[Update] บทที่ 3 นาฏศิลป์สากล | การแสดงบัลเล่ต์ – Australia.xemloibaihat

การแสดงบัลเล่ต์: คุณกำลังดูกระทู้

บทที่ 3 นาฏศิลป์สากล

บทที่ 3 นาฏศิลป์สากล

นาฏศิลป์  เป็นธรรมชาติแห่งการแสดงออกโดยสากลของมนุษย์ชาติ
แสดงการออกทางการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีระบบและงดงาม ซึ่งกำเนิด
ขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติของมนุษณ์ หรือพฤติกรรมปกติของมนุษย์ที่เรียกกัน
ว่า ภาษากาย หรือภาษท่าทาง ในการแสดงออกทางความรู้สึกและอารมณ์ของ
มนุษย์ออกมาทางร่างกาย เช่น การเดิน การนั่ง การยืน การกิน เป็นต้น
นาฏศิลป์สากลจึงเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ ในเรื่องประวัติที่มา
ลีลาท่ารำ เครื่องดนตรีทำนองเพลง และการแต่งกาย

นาฏศิลป์สากล

ประวัตินาฏศิลป์สากล

นาฏศิลป์ เป็นธรรมชาติแห่งการแสดงออกไปโดยสากลออกโดยสากลของ
มนุษยชาติ แสดงออกทางการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีระบบและงดงาม ซึ่งกำเนิด
ขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติของมนุษย์หรือพฤติกรรมปกติของมนุษย์ที่เรียกกันว่า
ภาษากาย หรือภาษาท่าทาง ในการแสดงออกทางความรู้สึก และอารมณ์ของ
มนุษย์ออกมาทางร่างกาย เช่น การเดิน การนั่ง การยืน การกิน การแสดงอาการ
เจ็บปวด การแสดงอาการเสียใจหรือดีใจ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นภาษากายที่
เป็นภาษาสากล ทางนาฏศิลป์

ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการพัฒนาด้านดนตรีโดยนำวัสดุจากธรรมชาติมา
ประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี เช่น การนำกิ่งไม้มาเคาะตีกันให้เกิดเสียงดัง
การนำหนังสัตว์มาขึงหน้าไม้ทำเป็นกลอง และการร้องเพลง เป็นต้น
ซึ่งเมื่อมนุษย์เกิดความสนุกสนานครื้นเครงไปกับดนตรีจึงทำให้มีการขยับเขยื้อน
ร่างกาย หรือเต้นรำตามจังหวะดนตรีไปด้วย และมีการพัฒนาท่าทางการเต้นรำ
ให้เข้ากับจังหวะดนตรีที่ช้าเร็ว หรือซับซ้อนมากขึ้น ทำใหลีลาท่าเต้นหรือ
ท่ารำต่าง ๆ มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป โยเห็นได้จากการเต้นรำ
ประกอบพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในงานรื่นเริงสังสรรค์ของชนเผ่าต่าง ๆ
ซึ่ง มีพื้นฐานมาจากการเลียนแบบธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในโลกนั่นเอง

ดังนั้น การกำเนิดของนาฏศิลป์โลก หรือนาฏศิลป์สากล จึงเกิดขึ้นจาก
ธรรมาชาติ และความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนี้

1.  การกำเนิดของนาฏศิลป์จากธรรมชาติ

เริ่มจากมนุษย์รู้จักการเต้นรำ จากการเลีรยนแบบการเคลื่อนไหวของ
สิ่งมีชีวิตในโลกทั้งจากสัตว์ พืช และมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น การร้องและเต้น
ของคนป่าบางเผ่า เป็นต้น จากกนั้นก็ได้มีการพัฒนาท่าทางและการขยับ
เยื้อนร่างกายตามความรู้สึกของมนุษย์ที่แสดงถึงอารมณ์ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ
หิวโหย และอิริยาบถต่าง ๆ ของมนุษย์ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่มาของการ
แสดงละครที่เริ่มต้นจากละครพูด โดยการพูด ทำท่าทางการ แสดงอารมณ์ต่าง ๆ
และการสวม เครื่องแต่งกายตามบทละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มาจากชีวิตจริงของ
มนุษย์ แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ค่านิยม และอารยธรรมของแต่ละชนชาติ

2.  การกำเนิดของนาฏศิลป์จากความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม และมีสัญชาตญาณแห่งความกลัว จึงทำให้
มนุษย์พยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้วยการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา เทพเจ้า
และอำนาจลี้ลับต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาเป็นความศรัทธาในลัทธิศาสนาต่อไป โดยมีการเซ่น
ไหว้บูชาให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ปลอดภัยหรืออ้อนวอนขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดล
บันดาลให้สมปรารถนา เช่น พิธีบูชายัญของชนเผ่าต่าง ๆ ในดินแดนตะวันตกเมื่อดอีตกาล
ซึ่งจะมีการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและเต้นรำประกอบ เป็นต้น

สำหรับประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์สากลที่เห็นเด่นชัด คือ ศิลปะการ
ละครของชาวตะวันตก หรือที่เรียกว่า ละครตะวันตกนั้น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
และสมัยโรมันตามลำดับ

ละครตะวันตกในสมัยกรีกโบราณ เริ่มต้นจากการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับ
เทพเจ้าไดโอนีซุส (Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ขึ้นในเทศกาลบูชา
เทพเจ้าองค์นี้ จัดขึ้นปีละครั้งโดยมีการแสดงละครเรื่องดังกล่าวที่โรงละครกลางแจ้ง
ซึ่งจะมีอัฒจันทร์โอบรอบเวทีให้คนดูละครกัน จากนั้นก็มีการพัฒนาเป็นละครเกี่ยวกับเรื่อง
ของมนุษย์ ซึ่งยีงมีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ประเภทของ
ละครในสมัยกรีกจะมีทั้งละครโศกนาฏกรรม และสุขนาฏกรรม ซึ่งจะใช้นักแสดงผู้ชาย
ทั้งหมดแสดงเป็นตัวละครหลาย ๆ ตัว ด้วยการเปลี่ยนหน้ากากไปเรื่อย ๆ และมีผู้แสดง
เพียง 3 คนเท่านั้น

ละครตะวันตกในสมัยโรมัน เริ่มจากนำรูปแบบของละครกรีกโบราณ
ในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวกับการบูชาเทพเจ้า ต่อมาก็ได้มีการปรับปรุง
โดยเพิ่มการเต้นรำและใช้ท่าทางแสดงอารมณ์มากขึ้น ตัวละครมีลักษณะของ
สามัญชน ที่เน้นการแสดงแบบตลกโปกฮาตามแนวละครประเภทสุขนาฏกรรมมาก
ขึ้น รวมทั้งมีการยกเลิกการใส่หน้ากากแบบละครกรีกในตัวละครตลกจึงทำ
ให้นักแสดงสามารถแสดงอารมณ์ภายในและความสามารถในการแสดงได้มากขึ้น
ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางละครตะวันตกที่พัฒนาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม
ละครตะวันตกในสมัยโรมันได้ลดบทบาทลงเรื่อย ๆ เนื่องจากละครส่วนใหญ่เป็น
ประเภทสุขนาฏกรรมที่ไม่ค่อยได้แก่นสาร และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับใช้เทพเจ้า
จึงทำให้ศาสนจักรแห่งกรุงโรมได้ออกคำสั่งห้ามให้คนไปดูละคร จนในที่สุดโร
งละครทุกโรงในกรุงโรมต้องปิดลง ซึ่งนับเป็นการปิดฉากความเจริญรุ่งเรืองทาง
ละครตะวันตกลงในยุคแรกนี้

ต่อมาละครตะวันตกก็ได้มีการพื้นตัวขึ้นในยุคกลางของประเทศใน
ทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เป็นต้น โดยในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
ได้มีการพัฒนารูปแบบของการแสดงละครเป็นการแสดงรีวิว (Music Hall)
ซึ่งเป็นการแสดงที่ไม่เป็นเรื่อง โดยมีทั้งการพูดคนเดียว การร้องเพลง การเต้นรำ
และการแสดงมายากล รวมทั้งยังมีการแสดงละคนแพนโทไมน์ (Pantomine)
ในอังกฤษที่เป็นการแสดงละครที่มีดนตรีและการเต้นรำประกอบ จนมาถึงใน
ศตวรรษที่ 20 ตอนต้น รูปแบบการแสดงละครเริ่มหันเข้าสู่การสะท้อนสภาพ
ความเป็นจริงในสังคมโยแสดงละครตามแบบชีวิตจริงมากยิ่งขึ้น จากนั้นจึง
พัฒนามาเป็นละครในยุคปัจจุบัน

ดังนั้นนาฏศิลป์สากลจึงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเคียงคู่มากับ
วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมโลก โดยมีการพัฒนาและเผยแพร่ อารยธรรม
ทางนาฏศิลป์สากลไปยังประเทศต่าสง ๆ ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ลีลานาฏศิลป์สากล

ท่ารำนาฏศิลป์สากล

 เป็นศิลปะด้านการฟ้อนรำ และละครที่ทุกชาติทุกภาษาต่างปฎิบัติกัน
จนเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ ซึ่งแสดงถึงความเป็นอารยประเทศที่มีความ
เจริญรุ่งเรืองทางด้านนาฏศิลป์

สำหรับนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตกที่มีการนำไปเผยแพร่และเป็น
ที่รู้จักไปทั่วโลกนั้นมีทั้งการฟ้อนรำและละคร ซึ่งจะมีลีลาทางนาฏศิลป์ที่เป็น
ลักษณะเฉพาะที่ทุกชาติทุกภาษาเข้าใจ และยอมรับได้ โดยมีกานนำนาฏศิลป์
ด้านนั้น ๆ มาเผยแพร่ในประเทศของตน จนกลายเป็นนาฏศิลป์สากลประจำชาติ
ต่าง ๆ ทั่วโลกดังจะเห็นได้จากลีลาท่ารำและการแสดงนาฏศิลป์สากลที่เป็นที่รู้
จักกันทั่วไปในโลก ได้แก่ บัลเลต์ โอเปรา และละครเพลงบรอดเวย์
ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.  บัลเลย์หรือระบำปลายเท้า (Ballet) เป็นศิลปะที่ผสมผสานท่าเต้น
และดนตรีที่แสดงอารมณ์และเรื่องราวตามเหตุการณ์ในบทละคร โดยไม่มี
บทพูดหรือเจรจา หากแต่ใช้ท่าเต้นสีหน้าและดนตรีสื่อให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ
และสะท้อนภาพออกมาเป็นเรื่องราวได้ ดังนั้น ลีลา ท่าเต้นบัลเลย์ จึงนับว่ามี
ความสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงบัลเลต์ โดยได้มีการบัญญัติชื่อท่าเต้นบัลเลต์
ที่เป็นสากลและใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลกไว้เป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่
เป็นต้นกำเนิดของบัลเลต์

ลีลาท่าเต้นบัลเลต์ จะเน้นที่การเคลื่อนไหวร่างกายในท่าต่าง ๆ ตามจังหวะ
ดนตรีให้สอดคล้องกลมกลืนกัน โดยแทรกอารมณ์ความรู้สึกออกทางท่าเต้น
และสีหน้าของนักเต้นที่สามารถสื่อไปยังผู้ชมให้เข้าใจเรื่องราวได้ โดยการฟังดนตรี
บรรเลง และดูท่าทางการเต้นประกอบกันไป ฉะนั้น การออกลีลาท่าเต้นบัลเลต์ จึงต้อง
อาศัยการทรงตัวที่ดีของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เริ่มตั้งแต่ ศีรษะ หัวไหล่ มือ ซี่โครง
สะโพก ขา เท้า โยการวางท่าทางให้อยู่ในเส้นแนวที่ดีและยืนในลักษณะที่โน้มตัว
ไปข้างหน้าเล็กน้อยจากข้อเท้าที่อยู่เหนือปุ่มโคนหัวแม่เท้า โดยผู้เต้นต้องมีการ
ฝึกฝนการแสดงท่าทางต่าง ๆ อกมาตามท่าเต้นที่สื่อความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ
ให้เป็นไปตามเรื่องราวที่กำหนด เช่น ดีใจ เสียใจ โศกเศร้า โกรธ เป็นต้น จึงมีความ
จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นการเรียนและฝึกซ้อมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะกระดูกและกล้ามเนื้อ
ของเด็กอ่อนทำให้สามารถทรงตัว และเคลื่อนไหวท่าต่าง ๆ ของบัลเลต์ได้อย่าง
คล่องตัว อ่อนช้อยและงดงาม

2.  โอเปรา (Opera) เป็นการแสดงละครที่ใช้เพลงและดนตรีเป็นหลักในการ
ดำเนินเรื่องราว ซึ่งเป็นการรวมศาสตร์ทางด้านศิลปะการเขียนบทละครและบทร้อง
การแสดง การบรรเลงดนตรี การขับร้อง การเต้นรำ การตกแต่งและออกแบบ
เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแสดง การสร้างฉาก และเวทีเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว
และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถสื่อให้ ผู้ชมเข้าใจเรื่องราว และเกิดสุนทรียะ
ในการชมการแสดงได้อย่างซาบซึ้ง โดยเฉพาะตัวละคร หรือนักแสดงต้องเป็นผู้
ที่มีความสามารถทั้งในด้านการขับร้อง การเต้นรำ และการแสดง เนื่องจากโอเปรา
ทุกเรื่องจะต้องใช้ความสามารถ และความชำนาญทั้ง 3 ด้าน ในการถ่ายทอด
อารมณ์ไปสู่ผู้ชม

ในด้านลีลาท่ารำนาฏศิลป์ของโอเปรานั้น ได้แก่ การแสองบทบาทสมมุติ
และการเต้นรำประกอบการแสดง โดยการแสดงท่าทางการเคลื่อนไหว อากัปกิริยา
ที่แสดงพฤติกรรมและอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ออกมาตามเรื่องราว ตลอดจนมีการ
เต้นรำประกอบการแสดงในบางฉากของละครซึ่งในบางเรื่องอาจจะใช้การ
เต้นบัลเลต์ ระบำพื้นเมือง หรือการเต้นรำแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
และสอดคล้องกับเรื่องราว เช่น วอลต์ เป็นต้น

3.    ละครเพลงบรอดเวย์ (Broadway Musicals) เป็นการแสดงละคร
เพลงเวทีที่กำเนิดขึ้นในโรงละครและโรงภาพยนตร์ บนถนนบรอดเวย์ใน
นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับแบบอย่างมาจากโอเปราชวนหัว
หรือ Operetta แบบยุโรป แล้วพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ของละครให้เป็นลักษณะ
ของอเมริกา ซึ่งจะกล่าวถึงเรื่องพื้น ๆ แบบชาวบ้านหรือชาวเมือง

การแสดงละครเพลงบอร์ดเวย์ ประกอบด้วยดารแสดงบทบาทของตัว
ละครตามเรื่องราว การขับร้อง และการเต้นรำ บนเวทีการแสดงที่มีฉากและ
เครื่องแต่งกาย ตลอดจนองค์ประกอบทางนาฏศิลป์ที่สมบูรณ์และมีความสวย
งามตระการตา โดยเฉพาะในด้านการเต้นรำที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับ
เนื้อหาของเรื่อง และช่วยสร้างความเพลิดเพลินสนุกสนานเคล้าคลอไปกับ
บทเพลงดนตรี และเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้ผู้ชมเกิดความซาบซึ้งใน
อรรถรสแห่งการแสดงดนตรีที่มีสุนทรียภาพและคุณค่าแห่งนาฏศิลป์สากล

ดังนั้น ลีลานาฏศิลป์สากล จึงเป็นศิลปะแห่งการแสดงท่าทาง อารมณ์
ความรู้สึก นึกคิดและการเต้นรำออกมาเป็นเรื่องราวประกอบดนตรี และบทเพลง
ที่สามารถสื่ออารมณ์ ความคิด และเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจได้ทั่วโลก ด้วยภาษา
และลีลานาฏศิลป์ที่เป็นสากลและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

เครื่องดนตรีประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากล

ดนตรีเป็นศิลปะที่จำเป็นในงานนาฏศิลป์ทุกประเภท จนอาจกล่าวได้ว่า
“ ถ้าไม่มีดนตรีเกิดขึ้นในโลก ก็ไม่อาจมีนาฏศิลป์เกิดขึ้นได้เช่นกัน
“ ทั้งนี้เพราะการกำเนิดของดนตรีนำมาสู่การแสดงนาฏศิลป์ที่สมบูรณ์แบบ
ในปัจจุบัน โดยดนตรีเป็นเครื่องช่วยในการแสดงนาฏศิลป์ได้ 3 ประการ คือ
คุณลักษณะของเสียง วิถีบรรเลง และสำเนียงดนตรี

สำหรับคุณลักษณะของเสียงนั้นมีความสำคัญในการแสดงนาฏศิลป์
หรือการเคลื่อนไหวร่างการตามจังหวะ และทำนองเพลง เช่น เพลงสำหรับการ
เต้นบัลเลต์ จะใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีในการดำเนินทำนองเป็นหลัก
ส่วนในด้านวิถีลรรเงลดนตรีประกอบการแสดงนาฏศิลป์จะมีทั้งเพลงชั้นสูงที่
ประณีตและเพลงพี้น ที่มีท่วงทำนองง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่น การแสดงโอเปรา
จะใช้ดนตรีคลาสสิก เป็นต้น และในด้านสำเนียงดนตรีจะมีลักษณะของความ
เป็นท้องถิ่น หรือลักษระเฉพาะของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละประเภทและแต่ละ
ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน เช่น เสียงเครื่องดนตรีสากลกับเสียง
เครื่องดนตรีไทย หรือเสียงขลุ่ยของประเทศต่าง ๆ ที่มีสำเนียงดนตรีที่แตกต่างกัน

ดังนั้น เครื่องดนตรีที่บรรเลงในการแสดงนาฏศิลป์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในการแสดงนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตก ดังพิจารณาได้จากเครื่องดนตรี
ที่ใช้บรรเลงในการแสดงบัลเลต์ โอเปรา และละครบรอดเวย์ ดังนี้

1. เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงบัลเลต์ คือ ดนตรีที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตรา
จึงประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา ได้แก่ ไวโอลิน  วิโอลา เชลโล เบส
ฮาร์ป ปิกโกโล ฟลุต โอโบ เฟรนช์ฮอร์น คลาริเน็ต บาสซูน ทรัมเป็ต ทรอมโบน
ทูบา ทิมปานี กลองใหญ่ ฉาบ ไทรแองเกิล และไซโลโฟน ซึ่งเครื่องดนตรีเหล่านี้
จะบรรเลงดนตรีเป็นเพลงบรรเลงที่ไพเราะ ลุ่มลึก และมีลักษณะเป็นดนตรีบรรยาย
เรื่องราวเป็นตอน ๆ ตามเนื้อเรื่อง โดยใช้ลีลาท่าเต้นบัลเลต์เป็นสื่อในการเสนอเรื่องราว

2. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงโอเปรา คือ ดนตรีคลาสสิกของ
วงออร์เคสตราประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล เบส ฮาร์ป ปิกโกโล ฟลุต
โอโบ เฟรนช์ฮอร์น คลาลิเน็ต บาสซูน ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา ทิมปานี ฉาบ
กลองใหญ่ ไทรแองเกิล และไซโลโฟน เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงใน
การแสดงบัลเลต์ แต่ต่างกันที่โอเปราจะมีทั้งผู้ขับร้องและผู้บรรเลงดนตรีในวงออร์
เคสตรา ที่ร่วมกันนำพาบทเพลง และเสียงดนตรี ถ่ายทอดอารมณ์ และเล่าเรื่องราว
ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งช่วยสร้างสุนทรียภาพทางดนตรีและนาฏศิลป์ที่ไพรเราะสมบูรณ์
แบบจนทำให้โอเปราได้ชื่อว่า เป็นสุดยอดแห่งศิลปะการแสดงในโลกของดนตรีคลาสสิก

3. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงละครเพลงบรอดเวย์ คือ ดนตรีป๊อป
ในระยะแรกและต่อมาจึงนำดนตรีร็อกมาใช้ด้วย โดยทั่วไปใช้เครื่องดนตรีสากลตาม
แบบวงดนตรีสากลทั่วไป ได้แก่ กีตาร์ เบส คีย์บอร์ด และกลองชุด แตกต่างกันที่จังหวะ
ทำนองเพลงป๊อปที่ฟังสบาย ๆ และเพลงร็อกที่มีความหนักหน่วงเร่าร้อน ละครเพลง
บอร์ดเวย์นี้จะมีลักษณะเป็นละครเพลงเวทีที่มีเค้าโครงเรื่องบทการแสดงและบทร้อง
ตลอดจนท่าเต้นรำในลักษณะต่าง ๆที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนและมีความสอดคล้อง
กันทั้งเรื่อง และมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทางดนตรีของประเทศสหรัฐอเมริกาใน
ฐานะที่เป็นประเทศต้นกำเนิดของละครเพลงบอรดเวย์

นอกจากเครื่องดนตรีประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว
ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงเพลงชุดเต้นรำ ได้แก่ ฮาร์ปซิคอร์ด ไวโอลิน
และเครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา ด้วยจะเห็นได้ว่าดนตรีหรือการบรรเลงเครื่องดนตรี
ประกอบการแสดง จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการชมการแสดงนาฏศิลป์ที่ได้จากการฟัง
เสียงดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงที่สามารถสื่ออารมณ์ และความรู้สึกให้ซาบซึ้ง
ไปกับเรื่องราว จนเกิดเป็นสุนทรียะแห่งการแสดงนาฏศิลป์สากลที่มีคุณค่า และน่าจดจำ

เพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากล

การแสดงนาฏศิลป์ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสาน
ศิลปะทางด้านการฟ้อนรำ ดนตรี และขับร้องไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะในการแสดงนาฏศิลป์
สากล หรือนาฏศิลป์ตะวันตกที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก
คือ การแสดงบัลเลต์ โอเปรา และละครเพลงบอรดเวย์ ที่นอกจากจะเน้นในด้านลีลา
การแสดง และท่าทางการเต้นรำประกอบดนตรีแล้ว ยังให้ความสำคัญกับบท
เพลงที่ใช้ในการแสดง ดังนี้

1. เพลงประกอบการแสดงบัลเลต์ เป็นเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรา
ที่มีความไพเราะ และลุ่มลึกในเชิงจินตนาการที่ผสานกับท่าเต้นบัลเลต์เป็น
เรื่องราวที่สื่ออารมณ์ และความรู้สึกได้อย่างเกิดสุนทรียรสและคุณค่า โดย
เฉพาะบทเพลงบรรเลง โดยนักประพันธ์เพลงชื่อดังของโลก คือ โชคอฟสกี
ในบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงก้องโลก เรื่อง สวอนเลค (Swanlake) และเรื่อง
The sleeping Beauty นอกจากนี้ยังมีบทเพลงบรรเลงในบัลเลต์
เรื่อง Romeo and Juliette และเรื่อง Cinderella Ballet suite ที่ประพันธ์โดย
โปรโตเฟียฟ เรื่อง Filling Station โดย วี. ทอมสัน เรื่อง Sylvia โดยเดลิเบส
เรื่อง Card Game  โดยสตราวินสกี เรื่อง Borelo โดยราเวล และ
เรื่อง Appalachian spring โดยคอปแลนด์ เป็นต้น

2. เพลงประกอบการแสดงโอเปรา เป็นเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง
ในวงออร์เคสตราโดยมีโอเวอรเจอร์ (Overture) เป็นเพลงบรรเลงด้วย
เครื่องดนตรีล้วน ๆ ใช้เป็นเพลงนำ หรือ เพลงโหมโรงก่อนการแสดงโอเปรา
ซึ่งจะเป็นเพลงที่แสดงถึงบรรยากาศของโอเปราที่ใช้ระยะเวลาในการบรรเลง
ประมาณ 5 – 10 นาที โดยมีโอเวอรเจอร์ของโอเปราบางเรื่องที่มีความไพเราะ
เป็นที่นิยมชื่นชอบ และมักนำมาใช้บรรเลงเป็นเพลงแรกของการแสดงคอนเสิร์ต
ทั่วไป เช่น เพลง Overture of the marriage of figaro ของโมซาร์ท
เพลง Overture of Fidelio ของเบโธเฟน เพลง Overture of Carmen
ของบิเซต์ และเพลง Overture of the Barber of Saville ของรอสซีนี เป็นต้น
นอกจากนี้ในการดำเนินเรื่องก็ยังมีวงออร์เคสตราบรรเลงเพลง และมีไลม์โมทีฟ
บรรเลงทำนองดนตรีต่าง ๆ แทนตัวละครแต่ละตัว หรือแทนเหตุการณ์และ
สภาพการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง

เพลงขับร้องในการแสดงโอเปรา ได้แก่ รีซิเททีฟ (Recitative)
เป็นบทสนทนาที่ใช้การร้องแทนโดยมีดนตรีประกอบ ส่วนอาเรีย (Aria)
จะเป็นบทเพลงร้องเดี่ยวในโอเปราที่มีลีลาดนตรีที่งดงาม และมีบทร้อง
ประเภทร้อง 2 คน 3 คน 4 คน หรือมากกว่านี้ โดยในโอเปราที่มีลีลาดนตรี
ที่งดงามและมีบทร้องประเภทร้อง 2 คน 3 คน 4 คน หรือกมากกว่านี้
โดยเรียกบทร้องที่มีคนร้อง 2 คนว่า Duo 3 คน เรียกว่า Trio 4 คนเรียกว่า
Quartet 5 คน เรียกกว่า Quintet และ 6 คน เรียกว่า Sextet เช่น
ในเพลง Lucia จากเรื่อง  Rigolett เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทร้อง
ประสานเสียง (Chorus) ที่มีชื่อเสียง เช่น เพลง The Triumphal
Chorus จาก Aida และเพลง The Pilgrim’s Chorus จาก Tannhauser เป็นต้น

3. เพลงประกอบการแสดงละครเพลงบอรดเวย์ เน้นที่เพลงขับร้อง
ในแนวป๊อปและแนวร็อก และการบรรเลงดนตรีประกอบการเต้นรำ
โดยเฉพาะเพลงป๊อปในละครเพลงของจอร์ช เอมโคเฮน ที่มีชื่อเสียง
ได้แก่ เรื่อง Give my regards to Broadway เรื่อง George M !
และละครเพลงของเจอโรม เคิร์น ได้แก่ เรื่องเรือเร่ (Showboat)
และเรื่อง Roberta ซึ่งมีเพลงชื่อว่า Smoke gets in your eyes
นอกจากนี้ยังมีเพลงของโรเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ที่กลายเป็น
ผลงานอมตะและนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงมาจนถึง
ปัจจุบันจากละครเพลงบอรดเวย์ เรื่อง The Sound of music
เรื่อง South Pacific และเรื่อง TheKing and I เป็นต้น

สำหรับเพลงร็อกที่มีชื่อเสียงของละครบอรดเวย์ ได้แก่
Hair ของแรกนี่ Bye, Bye Birdie ของอดัมส์และสเตราส์ Godspell
ของเทเบลักและฉวาทซ์ และ Jesus Christ Superstar ของ โอ ฮอร์แกน ฯลฯ

นอกจากเพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากลดังกล่าวแล้ว
ยังมีบทเพลงชุดที่ใช้บรรเลงประกอบการเต้นรำจังหวะต่าง ๆ ที่เป็นสากล
และใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ Boroque Suite หรือ Dance Suite ,
English Suites , Frence Suites และ Partita เป็นต้น

ดังนั้น เพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากลทั้งที่เป็นเพลงบรรเลง
และเพลงขับร้อง จึงมีความสำคัญ และนับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการแสดง
ที่จะช่วยเพิ่มอรรถรส และความสมบูรณ์ของงานนาฏศิลป์ที่มีคุณค่าได้ยิ่งขึ้น

การแต่งกายประกอบการแสดงนาฏศิลป์สากล

การแสดงนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตกให้เกิดความสวยงามน่
าชื่นชอบได้นั้นต้องใช้ทั้งองค์ประกอบภายใน และองค์ประกอบภายนอกของ
ศิลปะการแสดงที่ประกอบกันเป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่มีคุณค่าของโลก

 ของการแสดงนาฏศิลป์นั้นคือ ความสามารถใน
การแสดงท่าทางการเคลื่อนไหว อากัปกิริยา อารมณ์ ควารรู้สึกของนักแสดง
ออกมาตามบทบาทของตัวละครในเรื่องที่ต้องการนำเสนอ
และสื่อเรื่องราวไปยังผู้ชมการแสดง

 ของการแสดงนาฏศิลป์ ได้แก่ ฉาก เวที
เทคนิคด้านแสง สี เสียง ดนตรี และอุปกรณ์การแสดงและเครื่องแต่งกาย
ของนักแสดงที่ใช้ประกอบการแสดง และช่วยเสริมสร้างให้การแสดงเกิด
ความสวยงามตระการตา มีความน่าสนใจและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ
เครื่องแต่งกายนักแสดงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
 หมายถึง เครื่องแต่งกายที่คนทั่วไปใช้เพื่อการ
ดำเนินชีวิต แล้วนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายภายในการแสดงนาฏศิลป์
 หมายถึง เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ที่คล้ายกับ
เครื่องแต่งกายปกติ แต่มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการแสดงนาฏศิลป์
ประเภทนั้น ๆ หรือตามเรื่องราวในบทละคร
 หมายถึง เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ที่มีการ
พัฒนาตามที่กำหนดรูปแบบไว้ตายตัวทั้งรูปทรง สีสัน และเครื่องประดับต่าง ๆ
ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมักนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายของตัวละคร
และนักเต้นระบำในการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติต่าง ๆ และสำหรับ
เครื่องแต่งกายสร้างสรรค์ หมายถึง เครื่องแต่งกายที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะกรณี
โดยมีผู้คิดสร้างสรรค์ประกอบกับนาฏศิลป์ชุดใหม่ ๆ ที่จัดขึ้น เพื่อให้เกิดความ
แปลกตาน่าสนใจ และสนองความคิด และจินตนาการของผู้สร้างสรรค์
เครื่องแต่งกาย

นอกจากนี้ในด้านของการออกแบบเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ มีหลักที่ต้อง
คำนึงอยู่ 6 ประการ  หน้าที่ใช้สอยของเครื่องแต่งกายแต่ละชุด
แต่ละชิ้นที่เหมาะสมกับการแสดงและวัตถุประสงค์ในการใช้ เช่น ชุดของพระเอก
และนางเอก เสื้อคลุม หมวก หน้ากาก ผ้าพันคอ ร่ม เป็นต้น 
รูปแบบหรือสไตล์ของเครื่องแต่งกายที่มีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับการแสดง
และฉาก เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการแสดง  บุคลิกตัว
ละครหรือผู้แสดง โดยเครื่องแต่งกายจะต้องบ่งบอกสถานภาพต่าง ๆ ของตัวละคร
และช่วยเสริมบุคลิกภาพที่เหมาะสมให้กับตัวละครนั้น ๆ ด้วย  การสร้าง
เครื่องแต่งกายโดยใช้วัสดุและโครงสร้างเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับการแสดง
 การถอดเปลี่ยนเครื่องแต่งกายของนักแสดงต้องมีความสะดวก
รวดเร็ว และ  ความประหยัดของเครื่องแต่งกาย ทั้งในด้านวัสดุ
แรงงาน และเวลา เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการจัดแสดงและช่วยเพิ่มความคุ้มค่า
ตลอดจนคุณค่าของการแสดงได้มาก

หลักการของเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ดังกล่าวใช้กันอยู่ทั่วโลกและเป็นสากล
โดยเฉพาะในการแสดงนาฏศิลป์สากลหรือนาฏศิลป์ตะวันตกที่รู้จักกันดี คือ บัลเลต์
โอเปรา และละครเพลงบรอดเวย์ ก็ล้วนแต่ใช้หลักการเช่นเดียวกัน โดยพิจารณา
ได้จากเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงเหล่านี้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. เครื่องแต่งกายบัลเลต์ ประกอบด้วยเครื่องแต่งกายสำหรับผู้หญิง
และผู้ชายดังนี้ คือ  เครื่องแต่งกายบัลเลต์สำหรับผู้หญิงจะมีถุงน่องยาวสีชมพู
เพื่อใช้ปิดร่างกายจากเท่าถึงเอว ชุดเสื้อกางเกงชิ้นเดียวสีดำรัดรูป (leotard)
ที่สวมทับบนถุงน่องยาวจากสะโพกถึงไหล่ ชุดเสื้อผ้าชุดกระโปรงสั้นหรือยาว
ของตัวละครตามเรื่องราวในบทละคร และรองเท้าบัลเลต์ หรือรองเท้าปลายเท้า
(toe – dancing) ที่จะช่วยให้นักเต้นบัลเลต์มีฐานที่ดีในการขยับปลายเท้า
และเคลื่อนไหวร่างกาย ขนาดของรองเท้าควรจะมีที่ว่างเพื่อให้ปลายเท้าวาง
แบนราบได้ และควรจะพอดีกับเท้าเพื่อความสบายเท้า

2.เครื่องแต่งกายโอเปรา จะใช้เครื่องแต่งกายที่พิถีพิถันและสวยงามตระ
การตาตามประเภทและเรื่องราวของโอเปรา เช่น โอเปราเรื่องขลุ่ยวิเศษ
(The Magic Flute) ของโมซาร์ท เป็นเครื่องเกี่ยวกับอำนาจของขลุ่ยวิเศษ
และการพิสูจน์ความรักระหว่างเจ้าชายแห่งอียิปต์ และธิดาราชินีแห่งราตรีกาล
ซึ่งเป็นโอเปราประเภทโคมิก โอเปรา (Comic Opera) ที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน
ตลกขบขันสะท้อนสังคมหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยนั้น และมักมีบทสนทนา
ที่ใช้การพูดแทรกระหว่างบทร้องเพลง ซึ่งในเรื่องนี้จะมีบทร้องเป็นจำนวนมาก
และเป็นละครที่ใช้เครื่องแต่งกายของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งอียิปต์
ชุดแต่งกายของข้าราชบริพาร และทหารรับใช้ ตลอดจนชุดของนักบวช
ประมุขสงฆ์ และชาวบ้าน หรือชาวเมืองในสมัยฟาโรห์รามเสสที่ 1
(Ramses I) แห่งอียิปต์โบราณ เป็นต้น ซึ่งโอเปราเรื่องนี้ประสบความสำเร็จมาก
และเป็นโอเปราเรื่องสุดท้ายที่โมซาร์ทรประพันธ์ขึ้น

สำหรับเครื่องแต่งกายบัลเลต์ของผู้ชาย จะสวมถุงน่องยาวแบบหนาสีดำ
และเสื้อยืดที่ใส่ชายไว้ในถุงน่องยาว สวมเข็มขัดเต้นรำ (dance belt) ที่มีลักษณะ
คล้ายสายรัดถุงเท้ายาว (Supporter) ที่มีสีเหมือนถุงน่องยาวทำด้วยผ้าที่หน้า
แข็งแรงเป็นยางยืด มีชุดเสื้อผ้าของตัวละครชายตามเรื่องราวในบทละคร
และใส่รองเท้าบัลเลต์ เช่นเดียวกับนักเต้นบัลเลต์ผู้หญิง

2เครื่องแต่งกายละครเพลงบรอดเวย์ จะเป็นเครื่องแต่งกายตามเรื่องราว
และบุคลิกของตัวละครในเรื่องที่มีความงดงามตระการตา และสอดคล้อง
กับเนื้อเรื่อง ดนตรี เพลง และการเต้นรำ โดยเป็นลักษณะของละครเพลงชวนหัส
ที่ใช้นักแสดงที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เนื้อเรื่องเข้าใจง่ายเป็นเรื่องใกล้ตัว
และสามารถทำให้ผู้ชามีความสนุกสนานเพลิดเพลินบันเทิงใจได้ เช่น
ละครเพลงบรอดเวย์เรื่อง The King and I ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์
ฮอลลิวูดด้วย
โดยละครเพลงเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักของนางแอนนา
และคิงมงกุฎของประเทศไทย จึงทำให้เครื่องแต่งกายมีความหรูหรา
สวยงามตระการตา เช่น ชุดของกษัตริย์ไทยสมัยรัชกาลที่ 4 และข้าราช
บริพารในสมัยนั้น ตลอดจนชุดเสื้อผ้าสตรีของผู้ดีอังกฤษคือ นางแอนนา เป็นต้น

การแสดงนาฏศิลป์จะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีทั้งองค์ประกอบภายใน
และองค์ประกอบภายนอกที่สมบูรณ์สอดคล้องกลมกลืนกันเป็นเอกภาพของ
การแสดง ดังนั้น เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์จึงเป็นองค์ประกอบภายนอกของ

บัลเลต์ เป็นศิลปะการละครอย่างหนึ่ง ซึ่งรวมทั้งการเต้นระบำ ดนตรีและจิตกรรม
ท่าเต้นและอากัปกิริยาเคลื่อนไหวของผู้เต้นเท่านั้นที่บอกให้เราทราบเรื่องราว
และบอกให้ทราบถึงความรู้สึกของคนในเรื่องนั้นได้ ผู้เต้นจะพยายามถอดถ่ายอารมณ์
ตามความหมายของดนตรีที่กำลังบรรเลงอยู่นั้นให้ผู้ดูทราบ โยไม่ต้องเล่นเป็น
เรื่องราวอย่างละคร

นักเต้นบัลเลต์ต้องเรียนรู้ท่าเต้นและเสต็ปต่าง ๆ หลายอย่างหลายชนิด
ผู้เต้น จะสามารถถ่ายทอดความรู้สึก อารมณ์ ศิลปะ ความดี ความน่าสลด
สังเวชใจ ฯลฯ ในชีวิตมนุษย์ออกมา ให้คนดูเห็นตามได้จากการเต้นของตน

บัลเลต์เป็นการกระโดดอย่างห้าวหาญ ท่าเสต็ปต่าง  ๆ ที่ผู้เต้นทำได้ดี
การเคลื่อนไหวแขนขาและร่างกายตลอดจนกิริยาอาการของผู้เต้นเหล่านั้น
กอปรด้วยความงามเป็นอย่างยิ่ง และการเต้นก็จะต้องเข้ากับดนตรีอย่างถูกต้อง
เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ดูเกิดความพอใจและมีความรู้สึกได้มากกว่าการฟังดนตรี
เพียงอย่างเดียว

นักเต้นบัลเลต์

นักเต้นบัลเลต์มีชีวิตที่ต้องแข็งแกร่งทรหดมาก จะต้องมีสุขภาพ
แข็งแรงอยู่เสมอ ต้องฝึกกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไหวท่านั้น ๆ ได้ทุกขณะตามต้องการ
ดังนั้นจึงจะต้องฝึกฝนทุกวัน วันละหลายชั่วโมง การที่จะแสดงให้ได้ดี
นักเต้นบัลเลต์จะต้องเรียนและซ้อมบทของตน การเรียนและการซ้อมบท
นี้กินเวลานาน เพราะในการแสดงบัลเลต์เรื่องหนึ่ง ๆ จะมีท่าเต้นหลายพันท่า
การซ้อมก็ต้องทำหลาย ๆ ครั้งจึงจะเต้นได้ดี ในโลกซีกตะวันตก คนที่อยากจะ
เป็นนักเต้นบัลเลต์ก็จะต้องเรียนและฝึกฝนอยู่หลายปีก่อนที่จะไปขอสมัครร่วม
ในขณะบัลเลต์ คณะบัลเลต์อาจจะมีโรงละครของตนเอง และอาจจะไปแสดง
ตามโรงละครอื่น ๆ ด้วย

บัลเลต์ที่ดีเด่นได้แก่ คณะมาร์ธาแกรม (Martha Braham Company)
และคณะบัลเลต์แรมเบิร์ต (The Ballet Rambert) เป็นต้น

ผู้ออกแบบท่า (Choregrapher)

คำว่า คอริออกระเฟอร์ (Choregrapher คอริออกเกรอะเฟอะ)
หมายถึง คนที่ตัดสินว่านักเต้นบัลเลต์จะต้องทำอย่างไรบ้าง เขาอาจจะเลือก
ดนตรีที่เขารักและรู้จักดีเอามาทำเป็นบทบัลเลต์ เขาอาจจะต้องทำงานร่วม
กับนักแต่งเพลงดนตรี (คีตกร) เพื่อสร้างสรรค์บัลเลต์ขึ้นมา ซึ่งอาจจะใช้
เพลงดนตรีใหม่เพลงใดเพลงหนึ่งประกอบการเล่น

คอริออกระเฟอร์ จะเป็นคนจัดแจงเรื่องการเคลื่อนไหวและอากัป
กิริยาต่าง ๆ ทั้งหมดของผู้เต้นบัลเลต์นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวศีรษะ มือ
หรือเท้า แต่เพียงเล็กน้อย ไปจนถึงแบบกการเต้นบัลเลต์ตลอดหมดทั้งเรื่อง

ผู้ออกแบบท่า ยังต้องทำงานร่วมกับผู้ออกแบบฉากและเครื่อง
แต่งกายด้วย ผู้ออกแบบฉากและเครื่องแต่งกาย คือผู้ที่จะตัดสินว่าใช้เสื้อผ้า
และจะจัดฉากจัดเวทีอย่างไร จากนั้นเขาจึงเริ่มทำงานโดยตรงกับผู้
เต้นบัลเลต์ และสอนวิธีเต้นให้

บัลเลต์แบบโรแมนติคและแบบแคลสสิค

การเต้นบัลเลต์เมื่อเริ่มแรกนั้น เป็นเพียงการเต้นรำในราช
สำนักของอิตาลีและฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อผู้เต้นได้
คิดประดิษฐ์สเต็ป (Step) ต่าง ๆ และคิดประดิษฐ์ท่าเคลื่อนไหวต่าง ๆ
มากขึ้น บัลเลต์จึงได้กลายเป็นศิลปะการบันเทิงเริงรมย์อย่างหนึ่งไป
จะย้ายจากราชสำนักไปแสงดตามโรงละคร เรื่องละครบัลเลต์ที่เป็นที่
นิยมแพร่หลายในปัจจุบันบางเรื่องเป็นแบบโรแมนติก ซึ่งมีมาตั้งแต่
ศตวรรษที่ 19 ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่เร่อง คอพพีเลีย (Coppelia)
และกีแซลล์ (Gisella) เป็นต้น เรื่องกีแซลล์กับชายคนรักของเธอนั้น
เขียนโดยกวีชาวฝรั่งเศสชื่อ เทโอฟีย์ โกติเอย์ (Theophile Gautier)

ในศตวรรษที่ 19 นั่นเอง ในระยะต่อมาก็ได้มีบัลเลต์แคสสสิคเกิดขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรุสเซีย “เรื่อง” มีความสำคัญน้อยลงไป แต่การเต้น
พัฒนาขึ้น จนกระทั่งกลมกลืนเข้ากับดนตรีเป็นอย่างดี บัลเลต์แบบแคลสสิค
ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่เรื่อง สวอนแลค (Swan Lake) และเจ้าหญิงนิทรา
(The Sleeping Beauty) ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ ไชคอฟสกี เป็นผู้ประพันธ์เพลง
ดนตรี เรื่อง เลส์ซีลฟิดส์ (Les Sylphides) เป็นบัลเลต์แบบแคลสสิกที่โช
แปงเป็นผู้ประพันธ์เพลงดนตรี

ละครเพลงบรอดเวย์

(Broadway Musicals, ค.ศ.1860 –  ปัจจุบัน

ละครเพลงบรอดเวย์ (Broadway Musicals) เป็นวัฒนธรรม
ทางดนตรีของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยแท้ เป็นละครเพลงเวที
(Musical Theater) มีเค้าโครงเรื่อง มีบทบาทแสดงและเพลงรวม
ทั้งการเต้นรำในลักษณะต่าง ๆ ที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง จึงมีชื่อเรียกตามชื่อของถนนที่ตั้งโรงละคร คือ ละครเพลงบรอดเวย์

ประวัติละครเพลงบรอดเวย์

ละครเพลงเวทีหรือละครเพลงบรอดเวย์ แบ่งได้เป็น 4 ยุค
ตามลักษณะของละครเพลงที่เปลี่ยนไป เริ่มในปลายศตวรรษที่ 19
เป็นต้นมา ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มมีละครเพลงเวทีเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

ยุคแรก ของละครเพลงเวทีของอเมริกาในตอนปลายของศตวรรษที่ 19
ถึงต้นศตวรรษที่ 20 มีลักษณะเป็นโอเปราชวนหัว หรือ Operette แบบยุโรป
เค้าโครงเรื่องมีลักษณะเหนือจริง เกี่ยวข้องกับเรื่องความรักที่ซาบซึ้ง

ยุคที่สอง จัดไว้ว่าเป็นยุคของละครเพลงเวทีแบบอเมริกันโดยแท้
รูปแบบการประพันธ์เค้าโครงเรื่อง และองค์ประกอบต่าง ๆ ของละคร
เป็นลักษณะของอเมริกัน เป็นเรื่องพื้น ๆ แบบชาวบ้าน ชาวเมือง
เพลงเป็นลักษณะของเพลงป๊อป ไม่ใช่แนวโอเปรา มีการนำการเต้นรำ
เข้ามาประกอบ ซึ่งเป็นลักษณะการเต้นแบบอเมริกันเอง

ยุคที่สาม จัดเป็นยุคที่พัฒนามาจากยุคที่สอง โดยรูปแบบของละคร
เพลงเวทีในยุคนี้เน้นการเสนอเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตจริงมากขึ้น และ
เรื่องจากวรรณคดี โดยการผสมผสานกลมกลืนของเนื้อเรื่อง เพลง
และการเต้นมีมากขึ้น ทำให้ละครเพลงเวทีในยุคนี้มีลักษณะเป็นละคร
(Drama) ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้นกว่าในยุคก่อน

ยุคที่สี่ จัดเป็นยุคของรูปแบบใหม่แห่งวงการละครเพลงเวที เรื่องราว
เกี่ยวกับวีรบุรุษความรัก ความยิ่งใหญ่ตระการตาหมดไป การนำเสนอ
เป็นเรื่องที่สะท้อนชีวิตของสังคมในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องจบ
ลงด้วยความสุขหรือเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ ละครในยุคนี้เช่น Pal Joey
(1952) กล่าวถึงตัวละครที่ไม่ใช่เป็นลักษณะของผู้ที่เก่งกล้า แต่เป็น
เรื่องของชีวิตในสถานเริงรมย์ยามราตรี

อีกรูปแบบหนึ่งคือการใช้เพลงร็อคในการปรันธ์  ซึ่งเริ่มมีขึ้นในราว
ช่วงปี 1950 เป็นต้นมา ในยุคแรก ๆ ได้แก่ Bye,Bye Birdie (1960)
ของอดัมส์และเสตราส์, Hair (1968) ของแรกนี่,ราโดและแมดเดอร์ มอต
ร๊อคสองเรื่องที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระเยซูคือ Godspell ของเทเลลักและ
ฉวาทซ์ และ Jesus Christ Superstar โดย โอ ฮอร์แกน, ไรซ์และเวบเบอร์
และชีวิตวัยรุ่นเช่นเรื่อง Grease ในปี 1972 โดยเจคอบส์และเคซี จนใน
ปัจจุบันเพลงแนวนี้ยังคงมีเสนออยู่เสมอ

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างไปจากที่กล่าวมาแล้ว
เช่นเรื่อง Man Of la Mancha (1965) โดยลีห์และแดเรียน ซึ่งจัดเป็นการ
นำเสนอที่น่าสนใจมากที่สุด โดยเนื้อแท้ของละครเรื่องนี้มีลักษณะเป็นการ
แสดงมากกว่าจะเป็นละครเพลง ฉากหรูหราตระการตารวมไปถึงแสงสีที่
ช่วยปลุกวิญญาณของดอน กิโฮเต้ (Don Quixote) ให้มีชีวิตขึ้นมาได้อย่าง
สมจริง  Fiddle On the Roof (1964) โดยบ็อกและฮาร์นิกซึ่งเป็นเรื่องราวที่
แปลกออกไปกล่าวคือ เป็นเรื่องของชาวยิวในประเทศรัซเซีย ของระยะการ
เปลี่ยนแปลงทางการปกครองละครเรื่องนี้เป็นละครเพลงที่แสดงบนเวทีนาน
ที่สุดเรื่องหนึ่งของบรอดเวย์

โดยแคนเดอร์และเอบบ์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของคนในร้านเหล้ายุคสงคราม
โลกครั้งที่ 2 ในนครเบอร์ลิน ละครประเภทแหวกแนวเหล่านี้ประสบความสำเร็จ
มากเรื่องหนึ่งในช่วงทศวรรษของปี 1970 คือ Evita ซึ่งเป็นเรื่องของ Eva Peron
ภรรยาของจอมเผด็จการชาวอาร์เจนตินา ซึ่งได้รับรางวัลมากมายและเป็นละคร
ที่แสดงนานมากเรื่องหนึ่งเช่นกัน เพลงที่ได้รับความนิยมมาจากละครเรื่องนี้คือ
Don’t Cry For Me Argentina โดย ลอยด์ เวบเบอร์ อีกผู้หนึ่งที่นำเสนอละคร
เพลงเวทีเป็นแบบของตนเอง คือ สตีเวน ซันไทม์ (Stephan Soundheim) ซึ่ง
นำเสนอบทเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะ ลึกซึ้ง เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก
และเรื่องราวของละครมักเกี่ยวกับชีวิตของวัยกลางคน ลักษณะของละครที่ซัน
ไทม์นำเสนอไม่ใช่มีแนวเพลงแบบคลาสสิกหรือป๊อป จัดเป็นอีกลักษณะหนึ่งต่าง
หาก ด้วยความแปลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ยุคแรกที่ละครเพลงเวทีของ
อเมริกันเริ่มมีขึ้นบนถนนบรอดเวย์ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้เอกลักษณ์ละครเพลง
เวทีอเมริกันยืนหยัดอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ และเป็นที่รู้จักทั้งในอเมริกาและทั้งโลกด้วย
เหตุนี้เองผู้สร้างภาพยนตร์จึงนิยมนำละครเพลงบรอดเวย์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์
เช่นเรื่อง Holly Dolly, West Side Story, The Sound Of Music,
The King And I และ My Fair Lady เป็นต้น ภาพยนตร์เหล่านี้
ล้วนเป็นภาพยนตร์อมตะ

ปัจจุบันรูปแบบของการบันเทิงมีการก้าวหน้าตามเทคโนโลยีที่พัฒนา
ไปแต่ด้วยความมีเอกลักษณ์ ความโดดเก่นในการนำเสนอความบันเทิงได้ใน
วงกว้าง จึงทำให้ละครเพลงบรอดเวย์อยู่ได้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะละครเพลงบรอดเวย์

ละครเพลงเหล่านี้มักจะเป็นแนวเบา ๆ เป็นส่วนใหญ่
และมีบางตอนที่ขบขันแทรกอยู่เสมอ จึงรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ
ละครเพลงชวนหัว (Musical Comedy)  ละครเพลงเวทีเหล่านี้มีการจัด
ทำโดยเน้นองค์ประกอบต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นแสง
เสียง ฉาก หรือเพลง ซึ่งมีหลายแนวตั้งแต่แนวคลาสสิก เช่น
เรื่องโอคลาโอมา , เรือเร่ หรือแนวร็อค เป็นต้น

ลักษณะเฉพาะของเพลงละครเวที ที่แตกต่างไปจากโอเปราได้แก่
การแก้ไขปรับปรุงในระยะหนึ่งทั้งทางด้านเนื้อเรื่อง การแสดง เพลงประกอบ
ของการแสดง การแสดงละครประเภทนี้มักจะเน้นหนักทั้งในด้านเนื้อเรื่อง
บทร้องและทำนองเพลงรวมไปถึงการเต้นรำที่ใช้ประกอบเพลง ซึ่งมีจุด
มุ่งหมายที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเพลง “ฮิต” บทร้องจึงมีความสำคัญมาก
ลักษณะของการประพันธ์เพลงจึงเป็นการทำงานเป็นคณะระหว่างผู้
ประพันธ์ทำนอง และเนื้อเรื่อง ซึ่งต่างไปจากโอเปราที่เน้นเฉพาะผู้
ประพันธ์เพลง นอกจากนี้ผู้มีความสำคัญมากอีกพวกหนึ่งคือ ผู้คิดท่า
เต้นประกอบเพลง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนช่วยให้ละครประสบความสำเร็จเป็น
ที่นิยมของผู้ชมด้วย

ผู้แสดง จัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจาก
ผู้แสดงโอเปร่า คือ ผู้แสดงละครเพลงเวทีต้องได้รับการฝึกฝนในเรื่อง
การร้องเพลง แต่การร้องมิใช่เป็นเพียงองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของ
ผู้แสดง การแสดงจัดเป็นเรื่องสำคัญและเน้นมากเช่นกันนอกจากนั้น
รูปร่าง ความสวย หรือ ความหล่อของผู้แสดงจัดเป็นสิ่งสำคัญ และเน้น
มากเช่นกัน นอกจากนั้นรูปร่าง ความสวย หรือความหล่อของผู้แสดงจัด
เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งโอเปราอาจจะใช้ผู้แสดงที่ดูไม่สมกับบทบาท แต่มีเสียง
ร้องที่ดีได้ แต่ละครเพลงเวทีต้องการนางเอก หรือ พระเอกที่เหมาะสมกับ
บทบาทอย่างแท้จริง และผู้แสดงละครเวทีเหล่านี้จักจะกลายเป็นดาราที่มี
ชื่อเสียงในวงการอื่น ๆ ด้วย หลังจากแสดงละครเวที เช่น เป็นดาราภาพยนตร์
ดาราโทรทัศน์ ดาราแสดงตามสถานเริงรมณ์ และมีหลายคนที่สามารถทั้งร้อง
เต้น และแสดงได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่ต่างจากโอเปราในประการถัดมา คือ เค้าโครงเรื่อง ตลอดจนองค์
ประกอบต่าง ๆ ของละครเพลงเวทีได้รับการจัดทำขึ้นโดยดูตลอด หรือผู้ชม
เป็นแนวทางการผลิตละครแต่ละเรื่อง จึงแตกต่างกันไปตามแนวความ
นิยมของสังคมในแต่ละยุด

เค้าโครงเรื่องของละครเพลงเวทีมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ
ซึ่งมักจะมีเค้าโครงในลักษณะของเหตุการณ์ที่น่าจดจำ หรือเหตุการณ์
ที่เป็นประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เค้าโครงเรื่องประเภทต่อมา
คือ เรื่องแนวเทพนิยายในลักษณะของซินเดอเรลลา เค้าโครงเรื่อง
อีกประเภทหนึ่งคือเรื่องราวสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่แท้จริงของสังคม

สุนทรียของละครเพลงบรอดเวย์

ละครเพลงบรอดเวย์นี้ ผู้สร้างสรรค์ต้องการเน้นเพื่อสร้างความ
บันเทิงให้กับผู้ชม พยายามทำให้การแสดงเป็นที่เข้าใจง่าย ผู้ชมสามารถ
รับรู้เรื่องราวที่ใกล้ตัว ทำให้รู้สึกสนุกเป็นที่ชื่นชอบ เมื่อผู้สร้างสรรค์พัฒนา
รูปแบบ เนื้อหาสาระของละครมากขึ้นองค์ประกอบของละครต่าง ๆ เริ่มมี
การบรรจงสร้างสรรค์เพื่อเน้นความงดงามของศิลปะด้วยโดยมิได้ละทิ้ง
ความง่าย และเน้นความบันเทิงอยู่เช่นเคย สุนทรีย์ของละครเพลงบรอด
เวย์ จึงอยู่ที่ความพอดีของการนำเสนอคุณค่าของศิลปะและความง่ายใน
เนื้อหาสาระ ผู้ชมละครเพลงบรอดเวย์จึงชื่นชอบ และติดตามชมเสมอ

จุดเด่นเบื้องแรกของละครเพลงบรอดเวย์ ได้แก่ฉาก เครื่องแต่งกาย
อันตระการตาผนวกกับพื้นฐานสำคัญในเรื่องการสร้างสรรค์เพลง และดนตรี
ร่วมทั้งการเต้นที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง ประกอบกับแสง
สี เสียง และเทคนิคของการจัดฉาก การเปลี่ยนฉาก และความนึกไม่ถึงของ
องค์ประกอบ ในเรื่องเหล่านี้ทำให้เป็นที่ประทับใจผู้ชมในความแปลกใหม่อยู่
เสมอ ประการสุดท้ายได้แก่เนื้อเรื่องของละคร ซึ่งมักจะเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้ชม
ทำให้ผู้ชมสามารถติดตามเรื่องราวได้ตลอดเวลา

ความทันสมัยของเรื่องราว และองค์ประกอบของละครที่มีการพัฒนา
โดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุม ทำให้ละครดูสมจริงสมจังมากขึ้น
จุดเด่นที่ทำให้ผู้ชมชื่นชอบละครประเภทนี้ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ
ผู้แสดงมีความสามารถสูง ทั้งในด้านการร้องเพลง การเต้นรำและการแสดง
สุนทรีย์ของละครเพลงบรอดเวย์ จึงอยู่ที่ความงดงามของตัวละครใน
ขณะแสดงเอง

Share this:

Like this:

Like

Loading…

[Update] | การแสดงบัลเล่ต์ – Australia.xemloibaihat

มีเพลงคลาสสิกมากกว่าแค่ซิมโฟนี่โอเปร่า oratorios คอนแชร์โต้และแชมเบอร์มิวสิค ชิ้นส่วนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในดนตรีคลาสสิกมีต้นกำเนิดในรูปแบบของการแสดงบัลเล่ต์ บัลเล่ต์เริ่มขึ้นที่อิตาลีในช่วงยุคเรเนสซองและได้รับการพัฒนาอย่างช้าๆในรูปแบบทางเทคนิคที่เป็นรูปแบบของการเต้นรำซึ่งเป็นที่ต้องการและต้องการนักเต้นที่มีความสามารถและนักเต้นกระโปรง บริษัท บัลเลต์คนแรกที่สร้างขึ้นคือปารีสโอเปร่าบัลเล่ต์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อคิงหลุยส์ที่สิบสี่ได้รับแต่งตั้ง Jean-Baptiste Lully ให้เป็นผู้อำนวยการAcadémie Royale de Musique (Royal Academy of Music) องค์ประกอบของ Lully สำหรับนักเต้นบัลเล่ต์ถือว่านักดนตรีศาสตร์หลายคนเป็นจุดเปลี่ยนในการพัฒนาบัลเล่ต์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาความนิยมของบัลเล่ต์ลดลงและไหลจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งทำให้ผู้แต่งเพลงในหลายเชื้อชาติมีโอกาสแต่งผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของพวกเขา ด้านล่างนี้คุณจะได้พบกับนักเต้นบัลเล่ต์ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากที่สุด 7 ในโลก สิ่งที่ทำให้เหล่านักเต้นบัลเล่ต์เป็นพิเศษ? เรื่องราวดนตรีและการเต้นอันยอดเยี่ยมของพวกเขา

01 จาก 07

นัทแคร็กเกอร์

รูปภาพ Nisian Hughes / Stone / Getty

คลาสสิกที่ไม่มีวันตกยุคนี้ประกอบด้วยบัลเลต์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคสมัยใหม่ในปีพ. ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยไชคอฟสกี จนถึงเมื่อปีพ. ศ. 2487 เมื่อการผลิต Nutcracker ครั้งแรกในอเมริกาดำเนินการโดยซานฟรานซิสโกบัลเล่ต์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประเพณีนี้ก็กลายเป็นประเพณีที่ต้องปฏิบัติในช่วงเทศกาลวันหยุดตามที่ควร บัลเล่ต์ที่ยิ่งใหญ่นี้ไม่เพียง แต่มีเพลงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเท่านั้น แต่เรื่องนี้ทำให้เด็ก ๆ และผู้ใหญ่เหมือนกัน

02 จาก 07

Swan Lake

การแสดงบัลเล่ต์ของ Tchaikovsky, Swan Lake มีแนวโน้มที่จะขึ้นอยู่กับรุ่นที่ฟื้นขึ้นมาและปรับปรุงโดยนักออกแบบท่าเต้นชื่อดัง Marius Petipa และ Lev Ivanov ภาพ Ken Scicluna / Getty

Swan Lake เป็นบัลเล่ต์คลาสสิกที่ท้าทายทางเทคนิคและอารมณ์มากที่สุด เพลงมันไกลเกินกว่าเวลาสังเกตเห็นว่านักแสดงหลายคนอ้างว่ามันยากเกินไปและซับซ้อนในการเต้นรำไป แต่การผลิตที่แก้ไขโดยนักออกแบบท่าเต้นชื่อดัง Petipa และ Ivanov เป็นฐานของหลาย ๆ รุ่นที่เราเห็นในวันนี้ Swan Lake จะจัดขึ้นเป็นมาตรฐานของบัลเล่ต์คลาสสิกและจะดำเนินการตลอดหลายศตวรรษที่จะมาถึง มากกว่า “

03 จาก 07

คืนฝันกลางฤดูร้อน

Hermia และไลซันเดอร์ ความฝันคืนฤดูร้อนของปี 1870 ซึ่งวาดโดย John Simmons (1823-1876) รูปภาพศิลปะ / มรดกรูปภาพ / Getty Images

ฝันคืนฤดูร้อนของกลางคืน ได้รับการปรับให้เข้ากับรูปแบบต่างๆของศิลปะ อย่างไรก็ตามในปีพ. ศ. 2505 จอร์จ Balachine ได้เปิดตัวบัลเล่ต์แบบเต็มรูปแบบ (ตลอดช่วงเย็น) เป็นครั้งแรก ความฝันยามค่ำคืนของฤดูร้อน ซึ่งเป็นคลาสสิกของเช็คสเปียร์เป็นฐานของบัลเลต์ Balachine เขารวบรวมเพลงของ Mendelssohn ผู้แต่งการทาบทาม ฝันคืนฤดูร้อนกลางคืน และเพลงบังเอิญตามมาในปี 1843 ฝันคืนฤดูร้อนของกลางฤดูร้อนเป็น บัลเล่ต์ที่เป็นที่นิยมและสนุกสนานที่เกือบจะทุกคนจะรัก

04 จาก 07

Coppélia

นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส, Clement Leo Delibes (1836-1891) เขาเขียนน้ำเสียงโอเปราซึ่ง ‘Lakme’ มีความสำเร็จมากที่สุด แต่ก็จำได้ว่าเป็นส่วนใหญ่สำหรับบัลเลต์ ‘Coppelia’ (1870) ซึ่งยังคงเป็นที่ชื่นชอบที่สำคัญ งานศิลปะต้นฉบับโดย Henri Meyer หลังจาก Eaulle ภาพ Hulton Archive / Getty

Coppélia ประกอบด้วย Delibes และออกแบบท่าเต้นโดย Arthur Saint-Léon เรื่องนี้เขียนโดย Arthur Saint-Léonและ Charles Nuitter หลังจากที่ Der Sandmann ของ ETA Hoffman Coppélia เป็นเรื่องราวที่เฟื่องฟูที่แสดงถึงความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ระหว่างความเพ้อฝันและความสมจริงศิลปะและชีวิตเนื้อเรื่องดนตรีสดใสและการเต้นรำที่มีชีวิตชีวา รอบปฐมทัศน์โลกกับ Paris Opera ประสบความสำเร็จในปี 1871 และยังคงประสบความสำเร็จในวันนี้ มันยังคงอยู่ในละครละคร

05 จาก 07

ปีเตอร์แพน

ภาพประกอบของ Peter Pan และ Wendy Flying Over Town Michael Nicholson / Corbis ผ่าน Getty Images

ปีเตอร์แพน เป็นแบบบัลเลต์ที่น่าอัศจรรย์สำหรับทั้งครอบครัว การเต้นรำฉากและเครื่องแต่งกายก็มีสีสันเหมือนกับเรื่องราวของตัวเอง ปีเตอร์แพน เป็นนักบัลเล่ต์แห่งวงการบัลเล่ต์ที่ค่อนข้างใหม่และเนื่องจากไม่มีทาง “วางหิน” ในการแสดงผลงานชิ้นนี้จึงสามารถตีความได้แตกต่างกันโดยผู้ผลิตนักออกแบบท่าเต้นและผู้อำนวยการเพลงแต่ละคน แม้ว่าการผลิตแต่ละครั้งอาจแตกต่างกัน แต่เรื่องราวก็ยังคงสอดคล้องกันอยู่เกือบ – และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงเป็นแบบคลาสสิก

06 จาก 07

ความงามของ Sleeping

นักเต้นดำเนินการในช่วงสก๊อตบัลเลต์การฝึกซ้อมสำหรับ The Sleeping Beauty ที่ Theatre Royal เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2008 ในโกล์วสกอตแลนด์ ภาพโดย Jeff J Mitchell / Getty Images

The Sleeping Beauty เป็นบัลเลต์ที่โด่งดังของ Tchaikovsky เพลงของเขามีความสำคัญพอ ๆ กับการเต้น เรื่องราวของ The Sleeping Beauty เป็นการจับคู่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเฉลิมฉลองบัลเลต์ – ราชวงศ์ในปราสาทอันงดงามการต่อสู้แห่งความดีและความชั่วร้ายและชัยชนะอันเป็นชัยชนะแห่งความรักนิรันดร์ สิ่งเพิ่มเติมที่คุณสามารถขอ? การออกแบบท่าเต้นถูกสร้างขึ้นโดย Marius Pepita ที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ออกแบบท่าเต้น The Nutcracker and Swan Lake บัลเลต์คลาสสิกนี้จะใช้ได้ตราบเท่าที่โลกหมุนไป

07 จาก 07

ลูกเมียน้อย

Maia Makhateli และ Artur Shesterikov แสดงฉากจาก Cinderella ระหว่างการซ้อมใหญ่สำหรับการจัดงานบัลเล่ต์ไอคอนบัลเลต์รัสเซียที่สนามกีฬาลอนดอนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2015 ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ภาพโดย Tristan Fewings / Getty Images

มีหลายรุ่นของ Cinderella แต่ที่พบมากที่สุดคือผู้ที่ใช้คะแนนของ Sergei Prokofiev Prokofiev เริ่มทำงาน Cinderella ในปี 1940 แต่หยุดชั่วคราวระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาจบคะแนนในปี 2488 ในปี 2491 นักออกแบบท่าเต้นเฟรดเดอริกแอชตันได้สร้างผลงานการผลิตเพลงเต็มรูปแบบโดยใช้เพลงของ Prokofiev ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ซินเดอเรลล่า ไม่ได้เป็นแค่หนังมันเป็นบัลเล่ต์ด้วยและสมควรได้รับความสนใจเท่ากัน มากกว่า “


ชมสุดยอดการแสดงบัลเล่ต์ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง La Fille Du Pharaon


ชมสุดยอดการแสดงบัลเล่ต์ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง La Fille Du Pharaon จากเหล่านักแสดงของโรงเรียนวราพรกาญจนา @บัลเล่ต์หลังสวน.
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557
ณ หอประชุมโรงเรียนมาแตร์วิทยาลัย ….!!!!

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ชมสุดยอดการแสดงบัลเล่ต์ฉบับสมบูรณ์  เรื่อง La Fille Du Pharaon

널 당장 먹고싶어 Ke$ha-Cannibal(한국어 가사)


신청곡 번역은 처음이네요 ㅎㅎ
구독자 130명 감사합니다!!
오역, 의역 지적 환영합니다!! 신청곡도 받아요!!
댓글과 좋아요는 큰 힘이 됩니다 🙂
No copyrights intended. All the song parts belong to the original singer(s) and the music producer(s) and company.
팝송 번역 Ke$ha Cannibal

널 당장 먹고싶어 Ke$ha-Cannibal(한국어 가사)

Bangkok Dance Academy (รอบFinal) | THAILAND’S GOT TALENT 2018


ติดตาม Thailand’s got Talent 2018
ได้ที่ช่อง Workpoint กดหมายเลข 23
ทุกวันจันทร์ เวลา 20.05 น.
และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของรายการได้ที่
เว็บไซต์: www.workpointtv.com
เฟสบุ๊ค: www.facebook.com/thailandsgottalent/

Bangkok Dance Academy (รอบFinal) | THAILAND'S GOT TALENT 2018

การแสดง บัลเล่ต์ เวทีประกวดมิสถิ่นไทยงาม2563


การแสดง บัลเล่ต์ เวที ประกวดมิสถิ่นไทยงาม2563 สุดอลังการ กับทีม ครูกิ๊บ MakeMeUp สืบสานต่อยอดวัฒนธรรมอันล้ำค่า สมคุณค่าความเป็นไทยได้อย่างมั่นใจ บนเวทีที่ทันสมัยที่สุดในโลก

การแสดง บัลเล่ต์ เวทีประกวดมิสถิ่นไทยงาม2563

เรียนเต้น – การเต้นบัลเล่ต์อย่างมืออาชีพ


เรียนเต้นบัลเล่ต์
บัลเล่ต์ เป็นการเต้นคลาสสิคและเกิดขึ้นในเหล่าสังคมคนชั้นสูงในประเทศอิตาลีประมาณศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นได้รับการปรับปรุงให้เป็นการแสดงบนเวทีในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย บัลเล่ต์เป็นการเต้นที่มีเคล็ดลับชั้นสูงและมีคำศัพท์โดยเฉพาะ ปกติจะแสดงร่วมกับดนตรีคลาสสิค

เรียนเต้น - การเต้นบัลเล่ต์อย่างมืออาชีพ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การแสดงบัลเล่ต์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *