[NEW] | เยื่อไมอีลิน – Australia.xemloibaihat

เยื่อไมอีลิน: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ภาพที่ 1 แหล่งอาหารที่สร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย
ที่มา: https://pixabay.com/photos/bread-health-carbohydrates-cake-587597, wuzefe

           มากกว่าครึ่งของสารอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอนทั้งหมดบนโลกจะสะสมอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรต 2 ตัว คือ แป้ง (Starch) และเซลลูโลส (Cellulose) สารทั้ง 2 ชนิดนี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลกลูโคส แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างแป้งและเซลลูโลสคือ การจับกันของพันธะที่มีความแตกต่างกัน โดยกลูโคสจะถูกสร้างจากพืชสีเขียวและสะสมไว้ในรูปของแป้ง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ ส่วนเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ในพืชหรือเส้นใยพืช และมนุษย์ไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ เพราะไม่มีเอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase) ซึ่งเอนไซม์เซลลูเลสจะพบในโพรโทซัวที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวก (Trichonympha) ที่สามารถย่อยเนื้อไม้ได้

 

ภาพที่ 2 น้ำตาลทราย
ที่มา: https://pixabay.com/photos/sugar-cup-pile-of-sugar-sweet-1514247, 955169

           โครงสร้างบางอย่างก็มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบ เช่น ผนังของแบคทีเรียที่เรียกว่าเพปทิโดไกลแคน peptidoglycan ที่เชื่อมกันด้วยสายพอลิเพปไทด์ น้ำตาลบางชนิดจับกับกรดอะมิโนกลายเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่จำเพาะ เรียกว่า ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) โดยไกลโคโปรตีนนี้เองใช้จำแนกชนิดของหมู่เลือดได้

          คำว่า คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate = carbon + hydrate (water)) มีสูตรทั่วไปเป็น Cn(H2O)n เป็นอาหารหลักที่ให้พลังงานกับสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิจน พบได้ทั่วไป เช่น น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน เป็นต้น

           ประเภทของคาร์โบไฮเดรต แบ่งตามขนาดของโมเลกุล ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

          1. มอโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว

           เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด มีรสหวาน ละลายน้ำได้ และน้ำตาลที่พบมากในธรรมชาติจะมีอะตอมของธาตุคาร์บอน 5 และ 6 อะตอม*

           1.1 แบ่งตามหมู่ฟังก์ชัน (Function group)

               โดยทั่วไปน้ำตาลจะมีหมู่ไฮดรอกซี (–OH group) เป็นองค์ประกอบจำนวนมาก และมีหมู่ฟังก์ชันที่แสดงคุณสมบัติเฉพาะ แบ่งได้เป็น 2 หมู่ฟังก์ชั่นคือ หมู่อัลดีไฮด์ (R-COH group) และหมู่คีโตน (R-CO-R’) จึงเรียกน้ำตาลที่มีหมู่ฟังก์ชันอัลดีไฮด์ว่า น้ำตาลอัลโดส (aldose) และเรียกน้ำตาลที่มีหมู่ฟังก์ชันคีโตนว่า น้ำตาลคีโตส (ketose)

                    ตัวอย่างของน้ำตาลอัลโดส เช่น น้ำตาลกลีเซอรอลดีไฮด์ (C3) น้ำตาลไรโบส (C5) น้ำตาลกลูโคส (C6)

                    ตัวอย่างของน้ำตาลคีโตส เช่น น้ำตาลไดไฮดรอกซีอะซีโตน (C3) น้ำตาลไรบูโลส (C5) น้ำตาลฟรักโทส (C6)

           1.2 แบ่งตามจำนวนอะตอมของธาตุคาร์บอน (Carbon atom)

               โมเลกุลของน้ำตาลจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอนตั้งแต่ 3-7 อะตอม

                    คาร์บอน 3 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลไตรโอส (triose) เช่น

                        – น้ำตาลกลีเซอรอลดีไฮด์ (glyceraldehyde) จะพบในกระบวนการสลายกลูโคสเพื่อให้ได้พลังงาน

                    คาร์บอน 4 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเทโทรส (tetrose) เช่น

                        – น้ำตาลอิริโทรส (erythrose) เป็นน้ำตาลที่พบในวัฏจักรคัลวินของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

                    * คาร์บอน 5 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเพนโทส (pentose) เช่น

                        – น้ำตาลอะราบิโนส (arabinose) มักพบในพืช เมื่อเกิดเป็นพอลิแซ็กคาไรด์จะให้เพคทิน บางครั้งอาจเรียกว่า น้ำตาลเพคทิน (pectin sugar) จะเกิดในรูปของเจล มักเอาไปทำเป็นเยลลี่

                        – น้ำตาลไซโลส (xylose) มักพบในพืช สามารถสกัดได้จากเยื่อไม้ (wood) บางครั้งจะเรียกว่า น้ำตาลเยื่อไม้ 

                        – น้ำตาลไรโบส (ribose) และน้ำตาลดิออกซีไรโบส (deoxyribose) ทั้ง 2 ชนิด จะพบเป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรม (จะกล่าวในบทเรียนต่อไป เรื่อง “กรดนิวคลีอิก”)

                    * คาร์บอน 6 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเฮกโซส (hexose) เช่น

                        – น้ำตาลกลูโคส (glucose) มีบทบาทสำคัญทางโภชนาการของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์ด้วย จะพบมากในพืชสัตว์ บางครั้งอาจเรียกได้หลายชื่อขึ้นอยู่กับแหล่งที่พบ เช่น น้ำตาลองุ่น น้ำตาลข้าวโพด หรือน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้อาจเรียก น้ำตาลกลูโคส ว่า น้ำตาลเด็กซ์โทรส (dextrose)

                        – น้ำตาลกาแล็กโทส (galactose) และน้ำตาลแมนโนส (mannose) โดยธรรมชาติพบในรูปของพอลิแซ็กคาไรด์ โดยพอลิเมอร์ของน้ำตาลแมนโนส จะเรียกว่า แมนแนน (mannan) ซึ่งพบในพืช

                        – น้ำตาลฟรักโทส (fructose) เป็นน้ำตาลที่หวานที่สุด พบมาในผลไม้และน้ำผึ้ง และยังเป็นน้ำตาลเพียงชนิดเดียวที่พบในน้ำอสุจิของคน

                    คาร์บอน 7 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเฮปโทส (heptose) เช่น

                        – น้ำตาลซีโดเฮปทูโลส (sedoheptulose) เป็นน้ำตาลที่พบในวัฏจักรคัลวินของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

                    น้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ฟรักโทส และกาแล็กโทส

           แต่บางครั้งอาจจะเรียกชื่อน้ำตาลผสมกันระหว่างหมู่ฟังก์ชันและจำนวนอะตอมของธาตุคาร์บอน เช่น อัลโดไตรโอส (aldotriose) คือ น้ำตาลที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็นอัลดีไฮด์และมีจำนวนอะตอมของธาตุคาร์บอน 3 อะตอม คีโตไตรโอส (ketotriose) คือ น้ำตาลที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็นคีโตนและมีจำนวนอะตอมของธาตุคาร์บอน 3 อะตอม

              ภาพที่ 3 แสดงโครงสร้างของน้ำตาลอัลโดส ที่มีอะตอมของธาตุคาร์บอน 3-6 อะตอม (A) 
โครงสร้างของน้ำตาลคีโตส ที่มีอะตอมของธาตุคาร์บอน 3-6 อะตอม (B) ที่มา: Garrett & Grisham. (2005).

           1.3 สารที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับมอนอแซ็กคาไรด์

               กรดแอสคอบิก (ascorbic acid) หรือวิตามินซี มีโครงสร้างคร้างคล้ายกับนอนแซ็กคาไรด์ เพราะถูกสังเคราะห์ขึ้นมาจากน้ำตาลกลูโคสนั่นเอง

 

ภาพที่ 4 กระบวนการสังเคราะห์วิตามินซี

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Chemistry_of_ascorbic_acid

               วิตามินซีช่วยในการสร้างคอลลาเจน และยังเป็นส่วนประกอบในเซลล์ของกระดูก ฟัน กระดูกอ่อน และเนื้อเยื่อที่เชื่อมส่วนต่าง ๆ (connective tissue) ถ้าขาดวิตามินซีอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลอดเลือดเปราะและเกิดอาการเลือดออกตามไรฟัน (โรคลักปิดลักเปิด หรือโรครำมะนาด) ฟันโยก และบาดแผลหายช้า

               น้ำตาลอะมิโน (amino sugar) เกิดจากการแทนที่หมู่ –OH ของมอนอแซ็กคาไรด์ด้วยหมู่ –NH2 ที่พบมากในธรรมชาติมีเพียง 4 ชนิด ได้แก่ กลูโคซามีน (glucosamine) แมนโนซามีน (mannosamine) กาแลกโทซามีน (galactosamine) และอะเซทิลกลูโคซามีน (N-acetylglucosamine: NAG) ซึ่ง N-acetylglucosamine จะเป็น monomer ของไคทิน (chitin) ซึ่งพบในเปลือกนอกของกุ้งและปู และอีกชนิดคือ กรดอะเซทิลมิวรามิก (N-acetylmuramic acid: NAM) จะพบเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์แบคทีเรีย (peptidoglycan) และพบในรูปของโอลิโกแซ็กคาไรด์และพอลีแซ็กคาไรด์มากกว่าพบเดี่ยว ๆ

ภาพที่ 5 โครงสร้างของน้ำตาลอะมิโน
ที่มา: Garrett & Grisham (2005) & Campbell & Farrell (2006)

การทดสอบเบเนดิก (Benedict’s test)

           ในน้ำยาประกอบด้วย ทองแดงซัลเฟต (CuSO4) โซเดียมซิเตรตและโซเดียมคารบอเนตละลายรวมกันอยู ความเปนดางของน้ำยาเกิดจากการแตกตัวในน้ำของโซเดียมคารบอเนต (Na3CO3) คิวพริกไอออนจะเกิดสารประกอบเชิงซอนกับซิเตรตไอออน น้ำตาลที่ใหตะกอนคิวพรัสออกไซด (Cu2O) ถือวาใหผลบวกกับการทดสอบ ตะกอนอาจมีสีเขียว เหลือง สม หรือแดงอิฐ ขึ้นอยูกับปริมาณน้ําตาลที่มีอยูมากขึ้นตามลําดับ
           Benedict’s test เป็นวิธีทดสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) และน้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) ที่เป็นน้ำตาลรีดิวซิงทุกชนิด ยกเว้น น้ำตาลซูโครส (sucrose) โดยเมื่อต้มน้ำตาลรีดิวซิงกับสารละลาย Benedict ในภาวะที่เป็นด่าง น้ำตาลจะใช้หมู่แอลดีไฮด์ในการรีดิวซ์ เกิดเป็นตะกอนสีแดงอิฐของคิวพรัสออกไซด์ (Cu2O) แต่หากได้รับความร้อนไม่มากพอ ตะกอนที่ได้อาจเป็นสีเหลือง สีเขียว หรือสีแดง

ภาพที่ 6 แสดงสีที่เกิดจากการทดสอบน้ำตาลกับสารละลายเบเนดิกส์
                   เปลี่ยนแปลงตามริมาณความเข้มข้นของน้ำตาลที่ใช้ในการทดทอบ

ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/81/Benedict%27s_test_for_Sugars.png

  1. โอลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharide)

           ใช้เรียกชื่อกลุ่มของน้ำตาลที่ประกอบไปด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ตั้งแต่ 2 โมเลกุลขึ้นไป แต่ไม่เกิน 10 โมเลกุล แต่ที่พบมากในธรรมชาติจะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ ไดแซ็กคาไรด์ และไตรแซ็กคาไรด์

           2.1 ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจำนวน 2 โมเลกุล จับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก (glycosidic bond) ได้แก่ มอลโทส (maltose) แล็กโทส  (lactose) ซูโครส (sucrose) และเซลโลไบโอส (cellobiose)

               มอลโทส หรือน้ำตาลมอลต์ (malt sugar) เป็นไดแซ็กคาไรด์ที่ได้มาจากการการไฮโดรไลซิสของแป้ง ซึ่งพบในข้าวบาร์เลย์ที่กำลังงอก ซึ่งเกิดจากกลูโคส 2 โมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด a-1,4 มอลโทสจะถูกย่อยด้วยใช้เอนไซม์มอลเทส (maltase)

               แล็กโทส หรือน่ำตาลนม (milk sugar) จะพบในน้ำนมนัวประมาณ 5% และพบในน้ำนมคนประมาณ 7% แล็กโทสบริสทุธิ์ได้มาจากหัวน้ำนมที่เกิดจากกระบวนการผลิดเนยแข็ง ซึ่งแล็กโทสเกิดจากการจับกันของกาแล็กโทสกับกลูโคส ด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด b-1,4 และถูกสลายด้วยเอนไซม์แล็กเทส (lactase) พบว่าทารกแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาจะขาดเอนไซน์ชนิดนี้มาก มีผลทำให้แล็กโทสไม่ถูกย่อยเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารแดละมีอาการท้องร่วง

               ซูโครส หรือน้ำตาลทราย หรือน้ำตาลอ้อย (cane sugar) จะพบในพืชหลายชนิด เช่น อ้อย หัวบีท (beet sugar) และต้นเมเปิล เป็นต้น ซูโครสประกอบด้วยกลูโคสกับฟรักโทส จับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด a-1,2 ถ้าทำการสลายด้วยกรดหรือเอนไซม์ซูเครส (sucrase) จะทำให้ได้ “invert sugar” ในธรรมชาติพบมากในน้ำผึ้ง จะถูกนำมาใช้ทำช็อกโกแลตเหลวเพื่อเคลือบผลไม้ เช่น เชอรี่

                    ในทางโภชนาการ ซูโครสจะให้แคลอรี่สูง สำรับผู้ที่มีน้ำหนักมากพลายายมเลี่ยงไปใช้สารให้ความหวานสังเคราะห์ เช่น แซ็คคาริน (saccharin) ซึ่งให้ความหวานกว่าน้ำตาล 500 เท่า แต่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้

               เซลโลไบโอส ได้จากการสลายเซลลูโลสโดยใช้กรดที่เจือจาง ซึ่งประกอบด้วย กลูโคส 2 โมเลกุลจับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด b-1,4 เซลโลไบโอสจะไม่ถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์มอลเทส

ภาพที่ 7 โครงสร้างของไดแซ็กคาไรด์และพันธะไกลโคซิตกชนิดต่าง ๆ ที่จับ
ที่มา: https://www.periodni.com/gallery/disaccharide.png

           2.2 ไตรแซ็กคาไรด์ (trisaccharide) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจำนวน 3 โมเลกุล ที่พบในธรรมชาติ เช่น น้ำตาลราฟฟิโนส

               ราฟฟิโนส (raffinose) หรืออาจเรียกว่า melitose เป็นคาร์โบไฮเดรต ประเภท oligosaccharide ที่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 3 โมเลกุล (trisaccharide) คือ น้ำตาลกาแล็กโทส (galactose) ต่อกับน้ำตาลซูโครส (sucrose) ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ

ไกลโคไซด์ ชนิด a-1,6

 

ภาพที่ 8 โครงสร้างของราฟฟิโนส

ที่มา: https://www.scientificpsychic.com/fitness/raffinose.gif

                    Raffinose ไม่สามารถถูกย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ แต่จะถูกย่อยโดยแบคทีเรียซึ่งสร้างแก๊สอยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการหมักได้แก๊สออกมา หากบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดอาการท้องอืด (flatulence) และต้องผายลม จึงจัดเป็นสารต้านฤทธิ์สารอาหารชนิดหนึ่ง น้ำตาล raffinose พบมากในถั่วเมล็ดแห้ง (legume) เช่น ถั่วลิสง beans, peas, tree nut และในผักประเภท cruciferous ได้แก่ กะหล่ำปลี, brussels sprout และบรอกโคลี (broccoli)

               สแตคีโอส (stachyose) เป็นคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ประเภทโอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) ประกอบด้วย galactose 2 โมเลกุล glucose 1 โมเลกุล และ fructose 1 โมเลกุล ตามลำดับ พบมากในถั่วเมล็ดแห้ง (legume) เช่น ถั่วลิสง และถั่วเหลือง stachyose ไม่สามารถถูกย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ แต่จะถูกย่อยได้โดยแบคทีเรีย ซึ่งจะสร้างแก๊สสะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่ การบริโภคอาหารที่มี stachyose ทำให้เกิดแก๊สมาก และเกิดการผายลมบ่อย

  1. พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide)

           พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เกิดจากมอโนแซ็กคาไรด์ที่มากกว่า 10 โมเลกุลขึ้นไปต่อกันเป็นสายยาว มีการเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด 1,4 และ 1,6 ซึ่งพอลิแซ็กคาไรด์จะแตกต่างกันที่ชนิด จำนวน และรูปแบบการเชื่อมต่อของมอโนแซ็กคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบ บางชนิดเป็นสายตรง (linear) เช่น อะไมโลส เซลลูโลส บางชนิดมีการแต่งกิ่งก้านออกไป (branching) เช่น อะไมโลเพกทิน ไกลโคเจน พอลิแซ็กคาไรด์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

           3.1 ฮอโมพอลิแซ็กคาไรด์ (homopolysaccharide) คือ พอลิแซ็กคาไรด์ที่โมเลกุลประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ชนิดเดียวกันทั้งหมด เช่น แป้ง (starch) ไกลโคเจน (glycogen) และเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งในโมเลกุลประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสเท่านั้น และอินูลิน (inulin) คือ พอลิแซ็กคาไรด์ที่โมเลกุลประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโทสเท่านั้น

               แป้ง (Starch) จะประกอบไปด้วยกลูโคสเพียงชนิดเดียว พืชจะสะสมแป้งที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จะได้สาร 2 ชนิด คือ อะไมโลส และ อะไมโลเพกทิน

                    – อะไมโลส เป็นพอลิเมอร์สายตรงของน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซดิก ชนิด a-1,4 ประมาณ 200-2,000 หน่วย

                    – อะไมโลเพกทิน เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสที่จัดเรียงตัวเป็นสายตรงและสายแขนง ด้วยพันธะไกลโคซิดิก 2 ชนิด คือ ส่วนที่เป็นพันธะสายตรง เป็นชนิด a-1,4 เหมือนกับอะไมโลส และส่วนที่เป็นสายแขนงจะเชื่อมต่อด้วยพันธะ ชนิด a-1,6

 

ภาพที่ 9 แสดงโครงสร้างของอะไมโลส (A) และอะไมโลเพกทิน (B)
ที่มา: https://www.scientificpsychic.com/fitness/carbohydrates1.html

                    แป้งจะทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน ถ้ามีส่วนผสมของแป้งสารละลายไอโอดีนที่หยดลงไปจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือดำ ถ้าไม่มีแป้งจะไม่เปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีนนั่นเอง

               ไกลโคเจน (glycogen) เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส ประมาณ 10,000-30,000 โมเลกุล เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด (α-1,4) และแอลฟา (α-1,6) มีโครงสร้างเป็นกิ่งก้านคล้ายอะไมโลเพกทิน (amylopectin) ในแป้ง (starch) แต่ขนาดโมเลกุลใหญ่กว่ามาก และมีการแตกกิ่งมากกว่าจึงอาจเรียกว่า สตาร์ชสัตว์ (animal starch)

ภาพที่ 10 เปรียบเทียบโครงสร้างการเรียงตัวของอะไมโลเพกทินกับไกลโคเจนฃ
ที่มา: Garrett & Grisham (2005)

                    ร่างกายมนุษย์ และสัตว์ จะสะสมคาร์โบไฮเดรตในรูปไกลโคเจน โดยสะสมบริเวณตับและกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับเป็นแหล่งของพลังงาน ไกลโคเจนในตับยังมีประโยชน์ เพื่อปรับระดับกลูโคสในเลือดให้คงที่ เมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดลดลง หรือร่างกายขาดสารอาหาร ตับจะเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส

               เซลลูโลส (Cellulose) เป็นพอลิเมอร์สายตรงของน้ำตาลกลูโคสที่แต่ละหน่วยเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด b-1,4 พบเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์พืชและสาหร่ายบางชนิด

               อินูลิน (inulin) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมในพืชอีกชนิดที่พบในหัว (tuber) ของ dahlia

และ artichoke ประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโทส หลาย ๆ หน่วยเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด b-1,2

           3.2 เฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ (heteropolysaccharide) คือ พอลิแซ็กคาไรด์ที่โมเลกุลประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์มากกว่าหนึ่งชนิด เช่น เฮมิเซลลูโลส

           พอลิแซ็กคาไรด์มีหน้าที่เป็นแหล่งสะสมอาหารทั้งในพืชและสัตว์ ในพืชคาร์โบไฮเดรตถูกสะสมไว้ในรูปแป้ง ส่วนในสัตว์สะสมไว้ในรูปไกลโคเจน นอกจากนั้นพอลิแซ็กคาไรด์ในพืชยังทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์และโครงสร้างของเซลล์พืช เช่น เซลลูโลส เพกทิน (pectin) ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เช่น เพปทิโดไกลแคน (peptidoglycan) และพบในเปลือกของพวกกุ้ง ปู แมลง เช่น ไคทิน (chitin)

         * ข้อสังเกต ถ้าเป็นชื่อน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรต มักลงท้ายด้วย -โอส (-ose)

        ** ข้อสังเกต ถ้าเป็นชื่อเอนไซม์ มักจะลงท้ายด้วย –เอส (-ase)

แหล่งที่มาท้ายบทเรียน

ชัยรัตน์ วามวรรัตน์. (2562). การทดลองที่ 3 คาร์โบไฮเดรต. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562, จาก

           http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/01402312/01402312lab03carbo156.pdf

นิธิยา รัตนาปนนท์. (2562). การจำแนกชนิดของคาร์โบไฮเดรต. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562, จาก

           http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/7138/การจำแนกชนิดของคาร์โบไฮเดรต

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2562). Benedict’s test/การทดสอบเบเนดิกต์. สืบค้นเมื่อ

           3 กันยายน 2562, จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2871/benedicts

           -test-การทดสอบเบเนดิกต์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชา

           เพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1.  กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

Campbell, Mary K. and Farrell, Shawn O. (2006). Biochemistry. (5th ed).  Australia:

           Thomson Brooks/Cole.

Garrett, Reginald H. and Grisham, Charles M. (2005). Biochemistry. (3rd ed).  Australia:

           Thomson Brooks/Cole.


Return to contents

[NEW] ความแตกต่างระหว่าง Axon Myelinated และ Unmyelinated | เยื่อไมอีลิน – Australia.xemloibaihat

ความแตกต่างหลัก – Axon Mymyatedated Unmyelinated

ระบบประสาททำหน้าที่รับและส่งสัญญาณประสาทสัมผัสทุกที่ในร่างกาย เซลล์ประสาทเป็นหน่วยการสร้างหรือเซลล์พื้นฐานของระบบประสาท เซลล์ประสาทมีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือคำสั่งที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขตำแหน่งของร่างกาย เซลล์ประสาทมีองค์ประกอบหลักสามประการ: เซลล์ร่างกาย, dendrites และซอน Dendrites รับสัญญาณไฟฟ้าและส่งมอบให้กับซอน Axon ส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาทถัดไป Axons นั้นหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าชั้นที่เรียกว่า myelin sheath ปลอกไมอีลินประกอบด้วยวัสดุที่เป็นไขมันที่เรียกว่าไมอีลิน Myelin sheath ผลิตโดยเซลล์ประสาทส่วนปลายพิเศษที่เรียกว่าเซลล์ Schwann Myelin ผลิตโดยเซลล์ Schwann และปลอก myelin นั้นถูกสร้างขึ้นรอบ ๆ แอกซอนในรูปแบบเกลียว Myelin sheath เพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณ แต่ไม่ใช่ axon ทั้งหมดที่มี myelinated ขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของเยื่อไมอีลินที่อยู่รอบ ๆ ซอนมีเซลล์ประสาทสองประเภท พวกเขาเป็นเซลล์ประสาท myelinated และเซลล์ประสาทที่ไม่ถูกขับออกมา เซลล์ Myelinated มีซอน Myelinated และเซลล์ที่ไม่เหนี่ยวรั้งมี Axon ที่ไม่ตัดผ่าน ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Axon myelinated และ Axon ที่ไม่ได้ผ่านการทำปฏิกิริยาคือ Axon Myelinated มีฝัก Myelin ในขณะที่ Axon ที่ไม่ผ่านการทำปฏิกิริยาจะไม่มีปลอก Myelinated

สารบัญ

1. ภาพรวมและความแตกต่างที่สำคัญ 2. Axis Myelinated คืออะไร 3. Axm Unmyelinated คืออะไร 4. การเปรียบเทียบแบบ Side by Side – การเปรียบเทียบ Myelinated กับ Axons แบบไม่แบ่งเสียงในแบบตาราง 5. สรุป

Axon Myelinated คืออะไร

ซอนเป็นเส้นโครงร่างเส้นประสาทที่บางยาว มันดำเนินแรงกระตุ้นไฟฟ้าออกไปจากร่างกายเซลล์ประสาทเพื่อ synapse ทางเคมี แอกซอนยังเป็นที่รู้จักกันในนามเส้นใยประสาท แรงกระตุ้นของเส้นประสาทจะถูกส่งไปตามแนวแอกซอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทาง เซลล์ของระบบประสาทส่วนปลายสนับสนุนการส่งผ่านแรงกระตุ้นเส้นประสาทผ่านเซลล์ประสาท

เซลล์ Schwann เป็นเซลล์ glial ชนิดพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งก่อตัวเป็นเยื่อไมอีลินรอบ ๆ แอกซอน Myelin sheath เป็นชั้นฉนวนทางไฟฟ้าที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันในไมอีลินรวมถึงโคเลสเตอรอลคอลและ glycolipids และฟอสโฟลิปิด เซลล์ประสาทที่มีซอนปกคลุมด้วยเปลือกไมอีลินเรียกว่าเซลล์ประสาท myelinated Axons ที่ได้รับการป้องกันด้วย myelin sheaths จะเรียกว่า Axon myelinated โดยทั่วไปแล้วแอกซอนที่มีขนาดใหญ่กว่าจะถูกปกคลุมด้วยปลอกไมอีลิน Axon ที่หนาขึ้นจะมีชั้นเคลือบของไมอีลินและปล้องอีกต่อไป เมื่อซอนมีสีไมลิเนตพวกมันจะดูขาวเปล่งประกาย

Myelin sheath นั้นได้มาจากเซลล์ Schwann และเซลล์ Schwann นั้นจะมีช่องว่างเมื่อทำการล้อมรอบซอน ช่องว่างเหล่านั้นไม่ได้ทำการตัดแต่ง ดังนั้นปลอกไมอีลินถูกขัดจังหวะด้วยช่องว่างเหล่านี้และพวกมันถูกตั้งชื่อว่าเป็นโหนดของ Ranvier เมื่อซอนมีแกน myelinated การนำของเส้นประสาทพัลส์จะเร็วกว่าไปตามเซลล์ประสาทและจะหลีกเลี่ยงการสูญเสียแรงกระตุ้นในระหว่างการนำ

แอกซอนแบบไม่เหนี่ยวนำคืออะไร

เมื่อแอกซอนไม่ได้รับการป้องกันด้วยปลอกไมอีลิน โดยปกติแล้วแอกซอนบาง ๆ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึงหนึ่งไมครอนจะไม่มีปลอกไมอีลินล้อมรอบ แอกซอนหรือเส้นใยประสาทเหล่านี้รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าเส้นใยไมอีลิเนตหรือไม่ได้ทำจากไขกระดูก การนำกระแสแรงกระตุ้นเส้นประสาทผ่านซอนที่ไม่ได้ผ่านการเหนี่ยวนำจะช้ากว่าแอกซอน นอกจากนี้ยังมีโอกาสสูญเสียแรงกระตุ้นในระหว่างการนำ

ความแตกต่างระหว่าง Axon Myelinated และ Unmyelinated คืออะไร

ข้อมูลอย่างย่อ – Myelinated

แอกซอนเป็นส่วนเสริมของเซลล์ประสาท มันยื่นออกมาจากสมการของเซลล์ประสาท แอกซอนส่งสัญญาณไฟฟ้าออกไปจากเซลล์ประสาท ในบางเซลล์ประสาทซอนถูกห่อหุ้มด้วยเซลล์ glial พิเศษที่เรียกว่าเซลล์ Schwann เซลล์ Schwann สร้างชั้นฉนวนทางไฟฟ้ารอบ ๆ ซอนซึ่งเรียกว่า myelin sheath และมันจะเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณ แอกซอนบางชนิดไม่มีปลอกไมอีลิน พวกเขาเป็นที่รู้จักกันในนามแอกซอน แอกซอนที่ถูกหุ้มด้วยปลอกไมอีลินเรียกว่าแอกซอน นี่คือความแตกต่างระหว่างซอนกับแกนไมลีเลต

ดาวน์โหลดเวอร์ชัน PDF ของ Myelinated vs Unmyelinated Axons

คุณสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชัน PDF ของบทความนี้และใช้เพื่อวัตถุประสงค์ออฟไลน์ตามหมายเหตุการอ้างอิง โปรดดาวน์โหลดเวอร์ชั่น PDF ที่นี่ความแตกต่างระหว่าง Myelinated Axons และ Unmyelinated

อ้างอิง:

1.” myelin.” วิกิพีเดีย มูลนิธิ Wikimedia, 13 กรกฎาคม 2017. เว็บ. วางจำหน่ายแล้วที่นี่ 19 กรกฎาคม 2017 2. มอเรล, ปิแอร์ “ The Myelin Sheath” เคมีประสาทขั้นพื้นฐาน: โมเลกุลระดับเซลล์และการแพทย์ รุ่นที่ 6 US Library of Medicine แห่งชาติ, 01 ม.ค. 1999 เว็บ วางจำหน่ายแล้วที่นี่ 18 กรกฎาคม 2560

เอื้อเฟื้อภาพ:

1. “ Complete neuron cell diagram en” โดย LadyofHats – งานของคุณเอง รูปภาพถูกเปลี่ยนชื่อจากรูปภาพ: Complete neuron cell diagram.svg (โดเมนสาธารณะ) ผ่านทางวิกิมีเดียคอมมอนส์ 2. “ เซลล์ประสาทที่ไม่ผ่านการสร้าง myelinated” โดย Nick Gorton – (CC BY-SA 3.0) ผ่าน Commons Wikimedia


เซลล์ และ ออร์แกเนลล์ สรุปใน 10 นาที (cell and organelle)


สรุปเรื่องเซลล์ และออร์แกเนลล์ใน 10 นาที
เซลล์แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วย ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์
2. โปรโตพลาซึม คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปด้านใน
ภายในจะมีนิวเคลียส และออร์แกเนลล์ต่างๆ
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ได้แก่
ไมโทคอนเดรีย คลอโรพลาสต์
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 1 ชั้น ได้แก่
endoplasmic reticulum, กอลจิคอมเพล็กซ์, ไลโซโซม, เพอรอกซิโซม, แวคิวโอล
ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ได้แก่
ไรโบโซม เซนทริโอล ไซโทสเกเลตอน
ติดตาม ดร.พู่กัน ให้ครบทุกช่องทางนะคะ
👇🏻👇🏻
youtube: easy biology by DrPukan
Facebook: easy biology by DrPukan
instagram: easy_biology_by_drpukan
line: @ easy_biology

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

เซลล์ และ ออร์แกเนลล์ สรุปใน 10 นาที (cell and organelle)

ระบบประสาท


สัตว์รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้เพราะมีระบบประสาท การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ แต่ละกลุ่มขึ้นอยู่กับการพัฒนาของระบบประสาท เช่น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดมีร่างแห ประสาท บางชนิดมีปมประสาทและเส้นประสาทขนาดใหญ่ ขณะที่สัตว์มีกระดูกสันหลังและมนุษย์มี สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท และปมประสาท โครงสร้างของระบบประสาทประกอบด้วยเนื้อเยื่อประสาท โดยมีเซลล์ประสาทเป็นหน่วยการ ทำ งาน และมีเซลล์เกลียทำหน้าที่ค้ำ จุนและสนับสนุนการทำ งานของเซลล์ประสาท เซลล์ประสาท ประกอบด้วยตัวเซลล์และเส้นใยประสาทที่แบ่งได้2 ชนิด คือ เดนไดรต์และแอกซอน โดยแอกซอน อาจมีหรือไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม เซลล์ประสาทยังจำแนกได้ตามจำนวนเส้นใยประสาท หรือหน้าที่ของ เซลล์ประสาท

ระบบประสาท

เซลล์ประสาท


เซลล์ประสาท

ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก EP.5 โครงสร้างของสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง


ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก EP.5 โครงสร้างของสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (วิชาชีววิทยา 5 ระดับชั้น ม.6)
แก้ไขค่ะ
นาทีที่ 4.25 ออกเสียงว่า ซีเอสเอฟ (CSF)
นาทีที่ 4.51 ออกเสียงว่า เซลล์ (cell)

ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก EP.5 โครงสร้างของสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก EP.4 การนำกระแสประสาทและการถ่ายทอดกระแสประสาท


ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก EP.4 การนำกระแสประสาทและการถ่ายทอดกระแสประสาท (วิชาชีววิทยา 5 ระดับชั้น ม.6)

ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก EP.4 การนำกระแสประสาทและการถ่ายทอดกระแสประสาท

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ เยื่อไมอีลิน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *