[Update] โรคระบาดกลางสงครามเอเธนส์ VS สปาร์ตา นำมาสู่ยุคประชาธิปไตยกลายพันธุ์? | เพโลพอนนีเซียน – Australia.xemloibaihat

เพโลพอนนีเซียน: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ภาพโรคระบาดในยุคโบราณ โดย Michiel Sweerts คาดว่าวาดระหว่าง 1652-1654 เชื่อว่า เป็นภาพที่เชื่อมกับเหตุการณ์โรคระบาดในเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็มีบางส่วนในภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น (ภาพจาก Los Angeles County Museum of Art – Public Domain)

ในสงครามกรีกที่น่าสนใจครั้งหนึ่งซึ่งถูกขนานนามว่า “สงครามเพโลพอนนีเซียน” (Peloponnesian War) อันเกิดในช่วง 431–404 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากจะสะท้อนความขัดแย้งครั้งใหญ่ของสำหรับชาวกรีกในช่วงเวลานั้นแล้ว ยังสะท้อนผลกระทบจากโรคระบาดด้วย

“สงครามเพโลพอนนีเซียน” คือสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์ และกลุ่มสปาร์ตาพร้อมเหล่าพันธมิตรที่ส่วนใหญ่มาจากแถบเพโลพอนนีสหรือเรียกกันว่า “สันนิบาตเพโลพอนนีส” โดยส่วนหนึ่งแล้วก็ตั้งขึ้นเพื่อคานอำนาจฝั่งทัพเรือเอเธนส์ที่ครองความยิ่งใหญ่ในทะเลเอเจียน บรรดาเกาะในทะเลแถบนี้คือส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเอเธนส์ เอเธนส์ ยังเป็นผู้นำของสันนิบาตเดเลียน (Delian League) อันเป็นการรวมตัวของนครรัฐอื่นๆ ในดินแดนกรีซโดยมีเอเธนส์ เป็นผู้นำ

ส่วนฝั่งสปาร์ตา มีกองทัพบกที่แข็งแกร่ง และอยู่ในสภาพระแวดระวัง สภาพเช่นนี้สืบเนื่องมาจากสังคมชาวสปาร์ตัน ต้องใช้งานชาวเมสซีเนียน (เรียกโดยรวมว่า Helot) พวกสปาร์ตัน จึงต้องจับตากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด เพราะหวั่นเรื่องการเคลื่อนไหวปฏิวัติต่างๆ นั่นหมายความว่า พวกเขาก็จับตาดูแหล่งอำนาจอื่นๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทเหนือกลุ่มนั้นด้วยเช่นกัน ซึ่งฝั่งเอเธนส์ ก็นิยมขยับขยายอำนาจของตัวเองออกไปด้วย สถานการณ์นี้จึงทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาค สงครามจึงแทบเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง และย่อมปะทุขึ้นไม่ช้าก็เร็วนั่นเอง

Table of Contents

ทิวซิดิดีส

เรื่องราวรวมถึงสาเหตุของการทำสงครามครั้งนั้นปรากฏในบันทึกของทิวซิดิดีส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์กรีกผู้จดบันทึกสงครามครั้งนี้ ทิวซิดิดีสเป็นชาวเอเธนส์ที่มีชีวิตในช่วงเกิดสงคราม ขณะที่บันทึกหลักฐานอื่นมีรายละเอียดไม่เท่ากับหลักฐานจากทิวซิดิดีส

สำหรับหลักฐานเกี่ยวกับประวัติชีวิตของทิวซิดิดีส ผู้นี้มีไม่มากนัก ข้อมูลโดยทั่วไปแล้วบอกว่า เขาเป็นชนชั้นสูงชาวเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ในช่วงมหาสงคราม เขาเป็นผู้ควบคุมกองเรือในเอเจียน และยังได้รับมอบหมายภารกิจให้ไปช่วยเหลือพันธมิตรของเอเธนส์ จากแม่ทัพสปาร์ตา แต่ไปไม่ทันเวลา เมืองแห่งนั้นจึงตกเป็นของสปาร์ตา ทิวซิดิดีส ถูกลงโทษด้วยการเนรเทศ และเชื่อว่า เมื่อมีเวลาเขาจึงใช้บันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ สามารถพูดคุยกับคนทั้งสองฝ่าย รวบรวมหลักฐาน

เนวิลล์ มอร์ลีย์ (Neville Morley) ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์คลาสสิกและยุคโบราณจากมหาวิทยาลัย Exeter มองว่า ทิวซิดิดีส ไม่ได้โน้มเอียงเข้าข้างเอเธนส์ และไม่ได้เข้าข้างฝั่งสปาร์ตา เช่นกัน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเชื่อข้อมูลโดยรวมของทิวซิดิดีส (มีรายละเอียดบางจุดที่นักวิชาการสาขาอื่นไม่ปักใจเชื่อ ซึ่งจะกล่าวถึงในเนื้อหาต่อไป) แม้จะมีสมมติฐานว่า เขาอาจไม่ได้บอกเล่าข้อมูลแบบครบถ้วนสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยก็ไม่ได้บิดเบือนข้อมูลออกไป เขาให้ข้อมูลสงครามครั้งนั้นในมุมมองของเขาอันรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาดท่ามกลางสงครามด้วย

เนวิลล์ ยังยกประเด็นตักเตือนอีกข้อว่า ในประวัติศาสตร์มีทิวซิดิดีส 2 ราย รายหนึ่งคือ ทิวซิดิดีส บุตรแห่ง Melesias ขณะที่ “ทิวซิดิดีส” ซึ่งเป็น “นักประวัติศาสตร์” คือ ทิวซิดิดีส บุตรแห่ง Olorus

ชนวนสงคราม

ชนวนของสงครามจากการอธิบายของโกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ระบุไว้ว่า จุดแตกหักเริ่มมาจากนครรัฐคอรินธ์ ซึ่งเป็นสมาชิกสันนิบาตเพโลพอนนีส (ฝั่งสปาร์ตา) เริ่มสร้างฐานการค้าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แข่งกับเอเธนส์ เวลาต่อมา นครรัฐคอรินธ์ ไม่ลงรอยกับนครรัฐคอร์ซิรา แห่งสันนิบาตเดลอส (ฝั่งเอเธนส์)

เอเธนส์ ที่เป็นผู้นำกลุ่มจึงเข้ามาช่วยเหลือนครรัฐคอร์ซิรา ส่วนสปาร์ตา ก็เข้ามาช่วยเหลือคอรินธ์ ภายหลังจึงเกิดสงครามปะทุกลายเป็นมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายช่วง

เมื่อสงครามเริ่มต้นขึ้นไม่นาน ปีที่ 2 ของสงครามก็เริ่มมีโรคระบาดเข้ามาส่งผลกระทบต่อสงครามที่กินเวลายาวนาน 30 ปี จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ โรคระบาดเข้ามาเล่นงานฝั่งเอเธนส์ ซึ่งขณะนั้นกำลังถูกปิดล้อมโดยสปาร์ตา ภายในเวลา 3 ปีต่อมา ประชาการส่วนใหญ่ติดโรคระบาด คาดว่าประชากรราวร้อยละ 25 หรือประมาณ 75,000 ถึง 100,000 คน เสียชีวิตลงเพราะโรคระบาด แต่นี่เป็นอีกหนึ่งข้อมูลตัวเลขจากยุคโบราณซึ่งนักประวัติศาสตร์ยังตั้งคำถามถึงน้ำหนักความน่าเชื่อถืออยู่ บันทึกของทิวซิดิดีสก็ไม่ได้เอ่ยถึงตัวเลขผู้เสียชีวิต

บันทึกของทิวซิดิดีส ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับโรคระบาดค่อนข้างละเอียด และเชื่อว่าบันทึกเกี่ยวกับโรคระบาดของเอเธนส์ ส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์ภูมิภาคตะวันตกมาอีกหลายพันปี อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยโดยนักประวัติศาสตร์ยุคใหม่พบว่า ในรอบ 100 ปีหลังมานี้ นักฟิสิกส์และนักวิจัยไม่เห็นด้วยกับต้นตอและลักษณะของโรคระบาด

ข้อมูลเบื้องต้นของโรคระบาดนั้น เนวิลล์ เล่าไว้ว่า มีจุดเชื่อมโยงกับช่วงเริ่มต้นสงคราม เพริคลีส (Pericles) ผู้นำคนสำคัญของเอเธนส์(ทั้งในทางการเมืองและอื่นๆ) และเป็นผู้นำเอเธนส์ เข้าสู่สภาวะสงคราม เขามองว่า ฝั่งสปาร์ตา แข็งแกร่งอย่างมากในการรบบนบก ขณะที่เอเธนส์ มีพื้นที่ใกล้ชิดทะเล เอเธนส์ ไม่เพียงมีกำแพงล้อมรอบเมืองเท่านั้น กำแพงยังล้อมรอบไปถึงท่าของเมืองด้วย กลยุทธ์ของเพริคลีส คือใช้กำแพงเป็นเกราะกำบัง พวกเขามีเสบียงเพียงพอ ตราบใดที่พวกเขามีทัพเรืออันเป็นที่เลื่องลือเป็นกำลังสำคัญในการรบ พวกเขาย่อมไม่ได้รับอันตรายใดๆ จากการบุกของสปาร์ตัน เมื่อสปาร์ตัน บุกไม่สำเร็จก็จะเหนื่อยหน่ายไปเอง ขณะเดียวกันพวกเขาจะส่งกองเรืออ้อมไปโจมตีฝั่งตรงข้ามทุกทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรรายเล็กรายน้อยของสปาร์ตา

ปีแรกของสงครามออกมาในรูปแบบข้างต้น พวกสปาร์ตัน รุกรานมาเรื่อย แต่เมื่อไม่พบอะไรก็เผาพืชผลและจากไป ส่วนทัพเรือของเอเธนส์ ก็ยึดพื้นที่ทะเล และสปาร์ตันกับพันธมิตรก็ไม่กล้าเข้าเผชิญหน้ารบกันทางทะเล ช่วงเวลานั้นฝั่งเอเธนส์ ก็มีสูญเสียกำลังคนบ้างจนปรากฏสุนทรพจน์ของเพริคลีส ซึ่งนักการเมืองสหรัฐฯ ยังหยิบยกไปใช้อย่างวาทะว่า

(เอเธนส์ เป็นนครที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีเสรีภาพมากกว่าสปาร์ตา ซึ่งเป็นเผด็จการทหาร)

แต่หลังจากสุนทรพจน์นี้ผ่านไป โรคระบาดก็ตามมา

โรคระบาดในสงคราม

ทิวซิดิดีส เล่าไปถึงโรคระบาดว่า เป็นโรคระบาดที่เดี๋ยวมาเดี๋ยวไป กินเวลารวมประมาณ 4-5 ปี เนื้อหาส่วนใหญ่ที่ทิวซิดิดีส บอกเล่าพุ่งเป้าไปยังปีแรกของโรคระบาดมากกว่า เขาชี้ให้เห็นว่ามันส่งผลทุกข์ทรมานอย่างไรบ้าง

สิ่งที่ทิวซิดิดีส บอกเล่าเกี่ยวกับโรคระบาดนั้น ระบุว่าโรคที่ชาวเอเธนส์ พบเจอเป็นสิ่งใหม่และเน้นชัดว่าเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครพบเห็นมาก่อน อีกประการหนึ่งที่พอสังเกตได้คือ หากเกิดระบาดในวงกว้าง ประชากรติดโรคจำนวนมากก็อาจชี้อีกทางว่า พวกเขาไม่เคยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคมาก่อน

ทิวซิดิดีส เล่าว่า โรคเริ่มจากเอธิโอเปีย (ไม่มีคำยืนยันใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงสิ่งที่ทิวซิดิดีส บอกเล่าสิ่งที่เขาเชื่อ) เขาเล่าว่ามันระบาดเข้าสู่อียิปต์ และแถบชายฝั่งแอฟริกันไปทางตะวันตกมาสู่ลิเบีย (ชื่อเรียกตามพื้นที่ปัจจุบัน)

ทิวซิดิดีส ยังบอกเล่าว่าโรคระบาดส่งผลกระทบต่อ “ดินแดนของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่” (น่าจะหมายถึงเปอร์เซีย) โรคระบาดแพร่ไปทางตะวันออกในเวลาต่อมา แต่ไม่อาจบ่งชี้ได้ว่า ระบาดไปไกลแค่ไหน จากนั้นก็มาถึงตาของเอเธนส์ โรคระบาดแพร่กระจายไปทั่วเอเจียน อย่างน้อยก็มีเกาะแห่งหนึ่งที่โดนระบาดใส่ขณะที่โรคระบาดแพร่กระจายไปตามเส้นทาง และค่อนข้างแน่ชัดว่าเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เอเธนส์ จะพลอยมีโรคระบาดไปด้วยเนื่องจากเอเธนส์ เป็นศูนย์กลางการค้า มีเรือเข้าออกมากมาย

ขณะที่บางพื้นที่ของกรีซโบราณยังเป็นพื้นที่แยกออกมา ส่วนฝั่งสปาร์ตา และพันธมิตรได้รับผลกระทบจากโรคระบาดน้อยมาก พวกเขาไม่โดนระบาดใส่ก็ว่าได้ แต่สำหรับเอเธนส์ ที่เชื่อมต่อกับโลกภายนอก มีประชากรจำนวนมาก หนำซ้ำประชากรยังอยู่แต่ในกำแพงด้วย บริบทแวดล้อมนี้นำมาสู่การระบาดของโรคติดต่อไม่มากก็น้อย

โรคชนิดใด?

หากถามว่าโรคที่ระบาดคือโรคอะไร กรณีนี้เป็นสิ่งที่เกริ่นข้างต้นว่า มีบางจุดที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัย ทิวซิดิดีส เล่าอาการของโรคหลากหลายมากมายจนนักประวัติศาสตร์ (หรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เอง) ยังไม่สามารถฟันธงชี้ชัดว่าเป็นโรคอะไร

เนวิลล์ เล่าว่า บันทึกของทิวซิดิดีส ใส่รายละเอียดทั้งหมดลงไปโดยไม่ได้แยกระหว่างอาการที่บ่งชี้สัญญาณของโรคจากข้อมูลอื่นๆ เบื้องต้นแล้วมีไข้ จากนั้นผู้มีอาการเริ่มจาม เสียงแหบ และไออย่างรุนแรง (ถึงตอนนี้บางคนอาจเริ่มคิดว่าเป็นโควิด-19 หรือไม่ก็เป็นได้)

แต่กล่าวได้ว่า โดยรวมแล้วเริ่มจากอาการในลำคอและเริ่มลงไปที่ปอดและท้อง ผู้ป่วยเริ่มอาเจียนน้ำดี (spewing out bile) มีอาการชัก และอาเจียนแบบไม่มีสารใดออกมา อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นเวลานาน

ส่วนผิวหนังเริ่มมีจุดแดงพร้อมตุ่มหนอง เกิดแผลเปื่อย ผู้ป่วยจะรู้สึกร่างกายร้อน ไม่สามารถห่มผ้าบางๆ ได้ และอยากสัมผัสน้ำเย็น กระหายน้ำตลอดเวลา กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ หากมีอาการติดต่อกันนานระยะหนึ่งก็จะเริ่มส่งผลต่อแขนขา มีแนวโน้มเนื้อนิ้วมือและเท้าเน่า แผลเปื่อยอย่างรุนแรง ถ่ายเหลว ท้องร่วง

แต่น่าสนใจว่า ทิวซิดิดีส ก็ป่วยและรอดชีวิต นอกเหนือจากผู้บันทึกบอกเล่าแล้วก็มีบางรายรอดชีวิตด้วย

ทิวซิดิดีส เล่าว่า สิ่งที่โรคร้ายส่งผลกระทบประการหนึ่งคือ การที่ผู้คนหมดหวัง เขาเล่าว่า ผู้คนจะมองว่าพวกเขาหมดหวังแล้ว ยาใดๆ ล้วนไม่มีผล ไม่มีใครหาวิธีรักษาได้ และไม่มีใครพบการรักษาที่ได้ผลกับทุกคน เชื่อว่า อาจมีบางคนที่พบวิธีทำให้อาการบรรเทาลง แต่เมื่อไปทดลองกับคนอื่นกลับไม่ได้ผล ขณะที่แพทย์คือผู้ที่ติดโรคมากกว่าผู้อื่นเพราะต้องรักษาผู้มีอาการ ส่วนศาสนาและความเชื่อก็ไม่ได้ผลเช่นกัน

ทิวซิดิดีส ไม่ได้เล่าว่า รัฐรับมือกับโรคนี้อย่างไร แต่โดยรวมแล้ว เนวิลล์ อธิบายว่า การรับมือโรคสมัยโบราณจะมีการสังเวย สันนิษฐานว่า ผู้คนส่วนมากเวลานั้นเชื่อว่า โรคระบาดถูกส่งมาโดยเทพเจ้า โรคระบาดคือเทพอพอลโล ยิงธนูมาปักโดน (อีเลียด ของโฮเมอร์ เล่าว่าแคมป์กรีกมีโรคระบาด และบอกว่าเป็นฝีมืออพอลโล ที่เดือดดาลเพราะอกาเมนนอน)

เนวิลล์ มองว่า สิ่งที่ทางการน่าจะกังวลที่สุดในสมัยนั้นคือการจัดการร่างของผู้เสียชีวิตมากกว่า ประเด็นนี้คืออีกหนึ่งข้อที่ทิวซิดิดีส เล่าถึงผลกระทบของโรค ทิวซิดิดีส ไม่ได้เล่าสภาพแบบชัดเจน แต่นักโบราณคดีพบหลุมศพขนาดใหญ่ในภายหลังอันเป็นหลุมที่ตรงกับช่วงเวลานั้น และแสดงให้เห็นว่าผู้คนสมัยนั้นยังไม่มีระบบจัดการร่างผู้เสียชีวิตจากโรคแบบเหมาะสม ผู้คนไม่อยากจัดงานศพแบบเหมาะสม พวกเขาจะหาฟืนและไม้จากงานศพของคนอื่น จากนั้นก็วางศพที่จะจัดการไว้ด้านบนต่อ หรือไม่ก็หาซากฟืนและไม้ที่กำลังอยู่ระหว่างเผาอยู่แล้วแทรกศพที่จะจัดการลงไป แต่สภาพนี้ก็ไม่มีหลักฐานพอจะบ่งชี้ว่าเป็นรัฐหรือคนทั่วไปทำ

โรคที่เป็นไปได้?

หากวิเคราะห์เบื้องต้นจากอาการของโรค เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของการที่ทิวซิดิดีส บันทึกไว้ มีความเป็นไปได้ 2 ชนิดที่โรคระบาดในเอเธนส์ จะเป็นโรคเหล่านี้ในยุคโมเดิร์น คือ ไข้ทรพิษ กับโรคไข้รากสาดใหญ่

แต่หากพิจารณาจากระเบียบวิธีสมัยใหม่ อาทิ นิติเวชทางมานุษยวิทยา, ประชากรศาสตร์, ระบาดวิทยา รวมถึงการวิเคราะห์ดีเอ็นเอแล้ว การระบาดในบันทึกของทิวซิดีดีส มีข้อน่าสงสัย

จากการสร้างโมเดลตัวอย่างผ่านการคำนวณทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อและผู้มีอาการ ประกอบกับการจำลองระยะเวลาว่า เชื้อโรคใช้เวลาแพร่กระจายจากเมืองสู่เมืองนานแค่ไหน และระบาดในพื้นที่หนึ่งได้นานเพียงใด ทำให้มองว่า โรคทั้ง 2 กลุ่มมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นโรคต้องสงสัยในสมัยนั้น

งานวิจัยหยิบยกผลการขุดค้นพบหลุมศพขนาดใหญ่เมื่อปี 2001 ที่เชื่อว่าเป็นหลุมของผู้เสียชีวิตในช่วงที่เกิดการระบาดในบันทึก ทีมงานสามารถสกัดจุลินทรีย์ไทฟอยด์ (Salmonella enterica serovar Typhi) จากกระดูกกะโหลก 3 ชิ้น แต่เนื่องด้วยโรคไทฟอยด์เป็นโรคระบาดทั่วไปในกรีก จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นสาเหตุของโรคระบาดลุกลามในครั้งนั้น

มีคำถามที่น่าสนใจข้อหนึ่งว่า ไฉนโรคนี้ไม่ระบาดไปถึงฝั่งสปาร์ตา และพันธมิตร เนวิลล์ อธิบายว่า ไม่มีข้อมูลใดเกี่ยวกับโรคระบาดในฝั่งสปาร์ตา ปรากฏเพียงแค่ข้อกล่าวอ้างที่บอกว่ากระทบสปาร์ตา เล็กน้อยเท่านั้น และน่าจะสืบเนื่องมาจากสปาร์ตา เป็นชนที่นิยมการแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว ชาวสปาร์ตัน ไม่ได้ทำการค้าขาย เท่าที่มีข้อมูล พวกเขาเป็นกลุ่มที่พึ่งพาตนเอง ถ้าจะพบชาวสปาร์ตัน ได้ก็ต้องบนสมรภูมิ โดยทั่วไปแล้วไม่ค่อยได้เผชิญหน้ากับสปาร์ตัน ในตลาดการค้าแถบเอเจียน แต่นี่เป็นเพียงสันนิษฐานเท่านั้น เหตุผลตามความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นทั้งหมดก็ได้หากพิจารณาร่วมกับกรณีโครินเธียนส์ อีกหนึ่งพันธมิตรของสปาร์ตา ซึ่งแข็งแกร่งในการรบทางเรือและเป็นมหาอำนาจอีกรายในทางการค้า ทิวซิดิดีสก็บอกว่า โครินเธียนส์ ไม่ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน

สงครามท่ามกลางโรค

เมื่อเกิดโรคระบาดท่ามกลางสงครามแล้ว ดูเหมือนว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังพุ่งเป้าก็คือ สงครามอยู่ดี พวกเขายังไม่มีท่าทีขอสงบศึก ไม่ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การรบ จนกระทั่งเพริคลีสติดโรคระบาดและเสียชีวิตลง ซึ่งการสูญเสียแบบนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่

ในภาพรวมแล้ว นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดไม่น่าจะกระทบต่อกลยุทธ์การรบ แต่เป็นการเสียชีวิตของเพริคลีส มากกว่าที่กระทบต่อกลยุทธ์ นำมาซึ่งสภาพเมืองเอเธนส์ แบบที่ไม่สามารถควบคุมได้ กระหาย นิยมความรุนแรง ซึ่งนำมาสู่กลยุทธ์ที่ไม่เหมาะสม

น่าเสียดายที่ทิวซิดิดีส ไม่ได้เอ่ยถึงทางการของเอเธนส์ ว่าพวกเขาทำอย่างไรต่อ แต่เนวิลล์ สันนิษฐานว่า ในเวลานั้น ทางการเอเธนส์ก็คงไร้หนทางเหมือนคนอื่นๆ

เนวิลล์ คาดว่า เพริคลีส น่าจะติดโรคหลังผ่านปีแรกของสงครามไปแล้ว เนื่องจากทิวซิดิดีส เล่าถึง ปีแรกแล้วกระโดดไปเอ่ยถึงเพริคลีส ที่เอ่ยสุนทรพจน์ปกป้องการวางกลยุทธ์ของตัวเอง (ใช้กำแพงเมืองกำบัง และอาศัยความแข็งแกร่งทัพเรือกระจายออกไปเล่นงานฝั่งตรงข้าม) ซึ่งถูกวิจารณ์ จากนั้นเขาติดโรคและเสียชีวิตลง ทิวซิดิดีส ยังสดุดีผู้นำรายนี้อยู่บ้างเมื่อเอ่ยถึงการปกครองของเขา

เมื่อผู้นำเสียชีวิตลง โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ เล่าว่า ผู้นำคนใหม่ของเอเธนส์ ไม่มีความสามารถและบารมีเหมือนกับเพริคลีส จนเอเธนส์แตกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ประชาธิปไตยและนิยมเผด็จการ

ทิวซิดิดีส เอ่ยถึงอิทธิพลของเพริคลีส ว่า นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเพริคลีส ที่สามารถโน้มน้าวใจประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ เขาสั่งการว่าให้ใครทำอะไรและพวกเขาก็ทำตาม แต่เมื่อผู้นำรายนี้จากไปก็ไม่มีใครเทียบเท่าเขามาสานต่อ

เมื่อเป็นเช่นนี้ นักประวัติศาสตร์มองว่า สิ่งที่ชาวเอเธนส์ทำในเวลาต่อมาคือ ออกไปเผชิญหน้ากับสปาร์ตา ซึ่งเดิมทีแล้วมีชาวเอเธนส์จำนวนไม่น้อยเริ่มหงุดหงิดจากที่ต้องนั่งมองพืชผลของพวกเขาถูกทำลายและถูกบอกให้ฟังว่า

บทเรียนจากการรบของเอเธนส์ หลังยุคเพริคลีส

กลยุทธ์ของชาวเอเธนส์ เริ่มเปลี่ยนไปหลังยุคเพริคลีส กล่าวคือ เริ่มมองหาจุดที่โจมตีสปาร์ตา และพันธมิตรมากกว่าเดิม แต่ที่ยังคงรักษาอยู่คือใช้กำแพงเมืองเป็นเครื่องกำบังทางบก และไม่เผชิญหน้ารบกับสปาร์ตันบนแผ่นดิน นี่เป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยน ทิวซิดิดีส เล่าว่า กลยุทธ์นี้เป็นผลให้เอเธนส์ รบชนะหลายครั้ง

เอเธนส์ ได้ชัยที่ยุทธการสแปคทีเรีย จับเชลยสปาร์ตัน ได้หลายร้อยคน ในช่วงนี้เอเธนส์ ถือไพ่เหนือกว่าหลายด้าน ข้อผิดพลาดของเอเธนส์คือพวกเขาได้ใจ ประมาทเกินไป และเริ่มออกสำรวจซึ่งจุดนี้แปรเปลี่ยนจากได้เปรียบกลายเป็นหายนะ

มุมมองของทิวซิดิดีส ต่อสงครามครั้งนี้ส่วนหนึ่งคือมองว่าการสูญเสียเพริคลีส คือจุดเปลี่ยน ชาวเอเธนส์ ที่ไร้มือวางแผนจะเป๋เพราะความทะเยอทะยานและความแค้นเคืองของตัวเอง

เวลาต่อมา เอเธนส์ ภายใต้การนำของ “ทิวซิดิดีส” พ่ายแพ้ที่แอมฟิโปลิส ผลของความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้พวกนิยมเผด็จการยึดอำนาจในเอเธนส์ ภายหลังเอเธนส์ เจรจาสงบศึกกับสปาร์ตา แต่หลังจากนั้นยังคงมีปะทะกันประปรายและเกิดศึกในมหาสงครามครั้งนี้อีก 2 ช่วงต่อมา และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเอเธนส์ ซึ่งทำให้พวกเขาถูกลดอำนาจ อยู่ภายใต้อำนาจของสปาร์ตา

มหาสงครามครั้งนี้ปรากฏข้อถกเถียงอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ มีคนพูดถึงความเสียหายในสงครามครั้งนี้ว่า สิ่งที่เสียหายมากที่สุดของเอเธนส์ คือประชาธิปไตย

โดยภายหลังความพ่ายแพ้ เอเธนส์ ถูกกลุ่มคณาธิปไตย (สนับสนุนฝั่งสปาร์ตา) ขึ้นมาปกครอง หรือที่รู้จักกันในนาม “30 ทรราช” (Thirty Tyrants) แม้ว่าภายหลังจะเกิดรัฐประหารโดย Thrasybulus ผู้นิยมประชาธิปไตยซึ่งไม่ยอมรับว่าความพ่ายแพ้ของเอเธนส์ คือจุดจบของประชาธิปไตยในเอเธนส์) เอเธนส์ พ้นจากอำนาจของสปาร์ตา และกลับมาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอีก แต่ก็ไม่เจริญรุ่งเรืองดังเดิม เป็นเอเธนส์ ยุคนี้ที่ตัดสินประหารชีวิตโซเครติส (Socrates)

กรีซในยุคนั้นกลายเป็นสปาร์ตาครองอำนาจ อีกหลายทศวรรษต่อมานครรัฐมาซิโดเนียคือฝ่ายที่พิชิตกรีซได้ทั้งหมด นำมาสู่ยุคพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

มีการวิเคราะห์กันว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เอเธนส์ มาสู่จุดเปลี่ยนคือ พวกเขาละทิ้งคุณค่าและธรรมเนียมของพวกเขา (ในเชิงการปกครองประชาธิปไตย) หากไม่มีความยึดมั่นเชื่อมั่นในคุณค่าของมันแล้ว ย่อมนำมาสู่ “บทสนทนาของชาวมีเลียน” (Melian Dialogue)

บทสนทนานี้ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์โดยทิวซิดิดีส เป็นบทสนทนาระหว่างเอเธนส์ กับฝั่งเกาะมีลอส (Melos) ซึ่งวางตัวเป็นกลางในช่วงมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน (แม้มีหลักฐานทางโบราณคดีในเวลาต่อมาว่าระหว่าง 428-425 ก่อนคริสตกาล ชาวมีเลียนสนับสนุนทุนให้สปาร์ตา)

ราว 426 ก่อนคริสตกาล (หลังผ่านช่วงแรกของสงครามที่เกิดโรคระบาดและเอเธนส์ สูญเสียเพริคลีสไปแล้ว) เอเธนส์ ยกทัพไปบุกเกาะมีลอส โดยเอเธนส์ไม่ยอมรับความเป็นกลางและให้เลือกว่าถ้าไม่อยู่กับเอเธนส์ ก็ต้องตาย บทสนทนาในบันทึกท่อนหนึ่งปรากฏใจความว่า

“เอเธนส์ : ลืมพระเจ้าไปเสียเถอะ เรื่องของเรื่องคือมันเกี่ยวกับอำนาจและความเข้มแข็ง เราแข็งแกร่งกว่าคุณ ดังนั้น คุณต้องทำตามที่เราบอก”

ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร บันทึกบทสนทนาของทิวซิดิดีส น่าจะต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจเกินเหตุและความหยิ่งยโสของเอเธนส์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ชาวเอเธนส์อาจไม่ได้คิดแบบนี้ทั้งหมด แต่มีคนที่คิดแบบนี้มากพอลงมติให้โจมตี ซึ่งเนวิลล์ มองว่า ประชาธิปไตยที่ไม่ผ่านการควบคุมไตร่ตรองให้ดีมีแนวโน้มทำในสิ่งที่ดูแล้วไร้ซึ่งไหวพริบ

อ้างอิง

Katherine Kelaidis. “What the Great Plague of Athens Can Teach Us Now”.. Online. Published 23 MAR 2020. Access 7 APR 2020. <https://www.theatlantic.com/ideas/archive/2020/03/great-plague-athens-has-eerie-parallels-today/608545/>

Littman RJ. “The plague of Athens: epidemiology and paleopathology”. . 2009 OCT;76(5):456-67. Online. Access 7 APR 2020. <https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19787658?fbclid=IwAR01rcsVYBbcqLw2lS5uE3N1APlQO81ItHB7pj6El8NZzQNdskzBtd5FahU>

NEVILLE MORLEY, RYAN EVANS. “THE PLAGUE AND THE PELOPONNESIAN WAR”. . Online. Published 23 MAR 2020. Access 7 APR 2020. <https://warontherocks.com/2020/03/the-plague-and-the-peloponnesian-war/>

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. กับดักทิวซิดิดีส (Thucydides). . ออนไลน์. เผยแพร่ 11 เมษายน 2561. เข้าถึง 7 เมษายน 2563. <https://www.matichon.co.th/columnists/news_910236>

เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 26 กันยายน พ.ศ.2563

[Update] ทำไมคำถามจึงสำคัญ? สร้างบทสนทนาในห้องเรียนด้วยคำถามแบบโสเครติส : อรรถพล ประภาสโนบล | เพโลพอนนีเซียน – Australia.xemloibaihat

  • การตั้งคำถามแบบโสเครติส’ (Socratic Questioning) การสร้างวิธีการเรียนรู้กับผู้คนด้วยการเข้าไปตั้งคำถามกับความเข้าใจที่ผู้คนมีก่อนหน้า และช่วยให้คู่สนทนารู้ว่าเขามีสิ่งที่ยังไม่รู้ เป็นวิธีคิดของโสเครติสนักปรัชญาชาวกรีก
  • หากเปรียบเปรยก็คงเหมือนตู้ที่มีลิ้นชักนับไม่ถ้วน เราอาจเปิดเพียงลิ้นชักหนึ่งออกมาแล้วว่านี่คือคำตอบหรือความจริงแล้ว แต่โสเครติสแสดงให้เราเห็นว่าตู้ใบนั้นไม่ได้มีเพียงลิ้นชักเดียว จงเปิดลิ้นชักอื่นออกมา ยิ่งเปิดมันมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งได้เห็นคำอธิบาย คำตอบ หรือความจริงมากขึ้นเท่านั้น
  • นักการศึกษาเห็นตรงกันว่าการตั้งคำถามแบบโสเครติส ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เพราะเป็นการเปิดให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับมโนทัศน์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันด้วยในมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดเป็นความเข้าใจใหม่ของนักเรียนขึ้นมา

ครู: เกิดอะไรขึ้นกับภูมิอากาศของโลกเราบ้าง?

นักเรียน Stan: มันกำลังอุ่นขึ้น

ครู: เรารู้ได้อย่างไรว่ามันอุ่นขึ้น อะไรเป็นหลักฐานที่เราใช้สนับสนุนคำตอบ?

นักเรียน Stan: ก็มันอยู่ในข่าวทุกๆ วัน พูดกันเสมอว่าภูมิอากาศจะไม่กลับมาเป็นเหมือนเมื่อก่อน มีการบันทึกค่าความร้อนของแต่ละวันไว้ทั้งหมดด้วย

ครู: มีใครได้ยินข่าวลักษณะนี้อีกไหม?

นักเรียน Denise: เคยค่ะ หนูเคยอ่านเจอในหนังสือพิมพ์ เขาเรียกว่า ‘ภาวะโลกร้อน’

ครู: หนูกำลังจะบอกว่า หนูเรียนรู้เรื่องภาวะโลกร้อนมาจากผู้ประกาศข่าว และหนูก็กำลังตั้งสมมติฐานว่า ผู้ประกาศข่าวรู้ว่าภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้น อย่างนั้นใช่ไหม?

นักเรียน Heidi: หนูก็เคยได้ยินมาเหมือนกัน มันน่ากลัวมาก ยอดภูเขาน้ำแข็งในอาร์กติกกำลังละลาย สัตว์กำลังสูญเสียบ้านของมัน หนูคิดว่าผู้ประกาศข่าวได้ยินมาจากนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาประเด็นนี้อีกที

ครู: งั้นก็หมายความว่าผู้ประกาศข่าวรู้มาจากนักวิทยาศาสตร์อีกที แล้วนักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไรล่ะ?

นักเรียน Chris: พวกเขามีอุปกรณ์ที่จะวัดภูมิอากาศ พวกเขาทำการวิจัยและวัดอุณหูมิของโลก

ครู: เราคิดว่านักวิทยาศาสตร์ทำแบบนั้นมานานแค่ไหนแล้ว?

นักเรียน Grant: คงประมาณ 100 ปี

นักเรียน Candace: อาจจะมากกว่านั้นนิดหน่อย

ครู: จริงๆ แล้ว มีการศึกษาเรื่องภาวะโลกร้อนมากว่า 140 ปีแล้ว ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1860

นักเรียน Heidi: พวกเราตอบได้ใกล้เคียง

ครู: ใช่แล้ว แล้วเรารู้ได้อย่างไร?

นักเรียน Grant: ผมแค่คิดว่ามันเป็นยุคที่มนุษย์เริ่มคิดค้นเครื่องมือสมัยใหม่ นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เครื่องมือเหล่านั้นในการวัดอุณหภูมิ

ครู: ถ้าอย่างนั้น เราลองมามองดูกราฟ 100 ปีนี้ ของสภาพภูมิอากาศกัน บอกอะไรเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลกได้บ้าง?

นักเรียน Raja: ศตวรรษที่ 20 อุณหภูมิสูงกว่าศตวรรษก่อนหน้ามากเลย

ครู: เราพอจะตั้งสมมติฐานได้ไหม ว่าเป็นเพราะอะไร?

นักเรียน Raja: คำเดียวเลย ‘มลพิษ’

ครู: อะไรคือข้อสันนิษฐานของเรา เมื่อเราบอกว่า ‘มลพิษคือสาเหตุที่ทำให้อุณหูมิเพิ่มสูงขึ้น’ ?

นักเรียน Heidi: รถยนต์ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และโรงงานต่างๆ ปล่อยสารเคมี

นักเรียน Frank: สเปรย์ฉีดผม ทำให้สารเคมีอันตรายขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศโลก

ครู: โอเค มาใช้เวลาสักครู่ทบทวนสิ่งที่เราได้อภิปรายกันไป

เรื่องราวที่ปรากฏในบทสนทนาระหว่างครูกับนักเรียนข้างต้น เป็นร่องรอยการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านหัวข้อสำคัญอย่างสภาวะโลกร้อน สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดจากห้องเรียนคือ 

ครูไม่ได้เป็นผู้บอกเล่าความรู้แก่นักเรียน ในทางกลับกัน นักเรียนเองต่างหากที่แบ่งปันความคิดร่วมกันกับเพื่อนๆ ของเขา 

คำถามของครูเป็นเครื่องมือชั้นเลิศในการพานักเรียนเข้าสู่โลกแห่งการครุ่นคิดอย่างจริงจัง และนี่ก็คือ ‘การตั้งคำถามแบบโสเครติส’ (Socratic Questioning) โสเครติส (Socrates) คือใคร ทำไมถึงเขาใช้วิธีการตั้งคำถามเช่นนั้น แล้วเราจะมีวิธีการตั้งคำถามแบบนั้นในชั้นเรียนได้อย่างไร

โสเคสติส (Socrates) 

หากกล่าวถึงโสเครติส เขาคืออดีตนายทหารของเอเธนส์ในสงครามเพโลพอนนีเซียน (Peloponnesian War) ระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตาก่อนศริสตกาล เมื่อเสร็จสิ้นสงคราม โสเครติสได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้รักความรู้ หรือนักปรัชญานั่นเอง 

เขาใช้ชีวิตกับการสนทนาตั้งคำถามแลกเปลี่ยนกับผู้คนในเมืองเอเธนส์  เช่น ความยุติธรรมคืออะไร? เทพเจ้าเซอุสมีความยุติธรรมจริงไหม? ฯลฯ โดยทั้งหมดมาจากวิธีคิดที่เขาเชื่อว่า ‘ชีวิตที่ไม่ถูกตรวจสอบนั้นไร้ค่า’ เรื่องราวของโสเครติสไม่ได้มาจากตัวของเขาเองโดยตรง เพราะเขาไม่ได้ทำการเขียนบันทึกไว้ แต่มาจากบันทึกความทรงจำของเพลโต (Plato) ลูกศิษย์ของเขา อาจกล่าวได้ว่าเรากำลังทำความเข้าใจหรือรู้จักโสเครติสจากมุมมองมองของเพลโต และเราต้องเข้าใจก่อนว่าโสเครติสไม่ได้เรียกวิธีการของตัวเองว่า ‘Socratic Questioning‘ หรือ ‘Socratic Method‘ แต่เป็นคำเรียกจากผู้คนที่เอาการตั้งคำถามหรือวิธีการสนทนาของเขาไปใช้ต่างหาก

การตั้งคำถามแบบโสเครติส (Socratic Questioning)

ทำไมเขาจึงใช้วิธีการเช่นนั้น ก่อนอื่นเราต้องกลับมาทำความเข้าใจบริบทช่วงที่เขาใช้ชีวิต ในเวลานั้น เอเธนส์ก่อกำเนิดระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้น โดยระบอบประชาธิปไตยในยุคนั้นไม่ได้เหมือนกับปัจจุบัน แต่มีลักษณะการปกครองแบบเสียงส่วนน้อย เอเธนส์มีประชากรอยู่ราว 300,000 คน และเสียงส่วนน้อยคือ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด ผู้หญิงและทาสไม่ได้มีสิทธิออกเสียง เมื่อเอเธนส์แพ้สปาร์ตาในสงคราม สปาร์ตาได้แต่งตั้งผู้ปกครองเอเธนส์ใหม่ขึ้นเป็นคณะปกครองตามที่เห็นชอบ แต่ก็เกิดการรบกันระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนการปกครองแบบเดิมกับการปกครองแบบใหม่ที่มีสปาร์ตาสนับสนุน 

สุดท้ายฝ่ายสปาร์ตาก็แพ้ ทำให้เอเธนส์กลับมามีอำนาจตามเดิม ด้วยเหตุนี้ทำให้ฝ่ายที่ขึ้นมามีอำนาจมองว่า การที่เอเธนส์แพ้สงครามกับสปาร์ตา เป็นผลมาจากวิธีการที่โสเครติสใช้พูดคุยกับคนหนุ่มในเมืองให้กระด่างกระเดื่องไม่นับถือในเทพเจ้า ทำให้คนเสื่อมศรัทธาต่อเทพเจ้า เพราะชาวเอเธนส์ชื่อว่าเทพเข้าเป็นผู้ปกปักษ์ดูแลเมืองเอาไว้ จนสุดท้ายโสเครติสถูกสั่งประหารชีวิต

การประกาศว่า ‘ชีวิตที่ไม่ถูกตรวจสอบนั้นไร้ค่า’ ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการท้าทายอำนาจผู้ปกครองอย่างตรงไปตรงมา ที่นำมาสู่การสั่นคลอนรากฐานความเชื่อที่สัมพันธ์กับอำนาจของผู้ปกครอง

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ความปกติที่ปรากฏอยู่ในสังคมในเวลานั้น ได้ถูกโสเครติสเติมเครื่องหมายคำถามลงไปอย่างชัดเจน พร้อมกับการชวนคู่สนทนาสำรวจดูว่าสิ่งที่พวกเขาเคยเชื่อและศรัทธา มันคือความปกติหรือไม่ มากไปกว่านั้นสิ่งที่เชื่อและยึดถือมั่นไว้ ตั้งอยู่บนหลักความเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่

วิธีการของโสเครติสเป็นแนวทางที่ต่างไปจากกลุ่มนักปรัชญาโซฟิสต์ (Sophists) ที่เน้นการใช้สำนวนโวหารดึงดูดให้คนยอมรับมุมมองของผู้พูด ซึ่งเป็นแนวการสอนกระแสหลักในเวลานั้น 

แล้วเราจะนำวิธีการของเขามาใช้ได้อย่างไร ก่อนอื่นเราอาจต้องมองวิธีการของโสเครติสไปให้ไกลกว่าแง่มุมเทคนิคการตั้งคำถามเสียก่อน นั่นคือ เขามองความรู้อย่างไร? โสเครติสมองว่า ‘ความรู้คือการรู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลย’ มุมมองความรู้ของเขาในแง่นี้ จึงเป็นมุมมองความรู้ที่ไม่ได้มีเส้นขอบเขตอย่างชัดเจนว่าสิ้นสุดเมื่อไหร่ แต่สังคมที่เราดำรงอยู่มักขีดเส้นตายตัวขอบเขตความรู้ให้เรารับรู้และเข้าใจเอาไว้เสมอ ดังที่เราเห็นจากชาวเอเธนส์ที่มีการขีดเส้นความรู้ความเข้าใจว่าการแพ้ชนะสงครามขึ้นอยู่กับเทพเจ้าเท่านั้น

หากเปรียบเปรยก็คงเหมือนตู้ที่มีลิ้นชักนับไม่ถ้วน เราอาจเปิดเพียงลิ้นชักหนึ่งออกมาแล้วว่านี่คือคำตอบหรือความจริงแล้ว แต่โสเครติสแสดงให้เราเห็นว่าตู้ใบนั้นไม่ได้มีเพียงลิ้นชักเดียว จงเปิดลิ้นชักอื่นออกมา ยิ่งเปิดมันมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งได้เห็นคำอธิบาย คำตอบ หรือความจริงมากขึ้นเท่านั้น

ด้วยมุมมองที่มีต่อความรู้เช่นนั้น ทำให้เขาสร้างวิธีการเรียนรู้กับผู้คนด้วยการเข้าไปตั้งคำถามกับความเข้าใจที่ผู้คนมีก่อนหน้า และช่วยให้คู่สนทนารู้ว่าเขามีสิ่งที่ยังไม่รู้ นี่จึงเกิดเป็นวิธีการที่เข้าไปเขย่าผู้คนในเอเธนส์ในประเด็นหลักๆ ที่เกี่ยวกับ ความยุติธรรม ความงาม ความกล้า มิตรภาพ ฯลฯ 

ซึ่งต่างจากการมองความรู้แบบโซฟิสต์ (Sophists) ที่เห็นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ผู้รู้ค้นพบ แล้วต้องส่งต่อให้ผู้ไม่รู้ ดังนั้น วิธีการเรียนรู้จึงเป็นการสร้างศรัทธาให้ยอมรับผู้รู้มากกว่าการตั้งคำถาม 

เพราะฉะนั้น การเข้าไปสนทนากับผู้คนผ่านคำถามของโสเครติสนั้นจึงไม่ใช่การไปถกเถียงเพื่อเป็นผู้ชนะหรือหาผู้แพ้แต่อย่างใด แต่เป้าหมายคือการพาผู้สนทนาคิดหาคำตอบหรือสืบหาความเป็นจริง 

นักการศึกษาเห็นตรงกันว่าการตั้งคำถามแบบโสเครติส ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เพราะเป็นการเปิดให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับมโนทัศน์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันด้วยในมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดเป็นความเข้าใจใหม่ของนักเรียนขึ้นมา นักการศึกษาหลายคนได้ถอดบทสนทนาของโสเครติสออกมาใช้ในพื้นที่ทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ดังตัวอย่างของ Bogohossian นักการศึกษาที่สนใจการสอนแบบโสเครติส (Socratic pedagogy) 

เขาเห็นว่าการสอนเช่นนี้ ครูจะเป็นผู้สังเกต เป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำ ไม่ใช่เจ้าของความรู้ ที่สำคัญคือการพานักเรียนแบ่งปันความคิดผ่านการสนทนาด้วยคำถามกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เขาสรุปหลักการออกมาเป็น 5 ขั้นการเรียนรู้ ดังนี้

1. ความสงสัย (Wonder) การสร้างคำถามให้เกิดความสงสัยขึ้นมา เช่น ความกล้าหาญคืออะไร คุณธรรมคืออะไร

2. สมมติฐาน (Hypothesis) เป็นการตอบคำถามจากความสงสัย ซึ่งจะเป็นการให้ความเห็นหรือกล่าวอ้างเกี่ยวกับคำถามนั้น ซึ่งสุดท้ายจะมาเป็นข้อสมมติฐานของการสนทนา

3. การพิสูจน์ (Elenchus) ช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญมากที่จะเป็นการพิสูจน์ โต้แย้ง หรือหักล้าง เกี่ยวกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งจะมีการใช้คำถามและการให้ตัวอย่างย้อนกลับที่ค้านกลับสิ่งที่ตั้งไว้

4. การยอมรับหรือปฏิเสธของสมมติฐาน (acceptance/rejection of hypothesis) หลังจากที่มีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น สิ่งที่มีการโต้แย้ง ยกตัวอย่าง เรายังเห็นด้วยกับสมมติฐานของเราอยู่หรือไม่

5. ปฏิบัติการ (action) การนำเอาสิ่งที่ค้นพบที่เกิดจากขั้นตอนที่ผ่านมาไปสู่การปฏิบัติ

นอกจากนี้ บทความ Socratic Method as Approach to Teaching ได้ระบุว่าวิธีการเช่นนั้น ช่วยให้มีคำถามนำการแลกเปลี่ยน มีการสนทนาและโต้แย้ง ซึ่งช่วยให้นักเรียนสะท้อนคิดอย่างจริงจังบนความเข้าใจที่เขาเข้าไปมีส่วนร่วมกับประเด็น นอกจากนี้ยังสร้างให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ เกิดความสงสัย และฝึกฝนให้ได้รู้จักไต่สวนจากหลักเหตุผล สุดท้ายเมื่อเขาเผชิญกับข้อมูลชุดใหม่ เขาจะเป็นคนที่จะไม่เชื่ออะไรโดยง่าย และนักเรียนจะกลายเป็นผู้ที่รู้จักการคิดและตรวจสอบสิ่งที่เขาได้รับมาเสมอๆ

ถ้าเช่นนั้น เราจะตั้งคำถามให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนขึ้นในห้องเรียนอย่างไร? บทความ Designing Effective Project : Questioning The Socratic Questioning Technique  และบทความ มุมมองใหม่การเรียนรู้ ศิลปะการตั้งคำถามโดยวิธีโสเครติส ของ รศ.มัณฑรา ธรรมบุศย์ ชี้ตรงกันว่า 

การจะทำให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนได้นั้น คำถามที่ครูนำมาใช้ต้องมีความน่าสนใจ มีการให้เวลานักเรียนในการคิดคำตอบ ที่สำคัญต้องมีการวางแผนการใช้คำถามอย่างเป็นระบบ 

ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องรู้ว่านักเรียนมีความคิดความเชื่ออย่างไรบ้างในเรื่องที่จะสนทนา เพื่อให้การสนทนาไม่ไปสู่ทางตันของการแลกเปลี่ยน แต่กระตุ้นให้นักเรียนได้ดึงเหตุผลออกมาคิดแลกเปลี่ยน ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนได้นำบทความทั้งสองมาสรุปประเภทการใช้คำถาม ตัวอย่างของคำถาม รวมถึงแนวทางการใช้ ดังนี้

ประเภทของคำถามตัวอย่างแนวทางการใช้Clarification questions 
เป็นคำถามที่เน้นให้เกิดความกระจ่าง– ทำไมถึงตอบเช่นนั้น?
– ความหมายที่ถูกต้องจริงๆ คืออะไร?
– ยกตัวอย่างในสิ่งที่กำลังอธิบายได้ไหม? ตรวจสอบความคิดหลังจากให้คำตอบไปแล้ว หรือหลังการอภิปรายเสร็จสิ้น Questions about an initial question or issue
คำถามที่เน้นให้ตั้งคำถามกับคำถามหรือประเด็นเริ่มแรก– ทำไมคำถามนี้จึงสำคัญ?
– ประเด็นการตั้งคำถามข้อนี้คืออะไร?
– คำถามนี้หมายความว่าอย่างไรคิดทบทวนเกี่ยวกับคำถามหรือประเด็นที่นำเสนอไปAssumption questions 
คำถามที่เน้นตั้งข้อสมมติฐาน– อะไรคือสมมติฐาน?
– ทำไมใครบางคนถึงตั้งสมมติฐานเช่นนี้?
– ดูเหมือนจะมีการสมมิตฐานว่…ใช่ไหม?
– จะมีวิธีการพิสูจน์สมมติฐานนี้อย่างไร?จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า..?ก่อนเริ่มอภิปรายร่วมกันเพื่อกระตุ้นการคิดReason and evidence questions
คำถามที่เน้นให้นำเสนอเหตุผลและหลักฐาน– ทำไมจึงคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้อง?
– ช่วยอธิบายเหตุผลให้ฟังได้ไหม?
– ด้วยเหตุผลเช่นนี้นำมาสู่ข้อสรุปว่าอย่างไร?
– เหตุผลที่ยกมา คิดว่าเพียงพอแล้วหรือยัง
– เรื่องนี้มีข้อหักล้างได้ไหม
– นั่นคือเหตุผลที่สงสัยเกี่ยวกับหลักฐานดังกล่าวใช่ไหม?ระหว่างการอภิปรายแลกเปลี่ยน ที่ต้องมีการหาเหตุผลหรือหลักฐานเพื่อสนับสนุนคำตอบOrigin or source questions
คำถามที่เน้นตรวจสอบแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งที่มา– ได้รับความคิดมาจากที่ใด?
– นี่เป็นความคิดของเธอ หรือเธอได้ยินมันมาจากที่อื่น?
– อะไรเป็นสาเหตุที่เลือกใช้ข้อมูลนี้ระหว่างอภิปราย เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาและเหตุผลในการเลือกใช้ข้อมูลViewpoint questions
คำถามที่เน้นมุมมอง– ข้อแตกต่างระหว่าง…กับ… คืออะไร?
– มีแง่มุมอื่นในการพิจารณาสิ่งนี้อีกไหม?
– สามารถมองเรื่องนี้ในแง่มุมอื่นได้หรือไม่?ระหว่างการอภิปรายแลกเปลี่ยน ที่ต้องมีการให้คิดในแง่มุมอื่นImplication and consequence questions 
คำถามที่เน้นความเกี่ยวข้องและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา– สิ่งนั้นสามารถเกิดขึ้นจริงๆ หรือมันแค่อาจจะเกิดขึ้น?
– ถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้ว อะไรบ้างอาจจะเกิดขึ้นตามมา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? หลังสรุปการอภิปราย เพื่อต่อยอดการนำไปใช้หรือประเมินสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นสรุปจากบทความ Designing Effective Project : Questioning The Socratic Questioning Technique และบทความ มุมมองใหม่การเรียนรู้ ศิลปะการตั้งคำถามโดยวิธีโสเครติส ของ รศ. มัณฑรา ธรรมบุศย์

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เราคงได้เห็นวิธีการที่เรียกว่า Socratic method หรือการตั้งคำถามแบบ Socratic Questioning สามารถทำอย่างไรได้บ้าง และได้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการคิดเชิงวิพากษ์ได้อย่างไร หากกล่าวสรุปสั้นๆ ว่าวิธีการแบบโสเครติส คืออะไร? 

ในฐานะผู้เขียน ผมคงสรุปดังที่ Sira Abenoza กล่าวใน Ted Talk : Why Socratic Dialogue should become our business card ไว้ว่า

‘การสนทนา (แบบโสเครติส) คือเครื่องมือที่เปี่ยมพลังที่จะลดปีศาจ (ของความไม่รู้)’ 

** ภาพ The Death of Socrates, Painting by Jacques-Louis David
https://www.metmuseum.org/art/collection/search/436105


The Wall Song ร้องข้ามกำแพง | EP.68 | โอบ โอบนิธิ,เโอม ค็อกเทล,พีพี กฤษฏ์ | 23 ธ.ค. 64 FULL EP


พบกับรายการ The Wall Song ร้องข้ามกำแพง
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 20.05 น.
ทาง ช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23
=========================================
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/workpoint
Website: https://www.workpointtv.com
Instagram: https://www.instagram.com/workpoint
TikTok: https://vt.tiktok.com/ZS9GDwTY

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

The Wall Song ร้องข้ามกำแพง | EP.68 | โอบ โอบนิธิ,เโอม ค็อกเทล,พีพี กฤษฏ์ | 23 ธ.ค. 64 FULL EP

โบสถ์นี้มีแต่ \”แม่ชีสุดหื่น\” ชายใดหลงเข้ามาเป็นต้องโดน… (สปอยหนัง)


Youtube Premium รับชมวิดีโอช่อง ชีวิตติดหนัง แบบคมชัด ไม่มีโฆษณาคั่น เพียง 59 บาท/เดือน
หาก \” สนใจ\” คลิกที่ลิงค์ด้านล่างได้เลย
https://lin.ee/WWX0kjJ

หนังเรื่อง Virgin Territory
Fanpage: https://www.facebook.com/ShevittidnungV.1 (ติดต่อเรื่องต่างๆ)
IG : https://www.instagram.com/shevittidnung/
ฝากกดไลด์ กดติดตาม กดกระดิ่ง เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ
ขอบคุณที่เข้ามารับชมครับ 🙏🙏
สปอยหนัง เล่าหนัง ดูหนัง

โบสถ์นี้มีแต่ \

สถิติหวย 30ธันวาคม | หวยออกวันสิ้นปี | งวดวันที่ 30ธันวาคม2564 | เลขออกบ่อยหวยวันสิ้นปี


สถิติหวยออก 30ธันวาคม หวยออกวันสิ้นปี งวดวันที่ 30ธันวาคม2564 เลขออกบ่อยหวยวันสิ้นปี หวยออกวันสิ้นปี64 หวยวันพฤหัสบดี30ธันวาคม
คลิปนี้ได้รวบรวมผลออกสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่1 และ เลขท้ายท้าย2ตัวล่าง เฉพาะ วันที่ 30 ธันวาคม ย้อนหลัง 31 ปี อัพเดทล่าสุด และ หวย39 ธันวาคมเฉพาะที่ออกวันพฤหัสบดี ย้อนหลัง 31 ปี และ เลขออกบ่อยหวยวันสิ้นปี หรือเลขที่ออกหวยออก30ธันวาคม เลขเด่นหวย30ธันวาคม ในแต่ละหลัก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ตรงกับวันพฤหัสบดีข้างแรม11ค่ำ
สถิติหวยเลขเด่น หวยวันสิ้นปี งวดวันที่30ธันวาคม2564

สถิติหวย 30ธันวาคม | หวยออกวันสิ้นปี | งวดวันที่ 30ธันวาคม2564 | เลขออกบ่อยหวยวันสิ้นปี

สรุปสงครามเพโลพอนนีเซียน | Peloponnesian War (430 B.C.E.)


สรุปสงครามเพโลพอนนีเซียน | Peloponnesian War (430 B.C.E.)

Let’s Play DomiNations (도미네이션즈) – Episode 9 (Let’s Finish the Peloponnesian War)


DomiNations Let’s Play DomiNations (도미네이션즈) Made by the people of Rise of Nations

From legendary game designer Brian Reynolds (Civilization II, Rise of Nations), DomiNations is an epic new strategy game of exploration, advancement, and conquest. Lead your Nation to ultimate victory throughout all of human history – from the Stone Age to the Space Age! Build your capital city, pick your Nation from among the greatest civilizations of the world, and defeat rival Alliances to become the most powerful ruler on the planet!
FEATURES:
Choose your Nation to reap the rewards, special powers, and unique units of the British, Romans, Chinese, Germans, French, Japanese, or Greeks.
Advance through all of human history and become the first player to unlock the secrets of technologies like Cavalry, Gunpowder, and Flight!
Recruit the most storied Generals from antiquity, including Alexander, Cleopatra, and Napoleon!
Increase your renown by constructing Wonders of the World, from the Pyramids to the Statue of Liberty!
Join an Alliance and cooperate to defeat enemies from around the globe!
Conquer the World in singleplayer campaigns from the Fertile Crescent to the Peloponnesian War!

Let's Play DomiNations (도미네이션즈) - Episode 9 (Let's Finish the Peloponnesian War)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ เพโลพอนนีเซียน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *