[NEW] สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อรับมือโลกแห่งอนาคต | ระบบนิเวศจำลอง – Australia.xemloibaihat

ระบบนิเวศจำลอง: คุณกำลังดูกระทู้

         ในโลกแห่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างก็เป็นปัจจัยที่เกี่ยวพัน และสร้างผลกระทบแก่กันได้มหาศาลเมื่อปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น
         ตัวอย่างหนึ่งที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยๆ คือกรณีการย้ายถิ่นฐานของสุนัขป่าในอุทยานแห่งชาติเยลโล่สโตน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในอดีตพื้นที่แห่งนั้นเคยเป็นแหล่งหากินของกวางป่า แต่เมื่อสัตว์นักล่าได้อพยพย้ายเข้ามาสัตว์กินพืชเจ้าถิ่นเดิมก็จำเป็นต้องล่าถอย ระยะเวลาผ่านไปพุ่มไม้ใบหญ้าบริเวณนั้นที่เคยเหี้ยนเตียนเพราะถูกกินจนเรียบก็กลับมางอกงามอีกครั้ง ความอุดมสมบูรณ์ของป่าดึงดูดให้สัตว์น้อยใหญ่อย่าง นก บีเวอร์ หรือหมี คืนกลับสู่พื้นที่บริเวณนั้นอีกครั้ง
         สิ่งเหล่านี้คือแบบจำลองเบื้องต้นที่อธิบายถึงการมีอยู่ของ ‘ระบบนิเวศ’
         จากไอเดียที่ได้จากการสังเกตการณ์ธรรมชาติ ในเวลาต่อมาได้ถูกนำมาพิจารณาเพื่อปรับใช้กับระบบการเรียนรู้ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าองค์ประกอบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ผู้เรียน ผู้สอน นายจ้าง เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว สื่อการเรียนการสอน หรือกระทั่งโอกาสในการได้ทดลองลงมือจริง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสิ้น

          ระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนมอบผลลัพธ์ในแบบที่ผู้ออกแบบ และผู้เรียนต้องการ
           อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยสำหรับการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ในยุคนี้ คือการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยความที่โลกได้ก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลมาเป็นเวลานานแล้ว ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลา
           ระบบการเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นจึงควรต้องเอื้อต่อการเป็น E-learning ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา การจัดเตรียมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหาที่ต้องการเรียนด้วยตัวเอง การปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารที่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น อาทิ VR (Virtual Reality), คลิปวิดีโอ, เกมออนไลน์ หรืออุปกรณ์เสริมต่างๆ อย่าง Smart watch
           บทความชิ้นหนึ่งจาก Forbes ที่เขียนโดย มิเชลล์ ไวส์ (Michelle Weise) ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการศึกษา และเป็นผู้เขียนหนังสือ Long Life Learning: Preparing for Jobs that Don’t Even Exist Yet ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจให้เราได้ขบคิดว่า จากในอดีตที่เราใช้ระบบการศึกษาแบบ K-12 หรือการแบ่งนักเรียนออกเป็น 12 เกรด และป้อนความรู้ในรูปแบบเดียวกัน อาจถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ระบบนี้จะถูกปฏิวัติเพื่อให้การเรียนการสอนในของเด็กรุ่นถัดๆ ไปมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอนาคตมากกว่า
          ตั้งแต่ปี 1979 การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นร่ำรวยในอเมริกาถ่างช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมให้กว้างขึ้นอย่างที่ไม่อาจมีทางกลับมาบรรจบกันได้ ผู้คนชนชั้นร่ำรวย 10% จากกลุ่มประเทศสมาชิก OECD (องค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว) มีรายได้มากกว่าคนจนในกลุ่ม 10% ล่างสุดถึง 10 เท่า ปัญหาสำคัญที่สังคมให้ความสนใจจึงวนเวียนอยู่ที่เรื่องค่าแรงที่ค่อนข้างต่ำ หรือปัญหาการว่างงานเป็นส่วนใหญ่
          จนกระทั่งวิกฤตการณ์โควิด-19 ได้ซัดสาดเข้ามาในชีวิตของผู้คนทั่วโลกอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว สร้างความปั่นป่วนให้กับแวดวงเศรษฐกิจทั่วโลก ผู้คนนับล้านต้องสูญเสียงาน ความมั่นคงในชีวิตพลิกผันเพียงชั่วเวลาไม่กี่เดือน ในตอนนั้นเองที่พวกเขาต่างเพิ่งตระหนักว่านอกจากความพยายามในการเอาตัวรอดด้วยการหางานใหม่ให้เร็วที่สุด สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่มีติดตัวก็คือความสามารถในการใช้เวลาว่างพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อค้นหาเส้นทางรอดในรูปแบบอื่น นั่นก็เพราะการเรียนรู้ในระบบแบบเก่าทำให้ผู้เรียนยึดติดอยู่กับการเรียนรู้แบบเป็นเส้นตรง ไม่สามารถพลิกแพลง หรือพัฒนาเพื่อหาทางรอดอื่นให้ตัวเองได้
          แน่นอนความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่นั่นอาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และไม่อาจโอบอุ้มพวกเราทุกคนไปได้ตลอดรอดฝั่ง สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นแสงสว่างจริงๆ จึงเป็นแนวทางการช่วยพัฒนาทักษะ ข้อมูล ความรู้ การศึกษาที่จะทำให้พวกเราก้าวต่อไปในสนามแห่งอนาคตได้
          นี่จึงอาจเป็นคำถามสำคัญที่ผู้คนในแวดวงการศึกษา นายจ้าง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อขบคิด ว่าเราจะสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อรับมือโลกแห่งอนาคตได้อย่างไร เพราะนี่ดูเหมือนจะเป็นทางออกเดียวที่จะช่วยทำให้คนที่สูญเสียงานสามารถกลับลงไปในสนามอาชีพได้อีกครั้ง และเพื่อให้คนรุ่นใหม่ในอนาคตสามารถปรับตัวรับกับความเป็นไปของโลกยุคใหม่ได้

         เพื่อการนั้น มิเชลล์ ผู้เขียนบทความยังเสนออีกว่าการปรับระบบนิเวศการเรียนรู้แบบใหม่สำหรับโลกในอนาคตควรตั้งอยู่บนแนวคิด 5 ข้อ ได้แก่
         นำทางได้ (Navigable) การเรียนรู้อย่างไร้จุดหมายก็ไม่ต่างอะไรกับการล่องเรือไปในความมืด ก่อนที่ผู้เรียนจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานพวกเขาควรได้รับข้อมูลที่ทำให้เห็นภาพของตลาดงานในปัจจุบัน และอนาคต การมีตัวช่วยนำทางที่ดีจะทำให้พวกเขาไม่ต้องเสียเวลาไปเปล่าๆ กับระบบอันยุ่งเหยิง รวมถึงมองเห็นถึงโอกาสว่าจะต่อยอดอาชีพไปในทิศทางใด
         ช่วยสนับสนุน (Supportive) ประการสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ พร้อมเตรียมตัวสู่เส้นทางการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปราศจากอุปสรรคก็คือการได้รับการสนับสนุนอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว หรือการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นหาพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ๆ ได้โดยไม่มีอะไรมากั้น  
         มีจุดมุ่งหมาย (Targeted) ผู้เรียนจำควรต้องได้รับการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายตรงตามความต้องการของพวกเขา ทักษะที่ใช่ เส้นทางที่ใช่ ในเวลาที่ใช่ ไม่ใช่การเรียนอย่างสะเปะสะปะในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้จำเป็น หรือต้องการ และที่สำคัญพวกเขาควรได้รู้ว่าการศึกษาที่พวกเขาเลือกจะลงทุนจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่างชัดเจน  
         ผสมผสาน (Integrated) ในบางครั้งผู้เรียนก็มีภาระอื่นๆ ที่จำเป็นต้องแบกรับนอกเหนือจากหน้าที่ในการเรียน การผสมผสานรูปแบบของการเรียนและการทำงานที่ได้ผลตอบแทนเข้าด้วยกัน นอกจากจะช่วยลดภาระ และความกดดันด้านค่าใช้จ่ายให้กับผู้เรียนได้แล้ว โมเดลการเรียนรู้จากการทำงานจริงยังให้ประโยชน์ที่มากกว่าแค่การเรียนจากทฤษฎีอีกด้วย  
        โปร่งใส (Transparent) ประการสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น และช่วยแก้ปัญหารูปแบบการจ้างงานอันล้าหลังในอดีต คือการปรับกระบวนการจ้างงานให้โปร่งใส เปิดเผย และยุติธรรมต่อผู้หางานทุกคนอย่างเท่าเทียม ทักษะ และความสามารถควรต้องเป็นคุณสมบัติแรกที่นายจ้างใช้พิจารณา ความโปร่งใสดังกล่าวนี้จะช่วยลดอคติในการจ้างงาน รวมถึงช่วยเชื่อมโยงบริษัทต่างๆ เข้ากับผู้สมัครมากความสามารถที่มีความหลากหลายมากขึ้น
         สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า จากการสัมภาษณ์นักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งระบุว่า GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) ซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดเศรษฐกิจที่ยอมรับกันในโลกสากล พบว่า ในปี 2020 เศรษฐกิจไทยติดลบมากที่สุดในอาเซียน ยิ่งเมื่อรวมกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนแล้วยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอนาคตในอีกหลายปีนับจากนี้มีแนวโน้มที่จะดิ่งลงมากกว่าพุ่งขึ้น   
          การสร้างระบบการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อให้สอดรับกับโลกแห่งอนาคตจึงอาจจะเป็นทางออกสำคัญที่เราสามารถสร้างได้ในตอนนี้ เพื่อเตรียมบุคลากรภายในองค์กร เด็กนักเรียน คนรุ่นใหม่ หรือกระทั่งแรงงานที่อยู่ในสภาวะว่างงาน ให้พร้อมเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ และรับมือกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.forbes.com/sites/stradaeducationnetwork/2020/04/13/a-new-learning-ecosystem-is-more-important-than-ever/
http://www.sproutlabs.com.au/blog/a-learning-ecosystem-model/
https://ethinkeducation.com/blog/what-is-the-learning-ecosystem/
https://edtech.worlded.org/what-is-a-learning-ecosystem/

[Update] Tiny Tree Garden : Terrarium, Plants Shop, Workshop Service | ระบบนิเวศจำลอง – Australia.xemloibaihat

สวนขวด หรือ สวนในขวดแก้ว ของขวัญจากธรรมชาติที่ Tiny Tree ได้คัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อนำมาจำลองเป็นระบบนิเวศในขวดแก้วที่ทุกท่านสามารถสร้างเรื่องราวผ่านตัวละครต่างๆ ได้ในแบบของตัวเอง พร้อมบริการจัดส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Terrarium, The special gift that we meticulously handcraft each step to create the tiny world in a bottle. And you can choose the character to create your own story. Moreover, we also provide delivery service in Bangkok. 


ระบบนิเวศจำลอง


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ระบบนิเวศจำลอง

ระบบนิเวศจำลอง (ระบบนิเวศน้ำนิ่งจำลอง)


ระบบนิเวศจำลอง (ระบบนิเวศน้ำนิ่งจำลอง)

หลักสูตร การเรียนการสอนโดยใช้ระบบนิเวศจำลองในขวดพลาสติก วันที่ 16 กันยายน 2560


หลักสูตร การเรียนการสอนโดยใช้ระบบนิเวศจำลองในขวดพลาสติก (Learning through Bottle Biology)
วิทยากร : ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม
วันที่ 16 กันยายน 2560 เวลา 09.0016.00 น
ณ สำนักงานมูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ อาคาร ว.วิโรจน์

หลักสูตร การเรียนการสอนโดยใช้ระบบนิเวศจำลองในขวดพลาสติก  วันที่ 16 กันยายน 2560

จัดตู้ 3 คนงบ 1000 บาท


แฟนเพจ:ThaiExoticChannel
เฟสบุ๊ค:https://www.facebook.com/nania.farm
IG:ThaiExotic

จัดตู้ 3 คนงบ 1000 บาท

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ (ชีววิทยา ม. 6 เล่ม 6 บทที่ 24)


เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิและการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ คลิปนี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ Project 14 ของ สสวท. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://proj14.ipst.ac.th/

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ (ชีววิทยา ม. 6 เล่ม 6 บทที่ 24)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ระบบนิเวศจำลอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *