[NEW] หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับฐานข้อมลู และหลักการออกแบบฐานข้อมล | หลักการออกแบบฐานข้อมูล – Australia.xemloibaihat

หลักการออกแบบฐานข้อมูล: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับฐานข้อมลู และหลักการออกแบบฐานข้อมล

หน่วยที่ 1

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐาน  เกี่ยวกับฐานข้อมลู และหลักการออกแบบฐานข้อมูล

หัวข้อเรื่องและงาน

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลในAccess 2007 ส่วนประกอบ ของฐานข้อมูล Access 2007 และหลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี

สาระสำคัญ

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป

ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีโครงการและการจัดการอย่างเป็นระบบ

ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access 2007 ได้แก่ ตาราง ฟอร์ม รายงาน แบบสอบถาม แมโคร และโมดูล มีหลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี มีกระบวนการ คือ กำหนดวัตถุประสงค์ของ ฐานข้อมูล ค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ แบ่งข้อมูลลงในตารางต่างๆ เปลี่ยนรายการของ ข้อมูลให้เป็นคอลัมน์ต่างๆ ระบุคีย์แต่ละตารางกำหนดความสัมพันธ์ของตาราง การปรับการ ออกแบบให้ดียิ่งขึ้น และการใช้กฎ Normalization

จุดประสงค์การสอน

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล ฐานข้อมูล และระบบฐานข้อมูล

จุดประสงค์ทั่วไป

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและส่วนประกอบของฐานข้อมูลใน Access 2007

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการหลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

สามารถอธิบายความหมายของข้อมูล ฐานข้อมูล และระบบฐานข้อมูลได้

สามารถอธิบายและจำแนกระบบฐานข้อมูลและส่วนประกอบของฐานข้อมูลในAccess 2007 ได้

สามารถออกแบบฐานข้อมูลที่ดีได้

เนื้อหา

ข้อมูลและฐานข้อมูล

ข้อมูล  (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ทั่วไป เช่น ราคาสินค้า คะแนนของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งปกติถือว่าเป็น ข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วเรียกว่า สารสนเทศ (Information) เช่น เมื่อนำคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมาประมวลผลก็จะได้คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุดของนักเรียนทั้งหมด ข้อมูลที่นำมาจัดเก็บในฐานข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพและเสียง

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง แหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีโครงการและการจัดการอย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่บันทึกเก็บไว้สามารถปรับปรุงแก้ไข สืบค้น และนำมาใช้ในการจัดการสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ฐานข้อมูลในที่นี้ หมายถึงฐานข้อมูลที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลก็คือจานแม่เหล็กหรือฮาร์ดดิสก็นั่นเอง ตัวอย่างฐานข้อมูลที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลสินค้า ฯลฯ  ปกติฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ที่สวนกลางของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ข้อมูลรวมกันได้ โดยอาจใช้ข้อมูลได้บางส่วนหรือทั้งหมดขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิในการใช้งาน  ฐานข้อมูลอาจเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มเดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กัน  โดยแต่ละแฟ้มเรียกว่า ตาราง

(Table) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้าง ดังรูป

 

 โครงสร้างของตารางประกอบด้วย

1. ชื่อตารางหรือชื่อฐานข้อมูล (Database Name)

2. เขตข้อมูลในแนวตั้ง (Column) หรือฟิลด์ (Field) หลายฟิลด์

3. รายการข้อมูลหรือระเบียน (Record) หลายรายการในแนวนอน (Row)

ตัวอย่าง ตารางฐานข้อมูลชื่อ ข้อมูลนักศึกษา มีฟิลด์ต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกัน เช่น รหัสนักศึกษา (StudentID) ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เมือง จังหวัด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนจัดเก็บในระเบียนที่ไม่ซ้ำกันตามฟิลด์ต่าง ๆ

ศัพท์สำคัญเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและการออกแบบระบบฐานข้อมูล คือ

เอนทิตี้ (Entity) เป็นคำที่อ้างอิงถึงบุคคล สถานที่ และสิ่งของต่างๆ เช่น สินค้าหรือวิชาใบสั่งซื้อหรือบัตรลงทะเบียนและลูกค้าหรือนักศึกษา เป็นต้น ถ้าเราสนใจในการสร้างระบบฐานข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าเอนทิตี้ของระบบนี้จะประกอบด้วย เอนทิตี้ลูกค้า ใบสั่งซื้อสิ้นค้า กับสิ้นค้า ดังรูป

แอตทริบิวต์  (Attribute) เป็นข้อมูลที่แสดงลักษณะของเอนทิตี้ เช่น แอตทิบิวต์ของเอนทิตี้ลูกค้าหรือนักศึกษา จะมีชื่อ ที่อยู่ และรหัสไปรษณีย์ ส่วนแอตทริบิวต์ของเอนทิตี้ ใบสังซื้อสินค้า จะมีรหัสใบสังซื้อ วันที่สังซื้อ ชื่อสินค้า จำนวนสินค้าที่สั่ง และราคาสินค้า เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแสดงเอนทิตี้ รวมทั้งแอตทิบิวต์ได้

ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ต่างๆ ใน ระบบ เช่น ในระบบการสั่งซื้อสิ้นค้า จะประกอบด้วยเอนทิตี้ใบสั่งซื้อสินค้า และเอนทิตี้ลูกค้าซึ่งมีความสัมพันธ์จากลูกค้าไปยังใบสั่งซื้อสินค้าเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One – to – Many) เป็นต้น

 

ในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นั้น เราจะต้องกำหนดชนิดของคีย์ต่างๆ เพื่อเป็น        แอตทริบิวต์พิเศษที่ทำหน้าที่บางอย่าง เช่น เป็นตัวแทนของตาราง ฯลฯ ซึ่งมีชนิดคีย์ ดังนี้

Primary Key (คีย์หลัก) จะเป็นฟิลด์ที่มีค่าไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละเรคอร์ดในตารางนั้น เราสามารถใช้ฟิลด์ที่เป็น Primary Key นี้เป็นตัวแทนของตารางนั้นได้ทันที

Candidate Key (คีย์คู่แข่ง ) เป็นฟิลด์หนึ่งหรือหลายฟิลด์ที่พอเอามารวมกันแล้วมีคุณสมบัติเป็น Primary Key (ไม่ซ้ำ) และไม่ได้ถูกใช้เป็นคีย์หลัก เช่น รหัสจังหวัดเป็นคีย์หลักสวนชื่อจังหวัดก็ไม่ซ้ำเช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นคีย์หลักจึงเป็นคีย์คู่แข่งแทน

Composite Key บางตารางหาฟิลด์ไม่ซ้ำไม่ได้เลยจึงต้องใช้หลายๆ ฟิลด์มารวมกันเป็น Primary Key ฟิลด์ที่ใช้รวมกันนี้เราเรียกว่า Composite Key

Foreign Key เป็นฟิลด์ใดๆ ในตารางหนึ่ง (ฝัง Many) ที่มีความสัมพันธ์กับฟิลด์ ที่เป็น Primary Key ในอีกตารางหนึ่ง (ฝัง One) โดยที่ตารางทั้งสองมีความสัมพันธ์แบบ One – to – Many ต่อกัน

ฐานข้อมูลมีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ

ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์(Relational Database) ซึ่งมีโครงสร้างเป็นตารางหลายตารางที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้ฟิลด์ที่ เหมือนกัน เช่น รหัสนักศึกษา (StudentID)

 

ลักษณะของฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์

1.   ค่าของข้อมูลต้องเป็นค่าที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก เช่น ชื่อ

2.   ค่าในแนวตั้ง (Column) หรอฟิลด์ต้องเป็นแบบเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นฟิลดสำหรับเก็บชื่อก็ต้องเป็นชื่อจริงทั้งหมด ไม่มีชื่อเล่นมาเก็บด้วย

3.   ลำดับของฟิลด์ไม่จำเป็นต้องเรียงกัน เช่น อาจใช้   ฟิลด์นามสกุลก่อนฟิลด์ชื่อก็ได้

4.   ชื่อฟิลด์ในตารางเดียวกันจะต้องไม่ซ้ำกัน

5.   ต้องกำหนดฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็นดัชนี (Index)หรอเรียกว่า กุญแจหลัก (Primary Key)

6.   ข้อมูลในแต่ละแถวหรอระเบียนต้องไม่ซ้ำกันกับแถวอื่น

7.   ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับของข้อมูลแต่ละแถวหรอระเบียน

 

ระบบฐานข้อมลู (Database System)

ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล อาจแบ่งเป็นฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และบุคลากร (Personnel) เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้กับฐานข้อมูล อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลแบบต่างๆและโปรแกรมใช้งาน

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมใช้งานและระบบการจัดการฐานข้อมูล

บุคลากร (Personnel) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือผู้ใช้งานฐานข้อมูล

เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอาจดูผังลักษณะการใช้งานระบบฐานข้อมูล ดังนี้

ผู้ใช้งานฐานข้อมูล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลแบ่งได้เป็น

 

ผู้ใช้ (User) หมายถึง ผู้ที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลทั่วไป การใช้งานอาจทำได้โดยผ่านโปรแกรมใช้งานหรือผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูลถ้ามีความรู้เกี่ยวกับระบบเพียงพอ

ผู้เขียนโปรแกรมใช้งาน (Application Programmer) หมายถึง ผู้ที่สร้างฐานข้อมูล และพัฒนาโปรแกรมใช้งานสำหรับให้ผู้ใช้สามารถใช้งานฐานข้อมูลได้ง่าย และให้ผู้บริหาร ฐานข้อมูลสามารถจัดการฐานข้อมูลได้สะดวกขึ้น

ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) หมายถึง ผู้ที่ออกแบบฐานข้อมูล ดูแลรักษาและจัดการฐานข้อมูลให้ปลอดภัย ทันสมัย และถูกต้องอยู่เสมอ

โปรแกรมใช้งานฐานข้อมูล อาจทำขึ้นโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น วิชวลเบสิก (Visual Basic) หรือใช้ภาษาสำหรับฐานข้อมูล คือ SQL (Structured Query Language) หรือใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS: Database Management System) โดยตรงก็ได้

การใช้งานระบบฐานข้อมูล อาจเป็นแบบใช้งานคนเดียว (Single User) หรือระบบใช้งาน หลายคน (Multi – User) ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย (Network) ภายในหน่วยงานที่เรียกว่า อินทราเน็ต (Intranet) หรือใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

ระบบการจัดการฐานข้อมูล หมายถึง ชุดโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล เช่น การสร้างฐานข้อมูล การบัทึกข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงาน และอื่น ๆ

ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้จัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Microsoft SQL Server, MySQL, Oracle เป็นต้น

 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมลู

การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลที่เดียวกันด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล มีประโยชน์ ดังนี้

1. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้และโปรแกรมใช้งานหลายโปรแกรมอาจใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้

2. สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้ ผู้บริหารฐานข้อมูลอาจกำหนดมาตรฐาน ต่างๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นลักษณะเดียวกัน เช่น โครงสร้างข้อมูล ประเภทของข้อมูล เป็นต้น

3. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ ผู้ใช้ทุกคนที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลจะใช้โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล ทำให้ข้อมูลไมซ้ำกันและไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล

4. ลดความขัดแย้งของข้อมูลได้ ข้อมูลชุดเดียวกันที่ปรากฏอยู่หลายแห่งในฐานข้อมูลจะต้องตรงกัน ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลนี้ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามกันหมดโดยอัตโนมัติ

5. ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้โดยกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้แต่ละคนตามระดับการใช้งาน เช่น ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้ข้อมูลบางส่วน ผู้ใช้ที่มีหน้าที่บันทึกและแก้ไขข้อมูลก็มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้อีกระดับหนึ่ง เป็นต้น

6.ดูแลรักษาฐานข้อมูลได้ง่าย เช่น การทำสำเนาฐานข้อมูล การบูรณะฐานข้อมูลให้กลับสู่สภาพปกติ

ระบบฐานข้อมลู ใน Access 2007

ฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล ฐานข้อมูลสามารถ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ผลิตภัณฑ์ ใบสั่งซื้อ หรือสิ่งอื่นใดก็ได้  ฐานข้อมูลจำนวนมากเริ่มมาจากรายการในโปรแกรมประมวลผลคำหรือโปรแกรมกระดาษคำนวณ เมื่อรายการมีขนาดใหญ่ขึ้นความซ้ำซ้อนและความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลจะเริ่มปรากฏขึ้น การดูข้อมูลในฟอร์มรายการ เริ่มไม่เข้าใจและมีข้อจำกัดในการค้นหาหรือดึงเซตย่อยของข้อมูลมาตรวจทาน เมื่อปัญหาดังกล่าว เกิดขึ้นแล้วจึงเป็นการดีที่จะโอนถ่ายข้อมูลไปยังฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วยระบบการจัดการ ฐานข้อมูล (DBMS) เช่น MS Access 2007

ฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์เป็นคอนเทนเนอร์ของวัตถุ โดยฐานข้อมูลหนึ่งชุดสามารถ มีตารางได้มากกว่าหนึ่งตาราง ตัวอย่างเช่น  ระบบติดตามสินค้าคงคลังหนึ่งระบบจะใช้ข้อมูลจาก ตารางสามตารางไม่ใช่จากฐานข้อมูลสามชุดแต่ฐานข้อมูลหนึ่งชุดนั้นสามารถมีตารางได้สามตาราง เว้นแต่ว่าฐานข้อมูลนั้นจะถูกออกแบบพิเศษให้ใช้ข้อมูลหรือโค้ดจากแหลงข้อมูลอื่นได้ ฐานข้อมูล Access จะเก็บตารางไว้ในแฟ้ มข้อมูลเดียว พร้อมกับวัตถุอื่นด้วย เช่น ฟอร์ม รายงาน แมโคร และ โมดูล โดยฐานข้อมูลที่สร้างในรูปแบบ Access 2007 จะมีนามสกุลเป็น .accdb และฐานข้อมูลที่ สร้างในรูปแบบของ Access รุ่นก่อนหน้าจะมีนามสกุลแฟ้มเป็น mdb คุณสามารถใช้ Access 2007 สร้างแฟ้มข้อมูลในรูปแบบแฟ้มของรุ่นก่อนหน้าได้ (ตัวอย่างเช่น Access 2000 และ Access 2002- 2003)

ความจำเป็นในการใช้ Access 2007 คือ 

– เพิ่มข้อมูลใหม่ลงในฐานข้อมูล เช่น รายการใหม่ในสินค้าคงคลัง

– แก้ไขข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูล เช่น การเปลี่ยนตำแหนงที่ตั้งปัจจุบันของรายการ

– ลบข้อมูล ถ้ารายการถูกขายออกหรือละทิ้งแล้ว

– จัดระเบียบและดูข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ

– ใช้ข้อมูลรวมกันกับผู้อื่นผ่านทางรายงาน ข้อความอีเมล อินทราเน็ต หรือ อินเทอร์เน็ต

ส่วนประกอบของฐานข้อมลูAccess 2007

ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access 2007 มีดังต่อไปนี้

5.1  ตาราง (Table)

ตารางฐานข้อมูลจะมีลักษณะคล้ายกับกระดาษคำนวณ นั่นคือข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในแถวและคอลัมน์ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องค่อนข้างง่ายในการนำเข้าข้อมูลจากกระดาษคำนวณไปยังตารางฐานข้อมูล โดยข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเก็บข้อมูลในกระดาษคำนวณและการเก็บในฐานข้อมูลจะอยู่ที่วิธีการจัดระเบียบข้อมูล

เมื่อต้องการความยืดหยุ่นสำหรับฐานข้อมูลให้มากที่สุด ข้อมูลต้องมีการจัดระเบียบลง ในตารางเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาหรือพนักงาน ควรป้อนข้อมูลของนักศึกษาหรือพนักงานแต่ละคนเข้าไปในตารางที่ใช้เก็บข้อมูลนักศึกษาหรือพนักงานเพียงครั้งเดียวข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จะเก็บในตารางของวิชาหรือผลิตภัณฑ์และข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ของสาขาจะเก็บในตารางอื่นกระบวนการนี้เรียกว่าการทำ Normalization

แต่ละแถวในตารางจะถูกอ้างอิงเป็นหนึ่งระเบียน ระเบียนคือที่ที่ใช้เก็บข้อมูลแต่ละส่วน  แต่ละระเบียนจะประกอบด้วย เขตข้อมูลอย่างน้อยหนึ่งเขตข้อมูล เขตข้อมูลจะสอดคล้องกับคอลัมน์ในตาราง ตัวอย่างเช่น ถ้ามีตารางหนึ่งที่ชื่อ “ข้อมูลนักศึกษา” ซึ่งแต่ละระเบียน (แถว) จะมี ข้อมูล เกี่ยวกับนักศึกษาหนึ่งคนและแต่ละเขตข้อมูล (คอลัมน์) จะมีชนิดข้อมูลที่ต่างกัน เช่น ชื่อ  นามสกุล ที่อยู่และอื่น ๆ เขตข้อมูลนั้นต้องได้รับการออกแบบให้มีชนิดข้อมูลที่แน่นอนไม่ว่าจะเป็นข้อความ วันที่หรือเวลา ตัวเลข หรือชนิดข้อมูลอื่น ๆ

อีกวิธีหนึ่งที่จะอธิบายให้เห็นภาพของระเบียนและเขตข้อมูลก็คือให้นึกถึงชุดบัตรข้อมูลรุ่นเก่าของห้องสมุดโดยบัตรข้อมูลแต่ละใบที่อยู่ในตู้บัตรรายการจะเทียบเท่ากับระเบียนในฐานข้อมูล ส่วนข้อมูลแต่ละส่วนบนบัตรแต่ละใบ (ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และอื่น ๆ) จะเทียบเท่ากับเขตข้อมูลในฐานข้อมูล

5.2   ฟอร์ม (Form)

ในบางครั้งฟอร์มจะถูกอ้างอิงเป็น “หน้าจอสำหรับป้อนข้อมูล” ซึ่งเป็นส่วนติดต่อที่ใช้ทำงานกับข้อมูลและฟอร์มมักมีปุ่มคำสั่งที่ใช้ดำเนินการคำสั่งได้หลากหลาย สามารถสร้าง ฐานข้อมูลโดยไม่ต้องใช้ฟอร์มด้วยการแก้ไขข้อมูลอย่างง่าย ๆ ในแผนข้อมูลตาราง อย่างไรก็ตามผู้ใช้ฐานข้อมูลส่วนใหญ่ต้องการที่จะใช้ฟอร์มเพื่อดูป้อข้อมูลและแก้ไขข้อมูลในตารางมากกว่า

ฟอร์มจะให้รูปแบบที่ง่ายต่อการใช้สำหรับทำงานกับข้อมูลและสามารถเพิ่มองค์ประกอบการใช้งาน เช่น ปุ่มคำสั่งลงในฟอร์มได้ด้วย คุณอาจเขียนโปรแกรมให้กับปุ่มต่างๆ เพื่อใช้กำหนดว่าจะให้ข้อมูลใดบ้างปรากฏบนฟอร์ม เปิดฟอร์มหรือรายงานอื่น ๆ หรือดำเนินงาน อื่นหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น อาจมีฟอร์มชื่อ “ข้อมูลนักศึกษา” ที่ใช้ทำงานกับข้อมูลนักศึกษา ฟอร์มนักศึกษา อาจมีปุ่มที่ใช้เปิดฟอร์มบัตรลงทะเบียนที่สามารถป้อนรายการลงทะเบียนใหม่สำหรับ นักศึกษาคนนั้นได้

นอกจากนี้ฟอร์มยังอนุญาตให้เราสามารถควบคุมวิธีที่ผู้ใช้รายอื่นจะโต้ตอบกับข้อมูลในฐานข้อมูลด้วย ตัวอย่างเช่น สามารถสร้างฟอร์มที่แสดงเฉพาะบางเขตข้อมูลและอนุญาตให้มีการดำเนินการได้เพียงบางอย่างเท่านั้น สิ่งนี้จะช่วยป้องกันข้อมูลและทำให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลจะถูกป้อนอย่างถูกต้อง

5.3  รายงาน (Report)

รายงานเป็นสิงที่ต้องใช้เพื่อสรุปและนำเสนอข้อมูลในตารางบ่อยครั้งที่รายงานจะตอบคำถามตามที่ระบุไว้ เช่น “เรารับเงินจากนักศึกษาแต่ละคนเป็นจำนวนเท่าไรในรุ่นนี้” หรือ

“นักศึกษาของเราอยู่ที่ไหนบ้าง” แต่ละรายงานสามารถกำหนดรูปแบบให้นำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ที่อ่านง่ายที่สุดได้

รายงานสามารถถูกเรียกใช้เวลาใดก็ได้ และจะแสดงข้อมูลปัจจุบันในฐานข้อมูลเสมอ โดยทั่วไปรายงานจะถูกจัดรูปแบบให้สามารถพิมพ์ออกมาได้ แตกยังสามารถดูรายงานบนหน้าจอ ส่งออกไปยังโปรแกรมอื่นหรือส่งเป็นข้อความอีเมลได้เช่นกัน

5.4 แบบสอบถาม (Query)

แบบสอบถามเป็นส่วนสำคัญในฐานข้อมูลและสามารถดำเนินการฟังก์ชันที่ต่างกันได้ จำนวนมาก ฟังก์ชันทั่วไปส่วนใหญ่ของแบบสอบถาม คือ การดึงข้อมูลที่ระบุจากตารางต่าง ๆ ออกมา โดยข้อมูลที่คุณต้องการดูอาจจะกระจายอยู่ในหลาย ๆ ตารางก็ได้ และแบบสอบถามจะทำให้สามารถดูข้อมูลที่ต้องการได้ในรูปของแผนข้อมูลเดียว นอกจากนี้ ถ้าเราไมต้องการดูระเบียนทั้งหมดพร้อมกันแบบสอบถามจะให้เพิ่มเงื่อนไขเพื่อ “กรอง” ข้อมูลเอาเฉพาะระเบียนที่ต้องการ ออกมาบ่อยครั้งที่แบบสอบถามทำหน้าที่เป็นแหล่งระเบียนสำหรับฟอร์มและรายงานต่างๆ

แบบสอบถามบางชุด “สามารถปรับปรุงได้” นั้นหมายความว่า สามารถแกไขข้อมูลในตารางต้นแบบผ่านแผนข้อมูลแบบสอบถามได้ ถ้าทำงานในแบบสอบถามที่สามารถปรับปรุงได้ โปรดจำไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกับตารางต่าง ๆ ด้วย ไม่ใชเฉพาะในแผ่นข้อมูลแบบสอบถาม  เท่านั้น

แบบสอบถามมีรูปแบบพื้นฐานสองรูปแบบ ได้แก่  แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูล และแบบสอบถามแอคชัน แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูล จะเรียกใช้ข้อมูลและทำให้ข้อมูลพร้อม ใช้งานได้อย่างง่ายดาย สามารถดูผลลัพธ์ของแบบสอบถามบนหน้าจอ พิมพ์แบบสอบถาม หรือ คัดลอกไปยังคลิปบอร์ด หรือยังสามารถใช้ผลลัพธ์ของแบบสอบถามเป็นแหล่งระเบียนสำหรับฟอร์มหรือรายงานได้ ส่วนแบบสอบถามแอคชัน จะดำเนินงานกับข้อมูลโดยแบบสอบถามแอคชัน สามารถใช้สร้างตารางใหม่เพิ่มข้อมูลลงในตารางที่มีอยู่ปรับปรุงข้อมูล หรือลบข้อมูลได้

5.5  แมโคร (Macros)

แมโครใน Access 2007 นันจะเหมือนกับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มหน้าที่การใช้งานให้กับฐานข้อมูล  ตัวอย่างเช่น สามารถแนบแมโครลงในปุ่มคำสังบนฟอร์ม เพื่อให้แมโครนั้นทำงานเมื่อใดก็ตามที่มีการกดปุ่มแมโครจะมีแอคชันที่ใช้ ดำเนินงานหลายอยาง เช่น การเปิดรายงาน การเรียกใช้แบบสอบถามหรือการปิดฐานข้อมูล โดย การดำเนินการกับฐานข้อมูลส่วนใหญ่ที่ทำด้วยตนเองนั้นสามารถทำได้อัตโนมัติโดยใช้แมโคร ดังนั้นแมโครจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาที่อย่างมาก

5.6   โมดลู  (Modules)

(คล้ายแมโคร) เป็นวัตถุที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มหน้าที่การใช้งานให้กับฐานข้อมูลได้ขณะที่สร้างแมโครใน Access 2007 ด้วยการเลือกจากรายการแอคชันของแมโครแต่จะสามารถเขียนโมดูลได้ในภาษาการเขียนโปรแกรม Visual Basic for Applications (VBA) (Visual Basic สำหรับ Applications (VBA): รุ่นภาษาแมโครของ Microsoft Visual Basic ที่นำมาใช้เพื่อตั้งโปรแกรมให้กับโปรแกรมประยุกต์ของ Microsoft Windows และรวมอยู่ในโปรแกรมต่าง ๆ ของ ไมโครซอฟท์) โมดูลเป็นคอลเลกชันของการประกาศ คำสั่ง และกระบวนงานที่ถูกเก็บไว้ด้วยกันเป็นหน่วยเดียว โมดูลสามารถเป็นได้ทั้งคลาสโมดูลหรือโมดูลมาตรฐานคลาสโมดูลจะถูกแนบว้ ในฟอร์มหรือรายงานและมักจะประกอบด้วยกระบวนงานที่เฉพาะเจาะจงไปยังฟอร์มหรือรายงาน ที่คลาสโมดูลแนบอยู่สวนโมดลมาตรฐานจะประกอบด้วยกระบวนงาน

6.  สเปคของฐานข้อมลูใน  Access 2007

 รายการเฉพาะในฐานข้อมูล Access 2007 มีสเปคของฐานข้อมูล1 ดังตารางต่อไปนี้

1 Http://office.microsoft.com/th-th/access

7.  สเปคของโครงการใน Access 2007

รายการเฉพาะในโครงการฐานข้อมูล Access 2007 มีสเปคของโครงการ2 ดังนี้

6.         หลักการออกแบบฐานข้อมลูที่ดี

8.       หลักการออกแบบฐานข้อมลูที่ดี

ในกระบวนการออกแบบฐานข้อมูลที่ดีนั้นมีหลักการบางอย่างเป็นแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

  1. ข้อมูลซ้ำหรือที่เรียกว่าข้อมูลซ้ำซ้อน ไม่ใช่สิ่งที่ดี เนื่องจากเปลืองพื้นที่และอาจทำให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นรวมถึงเกิดความไม่สอดคล้องกัน
  2. ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญถ้าฐานข้อมูลมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องรายงานต่างๆ ที่ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลจะมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตา,ไปด้วย ส่งผลให้การตัดสินใจต่างๆ ที่ได้กระทำโดยยึดตามรายงานเหล่านั้นจะไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

ดังนั้นหลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี คือ

1.  แบ่งข้อมูลของคุณลงในตารางต่าง ๆ ตามหัวเรื่องเพื่อลดการซ้ำซ้อนกันของข้อมูล

2.  ใส่ข้อมูลที่จำเป็นลงใน  Access เพื่อรวมข้อมูลในตารางต่างๆ เข้าด้วยกันตามต้องการ

3.  ช่วยสนับสนุนและรับประกันความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล

4. ตอบสนองต่อความต้องการในการประมวลผลข้อมูลและการรายงาน

9. กระบวนการออกแบบ

กระบวนการออกแบบประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

1.  กำหนดวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูล

2. ค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ รวบรวมข้อมูลทุกชนิดที่ต้องการบันทึกลงในฐานข้อมูล เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์และหมายเลขใบสั่งซื้อ

3. แบ่งข้อมูลลงในตารางต่างๆ แบ่งรายการข้อมูลออกเป็นกลุ่มหรือหัวเรื่องหลัก ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือใบสั่งซื้อจากนั้นแต่ละหัวเรื่องจะถูกนำมาทำเป็นตาราง

4. เปลี่ยนรายการของข้อมูลให้เป็นคอลัมน์ต่างๆ ตัดสินใจว่าต้องการเก็บข้อมูลอะไร ในตารางแต่ละตาราง รายการแต่ละรายการจะกลายเป็นเขตข้อมูล และแสดงเป็นคอลัมน์ในตาราง ตัวอย่างเช่น ตารางพนักงานอาจมีเขตข้อมูลเช่น นามสกุลและวันที่จ้างงาน

5. ระบุคีย์หลัก เลือกคีย์หลักของตารางแต่ละตารางคีย์หลัก คือคอลัมน์ที่ใช้เพื่อระบุแต่ละแถวแบบไม่ซ้ำกัน ตัวอย่างเช่น หมายเลขผลิตภัณฑ์ หรือ ID ใบสั่งซื้อ

6. กำหนดความสัมพันธ์ของตาราง ดูที่ตารางแต่ละตารางแล้วพิจารณาวาข้อมูลในตารางหนึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลในตารางอื่นๆ อย่างไรให้เพิ่มเขตข้อมูลลงในตารางหรือสร้างตารางใหม่เพื่อระบุความสัมพันธ์ต่างๆ ให้ชัดเจนตามต้องการ

7. การปรับการออกแบบให้ดียิงขึ้น วิเคราะห์การออกแบบ เพื่อหาข้อผิดพลาดสร้างตารางแล้วเพิ่มระเบียนข้อมูลตัวอย่างสองสามระเบียนให้ดูว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการจากตารางนั้นหรือไม่ แล้วปรับเปลี่ยนการออกแบบตามต้องการ

8. การใช้กฎ Normalization ใช้กฎ Normalization ข้อมูลเพื่อดูว่าตารางมีโครงสร้างที่ถูกต้องหรือไม่ ปรับเปลี่ยนการออกแบบได้เมื่อจำเป็น

9.1  การกำหนดวัตถุประสงค์ของฐานข้อมลู

เป็นการดีที่จะเขียนวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูลลงบนกระดาษ ได้แก่ การคาดหวังว่าจะใช้ฐานข้อมูลอย่างไรและใครจะเป็นผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น  ฐานข้อมูลขนาดเล็ก สำหรับธุรกิจระดับครอบครัว อาจเขียนทำนองว่า “ฐานข้อมูลลูกค้ามีไว้เก็บรายการข้อมูลลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการออกจดหมายและรายงาน” ถ้าฐานข้อมูลซับซ้อนขึ้นหรือมีผู้ใช้หลายคน ดังที่  เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ในองค์กร วัตถุประสงค์อาจยาวเป็นย่อหน้าหรือหลายย่อหน้าและควรจะบอกว่าใครจะใช้ฐานข้อมูล เมื่อใดหรืออย่างไรแนวคิดก็คือว่าเขียนพันธ์กิจที่เรียบเรียงไว้ดีแล้วนั้นจะสามารถใช้อ้างถึงได้ตลอดกระบวนการออกแบบการมีบันทึกดังกล่าวจะช่วยให้จดจ่อกับจุดมุ่งหมายเมื่อกระทำการตัดสินใจในกรณีต่างๆ

9.2   การค้นหาและการจัดระเบียบข้อมลูที่ ต้องการ

เมื่อต้องการค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการให้เริ่มต้นกับข้อมูลที่มีอยู่เป็นอันดับแรก เช่น  บันทึกใบสั่งซื้อในบัญชีหรือเก็บข้อมูลลูกค้าในแบบฟอร์มกระดาษไว้ในแฟ้มเอกสารให้รวบรวมเอกสารเหล่านี้แล้วทำรายการชนิดของข้อมูล (ตัวอย่างเช่น แต่ละช่องที่กรอกลงในฟอร์ม) ถ้าไมมีฟอร์มใดๆ อยู่ให้ลองจินตนาการแทนว่ากำลังออกแบบฟอร์มสำหรับการบันทึกข้อมูลลูกค้าต้องคิดว่าจะใส่ข้อมูลอะไรลงในฟอร์มนี้ จะสร้างกล่องสำหรับกรอกข้อมูลอะไรบ้าง ให้ระบุและจดบันทึกรายการเหล่านี้แต่ละรายการไว้ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณเก็บรายชื่อลูกค้าไว้ในบัตรดัชนี ให้สำรวจบัตรดัชนีเหล่านี้ว่าในบัตรอาจจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อลูกค้า ที่อยู่  เมือง รัฐ รหัสไปรษณีย์ และหมายเลขโทรศัพท์ โดยสามารถใช้รายการเหล่านี้แต่ละรายการในการ สร้างคอลัมน์ในตารางได้

ในระหว่างที่กำลังเตรียมรายการนี้อยู่ ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะต้องทำให้ได้สมบูรณ์แบบในครั้งแรก  ให้แจกแจงแต่ละรายการเท่าที่นึกได้ ถ้าจะมีบุคคลอื่นใช้ฐานข้อมูลนี้ด้วยให้ลองถามความคิดเห็นจากบุคคลเหล่านั้นดู ซึ่งสามารถปรับรายการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ในภายหลัง

ในขั้นต่อไปให้พิจารณาชนิดของรายงานหรือการส่งจดหมายที่ต้องการสร้างขึ้นโดยใช้ฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการรายงานการขายของผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงยอดขายตามภูมิภาคหรือรายงานสรุปสินค้าคงคลังที่แสดงระดับสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ถ้าต้องการสร้างจดหมาย แบบฟอร์มสำหรับส่งถึงลูกค้าเพื่อประกาศกิจกรรมการขายหรือนำเสนอข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ให้ ออกแบบรายงานนี้ไว้ในใจ แล้วจินตนาการว่ารายงานจะมีรูปลักษณ์อย่างไรจะใส่ข้อมูลอะไรบ้างลงในรายงาน ให้จดแต่ละรายการไว้แล้วทำเช่นเดียวกันนี้สำหรับจดหมายแบบฟอร์มและสำหรับ รายงานอื่น ๆ ที่จะสร้างขึ้น

   เมื่อคิดถึงรายงานและการส่งจดหมายที่ต้องการสร้างจะเป็นการช่วยให้การระบุรายการต่างๆ ที่ต้องการให้มีในฐานข้อมูลได้ เช่น  ถ้าเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถขอรับหรือขอยกเลิกการรับข้อมูลล่าสุดทางอีเมลเป็นประจำและต้องการพิมพ์รายชื่อลูกค้าที่ต้องการสมัครรับ ข้อมูล เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้ให้เพิ่มคอลัมน์ “ส่งอีเมล ” ลงในตารางลูกค้าและให้สามารถตั้งค่าเขตข้อมูลเป็น ใช่ หรือ ไม่ใช่ ให้กับลูกค้าแต่ละรายได้ ข้อกำหนดในการส่งข้อความอีเมลถึงลูกค้าเป็นอีกรายการหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ เมื่อทราบว่าลูกค้าต้องการรับข้อความอีเมลจำเป็นที่จะต้องทราบที่อยู่อีเมลสำหรับการส่งข้อความอีเมล เหล่านี้  ดังนั้นจึงต้องบันทึกที่อยู่อีเมลของลูกค้าแต่ละรายไว้ด้วย เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะสร้างแบบตัวอย่างของรายงานหรือรายการผลลัพธ์แล้ว พิจารณาวารายการใดที่ต้องการสร้างเป็นรายงาน ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการตรวจสอบฟอร์มจดหมาย อาจทำให้นึกอะไรได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการใส่คำทักทายที่เหมาะสมต้องสร้างรายการ คำทักทายด้วยสตริงที่เริ่มคำขึ้นต้นจดหมายว่า “คุณ” หรือ “Mr.” “Mrs.” หรือ “Ms.” และอาจเริ่มต้นจดหมายแบบทั่วไปด้วย “เรียน คุณศักดิ์สิทธิ์ ” แทนที่จะเป็น “เรียน คุณศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์ ” หรือ “Dear Mr. Saksit” แทนที่จะเป็น “Dear Mr. Saksit Watchararat” ดังนี้จึงรู้ว่าควรเก็บชื่อกับนามสกุลไว้แยกกัน

ประเด็นสำคัญที่ต้องจำคือ ควรแตกข้อมูลให้เป็นส่วนเล็กที่สุดที่มีประโยชน์ในกรณี ของชื่อ เพื่อทำให้นามสกุลพร้อมใช้งานได้ ควรแบ่งชื่อออกเป็นสองส่วน คือชื่อกับนามสกุล ตัวอย่างเช่น  เมื่อต้องการเรียงลำดับตามนามสกุล การแบ่งเช่นนี้จะทำให้นามสกุลของลูกค้าถูกเก็บแยกต่างหากโดยทั่วไป ถ้าต้องการเรียงลำดับ ค้นหา คำนวณ หรือรายงานโดยยึดตามข้อมูลรายการ หนึ่งแล้ว ควรเก็บข้อมูลรายการนั้นในเขตข้อมูลของตัวเอง

ลองนึกถึงคำถามที่ต้องการให้ฐานข้อมูลตอบ ตัวอย่างเช่น มีรายการขายของ ผลิตภัณฑ์เด่นที่ปิดรายการขายได้เมื่อเดือนที่แล้วกรายการลูกค้าดีที่สุดอาศัยอยู่ที่ไหนใครเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุดการคิดคำถามเหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยให้ไม่ต้องเพิ่มรายการในระเบียน

9.3   การแบ่งข้อมลูลงในตารางต่าง  ๆ

เมื่อต้องการแบ่งข้อมูลลงในตารางให้เลือกข้อมูลเฉพาะตัวหรือเรื่องสำคัญ ตัวอย่างเช่น หลังจากค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลสำหรับฐานข้อมูลการขายสินค้าแล้ว รายการ เบื้องต้นอาจเป็นดังนี้้

 

   

    ข้อมูลเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งแสดงในที่นี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ผู้จำหน่าย ลูกค้าและใบสั่งซื้อ ดังนั้น จึงสมควรเริ่มต้นด้วยตาราง 4 ตาราง คือ ตารางหนึ่งสำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตารางหนึ่งสำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้จำหน่าย ตารางหนึ่งสำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าและ ตารางหนึ่งสำหรับใบสั่งซื้อ ถึงแม้ว่าทั้งหมดนี้จะไม่ใช่รายการที่ครบถ้วน แตกเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสามารถปรับปรุงรายการนี้ต่อจนกว่าจะมีการออกแบบที่ทำงานได้ดี

เมื่อได้ตรวจทานรายการสิ่งต่างๆ ขั้นต้นเป็นครั้งแรกเราอาจอยากใส่รายการทั้งหมดลงในตารางเดียวแทนที่จะเป็นสี่ตารางดังที่แสดงภาพประกอบไว้ก่อนหน้าจะได้เรียนรู้ว่าทำไมการทำเช่นนั้นจึงไม่ใช่ความคิดที่ดี ลองพิจารณาตารางที่แสดงต่อไปนี้

Share this:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…

[Update] เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) คืออะไร หลักการทำงานของระบบค้นหาข้อมูล | หลักการออกแบบฐานข้อมูล – Australia.xemloibaihat

เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) หมายถึง โปรแกรมค้นหา ที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือใช้งานในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ  โดยโปรแกรมส่วนมากที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ Search engines จะมีวิธีการค้นหาโดยการกรอกข้อมูลหรือคำที่ต้องการสืบค้นลงไป แล้วเว็บไซต์จะทำการประมวลผลลัพธ์ต่างๆ ออกมาให้ผู้สืบค้นข้อมูลทราบ ซึ่งคำค้นหาที่ใช้จะเรียกว่าเป็น Keyword (คีย์เวิร์ด) ของการสืบค้นข้อมูล ในปัจจุบันเทคโนโลยีของ Search Engine ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้สูงมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากที่ทำการค้นหาเรียบร้อยแล้ว ระบบจะสามารถทำการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ และบันทึกประวัติการค้นหาไว้สำหรับการกรองผลลัพธ์การค้นหาครั้งต่อไป เพื่อช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูล สามารถทำการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ

การค้นหาข้อมูล หมายถึง การสืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว โดยวิธีการค้นหาที่สามารถทำได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ จะต้องทำการค้นหาจากเว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลหรือเรียกว่า Search Engine Site ที่มีหน้าที่ในการรวบรวมรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง

รายชื่อ Search Engine Site ที่นิยม

  • Google (www.google.com) – อันดับหนึ่งของโลก ในเกือบทุกๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
  • Bing (www.bing.com) – เป็นเว็บค้นหา ของบริษัท Microsoft คู่แข่งกับ Google โดยตรง
  • Yahoo (www.yahoo.com) – ตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา Yahoo ถูกซื้อกิจการโดย Bing (จาก Microsoft)
  • Ask.com (www.ask.com) – เว็บแสดงผลการค้นหา โดยเจาะจงที่คำถาม-คำตอบ มากกว่า How-to
  • AOL.com (www.aol.com) – เอโอแอล network ค้นหาข้อมูล ภายใต้เว็บไซต์ที่มีส่วนร่วม
  • Baidu (www.baidu.com) – ไป่ตู้ เป็นเว็บ Search Engine ประจำประเทศจีน มีบริการต่างๆ คล้ายกับ Google
  • Wolframalpha (www.wolframalpha.com) – เว็บไซต์สำหรับค้นหา ข้อเท็จจริง เอกสารวิชาการต่างๆ
  • DuckDuckGo (duckduckgo.com) – ผลการค้นหาคล้าย Google ข้อดีคือ หน้าตาสะอาด ไม่ค่อยมีโฆษณา
  • Internet Archive (archive.org) – เป็นเว็บรวมผลการค้นหา เว็บไซต์เก่า – เว็บไซต์ที่ผิดตัวไปแล้ว

ประโยชน์ของ Search Engines

Search Engines มีประโยชน์ในการใช้สืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความตรงการแก่ผู้สืบค้นข้อมูล ดังนั้นการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ใหม่ๆ ในในปัจจุบันจึงควรคำนึงถึงรูปแบบของเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมแก่ Search Engine ด้วยเช่นกัน (เรียกว่าการทำ SEO) เพื่อให้ผู้สืบค้นสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

  1. ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
  2. ค้นหาข้อมูลได้อย่างละเอียด และหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ข่าว เพลง รูปภาพ และอื่นๆ เป็นต้น
  3. ค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์เฉพาะทางต่างๆ ได้ เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับ ขาย Software หรือ เว็บไซต์รับทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
  4. ค้นหาข้อมูลได้อย่างหลากหลาย
  5. รองรับการค้นหาได้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย

ประเภทของ Search Engines

Search Engine สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยมีความแตกต่างกันที่หลักการทำงาน และการจัดอันดับข้อมูลในการค้นหา

  1. Crawler Based Search Engines

    คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Search Engines ชนิดนี้เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในการใช้งานสูงสุด มีหลักการทำงานโดยการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ สามารถให้ผลลัพธ์การค้นหาที่มีความแม่นยำสูง และมีการประมวลผลที่รวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในปัจจุบัน Crawler Based Search Engines มีบทบาทในการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด

  2. Web Directory

    คือ สารบัญเว็บไซต์สำหรับการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร ที่มีการจัดระเบียบและแบ่งข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ผู้สืบค้นจึงสามารถใช้งานได้ง่ายและมีความสะดวกในการค้นหา โดยในการค้นหาจะมีการสร้างดรรชนี และระบุหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ทำให้ในขณะที่กำลังทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ในหมวดหมู่หนึ่ง ที่อาจมีเนื้อหาคล้ายกันมากมายหลายเว็บไซต์ ผู้สืบค้นสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลมาเปรียบเทียบ และอ้างอิงเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่มีคุณภาพ และตรงประเด็นมากที่สุดได้

  3. Meta Search Engine

    คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีหลักการทำงานโดยการอาศัย Meta Tag สำหรับประกาศชุดคำสั่งที่ได้รับมาในรูปแบบของ Tex Editor โดยใช้ภาษา HTML ในการประมวลผลลัพธ์ ตัวอย่างเช่น คำค้นหา “บริษัท วันบีลีฟ” หรือคำอธิบายเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่ง Search Engine ชนิดดังกล่าวนี้ เป็นชนิดที่มีความแม่นยำในการค้นหาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากสามารถถูกแก้ไขและออกแบบได้โดยผู้ให้บริการ เพื่อให้บล็อกหรือเว็บไซต์ของตนเองสามารถค้นพบได้ง่ายขึ้น

Keyword คืออะไร

Keyword (คีย์เวิร์ด) คือคำค้นหา หรือคำอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นๆ ที่กล่าวถึงสิ่งที่เรากำลังตามหาเพื่อสืบค้นรายละเอียดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตบนเว็บ Search Engine

ตัวอย่างคำ Keyword ที่ใช้ค้นหากันในชีวิตประจำวัน

  • ต้องการค้นหารถยนต์มือสอง คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ รถมือสอง, ราคารถมือสอง, รถยนต์มือสอง, ฯลฯ
  • มาเที่ยวต้องหาต้องการหาโรงแรมที่พัก คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ Agoda, โรงแรม, ห้อพัก, หอพัก, ฯลฯ
  • ต้องการหาร้านอาหาร คีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาคือ ร้านปิ้งย่าง, หมูกระทะ, ร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

ประเภทของ Keyword ในการค้นหา

  • Niche Keyword: เป็นคำค้นหาเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มซึ่งโดยปกติแล้วเรามักพบบ่อยในชื่อเรียกรุ่นแบรด์สินค้าต่างๆ เช่น Samsung Note 8, iPhone 8 เป็นต้น
  • Widely Keyword: เป็นคำค้นหาสั้นๆ ที่มีเนื้อหาความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และมีอัตราการค้นหาสืบค้นสูง เช่น บ้านใหม่, รถมือสอง, หนังสือ, หวย เป็นต้น
  • Mass Keywords: เป็นคำค้นหาสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องในกลุ่มคำเดียวกัน เช่น iPhone X, iPad Pro, Macbook Air เป็นต้น
  • Misspelling Keyword: เป็นคำค้นหาต่างๆ ที่มีการสะกดคล้างคลีงหรือที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งแบบตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ เช่น ทาญาติ, ธาญาต, ทายาท เป็นต้น

ในปัจจุบันคีย์เวิร์คคำค้นหานั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ผ่าน Search Engine เป็นอย่างมาก ยิ่งคีย์เวิร์ดคำค้นหายิ่งสั้นและกระชับมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งมียอดค่าการค้นหาที่สูงมากขึ้นตามไปด้วยหลายเท่าตัว เว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพที่ดี และมีการทำ SEO ที่ถูกหลักร่วมด้วยเท่านั้นจึงจะมาอยู่ในน้า 1 ของการค้นหานี้ได้

หลักการทำงานของ Search Engines

กระบวนการทำงานของ Search engines บนเว็บไซต์ทั่วไป สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ใช้โปรแกรมรวบรวมเอกสารเว็บ (spider หรือ crawler)

ขั้นแรกที่ Search engines ทำการสำรวจและตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ต่างๆ จากโดเมน แล้วติดตาม Links ที่พบภายในเว็บไซต์ทั้งหมด โดยการทำงานของโปรแกรมมีรูปแบบลักษณะโยงใย จึงเรียกโปรแกรมดังกล่าวว่า Spider หรือ Crawler ซึ่งหลังจากที่ Spider ทำการติดตาม Links และนำข้อมูลของเว็บไซต์เหล่านั้นไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Search Engine เรียบร้อยแล้ว Spider จะกลับไปทำการสำรวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในเว็บไซต์เหล่านั้น ทุกๆ เดือนหรือสองเดือน

Spider

2. จัดทำรายการดรรชนี

เมื่อโปรแกรม Spider ทำการค้นพบข้อมูลต่างๆ แล้ว จะมีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปทำสำเนา และส่งไปจัดเก็บยังรายการดรรชนี ที่เรียกว่า index หรือ catalog ซึ่งเมื่อข้อมูลในเว็บไซต์หลักมีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ข้อมูลภายในสมุดดรรชนีเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยตามบัญชีดัชนีที่ถูกกำหนดไว้

3. โปรแกรมสืบค้น

โปรแกรมที่ใช้สำหรับทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลของ Search Engine โดยมีการทำงานเริ่มต้นจากการรับคำค้นหาที่ถูกป้อนเข้ามาในโปรแกรม โดยผู้ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วนำคำค้นหาไปจับคู่กับดรรชนีในฐานข้อมูล หลังจากนั้นจึงจะทำการดึงเอกสารจากเว็บไซต์นั้นๆ หรือดึงข้อมูลจากฐานออกมาประมวลผลลัพธ์ให้แก่ผู้สืบค้น ซึ่งจะมีการจัดลำดับผลการค้นหาตามระดับความเกี่ยวข้องของข้อมูล

เทคนิคค้นหาด้วย Google

การค้นหาข้อมูลโดยใช้ search engine จากเว็บไซต์ Google สามารถใช้งานได้ไม่ยากและสะดวกรวดเร็ว มีเทคนิคในการสืบค้นข้อมูล ดังนี้

การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา

หากต้องการยกเว้นผลลัพธ์การค้นหาผ่านเว็บไซต์ Google สามารถทำได้โดยการใส่เครื่องหมายลบ (-) วางไว้ข้างหน้าคำที่ไม่ต้องการค้นหาข้อมูล การสืบค้นข้อมูลโดยการนำเครื่องหมาย – มาใช้วางไว้ข้างหน้าคำใดๆ ที่ใช้ค้นหาจะทำให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาโดย exclude คำๆ นั้นออกไป ซึ่งวิธีการค้นหาดังกล่าวเป็น Operator ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลให้มีความแม่นยำได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น

คำค้นหาที่ Google จะทำการประมวลโดย Match การค้นหาเข้ากับแหล่งข้อมูลที่มีเฉพาะคำว่า “การตลาด” รวมอยู่เท่านั้น แต่ในหน้านั้นๆ จะต้องไม่มีคำว่า “โฆษณา”

การค้นหาไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ

หากต้องการทำการค้นหาเอกสารนามสกุลต่างๆ ได้แก่ เอกสารในรูปแบบ .DOC .PDF หรือเอกสารนามสกุลอื่นๆ ผู้สืบค้นสามารถค้นหาได้เพียง พิมพ์ชื่อเอกสารที่ต้องการ แล้วต่อท้ายด้วย filetype:นามสกุล ของเอกสารนั้นๆ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์เป็นไฟล์เอกสารที่ถูกเก็บไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น

การค้นหารอบหนังและรีวิวหนัง

หากต้องการค้นหารอบหนังหรือรีวิวภาพยนตร์ต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์ชื่อภาพยนตร์ที่ต้องการ จากนั้นทางเว็บจะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดช่วงเวลาของรอบหนัง รวมทั้งรีวิวของหนังเรื่องนั้นๆ และสามารถทำการจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย ตัวอย่างเช่น

การตรวจสอบคะแนนและผลการแข่งขันกีฬา

หากต้องการตรวจสอบคะแนนหรือผลการแข่งขันกีฬาต่างๆ ผู้สืบค้นสามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์ชื่อนักกีฬาหรือชื่อทีมที่ต้องการ ทางเว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงรายละเอียดของการแข่งขันครั้งล่าสุด ตารางการแข่งขัน และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสอบสภาพอากาศ

หากต้องการตรวจสอบสภาพอากาศในแต่ละวัน สามารถทำการค้นหาได้โดยการพิมพ์คำว่า Weather แล้วตามด้วยชื่อสถานที่ที่ต้องการทราบ เว็บไซต์จะประมวลผลลัพธ์ให้ทราบถึงพยากรณ์อากาศในวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น “Weather ลำปาง” หรือ “พยากรณ์อากาศ ลำปาง” เป็นต้น แต่สำหรับประเทศไทยการค้นหาพยากรณ์อากาศยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากข้อมูลที่มีไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ

  • [SEARCH] Weather ลำปาง
  • [URL] https://www.google.co.th/search?q=Weather+ลำปาง

การแปลงหน่วย

หากต้องการแปลงหน่วย ผู้สืบค้นจะต้องทำการพิมพ์หน่วยที่ต้องการแปลงลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ประมวลผลลัพธ์ โดยสามารถแปลงได้ครอบคลุมทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น GB=MB หรือ 10CM=M

การดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์

หากต้องการตรวจสอบหรือดูกระแสหุ้นและตลาดหลักทรัพย์สำหรับผู้เล่นหุ้น สามารถค้นหาผ่านทางเว็บไซต์ Google เพื่อติดตามข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น TCAP, ITD

การใช้เครื่องคิดเลขออนไลน์

หากต้องการคิดคำนวณ ผู้สิบค้นสามารถนำเลขจำนวนที่ต้องการทราบค่ามาคำนวณผ่าน Google ได้ โดยพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นลงไปเพื่อให้เว็บไซต์ทำการประมวลค่าเป็นคำตอบ ตัวอย่างเช่น

การค้นหาเจาะจงเฉพาะเว็บไซต์

หากต้องการค้นหาบางอย่างให้มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ผู้สืบค้นสามารถพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตามหลังสิ่งที่ต้องการทราบได้ตัวอย่างเช่น “รับทำการตลาดออนไลน์ site:1belief.com” หรือ “การตลาด site:sanook.com” เป็นต้น

เทคนิคเพิ่มเติมที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูลบน Search Engine

ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการใช้งานจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้นหาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังวิธีการต่อไปนี้

  1. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาดแคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
  2. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้จะเป็นที่น่าพอใจมากกว่า
  3. ใส่เครื่องหมายคำพูด “ … ” ครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเราต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น “free shareware” เป็นต้น
  4. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น ราคาพืช* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *พืช เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย พืช ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (” “) ลงไปด้วย เช่น “windows 98”
  6. หลีกเลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้
  7. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Sitemap ไว้คอยช่วยเหลือ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/sitemap จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์

Matching ของ Search Terms

สำหรับการสืบค้นข้อมูล สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดแหล่งข้อมูล รวมทั้งข้อเท็จจริงของข้อมูลคือการเลือกใช้คำหรือ Keyword ในการค้นหา ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมการ Matching ให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ ผู้สืบค้นจึงควรทำการ Matching และใส่ Operator พิเศษเข้าไปใน Search Term

  • คำค้นหา = การตลาด ออนไลน์ : โดยปกติของการค้นหาข้อมูล ผู้สืบค้นส่วนมากมักจะทำการใส่ Search Term ด้วยคำหรือคีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาโดยตรง โดยไม่มีการระบุ Operator พิเศษไว้ ดังนั้นวิธีการ matching ที่ใช้คือ Google จะทำการประมวลผลลัพธ์จากคำค้นหาที่มีคำทั้งสองรวมอยู่ โดยไม่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังของคำนั้นๆ ได้แก่ คำว่า การตลาด และ ออนไลน์ มากกว่านั้น Google ยังจะทำการแสดงผลลัพธ์ของคำที่เป็นพหูพจน์ คำที่มีความหมายคล้ายกัน และไม่นับรวมคำสะกดผิด
  • คำค้นหา = “การตลาด ออนไลน์” : การสืบค้นข้อมูลโดยการใส่ Double Quote (“…”) ให้กับคำที่ต้องการค้นหาลงไปใน Search Term จะทำให้ผู้สืบค้นได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น โดย Google จะใช้วิธีการ match คำทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลของคำผสมที่ใช้ค้นหา รวมทั้งจะทำการนับรวมคำค้นหาที่ถูกวางไว้ข้างหน้าและข้างหลังของคีย์เวิร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น

    บริษัท รับทำ

    การตลาด ออนไลน์ เป็นต้น

  • คำค้นหา = การตลาด +ออนไลน์ : การสืบค้นข้อมูลโดยการนำเครื่องหมาย + มาใช้สำหรับใส่คั่นระหว่างคำสองคำจะทำให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลของคำว่า การตลาด หรือ ออนไลน์ ซึ่งมีหลักการค้นหาคือ หากระบบค้นหาพบเพียงคำใดคำหนึ่ง คำนั้นจะถูก Matching เข้ากับสิ่งที่ระบุไว้ โดยส่วนมากวิธีการค้นหาข้อมูลในรูปแบบดังกล่าว จะถูกนำมาใช้สำหรับค้นหาคำที่มีความหมายเดียวกัน แต่สามารถเขียนได้หลายแบบ หรือคำที่มักเขียนผิด ซึ่งคำเหล่านี้หากใช้วิธีการค้นหาแบบปกติ Matching ของ Google Trends จะไม่นับรวมไปประมวลผล

ประวัติของเว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Google เกิดขึ้นจากแนวคิดจากวิทยานิพนธ์ของนาย Larry Page และนาย Sergey Brin โดยมีเนื้อความถึงการตั้งสมมุติฐานที่ว่า โปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นที่แสดงผลการค้นหาที่มีความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานของเสิร์ชเอนจิ้นแบบเดิม ดังนั้นจึงได้มีการสร้างโปรแกรมเสิร์ชเอนจิ้นของ Google ขึ้นมา โดยใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นรากฐาน และยังมีการกำหนดอีกว่า เว็บไซต์ที่มีคุณภาพดี จะต้องมีการเชื่อมโยงลิ้งค์กับหน้าเว็บเพจอื่นมากที่สุด และในเดือนกันยายน ค.ศ.1998 บริษัท Google,Inc. ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo!

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Yahoo! เกิดขึ้นจากการที่นาย David Filo และนาย Jerry Yang ได้ร่วมกันทำงานอดิเรกชิ้นหนึ่ง และสร้างงานนี้ขึ้นมาในชื่อว่า “Jerry and David’s guide to the World Wide Web” เพื่อใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสารบัญของเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ด้วยกัน โดยในเวลาต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! และมีการนำมาใช้งานจนทุกวันนี้ (ปัจจุบัน Yahoo ขายกิจการให้ Verizon แล้ว)

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น MSN Search ได้มีการเปิดตัวขึ้นมาในครั้งแรกในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับโปรแกรม Windows 95 โดยตรง พร้อมกับให้บริการสำหรับเสิร์ชหาเว็บไซต์ต่างๆ และใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างครบวงจร จึงเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ Microsoft Network นอกจากนี้ยังใช้สำหรับเป็นพื้นที่ในการเก็บอีเมลล์ฟรี ในชื่อ Hotmail ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงแรกๆ ในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนาจนเกิดโปรแกรมสนทนาออนไลน์ขึ้นมา ซึ่งก็รู้จักกันดีในชื่อของ MSN Messenger และยังมีโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย

ประวัติเสิร์ชเอนจิ้น Baidu

เว็บเสิร์ชเอนจิ้น Baidu เกิดขึ้นโดย โรบิน ลี (Mr.Robin Li) ซึ่งเป็นนักศึกษาจีน และได้ไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงได้กลับมาเปิดบริษัทที่ประเทศจีน และสร้าง Baidu ขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านอินเทอร์เน็ตและสร้างสรรค์เทคโนโลยีในการเสิร์ชเอนจิ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบไฮเปอร์ลิ้งก์ เพื่อให้เกิดการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับบริการต่างๆ ได้ดี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไป่ตู้ก็ได้ประสบความสำเร็จและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดี โดยในแต่ละวันก็จะมีการพิมพ์คำสืบค้นลงในแพลตฟอร์มของไป่ตู้มากกว่าหมื่นล้านคำ ปัจจุบันยังมีการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมกับปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลจากการค้นหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ชาวจีนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

YouTube เป็น Search Engine อันดับ 2 ของโลก

YouTube ถูกยกให้เป็นบริการค้นหาข้อมูลออนไลน์หรือเสิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เพราะมีคนเข้ามาค้นเนื้อหาที่สนใจในรูปแบบวิดีโอมากกว่า 3 พันล้านครั้งต่อเดือน หากลองให้ใครสักคนนึกถึงเว็บไซต์อัพโหลดและแชร์คลิปวีดีโอชื่อดังระดับโลก เชื่อว่าหลายคนจะต้องนึกถึง “YouTube” แต่บทบาทของ YouTube นอกแหนือจากจะเป็นเว็บไซต์เบอร์หนึ่งในด้านการอัพโหลดและแชร์คลิปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตำแหน่งที่ใครหลายคนอาจนึกไม่ถึงกัน ก็คือเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้ความนิยมเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าเว็บไซต์อย่าง Bing, Yahoo, Ask และ AOL รวมกันทั้งหมดเสียอีก

YouTube ถูกก่อตั้งในปี 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal จำนวน 3 คน โดยภายในระยะเวลาแต่เพียงปีเดียวหลังจากการก่อตั้งเท่านั้น Google ได้เข้ามาซื้อ YouTube ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจนมาถึงในยุคปัจจุบัน YouTube กลายเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

ช่องทางในการชมวีดีโอ นอกจากผ่านทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบปกติแล้ว การชมผ่านโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน โดยจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกมีการเข้าชมวีดีโอ YouTube บนโทรศัพท์มือถือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 25% ของการชมคลิปวีดีโอทั้งหมดบน YouTube

การสำรวจพบว่า 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดอันดับบน YouTube ที่ต้องให้ความสนใจอย่างมาก คือจำนวนวิว (ผู้ชม), ชื่อของคลิปวีดีโอ, คำบรรยายคลิป รวมถึงจำนวน Like และ Dislike บนคลิป ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยล้วนมีความสำคัญทำให้การแสดงผลของวีดีโอมีอันดับที่สูงขึ้น

ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่สามารถทำหน้าที่เป็น Search Engine Site มีให้บริการมากมายแก่ผู้สืบค้นข้อมูลเพื่อทำให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายมากขึ้น โดยการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Search Engine บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ มีความเปิดกว้างและไม่มีการจำกัดขอบเขต ผู้สืบค้นจึงสามารถทำการสืบค้นข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพจากหลากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก


หลักการออกแบบ Database


นายศักรินทร์ สิมมา 6204062620119

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

หลักการออกแบบ Database

หลักการออกแบบฐานข้อมูล


นาย กิตติฌาน ศิริโสภณา 6204062620101 sec1
คลิปวิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 040613331 DATABASE SYSTEMS

หลักการออกแบบฐานข้อมูล

หลักการออกแบบฐานข้อมูล


หลักการออกแบบฐานข้อมูล

หลักการออกแบบระบบฐานข้อมูลและออกแบบ ER Diagram


นางสาวพิชชา เสรีพาณิชย์การ
6104062620098
Section 1
วิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Database 040613331
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

หลักการออกแบบระบบฐานข้อมูลและออกแบบ ER Diagram

การออกแบบพื้นที่


การออกแบบก่อนทำเกษตรจะทำให้ทำงานน้อยลงผลผลิตมากขึ้นชีวิตดีขึ้น

การออกแบบพื้นที่

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ หลักการออกแบบฐานข้อมูล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *