่า นักมนุษยนิยม (HUMANISTS) ซึ่งได้พยายามปลดเปลื้องตนเองจากการครอบงำของ คริสตจักรและระบบฟิวดัล ลักษณะที่ให้ความสำคัญของความเจริญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือ ถึงแม้จะเป็นความสนใจศึกษาความรู้จากอารยธรรมกรีก-โรมัน แต่มิใช่การลอกเลียนแบบ จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การศึกษาความรู้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ผลงานสำคัญ ได้แก่

1. วรรณคดีประเภทคลาสสิก นักมนุษยนิยมที่กระตุ้น จินตนาการของชาวยุโรปให้มาสนใจงานวรรณคดีและปรัชญา ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม คือ ฟรานเซสโก เพทราร์ก (FRANCESCO PETRARCA : ค.ศ. 1304-1374) ชาวอิตาลี ผู้ซึ่งชี้ความ งดงามของภาษาละตินและการใช้ภาษาละตินให้ถูกต้อง ผู้ที่สนใจและ นิยมงานเขียนวรรณคดีประเภทคลาสสิกจะค้นคว้าศึกษางานของ ปราชญ์สมัยโรมันตามห้องสมุดของวัดและโบสถ์วิหารในยุโรป แล้วนำ มาคัดลอกรวมทั้งนำวรรณคดีและแนวคิดของปรัชญากรีกมาแปลเป็น ภาษาละตินเผยแพร่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีผลงานของนิคโคโล มา- เคียเวลลี (NICCOLO MACHIAVELLI : ค.ศ. 1469-1527) เรื่องเจ้าผู้ครอง นคร (THE PRINCE) กล่าวถึงลักษณะการเป็นผู้ปกครองรัฐที่ดี และ เซอร์ธอมัส มอร์ (SIR THOMAS MORE : ค.ศ. 1478-1536) เขียนเรื่อง ยูโทเปีย (UTOPIA) กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย ซึ่งผลงานของนักมนุษยนิยมเหล่านี้นำไปสู่การต่อต้านการปกครองและ วิธีปฏิบัติของคริสตจักรที่ขัดต่อคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการ ปฏิรูปศาสนาขึ้นใน ค.ศ. 1517 ส่วนงานวรรณกรรมที่เป็นบทละคร นักประพันธ์ที่สำคัญ คือ วิลเลียม เช็กสเปียร์ (WILLIAM SHAKESPEARE: ค.ศ. 1564-1616) ซึ่งเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง คือ โรมิโอและ จูเลียต (ROMEO AND JULIET) และเวนิสวาณิช (THE MARCHANT OF VENICE)

2. ศิลปกรรม ในยุคกลางศิลปกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาโดยเฉพาะ ทำให้ ไม่สามารถถ่ายทอดจินตนาการอย่างเสรีได้ ผลงานส่วนใหญ่จึงขาดชีวิตชีวา แต่ศิลปกรรมในสมัย ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมงานศิลปะของกรีก-โรมันที่เป็นธรรมชาติ จึงให้ความสนใจความสวยงามใน สรีระของมนุษย์ มิติของภาพ สี และแสงในงานประติมากรรมและจิตรกรรมให้สมจริง สมดุล และกลมกลืนสอดคล้องมากขึ้น ศิลปินที่สำคัญ เช่น

– ไมเคิลแอนเจโล บูโอนาร์โรตี (MICHELANGELO BUONARROTI : ค.ศ. 1475-1564) เป็นศิลปินที่มีผลงานทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานประติมากรรมที่ สำคัญและมีชื่อเสียง คือ รูปสลักเดวิด (DAVID) เป็นชายหนุ่มเปลือยกาย และปิเอตา (PIETA) เป็นรูปสลักพระมารดากำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระกร ส่วน ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง คือ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้บน เพดานและฝาผนังของโบสถ์ซีสติน (SISTINE CHAPEL) ในมหาวิ หารเซนต์ปีเตอร์ ที่กรุงโรม ที่มีลักษณะงดงามมาก

 


รูปแกะสลักเดวิดประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของ ไมเคิลแอนเจโล

  – เลโอนาร์โด ดา วินชี (LEONARDO DA VINCI : ค.ศ. 1452-1519) เป็นศิลปินที่มี ผลงานเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ภาพเขียนที่มีชื่อเสียง คือ ภาพอาหารมื้อสุดท้าย (THE LAST SUPPER) ซึ่งเป็นภาพพระเยซูกับสาวกนั่งที่โต๊ะอาหารก่อนที่พระเยซูจะถูกนำไปตรึงไม้กางเขน และภาพโมนาลิซ่า (MONALISA) เป็นภาพหญิงสาวที่มีรอยยิ้มปริศนากับบรรยากาศของธรรมชาติ

ภาพวาดโมนาลิซ่า งานจิตรกรรมของเลโอนาร์โด ดา วินชี

  – ราฟาเอล (RAPHAEL : ค.ศ. 1483-1520) เป็นจิตรกรที่วาดภาพเหมือนจริง ภาพที่มี ชื่อเสียง คือ ภาพพระมารดาและพระบุตร พร้อมด้วยนักบุญจอห์น (MADONNA AND CHILD WITH ST. JOHN)

   ภาพวาดพระมารดาและพระบุตร งานจิตรกรรมของราฟาเอล

 

 

3. ด้านวิทยาการความเจริญอื่นๆ ได้แก่
– ด้านดาราศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่ชาวยุโรปสนใจกันมากในช่วงเวลานี้ นัก ดาราศาสตร์ที่สำคัญ คือ คอเปอร์นิคัส (ค.ศ. 1473-1543) ได้เสนอทฤษฎีที่ขัดแย้งกับคำสอนของ คริสต์ศาสนา โดยระบุว่าโลกไม่ได้แบนและไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่เป็นบริวารที่โคจร รอบดวงอาทิตย์

– ด้านการพิมพ์ ในช่วงสมัยนี้ได้มีการคิดค้นการพิมพ์ที่ใช้วิธีการเรียงตัวอักษรได้ สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยโยฮัน กูเตนเบิร์ก ( JOHANNES GUTENBURG : ค.ศ. 1400-1468) ชาว เมืองไมนซ์ (MAINZ) ในเยอรมนี ทำให้ราคาหนังสือถูกลงและเผยแพร่ไปได้อย่างกว้างขวาง

 

     ผลของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศิลปกรรมและวิทยาการต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้นส่งผล ให้คนยุโรปมีลักษณะ ดังนี้

1. ความสนใจในโลกปัจจุบัน ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ชาวยุโรปยังคงนับถือศรัทธาใน พระเจ้า แต่จากการได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบมนุษยนิยม ทำให้ชาวยุโรปมีแนวคิดในการ ดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันให้ดีและสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อความสุขและความมั่นคงให้แก่ตน ทั้งหมดนี้ สะท้อนในงานศิลปกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อนสนองความพึงพอใจของตนเอง เช่น สร้างบ้าน เรือนอย่างวิจิตรสวยงาม การมีรูปปั้นประดับอาคารบ้านเรือน การวาดภาพเหมือนของมนุษย์ เป็นต้น

2. ความต้องการแสวงหาความรู้ การที่มนุษย์ต้องการหาความรู้และความสะดวกสบาย ให้แก่ชีวิต ทำให้ต้องมีการคิดสร้างสรรค์ผลงานและวิทยาการต่างๆ ดังนั้นมนุษย์ในสมัยฟื้นฟู ศิลปวิทยาการ จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การคิคค้น การทดลอง การพิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล เป็นผลให้วิทยาการด้านต่างๆ พัฒนามากขึ้น สภาพสังคมของมนุษย์ในสมัย นี้คือการตื่นตัวในการค้นหาความจริงของโลก ทำให้มนุษย์ต้องการแสวงหาความรู้และสำรวจดิน แดนต่างๆ อันนำไปสู่การปฏิรูปศาสนา การสำรวจทางทะเล และการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใน เวลาต่อมา

Share this:

Like this:

Like

Loading…


ทำไมอาณาจักรโรมันจึงแตกเป็นสองส่วน : ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของความตกต่ำ | [EP32] หลงไปในประวัติศาสตร์


เมื่อประมาณ 1800 ปีที่แล้ว จักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่กำลังเกิดวิฤตใหญ่ จนเหมือนว่ากำลังจะล่มสลายลง ในช่วงเวลาเพียงแค่ 50 ปี อาณาจักรโรมันเปลี่ยนจักรพรรติที่ขึ้นมาปกครองถึง 26 คน แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเหมือนพล็อตหนังที่มีการหักมุมตอนท้าย อาณาจักรโรมันที่เหมือนว่ากำลังจะล่มสลายลงก็สามารถรอดพ้นจากวิกฤตนั้นมาได้
เราจะมาคุยกันว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เพียงนั้นถึงเกือบจะล่มสลายลง และทำไมอนาจักรโรมันจึงแตกเป็นสองส่วน
😺 ภาพ โดย แอดมินฝ้าย
😎 เสียงและวีดีโอ โดย แอดมินท็อป
0:10 อธิบายเปิดเรื่องคร่าว ๆ ว่าวิกฤติในช่วงศตวรรษที่ 3 ของโรมันคืออะไร
1:50 เล่าไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์โรมันกว้าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพว่าเรื่องที่เราจะคุยอยู่ช่วงไหน
4:20 เริ่มต้นเรื่องที่ภาพยนตร์เรื่อง Gladiator
5:10 แถมให้เห็นว่า หมอ Galen อยู่ในช่วงเวลาไหนของโรมัน
6:30 อธิบายว่า Praetorian guard คือใคร ?
7:50 ใครจะขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ์ต่อดี ? ปัญหาคืออะไร ?
9:20 จักรพรรดิ์ Pertinex และ ปีแห่ง 5 จักรพรรดิ์
13:10 Septimius Severus แห่งต้นราชวงศ์ Severan
………………………………………………………………..
ถ้าหากท่านใดที่สนใจหนังสือสงครามไม่มีวันชนะ
ที่หมอเอ้วได้พูดถึงในคลิป สามารถสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ
👉 Chatchapolbook : https://bit.ly/2JIvL1h
………………………………………………………………..
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่
🔔 Line: @chatchapolbook
👉 https://bit.ly/368PJv4

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ทำไมอาณาจักรโรมันจึงแตกเป็นสองส่วน : ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของความตกต่ำ | [EP32] หลงไปในประวัติศาสตร์

จุดจบกรุงโรม by CHERRYMAN


กรุงโรมเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอิตาลี ซึ่งมีอดีตอันยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในยุคจักรวรรดิโรมันโรมมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 2,800 ปี
กรุงโรม
โรมัน
กรีก

จุดจบกรุงโรม by CHERRYMAN

สารคดี สำรวจโลก ตอน เส้นทางของซามูไร


ญี่ปุ่นมีแบบแผนและวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปจากชนชาติอื่นทั้งหมด สิ่งต่างๆที่ชาวญี่ปุ่นทำอยู่นอกเหนือจากการจินตนาการ อาจกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นเป็นโลกที่กลับหัวของยุโรป เมื่อชาวโปรตุเกสมาถึงญี่ปุ่นในปี 1543 พวกเขาเผชิญหน้ากับประเทศที่วุ่นวาย กับสงครามกลางเมือง นอกจากความวุ่นวายทางสงครามแล้ว มีหนึ่งนักรบซามูไรที่เป็นผู้สร้างระบบการปกครองที่แข็งแกร่ง จนอยู่มาอย่างยาวนานถึง 250 ปี ติดตามเรื่องราวของพวกเขาได้ใน สารคดี สำรวจโลก ตอน เส้นทางของซามูไร
ศึกษาเพิ่มเติม ก่อนตัดสินใจ คลิก www.tv.co.th
Good TV โทร 020263399
Line @goodtv คลิก https://line.me/R/ti/p/%40goodtv

สารคดี สำรวจโลก ตอน เส้นทางของซามูไร

จักรีปริทัศน์ รัชกาลที่ 1 ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี


ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่ว่าเราจะชอบระบบศักดินาขัตติยาธิปไตยหรือไม่ ถ้าเราจะรู้จักความเป็นมาของเราเอง เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของระบบนี้ ที่อยู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปี โดยเฉพาะราชวงศ์จักรี ที่ยังอยู่กับเราในปัจจุบัน
\”จักรีปริทัศน์\” เป็นชุดวีดีทัศน์ ประวัติศาสตร์มุขปาฐะ ที่ครูผู้เฒ่า ส. ศิวรักษ์ เล่าจากความทรงจำจากตามศึกษาทั้งจากเอกสารและคำบอกเล่า เช่นเดียวกับ ชุด 2475 ที่เราทำไปก่อนหน้านี้แล้ว เราหวังว่าท่านผู้ชมจะได้ความรู้และความเพลิดเพลินตามสมควร จากบุคคลที่เราถือว่า เป็นผู้ตามศึกษาค้นคว้าเพื่อรู้เรื่องวังและวัดของไทยอย่างดีที่สุดคนหนึ่งในสมัยนี้ แม้เราจะเชื่อว่าท่านพยายามให้ความเที่ยงธรรมกับทุกผู้ทุกนามที่ท่านเอ่ยถึงมากที่สุด แต่ก็ถือว่านี่เป็นมุมมองหนึ่งเท่านั้น
การมองราชวงศ์จักรีในโลกสมัยใหม่ ย่อมมองจากแง่มุมอื่นๆได้อีกมาก หวังว่าการเสนอชุดนี้ออกมา จะนำไปสู่การเสนอมุมมองจากสกุลคิดอื่นๆ หลากหลายออกไป เพื่อความกว้างขวางและลึกซึ้งของความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ไปพ้นการโฆษณาชวนเชื่อที่ครอบงำสังคมไทยมานานพอสมควร เรายินดีรับฟังความคิดเห็นต่างๆจากท่านผู้ชมทั้งเห็นด้วยและเห็นต่างอย่างเต็มใจเสมอ
ประชา หุตานุวัตร
ณพัฒน์ พัฒนพีระเดช
อันวยา แก้วพิทักษ์
คณะทัศนาธิการ

\”เสมเสวนา\” เป็นชื่อใหม่สำหรับวีดีทัศน์ทุกเรื่อง ที่แผนงานกระบวนทัศน์ใหม่ ของเสมสิกขาลัยได้ผลิตและกำลังจะผลิต ตามรายหมวดวิชาต่างๆที่เราจัดสอนอยู่ทั้งในชั้นเรียนและทางสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยเป้าหมายคือการสร้างอุดมศึกษาทางเลือกขึ้นเพื่อการตื่นรู้อย่างเป็นองค์รวมของสังคมไทย
หากท่านสนใจสนับสนุนการผลิตสื่อในลักษณะนี้ สามารถสนับสนุนโดยตรงด้วยการบริจาคมาที่
ชื่อบัญชี: มูลนิธิเสฐียรโกเศศนาคะประทีป
ธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 3952199764
ติดตาม \”เสมเสวนา\” ได้ทุกสัดาห์ ในช่องทาง
https://www.youtube.com/channel/UC7nDMySXYf2vvPLmOPTUWNw
Facebook: https://www.facebook.com/NewParadigmLeadership/

จักรีปริทัศน์ รัชกาลที่ 1 ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี

Rome : ตอน ขบวนรบสุดแกร่ง แห่ง โรม [Ringingz]


For Rome
เข้ามารับชมผลงานใหม่ๆได้ที่นี่เลย ^^
https://goo.gl/kcXwev
เพจ Facebook
https://www.facebook.com/Ringingz/?ref=aymt_homepage_panel
ฝากกดติดตาม และ กด ถูกใจ ไว้ด้วยนะฮาฟ

Rome : ตอน ขบวนรบสุดแกร่ง แห่ง โรม [Ringingz]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ จักรวรรดิโรมันตะวันตก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *