[NEW] นกเงือก สัญลักษณ์แห่งรักแท้และผู้บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า | นกเงือกดำ – Australia.xemloibaihat

นกเงือกดำ: คุณกำลังดูกระทู้

นกเงือก สัญลักษณ์แห่งรักแท้และผู้บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า

โดย…ปอย ภาพ เสกสรร โรจนเมธากุล

หนึ่งในกิจกรรมหลักที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา เพื่อระดมทุนสำหรับการศึกษาวิจัยและอนุรักษ์นกเงือกให้อยู่คู่ผืนป่าไทยตลอดไป โดยมีเจ้าภาพหลักเสื้อผ้า ฮอร์นบิลล์ อินเตอร์เนชั่นแนล (แบรนด์แฟชั่นในเครือ ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล) ร่วมกับมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันจัดงาน “วันรักนกเงือก” ปีนี้จัดขึ้นในแนวคิด “รวมใจให้นกเงือก” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่สวนนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีทั้งสาระความรู้และบันเทิง เช่น ฟังเสวนา-ชมนิทรรศการเกี่ยวกับสถานการณ์นกเงือกที่มีจำนวนน้อยเหลือไม่กี่พันตัว

คนร่วมงานได้เล่นเกม ช็อปปิ้งเสื้อลวดลายนกเงือกฝีมือเหล่าดารา-นักร้องคนดัง อาทิ แวร์ โซว และน้องคนดี พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ สหรัถ สังคปรีชา จอห์น นูโว แสงทอง เกตุอู่ทอง นำรายได้สมทบทุน“มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก” ชมมินิคอนเสิร์ต “รวมใจให้นกเงือก” สินเจริญ บราเธอร์ส โยคี เพลย์บอย บอย-ตรัย ภูมิรัตน

จัดเป็นงานวันรวมพลคนรักนกเงือก บรรยากาศคึกคัก ซึ่งได้จัดเจอกันที่เก่าเวลาเดิมทุกๆ ปี แล้วถ้าเทียบกับเมื่อหลายสิบปีก่อน คนไทยแทบจะไม่รู้จักเรื่องราวของ “นกเงือก” แต่มาวันนี้แทบไม่มีใครไม่รู้จักนกแห่งสัญลักษณ์ของ “รักแท้” ชนิดนี้

สถานการณ์นกเงือกในไทย

“ทำไมนกเงือกจึงขึ้นบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์…?” นักวิจัยระดับโลกผู้ได้ชื่อว่า “มารดาแห่งนกเงือก” (Great Mother of the Hornbills) ศ.เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ผู้ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อการคุ้มครอง-อนุรักษ์นกเงือกและธรรมชาติ พิไลได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2550 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลกถึง 2 รางวัล เมื่อปี 2549 คือ The 2006 Rolex Awards for Enterprises จาก Rolex SA สวิตเซอร์แลนด์ และ The 52nd Annual Chevron Conservation Awards จาก Chevron Corporation สหรัฐอเมริกา ให้คำตอบในการทำงานกว่า 20 ปี

พิไลให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของ “นกเงือก” ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี นกเงือกจึงเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง

“นกเงือกปากย่น และนกเงือกดำ สองพันธุ์นี้เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งเพราะอาศัยอยู่ในป่าที่ราบต่ำ จำนวนพันธุ์ละ 20 กว่าตัวเท่านั้นเองค่ะ ซึ่งประชากรที่จะอยู่รอดปลอดสืบสายพันธุ์ได้นั้นจะต้องไม่น้อยกว่า 500 ตัว ก็ยากที่จะบอกได้ว่าวันนี้นกชนิดนี้มีอยู่กี่ตัวนะคะ เพราะป่าแต่ละแห่งอุดมสมบูรณ์ต่างกันไป จะบอกว่าเขาใหญ่มีนกเงือกจำนวนเท่านี้ ไปรวมกับป่าห้วยขาแข้งอีกเท่านี้ วัดจำนวนแบบนี้ไม่ได้ค่ะ ดิฉันอย่างเช่นในเขาใหญ่มี 18 ตัว/ตร.กม. ห้วยขาแข้งมี 21 ตัว/ตร.กม. อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ราว 10 ตัว/ตร.กม. เพราะป่าขนาดเล็กในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี นราธิวาส และยะลา)

ป่าไม้ถูกทำลายทำให้รังของนกเงือกหายไปด้วยค่ะ และลูกนกก็ถูกล่านำไปขายซึ่งเป็นสองสาเหตุของการสูญพันธุ์ ดิฉันทำงานวิจัยตั้งแต่ในเรื่องสถานที่นกเงือกทำรัง ชนิดของต้นไม้ที่ทำรัง การเริ่มทำวิจัยเมื่อปี 2537 ก็ชักชวนชาวบ้านเข้ามาร่วมเก็บข้อมูลทางวิชาการ และได้ชักจูงชาวบ้านให้เลิกนำลูกนกเงือกไปขายแล้วมาช่วยกันอนุรักษ์ สร้างทีมงานทำงานร่วมกับชาวบ้านเก็บข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาที่เป็นประโยชน์ในป่าพื้นที่นั้นๆ ระยะยาว ประชาชนในพื้นที่ได้หาความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เฝ้าระวังในทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป และดำเนินการในด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้โดยใช้นกเงือกเป็นสื่อกลางในการทำงาน” พิไล กล่าว

โครงการชุมชนอนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด เริ่มตั้งแต่ ปี 2537 การทำงานร่วม 20 ปี ปัจจุบันมีชาวบ้าน 20 คน กลุ่มคนรุ่นใหม่ 5 คน และมีเยาวชนอาสาสมัครช่วยเก็บข้อมูลอีก 5 คน รวม 30 คน ช่วยกันเฝ้าระวังนกเงือก ดูแลโพรงรังนกเงือก 203 โพรงรัง และช่วยนักวิจัยเก็บข้อมูลทางวิชาการ ช่วยกันซ่อมแซมโพรงรัง ติดตั้งโพรงเทียม และสำรวจกล้าไม้พืชอาหารของนกเงือกบนเทือกเขาบูโด ในเวลา 22 ปี ได้ลูกนกออกสู่ธรรมชาติ 649 ตัว

 

“ก้าวต่อไปคือมุ่งทำงานวิจัยในเรื่องเส้นทางอพยพค่ะ ติดตามการอพยพของนกเงือกกรามช้างปากเรียบ ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2556-ม.ค.ปีนี้ พบว่า นกเงือกกรามช้างปากเรียบบินอพยพจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เรื่อยลงไปจากผืนป่าตะวันตก เข้าเขตประเทศเมียนมา ผ่านลงไปทางภาคใต้ของไทยจนถึงประเทศมาเลเซีย และเมื่อฤดูทำรังของนกเงือกเริ่มขึ้นทุกปีในเดือน ม.ค. นกเงือกก็จะบินกลับมาประเทศไทย เพื่อทำรังในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งการติดตามเส้นทางการอพยพของนกเงือก จะทำให้เราทราบขอบเขตแนวโน้มการใช้ประโยชน์พื้นที่ การหากินของนกเงือก รวมถึงการวิเคราะห์หาพื้นที่อาศัยที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของนกเงือกในอนาคต ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาแนวเชื่อมต่อผืนป่าเพื่อเป็นการจัดการผืนป่ามรดกโลกต่อไปในอนาคต

และปีนี้มีกลุ่มนักศึกษาปริญญาโทเข้ามาศึกษาลักษณะป่าห้วยขาแข้ง ทำวิทยานิพนธ์เรื่องอาหารของแต่ละป่า หาสาเหตุทำไมนกจึงอพยพซึ่งคำตอบก็คือนกบินไปหาอาหารที่อุดมสมบูรณ์กว่าในป่าแห่งใหม่” พิไล กล่าว 

เดือนแห่งความรักเริ่มสร้างรัง

นกเงือกเป็นนกจับคู่ “ผัวเดียวเมียเดียว” มีความโดดเด่นเฉพาะตัวไม่เหมือนนกอื่นใด ฤดูทำรังของนกเงือกเริ่มต้นราวเดือน ม.ค.-ก.พ. ระยะนี้นกเงือกจะแยกจากฝูง ตัวผู้เสาะหาโพรงรัง ตัวเมียมักจะติดตามไปด้วย ไปไหนไปเป็นคู่ 

 

เมื่อได้โพรงที่เหมาะแล้วตัวเมียก็มุดเข้าไปในโพรงกะเทาะวัสดุปิดรังเก่าๆ ออกทิ้ง จากนั้นแม่นกจะทำความสะอาดภายในโพรงด้วยการคาบเศษเมล็ดผลไม้เก่าของฤดูก่อน เศษขนเก่าโยนทิ้งแล้วเริ่มปิดปากโพรงใหม่ วัสดุที่ปิดโพรง ได้แก่ เศษไม้ ดิน ผสมกับมูลของตัวเมียเอง รวมกับอาหารที่สำรอกออกมาแล้วพอกปากโพรงที่เปรียบเสมือนประตู โดยใช้จะงอยปากด้านข้างตีให้ติดกัน เมื่อแห้งวัสดุนี้จะแข็งและเหนียวมาก

ระหว่างการปิดปากโพรงของตัวเมีย นกเงือกตัวผู้อาจหาวัสดุ เช่น ดิน หรือเปลือกไม้มาให้ แล้วแต่ชนิดของนกเงือก เช่น นกกกใช้เปลือกไม้ เศษไม้ผุ แต่ไม่ใช้ดินเลย แต่นกแก๊กจะใช้ดินเป็นส่วนใหญ่ นอกจากจะหาวัสดุมาให้นกเงือกตัวผู้จะคอยเฝ้าเป็นเพื่อนอยู่ใกล้ๆ โพรงรังเกือบตลอดเวลา และคอยป้อนอาหาร เมื่อตัวเมียออกจากโพรงหลังจากทำงานปิดโพรงในแต่ละวัน

“นกกว่าจะถึงวัยสืบพันธุ์ต้องมีอายุ 4-5 ปี จับคู่เข้าโพรงกันไปแล้วก็ใช่ว่าจะได้ลูกนกนะคะ นกขนาดใหญ่ตัวนี้น้ำหนักเกือบ 4 กก. เช่น นกเงือกพันธุ์กก มีลูกได้ครั้งละ 1 ตัวเท่านั้นค่ะ นี่เป็นอีกสาเหตุที่ขยายพันธุ์ได้ช้า ส่วนนกขนาดเล็กก็มีลูก 2-3 ตัวเท่านั้น ดิฉันทำงานตั้งแต่ปี 2527 ประทับใจการดำรงชีวิตของเขาที่เป็นนกชนิดเดียวที่ทำรังปิดโพรง ตัวผู้ออกไปอาหารมาป้อนให้ลูกเมีย ถ้าตัวผู้ถูกล่า ตัวเมียอยู่ในโพรงปิดกับลูกนกก็อาจตาย ซึ่งเรื่องนี้เราช่วยแทบไม่ได้เลยนะคะ เราเคยเอาอาหารปีนขึ้นไปป้อน แม่นกก็คายทิ้ง เพราะตัวเมียเขาไม่รับอาหารจากคนแปลกหน้า” พิไล กล่าว

 

โดยปกตินกเงือกจะใช้โพรงเดิมทุกๆ ปี หากโพรงนั้นยังคงสภาพที่เหมาะสมอยู่ต่อไป แต่เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย รังรักครอบครัวสุดอบอุ่นก็หายไปด้วย

อีกงานหนึ่งก็คือการสร้างรังเทียม “รัง” ของนกเงือกก็คือโพรงไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยในต้นไม้วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) มากที่สุด เพราะขนาดของต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่พอที่นกเงือกจะทำรังได้นั้นมีเส้นรอบวงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ในเมื่อนกเงือกไม่สามารถเจาะโพรงรังเองได้เหมือนนกหัวขวาน จึงต้องหาโพรงไม้ในธรรมชาติที่เหมาะสม ขนาดที่เหมาะสมของปากโพรง เพียงพอที่นกเงือกตัวเมียจะเบียดตัวผ่านเข้าไปได้ มีเพดานสูงเพื่อการไหลเวียนของอากาศภายในโพรงได้ดี พื้นโพรงรังไม่ลึกจากขอบโพรงตอนล่างมากนัก เนื้อที่ภายในโพรงใหญ่พอที่แม่และลูกจะอยู่ได้อย่างไม่แออัด

พิไล กล่าวว่า การทำงานนี้มีค่าใช้จ่ายสำหรับเงินเดือนทีมงานมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ราวเดือนละกว่า 3 แสนบาท และปีละกว่า 5 ล้านบาท โดยมีองค์กรใหญ่ให้การสนับสนุนการทำงาน แต่ในเวลานี้ได้ถอนตัวไป การระดมเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไป และร่วมกับบริษัทเอกชนทำอีเวนต์เล็กๆ อบอุ่นๆ เช่นงานในวันนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อหาทุนในการทำงานต่อไป

[NEW] วันรักนกเงือก (คืออะไร หมายถึง ความหมาย) | นกเงือกดำ – Australia.xemloibaihat

วันรักนกเงือก

วันรักนกเงือก, วันรักนกเงือก หมายถึง, วันรักนกเงือก คือ, วันรักนกเงือก ความหมาย, วันรักนกเงือก คืออะไร

วันรักนกเงือก

ทุกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น “วันรักนกเงือก”

     

 

นกเงือก

 

เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก

     ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยเฉพาะผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งรวมแล้วมีนกเงือกประมาณ 3,000 ตัว

รายชื่อนกเงือกที่พบในประเทศไทย

  • นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง Great Hornbill, Buceros bicornis
  • นกเงือกหัวแรด Rhinoceros Hornbill, Buceros rhinoceros
  • นกเงือกหัวหงอก White-crowned Hornbill, Berenicornis comatus
  • นกชนหิน Helmeted Hornbill, Rhinoplax vigil
  • นกแก๊ก หรือ นกแกง Oriental Pied Hornbill, Anthracoceros albirostris
  • นกเงือกดำ Black Hornbill, Anthracoceros malayanus
  • นกเงือกคอแดง Rufous-necked Hornbill, Aceros nipalensis
  • นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว Austen’s Brown Hornbill, Anorrhinus austeni
  • นกเงือกสีน้ำตาล Tickell’s Brown Hornbill, Anorrhinus tickelli
  • นกเงือกปากดำ Bushy-crested Hornbill Anorrhinus galeritus
  • นกเงือกปากย่น Wrinkled Hornbill, Aceros corrugatus
  • นกเงือกกรามช้าง หรือนกกู่กี๋ Wreathed Hornbill, Rhyticeros undulatus
  • นกเงือกกรามช้างปากเรียบ Plain-pouched Hornbill, Rhyticeros subruficollis

นกเงือกที่พบในป่าตะวันตก

      นกเงือกกรามช้างปากเรียบ

      ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros subruficollis ชื่อสามัญ (Common name): Plain-pouched Hornbill (Rhyticeros)
รูปร่างหน้าตานิสัยเหมือนนกกู๋กี๋ หรือ นกเงือกกรามช้าง มีขนาดย่อมกว่า และต่างกันตรงที่ปากด้านข้างเรียบ ถุงใต้คอไม่มีขีดดำทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นนกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์ พบบริเวณ ผืนป่าตะวันตกติดกับประเทศพม่า (Myanmar) เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

      นกเงือกคอแดง

 

      ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros nipalensis ชื่อสามัญ (Common name): Rufous-necked Hornbill
มีขนาดใกล้เคียงกับนกเงือกปากย่น ตัวผู้มีสีสรรสวยงามแต่ไม่มีโหนก ปากสีเหลืองอ่อน อมเขียว ปากบนมีรอยขีดสีดำ ถุงใต้คอสีแสดทั้งสองเพศ ตัวเมียสีดำปลอด เป็นนกเงือกที่พบอยู่ป่าสูง และอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ได้ทางตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

       นกเงือกสีน้ำตาล 

       ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anorrhinus tickelli ชื่อสามัญ (Common name): Tickell’s Brown Hornbill
ขนาดเล็กกว่า นกเงือกปากดำ และมีนิสัยคล้ายคลึงกัน แตกต่างจากนกเงือกสีน้ำตาล (Austen’s) ตรงที่คอมีสีน้ำตาลแดง ทำรังแบบมีผู้ช่วยแต่ผู้ช่วยจะเป็นตัวผู้ทั้งหมด และไปกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้ เลี้ยงลูกได้มากที่สุดถึง 3 ตัว เป็นนกที่ อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ ได้ทางภาคเหนือ ตะวันตกและภาคกลาง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นต้น

       นกเงือกมีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา จึงสามารถนำพาเมล็ดพันธุ์พืชไปทิ้งไว้ยังที่ต่างๆ และเจริญขึ้นเป็นต้นกล้าได้ทั่วป่า นกเงือกจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแพร่พันธุ์ของพืช ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในป่า และทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ

       ด้วยความที่เป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว ใช้ชีวิตคู่แบบ “ผัวเดียวเมียเดียว” จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย นกเงือกจึงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของ “รักแท้”

ความรักของนกเงือก รักแท้ในป่าทึบ

       นกเงือก เป็นนกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนกที่มีความรักเดียวใจเดียว และซื่อสัตย์กับคู่ของมันไปจนตาย เนื่องจากนกเงือกจะจับคู่แบบผัวเดียว

เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูกปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยเฉพาะผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งรวมแล้วมีนกเงือกประมาณ 3,000 ตัวชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros subruficollis ชื่อสามัญ (Common name): Plain-pouched Hornbill (Rhyticeros) รูปร่างหน้าตานิสัยเหมือนนกกู๋กี๋ หรือ นกเงือกกรามช้าง มีขนาดย่อมกว่า และต่างกันตรงที่ปากด้านข้างเรียบ ถุงใต้คอไม่มีขีดดำทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นนกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์ พบบริเวณ ผืนป่าตะวันตกติดกับประเทศพม่า (Myanmar) เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros nipalensis ชื่อสามัญ (Common name): Rufous-necked Hornbill มีขนาดใกล้เคียงกับนกเงือกปากย่น ตัวผู้มีสีสรรสวยงามแต่ไม่มีโหนก ปากสีเหลืองอ่อน อมเขียว ปากบนมีรอยขีดสีดำ ถุงใต้คอสีแสดทั้งสองเพศ ตัวเมียสีดำปลอด เป็นนกเงือกที่พบอยู่ป่าสูง และอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ได้ทางตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anorrhinus tickelli ชื่อสามัญ (Common name): Tickell’s Brown Hornbill ขนาดเล็กกว่า นกเงือกปากดำ และมีนิสัยคล้ายคลึงกัน แตกต่างจากนกเงือกสีน้ำตาล (Austen’s) ตรงที่คอมีสีน้ำตาลแดง ทำรังแบบมีผู้ช่วยแต่ผู้ช่วยจะเป็นตัวผู้ทั้งหมด และไปกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้ เลี้ยงลูกได้มากที่สุดถึง 3 ตัว เป็นนกที่ อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ ได้ทางภาคเหนือ ตะวันตกและภาคกลาง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นต้นนกเงือกมีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา จึงสามารถนำพาเมล็ดพันธุ์พืชไปทิ้งไว้ยังที่ต่างๆ และเจริญขึ้นเป็นต้นกล้าได้ทั่วป่า นกเงือกจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแพร่พันธุ์ของพืช ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในป่า และทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติด้วยความที่เป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว ใช้ชีวิตคู่แบบ “ผัวเดียวเมียเดียว” จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย นกเงือกจึงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของ “รักแท้”นกเงือก เป็นนกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนกที่มีความรักเดียวใจเดียว และซื่อสัตย์กับคู่ของมันไปจนตาย เนื่องจากนกเงือกจะจับคู่แบบผัวเดียว


พบนกเงือกกรามช้างปากเรียบ ในรอบ 20 ปี | 28-06-64 | ข่าวเช้าหัวเขียว


ไปดูความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า นกเงือกกรามช้างปากเรียบ ฝูงใหญ่ ประมาณ 150200 ตัว ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
กดติดตาม \u0026 กดกระดิ่ง : http://bit.ly/Subscribe_Thairath
ติดตามข่าวสำคัญไปกับเรา
Website : https://www.thairath.co.th
Website : https://www.thairath.co.th/tv
Facebook : https://www.facebook.com/thairath
Facebook : https://www.facebook.com/thairathtv
Twitter : https://twitter.com/Thairath_News
Twitter : https://twitter.com/Thairath_TV
Instagram : https://www.instagram.com/thairath
Instagram : https://www.instagram.com/thairathtv
Line : http://line.me/ti/p/@Thairath
Youtube : https://www.youtube.com/thairathonline
ติดต่อโฆษณา ออนไลน์
โทร. 021271111 ต่อ 2144

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

พบนกเงือกกรามช้างปากเรียบ ในรอบ 20 ปี | 28-06-64 | ข่าวเช้าหัวเขียว

นกเงือก


มีนกเงือกชื่อนํ้าหวานหมาชื่อเพชร เป็นเพื่อนกันครับหยอกล้ากันเล่นทุกวัน ไม่น่าเชื่อว่าสัตว์ ป่ากับสัตว์เลี้ยงจะเป็นเพื่อนกันกันได้ เหตุเกิดที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม

นกเงือก

Black Hornbill นกเงือกดำ


Black Hornbill นกเงือกดำ taken in the Rainforest Discovery Centre (RDC), Sandakan, Malaysia.

Black Hornbill นกเงือกดำ

นกเงือกกรามช้าง ตัวเมีย ลำตะคอง เขาใหญ่ 23-1-2021


นกเงือกกรามช้าง ตัวเมีย ลำตะคอง เขาใหญ่ 2312021
Sony A7 MK II
Sony 200600G
facebook.com/love.thailandnature

นกเงือกกรามช้าง ตัวเมีย ลำตะคอง เขาใหญ่ 23-1-2021

Documentary Living Legacy epsiode “FirstFlight”


\”พินัยกรรมธรรมชาติ\”
เป็นเหมือนกับพินัยกรรมที่ธรรมชาติได้เขียนไว้เป็นมรดกให้คนรุ่นหลัง มรดกซึ่งก็คือผืนป่าและความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศที่ เหลืออยู่น้อยนิด ซึ่งใกล้จะหมดไปจากประเทศ…
ธรรมชาติให้สิ่งนี้ไว้กับคนไทย 60 ล้านคน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า เราทุกคน จะจัดการกับมรดกชิ้นนี้อย่างไร ทางออกที่เราจะเป็นผู้เลือก ไม่ว่าจะรักษา หรือทำลาย … คำตอบขึ้นอยู่กับใจของทุกคน
…..
พินัยกรรมธรรมชาติ \”แรกบิน\”
สายสัมพันธ์แห่งชีวิตครอบครัว อันประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และลูก มิได้มีแต่เพียงมนุษย์ เท่านั้น \”นกกก\”ไ ด้แสดงออกถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและงดงามนี้ ด้วยก้าวแรกของชีวิตใหม่
Follow Us
Email : [email protected]
Facebook : https://www.facebook.com/greenasiafilms/
Instagram : https://bit.ly/39OlV5t
youtube channel : https://bit.ly/2v01Ni8

Documentary Living Legacy epsiode “FirstFlight”

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ นกเงือกดำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *