[NEW] | หลักการกีดกันของเพาลี – Australia.xemloibaihat

หลักการกีดกันของเพาลี: คุณกำลังดูกระทู้

PLANT DISEASE CONTROL
การควบคุมโรคพืช เป็นการกระทำใดๆ ก็ตามที่สามารถลดความรุนแรงของโรคเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากโรค การควบคุมโรคจะเป็นการป้องกัน (protection) และกำจัดโรคที่เกิด (elimination) เพื่อไม่ให้มีโรคเกิดขึ้นและลดความร้ายแรงของโรคโดยการทำลายเชื้อในส่วนของพืชที่เป็นโรค ไม่ให้สร้าง inoculum ไปทำลายส่วนหรือพืชปกติอื่นอีก การควบคุมโรคไม่ใช่เป็นการรักษา (cure) การรักษาจะได้ผลน้อย เนื้อเยื่อพืชที่ถูกทำลาย หรือแสดงอาการของโรคแล้ว ไม่สามารถคืนสู่สภาวะปกติได้ ผลผลิตของพืชจะต่ำลง เนื่องจากพืชขาดระบบหมุนเวียนแบบมนุษย์และสัตว์ และการรักษาจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก การสิ้นเปลืองยาในการป้องกันโรค 1 กก. หากเป็นการรักษาอาจต้องใช้ถึง 16 กก. เป็นต้น
การวางแผนในการควบคุมโรคให้ได้ผลดี จะต้องอาศัยความรู้ด้านต่างๆ เช่น ทางโรควิทยา การเจริญของเชื้อโรค วงจรของโรค การเจริญของพืช และปัจจัยต่างๆ ของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อเชื้อโรคพืช และต่อการเจริญของโรค ซึ่งเป็นปฏิกริยาร่วมกันของเชื้อโรคกับพืช
การควบคุมโรคในทางปฏิบัติเป็นการลดการสูญเสียที่เกิดจากโรคให้อยู่ในระดับตํ่าสุดและเสียค่าใช้จ่ายน้อย โดยต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. การควบคุมโรคต้องให้การเพาะปลูกพืชได้ผลกำไร คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ยาต้องมีมูลค่าน้อยกว่าพืชที่จะได้รับความเสียหายจากโรค
2. การควบคุมโรคให้ได้ผลดีที่สุด ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการเพาะปลูกพืช เช่น การเตรียมดิน การเลือกเมล็ดพันธุ์ วิธีการปลูกและดูแล รวมทั้งการกำจัดแมลงและวัชพืช การระบายน้ำ การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการจำหน่าย
3. การพิจารณาค่าใช้จ่ายควบคุมโรค ต้องเป็นค่าใช้จ่ายจริงทั้งหมด เช่น ค่ายา
4. วิธีการต่างๆ ของการควบคุมโรค แตกต่างกันไปตามสภาพของไร่ ท้องถิ่น ภูมิประเทศ อาการชนิดของดิน และพืช วิธีการเพาะปลูก และมูลค่าของพืช
5. การควบคุมโรค เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดและเสียค่าใช้จ่ายตํ่า ต้องปฏิบัติหลายๆ วิธีร่วมกัน (Integrated control) การใช้สารเคมีเป็นเพียงวิธีการหนึ่งเท่านั้น
หลักการควบคุมโรคพืช สามารถกำหนดได้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. การหลีกเลี่ยงเชื้อโรค (Avoidance of the pathogen)
2. การกีดกันเชื้อโรค (Exclusion of the pathogen)
3. การกำจัดเชื้อโรค (Eradication of the pathogen)
4. การป้องกันพืช (Protection of the plant)
5. การปัรบปรุงพืชให้ต้านทานโรค (Development of resistant hosts)
6. การรักษาพืชที่เป็นโรค (Therapy applied to the diseased plant)
การหลีกเลี่ยงเชื้อโรค
การหลีกเลี่ยงเชื้อโรค เป็นการปลูกพืชในพื้นที่ที่ห่างไกลจากแหล่งของเชื้อโรค โดยการปลูกในพื้นที่ที่ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน หรือปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรค ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากกับโรคพืชบางชนิด มีรายละเอียดดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (choice of geographical area) เป็นการเลือกบริเวณที่จะปลูกพืช โดยดูสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่นความแห้งแล้งของอากาศ ปริมาณนํ้าฝน ระยะเวลาที่ฝนตก สภาพความชื้น อุณหภูมิของอากาศ ระดับความสูงของพื้นที่ สภาพบนภูเขา แม่น้ำ และแรงลม เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก และถั่วของสหรัฐอเมริกา นิยมปลูกพืชในแถบตะวันตกของประเทศ ซึ่งมีสภาพอากาศแห้ง ไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรค เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคไม่ให้ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ เป็นต้น
2. การเลือกแปลงปลูกในพื้นที่กำหนดไว้แล้ว (choice of planting site in a local area)
เลือกแเปลงปลูกที่ปราศจากโรคหรือไม่เคยพบโรคระบาดมาก่อน และเป็นแปลงที่ไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรคในพื้นที่ที่กำหนดไว้แล้วนั้น หากเป็นแปลงที่มีโรคระบาดมาก่อนก็ต้องเว้นจากการระบาดของเชื้อสาเหตุโรคนั้นมานานจนแน่ใจว่าเชื้อโรคนั้นได้ตายไปหมดสิ้นแล้ว เพราะเชื้อราบางพวกสามารถมีชีวิตตกค้างอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน เช่น Fusarium spp. ก็ต้องเว้นไม่ตํ่ากว่า 10 ปี เป็นต้น
3. การเลือกเวลาปลูก (choice of planting date)
เลือกวันปลูกหรือฤดูปลูกเพื่อให้พืชหนีโรค (disease escape) เนื่องจากโรคบางโรค เชื้อเข้าทำลายพืชได้ดีเฉพาะระยะเป็นต้นกล้าและฝนชุก เมื่อพ้นระยะแล้วพืชจะมีความต้านทานต่อการเข้าทำลายมากขึ้น ฉะนั้นจึงควรกำหนดวันปลูกก่อนปกติ (early planting date) เพื่อให้พืชโตพ้นระยะกล้าเมื่อมีเชื้อระบาด เช่น การปลูกข้าวโพดหนีโรครานํ้าค้าง โดยเริ่มปลูกข้าวโพดเมื่อเริ่มมีฝนพอปลูกได้ เมื่อถึงระยะฝนชุก พืชจะโตพอต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อที่ระบาดภายหลัง
4. การใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค (use of disease-free planting stock)
เลือกใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่แน่ใจว่าปราศจากโรค เช่น การใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ได้จากต้นที่ปราศจากโรค เพื่อจะได้เมล็ดหรือท่อนพันธุ์ หรือกิ่งตอนที่ไม่มีเชื้อโรคติดมาด้วยไปปลูก
การขยายพันธุ์พืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ คาร์เนชั่น และเบญจมาศ ทำได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (tissue culture) ส่วนใหญ่จะใช้ยอดอ่อน (meristematic tip) ซึ่งเชื้อโรค เช่นเชื้อรา Fusarium
วิสายังเข้าทำลายไม่ถึง จะทำให้ได้ต้นอ่อนที่ปราศจากโรคไปทำพันธุ์ได้อย่างดี แต่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ยังมีจำกัดอยู่เฉพาะพืชไม่กี่ชนิด
5. การใช้วิธีการปฏิบัติทางการเพาะปลูก (modification of cultural practices)
เป็นการปฏิบัติที่ปรับสภาพการเพาะปลูกไม่ให้เหมาะสมต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค เช่นการเลือกวันปลูกพืช ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น การปลูกพืชให้มีระยะห่างระหว่างต้นที่พอเหมาะ (proper spacing) มีอากาศถ่ายเทดีทำให้ต้นพืชไม่เปียกชื้น ให้ดินมีการระบายนํ้าที่ดี ซึ่งจะช่วยลดการเข้าทำลายของเชื้อรา เช่น Pythiummn ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในดิน การใส่ปุ๋ย และการปรับ pH ของดินให้เหมาะสม การเก็บเกี่ยวพืชก่อนกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคเข้าทำลายเมล็ดพืช และการให้นํ้าแบบเหนือต้นพืช (overhead irrigation) เช่นการใช้ฝนเทียม (sprinker) เพราะทำให้ต้นเปียก มีความชื้นสูง โดยเฉพาะที่ช่อดอก สำหรับการเก็บรักษาผลิตผลพืชหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องเก็บในที่มีอากาศถ่ายเทและแห้ง เพื่อป้องกันการงอกและเข้าทำลายของเชื้อรา บักเตรีต่างๆ
6. การกำจัดวัชพืชและพืชอาศัยข้างเคียง (weed control and collateral hosts)
เชื้อโรคบางชนิดอาจมีชีวิตอยู่ข้ามฤดูหลังจากพืชที่เป็นโรคนั้นตายหรือเก็บเกี่ยวแล้วโดยอาศัยอยู่ด้วยการที่ทำให้วัชพืชเป็นโรค เชื้อโรคบางชนิดจะเจริญครบวงจรของโรคได้ต้องมีพืชอาศัยข้างเคียง ฉะนั้นการกำจัดวัชพืชและพืชอาศัยข้างเคียงจะช่วยไม่ให้เชื้อกลับไปเข้าทำลายพืชที่จะปลูกในฤดูใหม่อีก
การกีดกันเชื้อโรค
การกีดกันเชื้อโรค เป็นการกีดกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาสัมผัสพืชในบริเวณพื้นที่เพาะปลูกหรือภายในประเทศ มีวิธีการดังนี้
1. การกำจัดเชื้อโรคที่ติดมากับส่วนขยายพันธุ์พืช (treatment of propagules of plants)
เป็นการกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมากับส่วนขยายพันธุ์พืชก่อนนำมาปลูกหรือเก็บไว้ทำพันธุ์ เช่น หัว เมล็ด กิ่งตอน ท่อนพันธุ์ ฯลฯ ตลอดจนภาชนะ หีบห่อที่บรรจุ โดยทั่วไปจะฆ่าหรือทำลายเชื้อนั้นด้วยสารเคมี หรือทางฟิสิคส์ เช่น การอบด้วย ก๊าซ การใช้ความร้อนด้วยการอบแห้งหรือแช่ในนํ้าร้อน ส่วนการใช้ความร้อนนั้น ระดับอุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและเชื้อโรคที่คาดว่าจะติดมาด้วยนั้น เพื่อให้ความร้อนสามารกกำจัดเชื้อได้สมบูรณ์โดยพืชไม่เสียหายเกินไป เช่นเมล็ดสูญเสียความงอกมากเกินไป เป็นต้น
2. การกำจัดแมลงพาหะของโรค (elimination of insect vectors)
เป็นการกีดกันโดยกำจัดแมลงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของแมลง เพราะโรคบางชนิดมีแมลงเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคที่เกิดจากวิสา ปริมาณของแมลงจึงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคของพืชเป็นอย่างมาก
3. การออกกฎข้อบังคับ (regulatory methods) เป็นการกีดกันด้วยการออกกฎข้อบังคับ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคระบาดข้ามรัฐ หรือข้ามประเทศ ซึ่งออกโดยผู้ว่าการรัฐหรือรัฐบาลของประเทศ ตามลำดับ กฎข้อบังคับที่ใช้จะเป็นการกักพืช (plant quarantines) การตรวจพืชในไร่ โรงเก็บ และการกำจัดพืชอาศัยบางชนิดเป็นครั้งคราว
การกักพืช
การกักพืชมีจุดม่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคระบาดโดยติดไปกับการนำพาที่มนุษย์จัดทำขึ้นจากท้องถิ่นที่มีโรคอยู่ ไปยังท้องถิ่นอื่นที่ไม่มีโรคนี้มาก่อน โดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการออกกฎหมายควบคุม และมีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตามจุดมุ่งหมาย
การระบาดของโรคจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศที่ไม่เคยเกิดโรคนี้มาก่อนและโรคได้ทำความเสียหายแก่พืชอย่างมาก เช่นการระบาดของโรครานํ้าค้างขององุ่น (Plasmopara viticola) ที่เพิ่งเกิดในยุโรป โดยติดมากับกิ่งพันธุ์ขององุ่นที่นำเข้าจากอเมริกา โรคราสนิม (white-pine blister rust, Cronartium ribicola) ที่เกิดในอเมริกา โดยติดการนำเข้ามาจากยุโรป โรคอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาที่ระบาดจากต่างประเทศ มีโรค canker ของส้ม (Xanthomonas citri), chesnut blight (Endothia parasitica), potato wart (Synchytrium endobioticum), wheat flag smut (Urocystis tritici), Dutch elm disease (Ceratocystis ulmi) เป็นต้น สำหรับประเทศไทย โรคใบไหม้ของข้าวที่เกิดจากเชื้อรา Piricularia oryzae เป็นโรคที่ไม่เคยพบมาก่อนในประเทศ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้มีโรคนี้ระบาดทำความเสียหายแก่การเพาะปลูกข้าวในประเทศอย่างมากมาย จากการสันนิษฐานเข้าใจว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้ติดฟางข้าวที่ใช้เป็นวัสดุรองกันกระแทกในหีบห่อสินค้าที่สั่งเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น
การออกกฎข้อบังคับกักพืชได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1660 ต่อการพยายามยับยั้งและป้องกันการแพร่กระจายของต้นบาเบอรี ซึ่งถูกสงสัยว่าจะมีส่วนต่อการระบาดของโรคราสนิม ของข้าวสาลี แล้วการกระทำต่างๆ เพื่อยับยั้งและป้องกันนี้ก็เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1726-1766 ในคอนเนคติคัต แมสซาซูเซท โรดไอซแลนด์ เยอรมัน ออสเตรีย รัสเซีย และเดนมาร์ค
ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายกักพืชของรัฐได้เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 1881 ในการพยายามป้องกันการแพร่กระจายของ grape gall louse (Phylloxera vitifoliae) การกักพืชระหว่างรัฐก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในการตรวจและให้ใบรับรองปลอดโรคในการเคลื่อนย้ายกิ่งพันธุ์และวัสดุบางชนิดระหว่างรัฐ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1912 การกักพืชของประเทศ (Federal Plant Quarantine Act) จึงถูกตั้งขึ้นเพื่อป้องกันโรค แมลงศัตรูพืชจากต่างประเทศ ภายใต้การรับผิดชอบของ U.S. Department of Agriculture-the Plant Quarantine Branch of the Agricultural Research Service
การกักพืชระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อรับผิดชอบต่อการเพิ่มผลผลิตและการค้าผลิตผลทางการเกษตรระหว่างประเทศ จนปัจจุบันนี้ทุกประเทศมีการกักพืชของตนและช่วยเหลือร่วมกันในโครงการระหว่างชาติ ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) ได้เห็นความสำคัญโดยสนับสนุน เและอุปถัมป์ให้มีองค์การอารักขาพืชระหว่างประเทศเฝ้าดูความเคลื่อนไหวใดๆ ที่เกี่ยวกับการเกิดโรคพืชทุกส่วนของโลก โดยมีสาขาประจำอยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลกรวม 6 แห่ง (six regional branches) เพื่อ ให้ข่าวสารและแนะนำวิธีการควบคุมโรคเป็นเอกสารเผยแพร่ทางอารักขาพืชสาขาต่างๆ มีดังนี้
1. The European Plant Protection Organization (EPPO)
2. The Inter-African Phytosanitary Commission
3. The Plant Protection Committee for the South East Asia and Pacific Region
4. Organisma International Regional de Sanidad Aggroperciana
5. Convenio Interamericano de Protection Agricola
6. Near East Plant Protection Commission
การกักพืชของประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการกักพืชเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยออกเป็นพระราชบัญญัติป้องกันโรคและศัตรูพืช ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ควบคุมการนำเข้าและนำผ่านประเทศ ต่อมาจึงได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตราพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ขึ้นใช้แทนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2507 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันโรคและศัตรูพืช พ.ศ. 2495 ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ รัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดชื่อพืชศัตรูพืช หรือพาหะชนิดใดจากแห่งใดว่า เป็นสิ่งต้องห้าม เป็นสิ่งจำกัด หรือเป็นสิ่งไม่ต้องห้าม หรือจะกำหนดข้อยกเว้น หรือเงื่อนไขใดๆ ไว้ด้วยก็ได้ เมื่อสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งจำกัดดังกล่าวหมดความจำเป็นแล้วให้ประกาศเพื่อถอนเสีย การนำเข้า
หรือนำผ่านจะต้องทางด่านตรวจพืช เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อกำหนดในกฎกระทรวง และพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจปฏิบัติการกับพืช สิ่งต้องห้าม สิ่งจำกัด ที่จะนำเข้าหรือนำผ่าน ด้วยการรมยา พ่นยา หรือใช้วิธีการอื่นใดตามที่เห็นจำเป็น โดยเจ้าของเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ยึดหรือกักไว้ ตามกำหนดเวลาที่เห็นจำเป็น และทำลายหากมีศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการกำหนดเขตควบคุมศัตรูพืชในท้องถิ่นใด และตรวจตรากักพืชภายในประเทศ ตลอดจนการออกใบรับรองพืชปลอดโรค ในการนำออกนอกประเทศ ดังวิธีการปฏิบัติ และรายละเอียดของพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด และใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกองควบคุมพืชและวัสดุทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วิธีปฏิบัติในการกักพืช
1. ห้ามพืชที่เป็นสิ่งต้องห้ามเข้าประเทศ และนำผ่านเด็ดขาด (prohibit)
โดยพิจารณาว่าพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีศัตรูพืชที่ร้ายแรงในแหล่งที่ทราบแน่ชัดเป็นสิ่งต้องห้าม หากอนุญาตให้พืชดังกล่าวจากแหล่งที่ระบุไว้นั้นเข้าประทศ แม้ว่าจะได้ผ่านการตรวจตราว่าปลอดโรคแล้วก็ตาม ก็อาจได้ผลไม่แน่นอน เชื้อโรคอาจติดเข้ามาระบาดทำความเสียหายแก่พืชและเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงห้ามพืชจากแหล่งที่ทราบแน่ชัดว่ามีโรคร้ายแรงนั้นเข้าประเทศและนำผ่านเด็ดขาด เว้นแต่เฉพาะที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อประโยชน์ในการวิจัยและทดลองเป็นคราวๆ ไป เท่านั้น และพืชต้องห้ามดังกล่าวต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชของเจ้าหน้าที่จากประเทศที่ส่งสิ่งต้องห้ามกำกับมาด้วย
2. อนุญาตให้พืชบางชนิดที่เป็นสิ่งกำกัด (restricted) เข้าประเทศหรือนำผ่านได้โดยพิจารณาว่าพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ หรืออาจมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในอนาคต กับทั้งเป็นพาหะหรือพืชอาศัยข้างเคียงของศัตรูพืชที่ร้ายแรง เป็นสิ่งกำกัดการนำเข้าหรือผ่านจะต้องผ่านทางด่านตรวจพืช และมีใบรับรองว่าปลอดศัตรูพืชจากเจ้าหน้าที่ของประเทศที่ส่งสิ่งกำกัดนั้นกำกับมาด้วย หากเป็นประเทศที่ไม่มีการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชจะต้องมีหนังสือสำคัญอย่างอื่นเป็นที่เชื่อถือได้แทน
3. อนุญาตให้สิ่งไม้ต้องห้ามโดยเป็นพืชที่ไม่ได้จัดว่าเป็นสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งกำกัดนำเข้าหรือผ่านประเทศได้
พืชที่เป็นสิ่งไม่ต้องห้ามนี้ ยังไม่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจของประเทศ และไม่มีศัตรูที่ร้ายแรงในต่างประเทศ แต่อาจจะเป็นพาหะหรือเป็นพืชอาศัยข้างเคียงของศัตรูพืชได้ จึงต้องให้ผู้นำเข้าหรือนำผ่านต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชทราบตามระเบียบ
ประสิทธิภาพของการกักพืช (Efficacy of plant quarantines)
การกักกันศัตรูพืชเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์และงานบริหารร่วมกัน การกักกันอาจจะไม่ประสพความสำเร็จและก่อปัญหาทางด้านนโยบายและเศรษฐกิจของประเทศได้ ฉะนั้นก่อนตัดสินใจออกกฎหมายควบคุม จะต้องพิจารณาปัญหาผลิตผลพืชว่าการป้องกันศัตรูพืชนั้นจะได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ด้วยวิธีดังกล่าวนี้หรือไม่ ข้อมูลต่างๆ ที่ควรทราบมีดังนี้
1. ธรรมชาติของเชื้อโรค (nature of the pathogen) จะต้องทราบลักษณะทางสัณฐานสรีระวิทยาของเชื้อสาเหตุโรคในแต่ละพวกคือ รา บักเตรี วิสา ไส้เดือนฝอย และพืชชั้นสูงที่เป็นปรสิตบนพืชอื่น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของเชื้อ หมวดหมู่ของเชื้อซึ่งเป็นความจำเป็นอันแรกของการทำงานด้านนี้ ระยะต่างๆ ของเชื้อทั้งแบบใช้เพศ ไม่ใช้เพศ พืชอาศัย ปฏิกริยาร่วมกันของพืชกับเชื้อสาเหตุโรคที่เป็นโรคระบาดแพร่หลายส่วนมาก เชื้อสร้างเซลสืบพันธุ์หรือโครงสร้างได้มากมาย โดยที่เชื้อราสร้างสปอร์แบบใช้เพศและแบบไม่ใช้เพศ สปอร์ที่ได้จากการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศจะทำให้เกิดโรคแพร่ระบาดในท้องถิ่น ส่วนในสปอร์ที่ได้จากการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ และโครงสร้างของเชื้อที่อยู่ในระยะพัก ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อม เช่น sclerotium สามารถมีชีวิตอยู่ข้ามฤดูปลูกได้ เชื้อบางชนิดอาจนานเป็นปี เชื้อก็มีช่วงเวลานานในการแพรกระจายทำให้เกิดโรคระบาดจากท้องถิ่นหนึ่งไปสู่อีกท้องถิ่นหนึ่ง หรืออีกประเทศหนึ่ง เชื้อบักเตรีก็เหมือนกับโครงสร้างขยายพันธุ์อื่นๆ อาจมีชีวิตอยู่ได้นานในสภาพที่กึ่งแห้ง เชื้อวิสามักพบบ่อยที่มีชีวิตอยู่ได้นาน และบางชนิดก็ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความแห้งได้ดี
2. วิธีการแพร่กระจายของเชื้อ (mode of dissemination) สปอร์และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้ออาจปลิวมากับลม (wind-borne) ติดมากับนํ้า (water-borne) เมล็ด (seed-borne) ดิน (soil-borne)
และแมลง (insect-borne) เชื้ออาจจะย้ายไปสู่ไร่โดยบังเอิญในการติดไปกับปุ๋ยพืชสด เศษซากพืชต่างๆ และเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรต่างๆ ระยะทางของการแพร่กระจายขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติของเชื้อ เชื้อที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็สามารถไปได้ไกล (อาจมากกว่า 2,000 กม.)
3. พืชอาศัยต่างๆ (host range) เชื้อสาเหตุโรคบางชนิดมีพืชอาศัยกว้างขวางมาก เช่น Sclerotium rolfsii มีพืชอาศัยมากกว่า 150 ชนิด และมีจำนวนไม่น้อยที่พืชดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกันเลย ฉะนั้นหาก
ทราบพืชอาศัยของโรคครบถ้วน ก็จะทำให้การกักพืชเพื่อป้องกันโรคและศัตรูพืชไม่ได้ผล มีการพิจารณากำหนดพืชไม่สมบูรณ์ เป็นต้น
4. การเข้าทำลายของเชื้อ (mode of action) การเข้าทำลายพืชของเชื้อมีแตกต่างกันไป บางชนิดทำลายเฉพาะแห่ง ทำให้มีอาการโรคเป็นจุด เช่นใบจุด ใบไหม้ แผลเสก็ด บางชนิดมีอาการทั่วทั้งต้น )เนื่องจากเชื้อเข้าทำลายกลุ่มท่อลำเลียง เช่นมีอาการเหี่ยว อาการแห้ง ซึ่งวิธีเข้าสู่พืช การเจริญ และการขยายพันธุ์ของเชื้อ มีแตกต่างกัน บางชนิดเข้าทางแผลที่เกิดจากปรสิต ทำให้พืชมีอาการแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไป เป็นอาการเฉพาะโรค แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาฟักตัวของเชื้อ ส่วนของพืชที่ติดเชื้อ และระยะการเจริญของพืชที่เป็นโรค
5. สิ่งกีดกั้นตามธรรมชาติ (natural barriers) ประเทศมีสิ่งกีดกั้นการระบาดของโรคจากประเทศข้างเคียงหรือไม่ เช่น ภูเขาสูง มหาสมุทร หากไม่มีและประเทศข้างเคียงดังกล่าวมีโรคระบาดกับพืชอยู่ก่อนแล้วการกักพืชนั้นก็ไม่ได้ผล

การกีดกั้นทางธรรมชาติที่ได้ผลดีอีกทางหนึ่งคือสภาพของอากาศ หากโรคจากแหล่งอื่นไม่เหมาะสมต่อการเกิดและระบาดของโรคในอากาศของประเทศ หากมีเชื้อโรคนั้นเข้ามาในประเทศ ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตทำให้พืชเป็นโรคและระบาดได้ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องกักกันพืชนั้น เป็นต้น
6. การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับของพนักงานเจ้าหน้าที่พระราชบัญญัติกักพืช
การกำจัดเชื้อโรค
การกำจัดเชื้อโรค เป็นการทำลายเชื้อโรคที่มีอยู่ในแปลงปลูกให้หมดสิ้นไปหรือเหลือน้อย ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งของ inoculum เพื่อไม่ให้เชื้อเข้าทำลายพืชในฤดูปลูก ดังมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
1. การกำจัดโรคโดยชีวะวิธี (biological methods) เป็นการกำจัดโรคโดยลดปริมาณและกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรคด้วยสิ่งที่มีชีวิตตามธรรมชาติอื่นๆ (ยกเว้นมนุษย์) การกำจัดด้วยวิธีนี้จะได้ผลเฉพาะโรค ซึ่งมีกลไกในการกำจัด 3 แบบด้วยกัน
ก. การสร้างสารที่มีพิษยับยั้งเชื้อโรค (antibiosis)
ข. การเป็นปรสิตหรือทำลายโดยตรง (parasite or predation)
ค. การแข่งขันใช้อาหารที่มีอยู่ในเวลาสั้น (competition)
การกำจัดโรคประกอบด้วยการสนับสนุนให้มีการเจริญเติบโตและกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อ Trichoderma, some Actinomycetes และจุลินทรีย์ในดินอื่นๆ ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถสร้างสารที่มีพิษไปยับยั้งเชื้อโรคได้ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นสารปฏิชีวนะ การใช้ปุ๋ยพืชสดหรืออินทรีย์วัตถุใส่ดินเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต จุลินทรีย์ในดินในการกำจัดโรคโคนเน่าระดับดินของหญ้าอาลฟาลฟา
การขาดแร่ธาตุอาหารที่เกิดจากการใช้ของจุลินทรีย์ในดิน ทำให้เส้นใยของเชื้อรา Cochliobolus, victoriae, Glomerella cingulata and Fusarium solani สลายตัวด้วยเอนไซม์ ß-D-glucosidase and chitinase ที่เกิดภายในเส้นใยของเชื้อเอง
การใช้เชื้อราทำลายเชื้อราสาเหตุโรค (mycoparasites) จะเป็นเชื้อราพวก Ascomycetes  and Fungi Imperfecti ราดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่ม โดยอาศัยความต้องการอาหาร คือ
ก. ราปรสิตที่เป็นปรสิตถาวร (obligate mycoparasites) เป็นราที่เจริญเฉพาะบนราที่มีชีวิตอยู่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ เช่น Pipocephalis เจริญบนรา Mucorales อื่นๆ
ข. ราปรสิตที่เจริญบนราที่มีชีวิตหรืออาหารที่เตรียมจากน้ำคั้นของราที่ถูกทำลายนั้นอยู่ด้วย (nearobligate mycoparasites) เช่น Calcarisporium parasiticum
ค. ราปรสิตที่เป็นปรสิตถาวรและสามารถเลี้ยงให้บริสุทธิ์ได้เหมือนปรากฏตามธรรมชาติ เช่น Eudarluca (Darluca) ที่เจริญบนราสนิม
ง. ราปรสิตที่เป็นปรสิตชั่วคราว ส่วนมากจะเป็นราที่เป็น saprophyte ในดินหรือเป็นปรสิตอย่างอ่อน (weak parasites) รวมทั้ง Trichoderma ที่สร้างปฏิชีวะนะสารไปยับยั้งเชื้อโรค
การกำจัดเชื้อโดยวิธีนี้ยังไม่สำเร็จมากนัก เพราะต้องมีความรู้เชื้อต่างๆ และนิเวศน์วิทยาของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดี ตลอดจนสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เชื้อที่ทำลายเชื้อราสาเหตุโรคได้มีดังนี้
เชื้อที่ทำลายราสนิม
Eudarluca australis (Darluca filum), Xanthomonas uredovorus, Tuberculina spp. ซึ่งปกติเจริญบน aecia and spermogonia, Cladosporium aecidiicola and Verticillium hemileiae ที่เจริญบน Hemileia vastatrix (โรคราสนิมของกาแฟ)
เชื้อที่ทำลายราสาเหตุโรคอื่นๆ
Cicinnobolus spp. บนราแป้งขาว โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนชื้น Trichothecium spp. บน plasmopara, Pythium, Helminthosporium etc., Coniothyrium minitans บน Sclerotinia, Dactylella spp. บน Pythium, Phytophthora และราชนิดอื่นๆ ใน Peronosporales
2. การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) เป็นการปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนไปไม่ซ้ำแต่ละฤดูปลูก จะช่วยทำให้ลดปริมาณของเชื้อโรคและศัตรูพืชอื่นๆ ในดิน เนื่องจากเชื้อที่ตกค้างอยู่เดิมไม่สามารถเข้าทำลายพืชชนิดใหม่ที่ปลูกในฤดูถัดมา ทำให้เชื้อนั้นตายไปหรือมีปริมาณลดลง แต่การปลูกพืชหมุนเวียนจะใช้ได้ผลดีหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับ
ก) ส่วนของเชื้อก่อโรคสามารถตกค้างอยู่ในดินได้นานเท่าไร เช่น เชื้อรา Fusarium อาจอยู่ในดินได้หลายปี Oospore ของราบางชนิด ฉะนั้นการปลูกพืชหมุนเวียน ที่ได้ผลในแต่ละครั้งจะต้องพิจารณาใช้เวลานานพอ
ข) พืชที่ใช้ปลูกถัดไปจะต้องเป็นพืชที่ไม่เกิดโรคได้ด้วยเชื้อสาเหตุโรคของพืชในฤดูก่อนของการหมุนเวียนครั้งที่แล้ว ซึ่งทั้งนี้ต้องพิจารณาร่วมกับกาลเวลาให้เหมาะสม
ค) เชื้อโรคบางชนิดมีพืชอาศัยกว้างขวาง การพิจารณาเลือกพืชปลูกจะต้องรอบคอบ เช่น Phymatotrichum omnivorum สาเหตุโรครากเน่าของฝ้ายสามารถทำลายพืชได้ถึง 2000 ชนิด
3. การตัดและทำลายพืชที่อ่อนแอหรือส่วนของพืชที่เป็นโรค (removal and destruction of susceptible plant or diseased parts of plants) โดยการตัดส่วนของพืชที่เป็นโรค (โรคที่เกิดเฉพาะแห่ง) หรือถอน เผาทำลายเสีย ไม่ให้เหลือระบาด ตกค้างในดินกำจัดพืชอาศัยข้างเคียงและวัชพืชต่างๆ ทำให้เชื้อสาเหตุโรคไม่สามารถเจริญได้ครบวงจรหรือข้ามฤดูปลูก และทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเผาเศษซากพืชต่างๆ
4. ทำลายเชื้อสาเหตุโรคในพืช และในดินด้วยความร้อนและสารเคมีต่างๆ การทำลายเชื้อที่ติดมากับเมล็ด หากเป็นเชื้อที่ผิวนอกเมล็ดหรืออยู่ภายในเมล็ดที่ไม่ลึกมากนัก จะทำได้โดยแช่เมล็ดหรือ คลุกยาด้วยสารเคมีที่เหมาะสม แต่ถ้าเป็นเชื้อที่อยู่ภายในเมล็ด (internally seed borne pathogens) การฆ่าเชื้อสามารถทำได้โดยแช่น้ำร้อน อบด้วยไอร้อน และแช่ในสารละลายเคมี
การป้องกันพืช
การป้องกันพืชไม่ให้เชื้อที่ระบาด แพร่กระจายอยู่ในบริเวณที่ปลูกพืชหรือบริเวณใกล้เคียง เข้าทำลายพืชและทำให้พืชเป็นโรค มีรายละเอียดดังนี้
1. การใช้สารเคมีฉีดพ่น พ่นผง คลุกเมล็ดหรือแช่ส่วนขยายพันธุ์(spraying or dusting and treatment of propagules) เพื่อการป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อกับส่วนต่างๆ ของพืช สารเคมีที่ผิวพืชจะป้องกันการเข้าสู่พืชของเชื้อหรือให้สปอร์งอกช้า ทำให้เข้าทำลายพืชไม่ได้
การเลือกใช้สารเคมี วิธีการใช้ กำหนดวันและระยะเวลาของการฉีดแต่ละครั้ง เพื่อให้สารเคมีป้องกันพืชทั่วถึง ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ ในไร่ และการคาดคะเนการระบาดของโรค แมลง ก็เป็นวิธีการที่จะช่วยตัดสินการใช้สารเคมีฉีดพ่น ให้ได้ผลและประหยัดได้อีกด้วย
2. การควบคุมแมลงพาหะนำโรค (controlling the insect vectors of pathogens) แมลงเป็นพาหะนำโรคทางหนึ่ง โดยเฉพาะโรคบางชนิด การเข้าทำลายจะเกิดขึ้นได้จากแมลงพาหะเพียงอย่างเดียว การควบคุมปริมาณของแมลงในไร่ จึงนับว่ามีความจำเป็นยิ่ง วิธีการและสารเคมีที่จะใช้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงและระยะเวลาการถ่ายทอดเชื้อของแมลง
3. การดัดแปลงสภาพแวดล้อม (modification of the environment) เป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดและระบาดของโรค วิธีการนี้จะใช้ได้ผลดีกับโรคบางชนิด เช่น โคนเน่าระดับดินของกล้าพืช โดยปรับระยะห่างปลูกพืชให้ถูกต้องโดยมีการถ่ายเทอากาศที่ดี สภาพของดินมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ขังหรือดินเปียกเกินไป เป็นต้น
4. การดัดแปลงธาตุอาหารพืช (modification of nutrition) เป็นการปรับธาตุอาหารพืชในดินให้พืชที่ปลูกมีความต้านทานต่อโรค เช่นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนแต่น้อยช่วยให้พืชต้านทานโรคมากขึ้น แคลเซี่ยม ช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคเหี่ยว โรคเน่าและป้องกันโรคขาดธาตุอาหาร โดยการใช้ธาตุอาหารนั้นฉีดพ่นทางใบหรือใส่ดิน และสภาพความเป็นกรดของดินอาจช่วยลดความเสียหายของโรคโคนเน่าระดับดินได้ เป็นต้น
การปรับปรุงพืชให้ต้านทานโรค
การใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคปลูกเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการควบคุมโรค พันธุ์พืชที่มีความต้านทาน อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคง่ายขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเชื้อมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เข้าทำลายพืชต้านทานโรคเดิมนั้นได้ ดังนั้นการผสมปรับปรุงพันธุ์ต้านทานจึงต้องดำเนินการต่อเนื่องกันไป การใช้พันธุ์ต้านทานโรคที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ มีพันธุ์ต้านทานโรคราสนิม และเขม่าดำของธัญญพืช โรคเหี่ยวเกิดจาก Fusarium ของแตงโม มะเขือเทศ ฝ้าย โรคราน้ำค้างของข้าวโพด โรคใบด่างของอ้อย ฯลฯ
การต้านทานโรคของพืชนั้น Van der Plank, J.E. (1963) ได้ให้แนวความคิดเรื่องนี้ไว้ว่า การต้านทานโรคมี 2 แบบ คือเวอร์ติคอลหรือเปอร์เพนดิคูลาร์ (vertical or perpendicular resistance) และฮอริซันตอล (horizontal resistance)
การต้านทานแบบเวอร์ติคอลเป็นพืชพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อเชื้อบางสายพันธุ์ โดยมีความต้านทานมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ของเชื้อ การต้านทานดังกล่าวเกิดขึ้นจากมิวแต้นของหน่วยถ่ายทอดพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ (oligogenes) ส่วนฮอริซันตอล เป็นพืชพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อเชื้อทุกสายพันธุ์ ซึ่งปกติจะควบคุมโดยหน่วยถ่ายทอดพันธุ์เป็นจำนวนมาก (polygenic)
การคัดเลือกและผสมพันธุ์ให้ต้านทานโรค (Selection and breeding for resistance)
โดยการคัดเลือกหาพันธุ์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมต้านทานต่อโรคจากที่มีอยู่แล้ว และจากพืชต้านทานที่มีชนิดใกล้เคียงในสกุลเดียวกัน มีวิธีการดังนี้ คือ
1) คัดเลือกเอาต้นที่ไม่เป็นโรคจากในไร่ที่มีโรคนี้ระบาด มาขยายพันธุ์
2) ผสมพันธุ์ข้ามระหว่างพืชที่ต้านทานกับพืชอาศัยที่อ่อนแอ
3) ใช้สารเคมีหรืออาบรังสีเมล็ดพันธุ์หรือท่อนพันธุ์ ให้มีการเปลี่ยนแปลงในสารที่ถ่ายทอดพันธุกรรมต้านทานต่อโรค โดยการปลูกตรวจสอบความต้านทานต่อโรค และ
4) ทำการตรวจสอบพันธุ์ต้านทานโรคที่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เพาะปลูกพืชก่อนการแนะนำไปใช้ปลูกทั่วไป เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นสาเหตุได้
การรักษาพืชที่เป็นโรค
การรักษาพืชที่เป็นโรคเป็นวิธีการที่ฆ่าเชื้อภายในพืชอาศัยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. ทางฟิสิกส์ (physical therapy) เช่นการใช้ความร้อนโดยการแช่นํ้าร้อน หรือผ่านไอร้อน ตามเวลาที่เหมาะสม และการอาบด้วยรังสี เป็นต้น
2. ทางเคมี (chemotherapy) เป็นการใช้สารเคมีแทรกซึมเข้าไปฆ่าเชื้อที่เข้าทำลายพืช ซึ่งสารดังกล่าวจะเป็นสารที่มีคุณสมบัติกระจายทั่วต้นพืช หรือไปเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาของสารที่เชื้อสร้างในกลไกการเกิดโรค
วิธีการนี้มักได้ผลน้อยและเสียค่าใช้จ่ายสูง
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช

[NEW] คำศัพท์ ”การกีดกัน” แปลว่าอะไร? | หลักการกีดกันของเพาลี – Australia.xemloibaihat

บริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ ติดโพย (PopThai)

บริการ ติดโพย (PopThai)
เป็นบริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถป้อนข้อความ ทีละประโยค หรือ เป็นหน้าเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทีละคำสองคำ
ระบบจะทำการแนบความหมายของคำหรือวลีภาษาต่างประเทศ
(ปัจจุบันสนับสนุน ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่นและเยอรมัน)
ติดกับเนื้อหานั้นๆ และจะแสดงผลความหมายเมื่อเอาเมาส์ไปวางเหนือคำหนึ่งๆ
ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาของเวบภาษาต่างประเทศได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความหมายของคำจะปรากฏขึ้นมาเมื่อท่านเอาเมาส์ไปวางบนคำหรือวลีที่มีอยู่ในพจนานุกรม
โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ

ดังตัวอย่างในรูปข้างล่างนี้

คุณสมบัติ / Features

  • แสดงความหมายของคำโดยอัตโนมัติ เพียงวางเมาส์ไว้บนคำที่ต้องการทราบความหมาย
  • สนับสนุนเวบหลากภาษา (ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมัน)
  • ค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหลายชุดพร้อมๆกัน ในฐานข้อมูลของ Longdo ได้แก่
    Lexitron2, Hope, Nontri, Longdo อังกฤษ-ไทย, Longdo เยอรมัน-ไทย เป็นต้น
  • แสดงได้ทั้งความหมายของคำเดี่ยว และคำผสม ได้อย่างถูกต้อง
    เช่น Secretary of State=รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ (ในภาพตัวอย่าง),
    High school=โรงเรียนมัธยมปลาย

  • แสดงความหมายของคำที่แปรรูปจากคำในพจนานุกรมได้ เช่น
    เมื่อวางเมาส์ไว้บนคำว่า executed/abusing ซึ่งไม่มีในพจนานุกรม
    เครื่องจะแสดงความหมายของคำว่า execute/abuse ให้โดยอัตโนมัติ
  • เรียกใช้งานได้ง่ายเพียงกดปุ่ม PopThai บน

    Longdo Toolbar

    เพื่อแนบความหมายหน้าจอที่เปิดชมอยู่ในขณะนั้น
  • แก้ไข Link ในหน้าที่แสดง เพื่อให้สามารถเปิดชม Link เหล่านั้นผ่านบริการ PopThai
    ได้ทันทีเช่นเดียวกัน
  • สนับสนุนบราวเซอร์ชั้นนำทั่วไป เช่น Internet Explorer, Firefox, Chrome, Safari, Konqueror, etc.
  • แสดง Link ให้ผู้ใช้ช่วยป้อนความหมายสำหรับคำที่ยังไม่มีอยู่ในพจนานุกรม
  • ใหม่: บริการ Vocabulary แสดงสรุปรายการคำศัพท์พร้อมความหมาย สำหรับพิมพ์ออกมาอ่านได้สะดวก
    วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Vocabulary แทน PopThai. (PopThai ในโหมดปกติ จะเหมาะกับการใช้งาน on-line
    หน้าจอคอมพิวเตอร็ ส่วนบริการ Vocabulary เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพิมพ์รายการคำศัพท์และความหมายออกมาบนกระดาษไว้อ่าน off-line)
  • ใหม่: บริการ Pronunciation Guide แสดงคำอ่านของคำใน เว็บ หรือ text ที่ป้อนให้ ข้างบนคำนั้นๆ, นอกเหนือไป
    จากการแสดง pop-up ความหมาย. วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Pronunciation.
    ขณะนี้ใช้ได้กับภาษาอังกฤษ (แสดงคำอ่านภาษาอังกฤษ) และภาษาญี่ปุ่น (แสดง hiragana เหนือคันจิ). บริการนี้
    ใช้ extension ของ browser ที่ชื่อ Ruby ปัจจุบันมีแค่ IE browser ที่สนับสนุน ถ้าเป็น browser อื่นๆ จะเห็นคำอ่านปรากฎในวงเล็บแทน

วิธีใช้

ท่านสามารถป้อนเนื้อหาหรือ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้แนบความหมายนี้ ในช่องใส่ข้อความค้นหาปกติ

หลังจากนั้นเลือกบริการที่ต้องการ (เช่น ถ้าป้อนข้อความ ให้เลือก PopThai (text) ถ้าป้อน URL ให้เลือก PopThai (URL)) ถ้าท่านไม่เลือกบริการ
ระบบจะเดาบริการที่ท่านต้องการ จากข้อความที่ท่านใส่เข้ามา (ว่าเป็นข้อความหรือเป็น URL) โดยอัตโนมัติ,
จากนั้นกด Submit เป็นอันเสร็จ

ในกรณีที่ท่านใส่ URL ระบบจะไปทำการดาวน์โหลดเนื้อหาของหน้านั้นๆ มาและแนบความหมาย พร้อมแก้ไขลิงค์ต่างๆ ให้เป็นผ่านบริการ PopThai เ
พื่อที่ว่าเมื่อท่านกดที่ลิงค์ใดๆ ต่อไปจากเพจนั้นๆ ก็จะมีการแนบความหมายมาให้ด้วยในทันที

เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ท่านสามารถใช้ PopThai ผ่าน Longdo Toolbar โดยเมื่อท่านเปิดดูเว็บไซต์ใดๆ อยู่ตามปกติ และต้องการใช้บริการ PopThai สำหรับ
หน้านั้นๆ สามารถทำได้ทันที โดยคลิกที่ปุ่ม PopThai บน Toolbar รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านที่ Longdo Toolbar

คำเตือน ในกรณีของ URL นี้ ถึงแม้ทางผู้ดูแลระบบลองดูจะได้ทำการทดสอบกับหลายเว็บไซต์
แล้วก็ตาม ยังมีบางเว็บไซต์ที่ข้อมูลเวลาที่ระบบไปโหลดมาจะแตกต่างจากที่ท่านเปิดดูโดยใช้ browser โดยตรง โปรดระวังด้วย และไม่ควรใช้กับหน้าเว็บไซต์ที่
ต้องการความถูกต้องสูง)

Problems & TODO

  • inflected word support (German)
  • support HTTP POST
  • other foreign language support (Japanese, French)


เฉลยข้อสอบ สอวน เคมี ปี60 ข้อ 1-30 #นิวเบรนฯสยามอยุธยา


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เฉลยข้อสอบ สอวน เคมี ปี60 ข้อ 1-30 #นิวเบรนฯสยามอยุธยา

เคมี การจัดเรียงอิเล็กตรอน part2


https://www.facebook.com/pongvilaiporn.chana (นี่เฟซใหม่ครูนะครับ) เนื้อหาตอนนี้อธิบายเกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนจากกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum mechanics)

เคมี การจัดเรียงอิเล็กตรอน part2

Pauli Exclusion Principle


Created using PowToon Free sign up at http://www.powtoon.com/ . Make your own animated videos and animated presentations for free. PowToon is a free tool that allows you to develop cool animated clips and animated presentations for your website, office meeting, sales pitch, nonprofit fundraiser, product launch, video resume, or anything else you could use an animated explainer video. PowToon’s animation templates help you create animated presentations and animated explainer videos from scratch. Anyone can produce awesome animations quickly with PowToon, without the cost or hassle other professional animation services require.

Pauli Exclusion Principle

Aufbau’s Principle, Hund’s Rule \u0026 Pauli’s Exclusion Principle – Electron Configuration – Chemistry


This chemistry video explains what is the aufbau’s principle, hund’s rule, and pauli’s exclusion principle and how it relates to orbital diagrams, electron configuration, and quantum numbers. The basic idea of aufbau’s principle is that you should fill orbitals with arrows starting from the lowest energy level first. Hund’s rule states that you should electrons to degenerate orbitals one at a time with parallel spins. Pauli’s exclusion principle states that no two electrons can have the same set of 4 quantum numbers.
New Chemistry Video Playlist:
https://www.youtube.com/watch?v=bka20Q9TN6M\u0026t=25s\u0026list=PL0o_zxa4K1BWziAvOKdqsMFSB_MyyLAqS\u0026index=1
Access to Premium Videos:
https://www.patreon.com/MathScienceTutor
Facebook: https://www.facebook.com/MathScienceTutoring/

Aufbau's Principle, Hund's Rule \u0026 Pauli's Exclusion Principle - Electron Configuration - Chemistry

เคมี การจัดเรียงอิเล็กตรอน part4


https://www.facebook.com/pongvilaiporn.chana (นี่เฟซใหม่ครูนะครับ) เนื้อหาตอนนี้อธิบายเกี่ยวกับการคำนวณอิเล็กตรอนเดี่ยว (single electron)

เคมี การจัดเรียงอิเล็กตรอน part4

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ หลักการกีดกันของเพาลี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *