[Update] รวม 13 อีสเตอร์เอ้กหนาวสันหลังจากหนัง IT Chapter 2 สำหรับคนที่ดูมาแล้ว | จอ ห์ น นี่ วอ ค เกอร์ – Australia.xemloibaihat

จอ ห์ น นี่ วอ ค เกอร์: คุณกำลังดูกระทู้

หนังสยองภาค 2 อันเป็นตอนจบของเรื่องราว ดัดแปลงจากนิยายขึ้นหิ้งของ สตีเฟน คิง (Stephen King) ราชาสยองขวัญแห่งยุค กลายเป็นหนังที่ฮือฮาและเป็นกระแสสุด ๆ ในขณะนี้ บางคนดูเอาสนุกแต่บางคนก็ดูเอาแฟนออฟเดอะเยียร์ด้วยการเก็บรายละเอียดทุกเม็ดในหนัง ซึ่งผู้สร้างก็ซ่อนซุกไว้หลายจุดสำหรับคนหนังแนวฮาร์ดคอร์นี่เอง ว่าแต่จะมีอะไรบ้าง วันนี้เรารวบรวมมาให้แล้ว ไปดูกัน

Table of Contents

1. สตีเฟน คิง

สำหรับแฟนหนังแฟนนิยายของ คิง ต้องไม่พลาดฉากที่คิงมาเล่นบทรับเชิญนี้แน่ ๆ เพราะเป็นอีสเตอร์เอ้กที่ใหญ่ค่อด ๆ ยากจะมองหาไม่เจอ เว้นเสียแต่ว่าคุณไม่รู้จักคิงเท่านั้นล่ะ (ฮา) ในฉากนี้คิงปรากฏตัวเป็นเจ้าของร้านของเก่าที่ บิล (เจมส์ แม็คอะวอย James McAvoy) ได้บังเอิญพบจักรยานคันเก่าสมัยเด็ก บิลขอซื้อจักรยานแต่ถูกคิงโก่งราคาเพราะจำได้ว่าบิลเป็นนักเขียนแนวสยองขวัญชื่อดังที่น่าจะมีตังค์เยอะนั่นเอง เรียกว่าคิงได้ล้อตัวเองเลยด้วย สงสัยแกน่าจะโดนโก่งราคาบ่อยเพราะเป็นคนดัง (ฮา)

สตีเฟน คิง หน้าตาแบบนี้ล่ะ

ในฉากนี้บิลขี่จักรยานออกไปพร้อมตะโกนก้องว่า ‘ไฮ โฮ ซิลเวอร์ อะเวย์’ ซึ่งเป็นคำฮิตติดปากจากหนังดังในยุคทศวรรษ 1950-1960 อย่าง Lone Ranger ซึ่งเป็นไอคอนของคาวบอยโอลด์เวสต์อเมริกันเลยทีเดียว เขามักควบม้าคู่ใจออกไปพร้อมตะโกนคำนี้เสมอ ก็เป็นอีกอีสเตอร์เอ้กที่อยู่ในฉากต่อเนื่องของคิงนี้ด้วย

2. ตอนจบห่วย

ในฉากร้านของเก่านี้ยังมีอีกจุดสำคัญ ตอนที่บิลสังเกตเห็นว่าเจ้าของร้านอ่านหนังสือนิยายของเขาด้วย จึงเอ่ยปากจะให้ลายเซ็นถ้าเจ้าของร้านต้องการ แต่เจ้าของร้านปฏิเสธหน้าตาเฉย เพราะไม่ชอบตอนจบในหนังสือของบิล นี่กลายเป็นมุกตลกที่เสียดสีตัวคิงเองด้วย เพราะแกมักถูกวิจารณ์ถึงตอนจบที่ไม่ค่อยดีนักในผลงานของแก โดยเฉพาะในนิยาย It ส่วนที่ 3 ที่เป็นตอนจบของเรื่อง ตัวละครบิลก็เป็นเหมือนภาพตัวแทนของคิง ที่ทุกคนในเรื่องแม้แต่เพื่อนรักของบิลยังบอกว่า ‘ฉันไม่ชอบตอนจบของหนังสือของนายเลย’ น่าฉงฉานจริง ๆ (ฮา)

บิล นักเขียนนิยายดังที่ทุกคนเกลียดตอนจบของเขา

พูดถึงตอนจบแล้ว ก็ขอแถมอีกหน่อย ในหนังภาคนี้ยังมีตอนจบที่ต่างจากฉบับนิยายพอสมควรด้วย โดยในนิยายได้แสดงให้เห็นว่าเพนนีไวส์นั้นคือฐานของเมืองเดอร์รี่ หากพวกแก๊งขี้แพ้ฆ่าเพนนีไวส์ไปเมืองทั้งเมืองก็จะสิ้นสูญไปด้วย โดยแม้หนังจะไม่ได้เล่าใหญ่เท่าในนิยายแต่ก็จำลองเอาส่วนหนึ่งแห่งความพินาศมาแสดงให้ดูในฉากที่บ้านของเพนนีไวส์ถล่มลงสู่ใต้ดินในตอนจบนั่นเอง

บ้านเพนนีไวส์

3. แขกรับเชิญอื่นอีกล่ะ

นอกจาก คิง จะมารับเชิญแล้ว ยังมีผู้กำกับหนังดังหลายคนมาแจมรับเชิญในหนัง คนแรกก็ แอนดี้ มุสชีเอตติ อีตาผู้กำกับหนังเรื่องนี้เองนี่ล่ะ ที่มาเล่นเป็นลูกค้าในร้านขายยา ในฉากที่ เอ็ดดี้ (เจมส์ แรนซัน James Ransone) ต้องมาเผชิญอดีตของตนเอง คงต้องเป็นแฟนหนังฉบับนี้จริง ๆ ถึงจะสังเกตเห็นคุณผู้กำกับนี่ล่ะนะ

ผู้กำกับของหนังหน้าตาแบบนี้ล่ะ

อีกหนึ่งผู้กำกับที่แฟนหนังชาวไทยยุคนี้ (หรืออาจเทศด้วย) ไม่น่ารู้จัก แต่มาปรากฏตัวก็คือ ปีเตอร์ บ็อกดาโนวิช (Peter Bogdanovich) เจ้าของผลงาน 2 รางวัลออสการ์จากหนัง The Last Picture Show (1971) ซึ่งก่อนหน้านี้บางคนอาจคุ้นหน้าตอนหนุ่มของเขาจากหนังเน็ตฟลิกซ์ของผู้กำกับในตำนาน ออร์สัน เวลส์ อย่าง The Other Side of the Wind (2018) ด้วย และสำหรับในหนังเรื่อง IT Chapter 2 นี้ บ็อกดาโนวิชก็คือผู้กำกับหนังที่อยู่ในฉากที่บิลเดินเข้ามาในกองถ่าย แล้วบ็อกดาโนวิชก็นั่งเครนลงมาคุยกับบิลว่า ‘หนังต้องการตอนจบนะบิล’ ซึ่งเปิดประเด็นว่าบิลมีปัญหากับการเขียนตอนจบของหนัง แบบเดียวกับที่เขาเขียนหนังสือจบห่วยนั่นเอง

ปีเตอร์ บ็อกดาโนวิช หน้าตาเป็นแบบนี้

และสุดท้ายที่ต้องพูดถึงก็คือ แบรนดอน เครน (Brandon Crane) ที่มาแสดงเป็นนักธุรกิจที่อยู่ในห้องประชุมทางไกล ในฉากเปิดตัวของ เบน (เจย์ ไรอัน Jay Ryan) และตาเครนนี่ล่ะก็คือนักแสดงที่เล่นเป็นเบนตอนเด็ก ในฉบับมินิซีรีส์โทรทัศน์ของ IT เมื่อปี 1990 นั่นเอง ทีมงานนี่ก็สร้างก็ช่างสรรหามาคามิโอนะ

แบรนดอน เครน เทียบตอนเด็กกับตอนโต

4. มตูริน

หืม คือไรนะ? แต่แฟนนิยายของคิงคงเก็ตล่ะ เพราะในจักรวาลของหนังสือคิง จากเรื่อง The Dark Tower ของคิงก็มีการอ้างถึงเต่าผู้พิทักษ์ตนหนึ่งนามว่า มตูริน (Maturin) ผู้เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 12 ตนที่คุ้มครองเส้นแสงค้ำจุนหอคอยไว้ และเจ้ามตูรินนี่เองก็เป็นดั่งเทพขั้วตรงข้ามกับปีศาจตัวตลกเพนนีไวส์ด้วย ในนิยายช่วงเด็ก บิล ได้ประกอบพิธีกรรมแห่งชู้ดเพื่อปราบเพนนีไวส์ และได้พบกับมตูรินนี่เอง

มตูริน จาก The Dark Tower

โดยในหนังภาคนี้ก็มีฉากที่เบนกลับไปยังโรงเรียนเพื่อค้นหาอดีตของตน ซึ่งจะเห็นโมเดลเต่าเป็นอีสเตอร์เอ้กถึงมตูรินนี้ด้วย ในฉบับตัดต่อเดิมนั้นจะมีแากเกี่ยวกับเต่าที่ใหญ่กว่านี้แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายทีมงานก็เลือกจะตัดออกไป แต่ทั้งนี้ตัวผู้กำกับก็ใบ้ว่าเราอาจได้เห็นฉากเต่านี้ในหนังฉบับเพิ่มฉากที่อาจออกมาในรูปแบบแผ่นภายหลังก็ได้นะ

5. มินิซีรีส์ IT ปี 1990

นอกจากการมารับเชิญของเครนแล้ว หนังภาคนี้ยังคารวะผลงานมินิซีรีส์ปี 1990 ของ ทิม เคอรร์รี่ (Tim Curry) อีกหลายอย่าง เช่น ในฉากที่บิลไล่ตามเด็กชายที่กำลังตกเป็นเหยื่อของเพนนีไวส์ไปในบ้านกระจกเงาในสวนสนุก เขาต้องวิ่งผ่านตุ๊กตาตัวตลกที่แกว่งไปมา และพวกตุ๊กตานี้เองก็แต่งชุดแบบเดียวกับเพนนีไวส์จากฉบับมินิซีรีส์นั้นด้วย

เพนนี่ไวส์ จากมินิซีรีส์ IT ปี 1990

ตุ๊กตาในหนังฉบับใหม่

6. ชายผู้แต่งงานกับแม่ตัวเอง

อันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ ในหนังหรอก แต่เรากำลังพูดถึงเอ็ดดี้ ตัวละครที่อยู่ใต้อิทธิพลของแม่ในวัยเด็กจนโตมาก็ยังอยู่ในสายตาแม่ของเขาตลอดเวลา การหนีไม่พ้นภาพเงาแม่ของเขาเองนี้ ยังสะท้อนมาในการเลือกคู่ด้วย เพราะภรรยาของเอ็ดดี้อย่าง ไมร่า นั้นมีรูปร่างลักษณะเหมือนแม่ของเอ็ดดี้ในหนังภาคแรกไม่มีผิดเพี้ยน และถ้าคุ้นรู้สึกคุ้นอย่างบอกไม่ถูก ใช่แล้วครับ นักแสดงที่เล่นเป็นไมร่าภรรยาของเอ็ดดี้ในหนังภาคนี้ และแม่ของเอ็ดดี้ในหนังภาคแรกคือนักแสดงคนเดียวกัน นั่นคือ มอลลี่ แอตคินสัน (Molly Atkinson) นั่นเอง ทีมงานนี่เขาใส่ใจรายละเอียดดีเหลือเกินนะ

มอลลี่ แอตคินสัน

7. นักเขียนนิยายสยองแห่งยุคอีกคนหนึ่งนอกจาก คิง

ในยุคเดียวกับคิง ยังมีนักเขียนนิยายสยองอีกคนที่โด่งดังไม่แพ้กัน เขาคือ ดีน คุนต์ส (Dean Koontz) ทั้งคู่เหมือนคู่แข่งที่มีชื่อเสียงในวงการเดียวกัน ในโมงยามเดียวกัน แม้แท้จริงแล้วทั้งคู่ก็ไม่ใช่อริกันเลยไม่ค่อยพูดถึงกันในทางไม่ดีด้วยซ้ำ แต่ก็มีครั้งหนึ่งที่คิงนำคุนต์สมาใส่ในหนังสือของเขาราวปี 1980-1985 นั่นก็คือเรื่อง IT นี่เอง โดยในนิยายตัวละคร เฮนรี่ โบเวอร์ส (ทีช แกรนต์ Teach Grant) ที่อยู่ในโรงพยาบาลบ้า ถูกเฝ้าดูโดยตัวละครที่ชื่อ จอห์น คุนต์ส ด้วย

ดีน คุนต์ส

และในหนังภาคนี้ ตัวละคร จอห์น คุนต์ส ก็ถูกนำมาใส่ในหนังแบบที่ต้องแฟนตัวจริงเท่านั้นถึงจะรู้ โดยในฉากที่โบเวอร์สจะหนีจากโรงพยาบาลบ้า มี รปภ. ที่เฝ้ากะดึกกำลังดูคลิปสุนัขจากมือถืออยู่ และเขาคนนี้นี่ล่ะคือคุนต์ส เพราะแฟน ๆ ของดีน คุนต์ส ต่างรู้ดีว่าเขาเป็นคนรักน้องหมามากคนหนึ่งเลยทีเดียว

8. แมงมุม

ในฉากที่แก๊งขี้แพ้ได้กลับไปยังบ้านของเพนนีไวส์ เหล่าตัวละครอย่าง ริชชี่ (บิล เฮเดอร์ Bill Hader) เอ็ดดี้ และ บิล ต้องเผชิญกับศพของเพื่อนรักที่ฆ่าตัวตายไปก่อนอย่าง สแตน (แอนดี้ บีน Andy Bean) ที่หัวหลุดออกมาแล้วมีขาของแมลงแทงออกมาจากหัว ดูคล้ายแมงมุมหัวมนุษย์ (ฉากนี้หลอนครีเอทมาก) เป็นฉากที่อ้างอิงไปฉากคล้ายกันในหนัง The Thing (1982) ของผู้กำกับ จอห์น คาร์เพนเตอร์ (John Carpenter) ซึ่งริชชี่เองเห็นหัวแมงมุมก็ได้สบถคำเดียวกับตัวละครในหนัง The Thing ด้วยไม่เชื่อสายตาตัวเองว่า ‘เชี่ยมึงต้องอำกูเล่นแน่ ๆ’ 


แมงมุมหัวมนุษย์จาก The Thing

นอกจากนั้นหนัง The Thing ยังถูกอ้างถึงอีกครั้งในฉากที่ริชชี่กับเอ็ดดี้ต้องเลือกประตูแห่งความกลัว ซึ่งน้องหมาในฉากนี้มีรูปลักษณะคล้ายน้องหมากลายพันธุ์ในหนัง The Thing ด้วยนั่นเอง

ส่วนแมงมุมนั้น ยังคงเป็นกิมมิกที่หนัง IT ใช้ในฉากสำคัญ ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นร่างสุดท้ายของเพนนีไวส์ที่คล้ายแมงมุมยักษ์ และในฉบับนิยายก็มีฉากที่เบนเผชิญกับความกลัวแมงมุมที่วางไข่มากมายที่กำลังฟักตัว และเขาต้องทำลายให้หมด ซึ่งในหนังภาคนี้ก็เป็นเบนนี่เองที่มาทำลายหัวแมงมุมของสแตนในที่สุด

9. ประตูแห่งความกลัวภาคต่อ

ในฉากที่ริชชี่และเอ็ดดี้ต้องเลือกประตูแห่งความกลัวนั้น ในหนังภาคแรกเมื่อปี 2017 เป็นตัวละครริชชี่กับบิลวัยเด็กที่ต้องเผชิญกับประตูแห่งความกลัว และครั้งนั้นเป็นริชชี่ที่เลือก ‘ประตูที่ไม่น่ากลัวอะไรเลย’ แล้วได้เจอกับศพของเด็กหญิงเบ็ตตี้ ริปสัน ที่มีแค่ครึ่งท่อนบนห้อยอยู่ ในตอนนั้นริชชี่สบถเสียงดังอย่างหวาดกลัวว่า ‘เชี่ยเอ้ยขาเธอหาไปไหน’ และในภาคนี้เมื่อริชชี่ตอนโตเลือกเปิด ‘ประตูที่น่ากลัวสัส ๆ’ เขาก็ได้เห็นท่อนล่างของเบ็ตตี้ที่หายไปวิ่งมาหาเขาแทน เรียกว่ามาตอบคำถามของริชชี่ตอนเด็กเป๊ะเลย น่ากลัวเกิ้น

ประตูแห่งความกลัวกลับมาอีกครั้ง

10. จอห์นนี่อยู่นี่แล้ว!

หนึ่งในอีสเตอร์เอ้กที่แฟนหนังสยองน่าจะหาเจอง่าย ๆ อีกฉาก ก็คือฉากที่ เบฟ (เจสสิก้า แชสเทน Jessica Chastain) ถูกโยนไปในภาพหลอนที่เธอถูกขังในห้องน้ำโรงเรียน และโดนใครต่อใครพยายามบุกทำลายประตูเข้ามาทำร้ายเธอ ไม่ว่าจะเป็นสามีจอมโหดของเบฟ พ่อของเธอในวัยเด็ก หรืออีกหนึ่งตัวละครสำคัญอย่างอดีตศัตรูตัวฉกาจของแก๊งขี้แพ้อย่าง เฮนรี โบเวอร์ส  ซึ่งก็พยายามแหวกหน้าผ่านช่องประตูมาพร้อมประโยคสุดคลาสสิกอย่าง ‘Here’s Johnny!’ ที่สื่อประมาณว่า ขอเชิญพบกับจอห์นนี่ เพราะมันคือประโยคเปิดรายการฮิตหลายยุคของอเมริกาอย่าง The Tonight Show Starring Johnny Carson (ออกอากาศยาวนานตั้งแต่ปี 1962 – 1992) ที่จะเปิดตัวพิธีกรของรายการ และถูกนำมาใช้ในหนังระดับมาสเตอร์พีซเรื่อง The Shining ผลงานดัดแปลงนิยายของคิงจากฝีมือผู้กำกับ สแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) ที่ แจ็ก นิโคลสัน (Jack Nicholson) ใช้พูดในฉากขวานจามประตูสุดคลาสสิกนั่นเอง

11. เพื่อนไม่มีวันตาย

ในฉากสุดท้ายของหนัง บิลกำลังเขียนหนังสือหลังผ่านเรื่องราวทั้งหมดมา ซึ่งประโยคที่เขาเขียนนั้นก็คือ ‘บางที นั่นอาจจะมีแค่เพื่อนกัน’ โดยเป็นประโยคที่ตัดตอนจากนิยาย ในช่วงห้วงความคิดของเอ็ดดี้ที่จริงแล้วกล่าวไว้เต็ม ๆ ว่า ‘บางทีมันอาจไม่มีทั้งเพื่อนที่ดีหรือเพื่อนที่เลว – บางทีมันอาจจะมีแค่เพื่อนกัน เพื่อนที่จะอยู่ข้างคุณยามที่คุณเจ็บและเขาพร้อมจะช่วยให้คุณไม่รู้สึกเดียวดาย บางทีมันก็คุ้มที่เราต้องเผชิญความกลัว เผชิญความหวัง และมีชีวิตต่อไป บางทีก็อาจคุ้มที่จะตายเพื่อมันด้วยหากจำเป็น ไม่มีเพื่อนที่ดีหรอก เพื่อนที่เลวก็เช่นกัน มันมีแค่คนที่คุณอยากจะอยู่ด้วย ผู้คนที่จะอาศัยอยู่ในหัวใจของเราเท่านั้นเอง’  

แก๊งขี้แพ้ในวันที่อยู่กันพร้อมหน้า

อย่างซึ้งเลย และหนังภาคนี้ก็มีฉากจบที่เล่าผ่านจดหมายที่สแตนเขียนทิ้งไว้ให้เพื่อนทุกคน ซึ่งก็เป็นอะไรที่ซึ้งใจในมิตรภาพและเห็นมิติความคิดคำนึงของตัวละครสำคัญ ว่าที่จริงแล้วเพื่อนไม่เคยทิ้งกัน และบางทีคนที่ขี้ขลาดก็อาจกล้าหาญอย่างไม่น่าเชื่อเพื่อเพื่อน ๆ ของเขา เรียกว่าซึ้งไม่แพ้กันเลยทีเดียว

12. หนังสือของไมค์

ในหนังภาคนี้ ไมค์ (ไอเซห์ มุสตาฟา Isaiah Mustafa) เป็นตัวละครเดียวในกลุ่มขี้แพ้ ที่ยังคงอาศัยอยู่ในเมืองเดอร์รีตลอดระยะเวลา 27 ปี และเขาก็ไม่เคยลืมเรื่องของเพนนีไวส์เลย โดยตลอดมานั้นเขาได้ทำการสืบหาตำนานเรื่องเล่าและข้อมูลทุกอย่างเพื่อเอาชนะเพนนีไวส์ให้ได้อีกครั้ง และหนังสืออ้างอิงที่เขาใช้ก็คือ A History of Old Derry หรือ ประวัติศาสตร์ของเมืองเดอร์รีโบราณ ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนโดย แบรนสัน บัดดิงเจอร์ ตัวละครสำคัญในนิยาย IT ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วยนั่นเอง

ไมค์ผู้ยังคงอยู่รอรับมือกับเพนนีไวส์เพียงลำพังตลอด 27 ปี

13. ตัวเลข 27

ในนิยาย เพนนีไวส์ จะกลับมาล่าเด็ก ๆ ในทุก ๆ รอบ 27 ปี และเลข 27 นี้ก็มีความสำคัญมาก ถึงขนาดที่ผู้สร้างหนังฉบับนี้เอามาใช้เป็นอีสเตอร์เอ้กผ่านการออกฉายที่ต้องสังเกตกันดี ๆ เลย เพราะหนังภาคแรกก็ปล่อยมาในปี 2017 เป็นเวลา 27 ปีหลังจากฉบับมินิซีรีส์ปี 1990 พอดี และหนังภาคแรกก็ออกฉายในวันที่ 8 กันยายน 2017 ซึ่งถ้าแตกเลขออกมาก็จะได้ว่า 8/9/2017 และเมื่อนำเลขแต่ละตัวมาบวกกันก็จะได้ 8+9+2+0+1+7 = 27 พอดีด้วย และถ้าคิดว่าบังเอิญล่ะก็ หนังภาคนี้ก็ออกฉายวันที่ 6 กันยายน 2019 หรือก็คือ 6+9+2+0+1+9 = 27 อีกเช่นกัน ดูดิพิถีพิถันกับอีสเตอร์เอ้กเข้าขั้นโรคจิตกันเลยทีเดียวนะเนี่ย บรื๋อ!

เพนนีไวส์จะกลับมาทุก ๆ รอบ 27 ปี

[Update] 25 เรื่องจริงสุดพีคที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ | จอ ห์ น นี่ วอ ค เกอร์ – Australia.xemloibaihat

25 เรื่องจริงสุดพีคที่คุณไม่เคยรู้
เกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาวเด็กดีทุกคน แน่นอนว่าทุกคนรู้จักเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ วรรณกรรมที่ครองใจนักอ่านทั่วโลก แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าเบื้องลึกเบื้องหลังของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์หรือแม้แต่ภายใต้งานเขียนพันล้านของเจ.เค.โรว์ลิ่งนั้นมีความจริง 25 ข้อที่น่าสนใจที่ซ่อนอยู่ ซึ่งความจริงเหล่านี้แหละที่เปลี่ยนอนาคตวงการวรรณกรรมเด็กและทำให้โลกมักเกิ้ลของเราดูวิเศษขึ้นมา! แม้ว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์จะจบลงไปแล้ว แต่เรื่องราวการผจญภัยของสามสหายอยู่ในใจพวกเราตลอดมา ซึ่งในวันนี้พี่น้ำผึ้งก็นำความจริง 25 ข้อเกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์มาฝากกันค่ะ 

 


 

เรื่องบังเอิญหรอ?

รู้หรือเปล่าว่าวันเกิดของแฮร์รี่ พอตเตอร์คือวันที่ 31 กรกฎาคม 1980 แถมโรว์ลิ่งเองก็เกิดวันที่ 31 กรกฎาคมเหมือนกันด้วยแหละ แต่เป็นปี 1966 ต่างหาก!! ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ทั้งนักเขียนและตัวเอกเกิดเหมือนกันขนาดนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องบังเอิญก็คงเป็นพรหมลิขิตแล้วล่ะ

 


 

Oldie But Goodie

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เมเทิลจอมคร่ำครวญเป็นเพียงแค่เด็กอายุ 13 เท่านั้น แต่นักแสดงผู้รับบทเป็นผีสาวเฝ้าห้องน้ำฮอกวอตส์อย่าง “เชอร์ลี่ย์ เฮนเดอร์สัน” นั้นอายุห่างจากตัวละครถึง 24 ปี!!! นั่นเท่ากับว่าตอนที่เฮนเดอร์สันรับบทเป็นเมเทิลในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ เธออายุ 37 ปี! ความพีคอยู่ตรงที่ว่าเธอเป็นนักแสดงผู้รับบทเป็นนักเรียนที่มีอายุมากที่สุด อื้อหือ หน้าเด็กเนียนซะขนาดนี้ อยากรู้จริงๆ ว่ามีเคล็ดลับอะไรหนอ?

 


 

เจ้าพ่อสาบาน

น้องๆ คะ ก่อนที่หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์จะมาเป็นหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เวอร์ชั่นที่เราอ่านกันทุกวันนี้ ขอเม้าถึงรอน วีสลี่ย์สักนิดนึง ก็แหม ไม่พูดไม่ได้หรอก รอน วีสลี่ย์นี่แหละเป็นตัวละครที่ชอบพูดคำว่า “สาบานได้…” เยอะมาก!! เอะอะก็สาบานๆ นี่ถ้าอยู่เมืองไทยฟ้าคงผ่าไม่รู้จักหยุดหย่อนแล้ว (ฮา) ซึ่งทางสำนักพิมพ์เล็งเห็นว่านี่เป็นพฤติกรรมที่เด็กๆ ไม่ควรเอาอย่าง บ.ก.จึงไม่อนุญาตให้เจ.เค.โรว์ลิ่งใช้คำว่าสาบาน หรือเอะอะก็ให้รอนสาบาน รอน วีสลี่ย์จึงกลายเป็นแบบที่เราเห็นทุกวันนี้ค่ะ

 


 

J.K. – Just Kidding!

หลายคนอาจสงสัยว่าส่วนหนึ่งในนามปากกาของโรว์ลิ่งอย่าง “เจ.เค.” เนี่ยมาจากไหน มันแปลว่าแค่ล้อเล่น (Just Kidding) หรือเปล่า คำตอบคือไม่นะ เรื่องของเรื่องมี่อยู่ว่า ก่อนจะเป็นเจ.เค.โรว์ลิ่งเนี่ย เธอได้ส่งต้นฉบับไปยังสำนักพิมพ์พร้อมกับนามปากกาที่เป็นชื่อเต็มๆ ของเธออย่าง “โจแอนน์ โรว์ลิ่ง”

ชะรอยทางสำนักพิมพ์เล็งเห็นว่ามันมีโอกาสค่อนข้างสูงในกลุ่มนักอ่านเพศชายที่จะไม่กล้าอ่านหนังสือเล่มนี้เพราะนักเขียนเป็นผู้หญิง (เห็นได้ชัดว่าโจแอนน์เป็นชื่อผู้หญิง มันคงไม่เวิร์คที่จะอยู่บนปกหนังสือ) สำนักพิมพ์เลยให้เธอเปลี่ยนนามปากกาซะใหม่ โรว์ลิ่งก็เลยยืมตัว K มาจาก Kathleen ซึ่งเป็นชื่อของยายเธอ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะ “Kathleen” หรือ “K” ก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชื่อจริงๆ ตามกฎหมายของเธอค่ะ – เพราะงั้น J.K ไม่ใช่ Just Kidding นะจ๊ะ

 


 

สปอยล์

ในการถ่ายทำภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้ง 7 ภาค มีนักแสดงเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้โชคชะตาของตัวละครที่เขารับบทก่อนที่หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตจะวางแผงบนชั้นหนังสือ และผู้โชคดีคนนั้นจะเป็นใครไปไม่ได้เลยนอกจากอลัน ริกแมน ผู้รับบทเป็นศาสตราจารย์เซเวอรัส สเนปค่ะ

 


 

แรงบันดาลใจจากพฤกษศาสตร์

โรว์ลิ่งกล่าวว่าแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อ “โรงเรียนฮอกวอตส์” อาจมาจากชื่อพืชที่เธอเห็นใน Kew Gardens ในนครนิวยอร์กโดยไม่รู้ตัว ประมาณว่าอยู่ๆ จิตใต้สำนึกก็สั่งให้เธอตั้งชื่อนี้ซะอย่างนั้น ซึ่งมันมาจากพืชพันธุ์อะไร หน้าตาแบบไหนนั้นก็ไม่รู้เหมือนกัน เป็นคำตอบที่ต้องค้นหากันต่อไปเนอะ

 


 

ออดิชั่นที่น่าสนใจ

อันนี้ไม่เม้าไม่ได้ ในวันออดิชั่นของรูเพิร์ต กรินท์ เขาแต่งตัวเป็นผู้หญิงเหมือนกับครูที่สอนการแสดงเขา และแร็ปโย่เกี่ยวกับรอน วีสลี่ย์ในเทปแรก! แร็ปของเขาเริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่า “สวัสดี ผมชื่อรูเพิร์ต กรินท์ ฉันหวังว่าคุณคงไม่คิดว่าผมเหม็นนะ (Hello, my name is Rupert Grint, I hope you don’t think I stink.)”

 


 

คนที่ไม่ควรเอ่ยนาม (He-Who-Must-Not-Be-Named)

น้องๆ คะ ชื่อของคนที่คุณก็รู้ว่าใครในภาษาอังกฤษที่เขียนว่า Voldemort ไม่ได้อ่านว่าโวล – เดอ– มอท แต่อ่านว่า โวล – เดอ – มอ ต่างหาก ซึ่งก็คือโวลเดอร์มอร์อย่างที่เราคุ้นชินกันนั่นเอง ชื่อนี้มาจากคำฝรั่งเศสที่มีความหมายว่า “เที่ยวบินแห่งความตาย” เวลาอ่านก็ละเสียง t ซะนะ อย่าเอาไปปะปนกับภาษาอังกฤษเนอะ 

 


 

เจ.เค.โรว์ลิ่งคือเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์

ถ้าถามว่าเด็กหญิงเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์วัย 11 ปีเหมือนกับใคร บอกได้อย่างเดียวเลยว่าเหมือนกับเจ.เค.โรว์ลิ่งในวัย 11 ปีไม่มีผิด ทั้งฉลาดและชอบอ่านหนังสือ แถมผู้พิทักษ์ของเฮอร์ไมโอนี่ยังเป็นสัตว์ที่เธอชื่นชอบอย่างนากอีกด้วย เหมือนกันขนาดนี้ นี่มันเจ.เค. โรว์ลิ่งชัดๆ 

 


 

ระวัง เหากำลังระบาด!!

ในระหว่างการถ่ายทำแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ เกิดวิกฤตการณ์สุดพีคขึ้นระหว่างการถ่ายทำ!  ไม่ใช่อะไรหรอก เหาระบาดในกลุ่มนักแสดงเด็กต่างหาก เด็กๆ เลยพากันติดเหาเฉยเลย ด้วยเหตุนี้ทางทีมงานจึงต้องจ้างนางพยาบาลมาดูแล แล้วทุกๆ เช้าก่อนที่จะถ่ายทำ เด็กๆ จะต้องถูกจับไปตรวจเหาเพื่อความปลอดภัยก่อนเสมอ

 


 

เป็นการลองที่ดี

ทอม เฟลตันมาออดิชั่นในบทบาทแฮร์รี่ พอตเตอร์และรอน วีสลี่ย์ แต่แล้วไปๆ มาๆ เขาดันได้รับบทเป็นเดรโก มัลฟอยเฉยเลย ก็นับว่าเป็นอะไรดีๆ นะ เพราะบทบาทนี้แหละเลยทำให้ทอม เฟลตันดังเป็นพลุแตก! สาวๆ ชื่นชอบ

 


 

รอยสักสุดเท่

ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซีเรียส แบล็ก ตัวละครที่เป็นที่รู้จักว่ามีรอยสักที่โดดเด่นบนหน้าอกของเขา ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ นี่เป็นรอยสักของแก๊งนักโทษจากคุกในรัสเซียจริงๆ ตามปกติแล้วรอยสักนี้เป็นสิ่งที่ใช้ในการแยกว่านี่คือบุคคลที่ต้องกลัว อย่างไรก็ตามในหนังสือไม่ได้เมนชั่นว่าซีเรีสมีรอยสักนี้นะ

ส่วนรอยสักอันใหญ่ที่อยู่ตรงกลางอกเป็นสัญลักษณ์ของความสามารถในการแปลงกายเป็นหมาได้ รอยสักที่อยู่ทางขวาแหมือนกับสัญลักษณ์จีน และรอยสักบางอันก็เหมือนอักษรรูน ส่วนอื่นๆ ก็เหมือนกับตัวอักษรฮิบรูว์และรัสเซีย

 


 

หนวดรุงรัง

เอกลักษณ์อันโดดเด่นของแฮกริดคงหนีไม่พ้นหนวดที่ยาวดูรกรุงรัง เห็นแบบนี้แล้วมันก่อปัญหาให้ร็อบบี้ โคลเทรน นักแสดงผู้รับบทเป็นแฮกริดในภาพยนตร์ไม่น้อย เพราะเขามักจะลืมสิ่งต่างๆ ไว้ในหนวดนั้น ตั้งแต่พัดลมอันเล็กๆ หรือแม้แต่ผลไม้ นึกภาพออกเลย น่าสงสารจริงๆ

 


 

จุมพิตแห่งความตาย

อันนี้น่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าผู้เสพความตาย ผีร้ายที่เฝ้าคุมขังคุกแห่งอัซคาบันเป็นตัวแทนของโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นกับเธอในช่วงที่เธอสูญเสียแม่ แล้วการต่อสู้ระหว่างผู้พิทักษ์กับผู้เสพความตายเองก็แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ของเธอกับโรคนี้จนเธอสามารถเอาชนะมันได้ค่ะ

 


 

หนังสือที่ขายหมดอย่างรวดเร็ว

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ จากรายงานข่าวในปี 2008 แฮร์รี่ พอตเตอร์ถูกแปลมากกว่า 67 ภาษา มียอดขายมากกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก ส่วนหนังสือเล่มสุดท้ายของภาคอย่างเครื่องรางยมทูตนั้น แค่ตีพิมพ์ครั้งแรกก็มียอดขายไปแล้วถึง 12 ล้านเล่มทั่วโลก เรียกได้ว่าวางแผงปุ๊บหมดปั๊บเลยทีเดียว ของดีแบบนี้พี่น้ำผึ้งไม่แปลกใจเลยค่ะ

 


 

นักเขียนพันล้าน

นี่คงเป็นความจริงที่น่าประทับใจที่สุดแล้ว เพราะเจ.เค.โรว์ลิ่งกลายเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ที่รวยเป็นพันล้านดอลล่าห์สหรัฐจากการเขียนหนังสือ ถ้าคนที่เคยอ่านประวัติของเจ.เค.โรวล์ลิ่งมาก่อนจะรู้ว่าก่อนหน้านี้เธอยากจนขนาดที่ว่าต้องอาศัยเงินจากรัฐบาลมาช่วยเลี้ยงดูเธอและลูกเลยทีเดียว เรียกได้ว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์เปลี่ยนชีวิตให้พลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือ

 


 

ฉากสวีทแฮร์รี่และเฮอร์ไมโอนี่

ในระหว่างการถ่ายทำฉากจูบกันของแฮร์รี่และเฮอร์ไมโอนี่ (เวอร์ชั่นฮอครักซ์) ในภาคสุดท้ายของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ รูเพิร์ต กรินท์ถูกขอร้องให้ออกมาจากฉากนั้นโดยด่วน หลังจากที่เขาไม่สามารถกลั้นขำได้ แถมหัวเราะเสียงดังระหว่างการถ่ายทำอีกต่างหาก ถ้าขืนยังอยู่ต่อไปมีหวังไม่มีทางถ่ายทำได้แน่นอน 

 


 

จัดการกับหัวขโมย

ทอม เฟลตันให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่เสร็จสิ้นการถ่ายทำภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ทีมคอสตูมตัดสินใจเย็บกระเป๋าเสื้อคลุมฮอกวอตส์ทั้งหมดเพราะทอม เฟลตันชอบลักลอบนำขนมเข้ามากินในฉาก! ก็แหม…เด็กมันหิวนี่นะ ช่วยไม่ได้

 


 

รถยนต์หายไปไหน?

เห็นแบบนี้แล้ว หนึ่งในรถยนต์บินได้ที่ถูกใช้ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับถูกขโมยและหายสาบสูญไปจากกองถ่าย หลังจากนั้น 7 เดือนต่อมาก็พบกับเจ้ารถบินได้ที่หายสาบสูญไปเพราะมีใครบางคนโทรไปแจ้งเบาะแสกับตำรวจ นับว่ายังดีนะที่ได้กลับคืนมา

 


 

มิเนอร์ว่ากลับชาติมาเกิด

ไม่รู้ว่าทางทีมงานตั้งใจจริงๆ หรือเป็นข้อผิดพลาดกันแน่ เพราะมิเนอร์ว่า มักกอนนากัล (M.G. McGonagall) ดันติดโผอยู่ในลิสต์นักกีฬาควิดดิชที่อยู่ในห้องเกียรติยศ แถมยังอยู่ทีมเดียวกับเจมส์ พอตเตอร์อีกด้วย ทั้งที่ความจริงแล้วเธอเรียนจบตั้งแต่ปี 1954 ก่อนจะกลับมาสอนวิชาการแปลงร่างที่ฮอกวอตส์ในปี 1956 

แม้ว่าวันที่อาจมีผิดพลาดบ้างอะไรบ้าง แต่ก็ได้รับการยืนยันว่ามิเนอร์ว่า มักกอนนากัลเคยอยู่ในทีมควิดดิชประจำกริฟฟินดอร์ ก่อนจะประสบอุบัติเหตุซี่โครงหักในปีสุดท้ายของการเเข่งขันควิดดิชกับทีมสลิธิริน สงสัยเหรียญเกียรติยศที่ปรากฎในภาพยนตร์จัดทำขึ้นเพื่อยืนยันว่ามิเนอร์ว่า มักกอนนากัลมีแพชชั่นในการแข่งควิดดิช เสียอย่างเดียว…มันไม่ควรเป็นปี 1971 เท่านั้นแหละ

 


 

เฮอ – “มาย” – โอ – นี

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ คนมักมีปัญหากับการออกเสียงชื่อของเฮอร์ไมโอนี่มากๆ บางคนก็อ่านว่าเฮิร์มนี่บ้าง เฮอร์มิวันบ้าง เพราะงั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ เจ.เค.โรว์ลิ่งเลยบอกฮาวทูอ่านออกเสียงสาวเฮอร์ผ่านตัวละคร “วิกเตอร์ ครัม” ในแฮร์รี พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีซะเลย อ่านว่า เฮอ – “มาย” – โอ – นี นะจ๊ะ

 


 

ล็อกเก็ตของสลิธิริน 

รู้หรือไม่ ฮอร์ครักซ์ชิ้นที่สี่ของโวลเดอร์มอร์อย่างล็อกเก็ตสลิธิรินนั้น แท้จริงแล้วจุดประสงค์หลักของทางทีมงานผู้สร้างภาพยนตร์คือต้องการให้มันเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงของแฮร์รี่กับรอนในการทำลายฮอร์ครักซ์ แล้วมันก็ได้ผลจริงๆ ด้วย กว่าจะทำลายได้ มิตรภาพของสามสหายก็เกือบถูกทำลายเช่นกัน

 


 

ต้องขายตอนปิดเทอมเท่านั้น

ตอนที่มีการเปิดตัวหนังสือแฮรี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันในสหราชอาณาจักร ทางสำนักพิมพ์ได้ขอร้องให้ร้านขายหนังสืออย่าเพิ่งวางขายหนังสือเล่มนี้จนกว่าเด็กๆ จะปิดภาคเรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการไม่ตั้งใจเรียนในโรงเรียนของเด็กๆ แหม เป็นห่วงการศึกษาขนาดนี้ ยกมงนางงามให้เลยจ้า

 


 

เพื่อความเนียนของตัวละคร

อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งความจริงที่น่าสนใจ เพื่อความคุ้นเคนกับบทบาทที่ได้รับของสามสหาย ผู้กำกับภาพยนตร์ได้มอบหมายการบ้านเล็กๆ น้อยๆ ให้พวกเขาทำ มันคือการเขียนเรียงความเกี่ยวกับตัวละครที่เขาได้รับบทบาท แน่นอนว่าเอ็มม่า วัตสันเขียนถึงเฮอร์ไมโอนี่ 16 หน้า เดเนียล แร็ดคลิฟท์เขียนเหมือนคนทั่วไปเขียนคือ 1 หน้า ส่วนรูเพิร์ต กรินท์พีคที่สุด…ไม่เขียนเลยจ้า ช่างเหมาะสมกับบทบาทเลยจริงๆ 

 


 

ชนะเอ็ดเวิร์ด คัลแลนได้

อย่างที่รู้กันดี ในช่วงที่ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์โลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม ทไวไลท์เองก็โลดแล่นเหมือนกัน ที่น่าประทับใจก็คือ ภาคที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุดในซีรี่ส์ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์อย่าง “แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน” นั้นกลับทำรายได้ได้มากกว่าภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของทไวไลท์ถึง 90 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว!!

 

เป็นยังไงบ้างคะน้องๆ ชาวเด็กดีกับความจริงสุดพีค 25 ข้อของแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่พี่น้ำผึ้งนำมาฝากในวันนี้ ค่อนข้างแน่ใจว่าทุกคนได้อะไรไปใหม่ๆ ไม่มากก็น้อย ว่าแต่ความจริงข้อไหนที่ทุกคนคิดว่ามันน่าประหลาดใจสุดๆ คะ? ส่วนตัวพี่คิดว่าเป็นเรื่องของชื่อฮอกวอตส์ (ฮา) แปลกดี ไม่เคยรู้มาก่อนเลย แล้วสำหรับครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น รอติดตามได้เลยจ้า

 

 

 

พี่น้ำผึ้ง 🙂 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

https://www.j-14.com/posts/emma-watson-kicked-rupert-grint-out-while-kissing-dan-radcliffe-3247
https://www.theguardian.com/books/2008/jun/18/harrypotter.news
http://www.mugglenet.com/2014/04/tom-felton-attends-calgary-expo-admits-to-sneaking-candy-onto-potter-set/
https://list25.com/25-harry-potter-facts-that-will-knock-you-off-your-broomstick

 

Deep Sound แสดงความรู้สึก


ดูกับจั๊ว – โฆษณา ชีวาส รีกัล พ.ศ. 2535 TVC Chivas Regal Thailand 1992 – Right Here Waiting


Chivas Regal Connoisseur
โฆษณาที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ที่มาของหนังโฆษณาที่ต้องจดบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของวงการโฆษณาไทยนี้ เริ่มต้นจากในปี 2535 ซึ่งทางซีแกรม (เดิม) ต้องการทำหนังโฆษณาเพื่อกระตุ้นยอดขายของชีวาส รีกัล โดยมีเอเยนซีโอกิลวี่มารับผิดชอบผลิตชิ้นงานให้ โฆษณาชีวาสเรื่องนี้ทางทีมงานได้เลือกเอาเพลง Right Here Waiting ของ Richard Marx นักร้องเพลงป๊อปชื่อดังที่มียาวถึง 3 นาทีมาทำเป็นมิวสิกวิดีโอ โดยมีพระเอกลูกครึ่งอย่าง ไมเคิล หว่องมาเล่นเป็นพระเอก คู่กับ Janet Ma ซึ่งภายหลังทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันด้วย
หลังจากออกอากาศในวันที่ 22 ตุลาคม 2535 ด้วยความไพเราะเสนาะหูของเพลง ประกอบกับภาพที่สุดแสนจะโรแมนติกของหนังโฆษณา คงไม่ต้องบอกว่าภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้จะกลายเป็น Talk of The Town ในช่วงเวลาข้ามคืน การเข้ามารับบทพรีเซ็นเตอร์วิสกี้ชีวาส ของไมเคิล หว่องครั้งนี้ ทำให้ไมเคิล หว่องได้กลายมาเป็นขวัญใจสาวไทยชั่วข้ามคืน ต่อมาทางค่ายแกรมมี่ก็เป็นสิงห์ปืนไวที่จับเอาไมเคิล หว่องมาร้องเพลง ฉันมาไกล จนดังระเบิดเถิดเทิง พูดได้อย่างเต็มปากว่าภาพยนตร์โฆษณาชีวาส รีกัลชุดนี้ คุณดาวสามารถถ่ายทอดความโรแมนติกได้อย่างสวยงาม ลงตัวจริงๆ
เครดิต ชื่อเรื่อง: Connoisseur
ผลิตภัณฑ์/บริการ: ชีวาส รีกัล
เจ้าของผลิตภัณฑ์: ซีแกรม (ประเทศไทย)
ตัวแทนโฆษณา: โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประเทศไทย)
ผู้ผลิตภาพยนตร์โฆษณา : สยาม สตูดิโอ
ผู้ออกความคิดโฆษณา: แบรี่ โอเว่น
ผู้กำกับภาพยนตร์: นิดา สุทัศน์ ณ อยุธยา
Music: Right Here Waiting by Richard Marx

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ดูกับจั๊ว - โฆษณา ชีวาส รีกัล พ.ศ. 2535 TVC Chivas Regal Thailand 1992 - Right Here Waiting

Johnnie Walker: Walking With Giants จอห์นนี่ วอล์กเกอร์


ติดตามข่าวสารวงการโฆษณาไทย หนังโฆษณาใหม่ล่าสุดได้ที่
http://www.thaitvc.com

Johnnie Walker: Walking With Giants จอห์นนี่ วอล์กเกอร์

Gourmet : Johnnie Walker Gold Label Reserve Signature cocktails ‘Honey Comb’


Link: www.hisoparty.com/lifestyle/gourmet/johnniewalkergoldlabelreservesignaturecocktailshoneycomb
ปาร์ตี้ที่ขาดเครื่องดื่ม ก็เหมือนภาพวาดที่ขาดสีสัน เครื่องดื่มรสชาติเยี่ยม ย่อมช่วยเพิ่มสีสันของงานปาร์ตี้ให้มีรสชาติและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น หนุ่มสังคมอย่าง คุณคิดคณชัย เบญจรงคกุล ที่มีงานปาร์ตี้สังสรรค์อยู่บ่อยครั้ง จึงได้เดินทางมาที่ BACKSTAGE COCKTAIL BAR เพื่อพบกับ คุณหนึ่งรณภร คณิวิชาภรณ์ เจ้าของตำแหน่ง Thailand Winner Diageo’s Worldclass Bartender ปี 2014 เพื่อขอเคล็บลับการผสมค็อกเทลไปเติมเต็มรสชาติให้กับงานปาร์ตี้…

Gourmet : Johnnie Walker Gold Label Reserve Signature cocktails  'Honey Comb'

10 เรื่องจริงของ Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) ~ LUPAS


คุณคงรู้จัก Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) แบรนด์วิสกี้ระดับตำนาน ที่ครองใจนักดื่มทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในวันนี้ครับเราจะพาคุณมาพบกับ 10 เรื่องจริงของ Johnnie Walker
ที่คุณอาจไม่เคยรู้
10เรื่องจริงJohnnieWalker วิสกี้
เรื่องจริงอันดับที่ 10 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์)
เรื่องจริงอันดับที่ 9 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) Striding Man
เรื่องจริงอันดับที่ 8 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) บรรจุภัณฑ์
เรื่องจริงอันดับที่ 7 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) รุ่นพิเศษเพื่อชาวไทย
เรื่องจริงอันดับที่ 6 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) คล้ายกับยาดอง
เรื่องจริงอันดับที่ 5 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) Jane Walker
เรื่องจริงอันดับที่ 4 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) Keep Walking
เรื่องจริงอันดับที่ 3 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) Blue Label
เรื่องจริงอันดับที่ 2 : Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) Masters’ Edition
เรื่องจริงอันดับที่ 1 : บริษัทแม่ของ Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์)

10 เรื่องจริงของ Johnnie Walker (จอห์นนี่ วอล์คเกอร์) ~ LUPAS

Johnnie walker เป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ


Johnnie walker เป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ จอ ห์ น นี่ วอ ค เกอร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *