[Update] 200 ชื่อภาษาอังกฤษเก๋ๆสำหรับผู้หญิง | เอลิซาเบธ เฮอร์ลีย์ – Australia.xemloibaihat

เอลิซาเบธ เฮอร์ลีย์: คุณกำลังดูกระทู้

ใครที่กำลังมองหาชื่อภาษาอังกฤษเก๋ๆสำหรับผู้หญิง ไม่ว่าจะหาไปตั้งให้ลูกสาว เปลี่ยนชื่อให้ตัวเอง หรือเอาไปทำอะไรก็ตาม ก็สามารถหายห่วงได้ เพราะชิววี่ได้รวบรวมชื่อมาให้มากถึง 200 ชื่อ

ชื่อพวกนี้ ชิววี่บอกได้เลยว่าเป็นชื่อที่ทันสมัยแน่นอน เพราะเป็นชื่อยอดนิยม 200 อันดับแรก ที่พ่อแม่ชาวอเมริกันตั้งให้ลูกสาวในปี 2018 เป็นข้อมูลจาก Social Security ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกา

สำหรับคนที่สงสัย ชื่อพวกนี้เป็นชื่อจริง แต่ถ้าใครเห็นว่ามีชื่อไหนที่สั้นและเหมาะสม จะเอามาใช้เป็นชื่อเล่น ก็ถือว่าพอได้อยู่ เอาล่ะ ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

อันดับความนิยมชื่อผู้หญิงคำอ่าน1Emmaเอ็มม่า2Oliviaโอลิเวีย3Avaเอวา4Isabellaอิซาเบลล่า5Sophiaโซเฟีย6Charlotteชาร์ลอตต์7Miaเมีย, มีอา8Ameliaอมีเลีย9Harperฮาร์เปอร์10Evelynเอเวลิน11Abigailอบิเกล12Emilyเอมิลี่13Elizabethเอลิซาเบธ14Milaมิล่า15Ellaเอลล่า16Averyเอเวอรี่17Sofiaโซเฟีย18Camilaคามิล่า19Ariaอาเรีย20Scarlettสการ์เล็ตต์21Victoriaวิคตอเรีย22Madisonเมดิสัน23Lunaลูน่า24Graceเกรซ25Chloeโคลอี้26Penelopeพีเนโลพี27Laylaเลย์ล่า28Rileyไรลีย์29Zoeyโซอี้30Noraนอร่า31Lilyลิลี่32Eleanorเอเลนอร์33Hannahฮันน่าห์34Lillianลิเลียน35Addisonแอดดิสัน36Aubreyออเบรย์37Ellieเอลลี38Stellaสเตลล่า39Natalieนาตาเลีย40Zoeโซอี้41Leahลีอาห์42Hazelฮาเซล43Violetไวโอเลต44Auroraออโรร่า45Savannahเซวันนา46Audreyออเดรย์47Brooklynบรู๊คลิน48Bellaเบลล่า49Claireแคลร์50Skylarสกายล่าร์51Lucyลูซี่52Paisleyเพสลีย์53Everlyเอเวอรี่54Annaแอนนา55Carolineแคโรไลน์, คาโรไลน์56Novaโนวา57Genesisเจเนซิส58Emiliaเอมิเลีย59Kennedyเคนเนดี้60Samanthaซาแมนต้า, ซาแมนธา61Mayaเมญ่า62Willowวิลโลว์63Kinsleyคินซ์ลี่ย์64Naomiนาโอมิ65Aaliyahอารียา66Elenaเอเลน่า67Sarahซาร่าห์68Arianaอารีอาน่า69Allisonอลิสัน70Gabriellaกาเบรียล71Aliceอลิซ72Madelynเมดิลีน73Coraโคร่า74Rubyรูบี้75Evaเอวา76Serenityเซเรนิตี้77Autumnออทั่ม78Adelineอเดไลน์79Haileyเฮลีย์80Giannaจีอันน่า81Valentinaวาเลนติน่า82Islaอิสล่า83Eliannaเอเลียนน่า84Quinnควินน์85Nevaehเนเวอา86Ivyไอวี่87Sadieเซดี้88Piperไพเพอร์89Lydiaลิเดีย90Alexaอเล็กซ่า91Josephineโจเซฟิน92Emeryเอเมรี่93Juliaจูเลีย94Delilahดีไลล่าห์95Ariannaอาเรียนน่า96Vivianวิเวียน97Kayleeเคลี่98Sophieโซเฟีย99Brielleบรีลเลอ100Madelineแมเดอลีน

อันดับความนิยมชื่อผู้หญิงคำอ่าน101Peytonเพย์ตัน102Ryleeไรลีย์103Claraคลาร่า104Hadleyแฮดลีย์105Melanieเมลานี106Mackenzieแมคเคนซี107Reaganเรแกน108Adalynnแอดาลิน109Lilianaลิเลียน่า110Aubreeออบริ111Jadeเจด112Katherineแคทเธอริน113Isabelleอิซาเบล114Nataliaนาตาเลีย115Raelynnเรย์เล็น116Mariaมาเรีย117Athenaอาเธน่า118Ximenaฮิเมน่า119Aryaอาร์ย่า120Leilaniเลลานี121Taylorเทย์เลอร์122Faithเฟธ123Roseโรส124Kylieไคลี่125Alexandraอเล็กซานดร้า126Maryแมรี่127Margaretมากาเรต128Lylaไลลา129Ashleyแอชลีย์130Amayaอมาญ่า131Elizaเอลิซ่า132Briannaบรีแอนน่า133Baileyเบลลีย์134Andreaแอนเดรีย135Khloeโคลอี้136Jasmineจัสมิน137Melodyเมโลดี้138Irisไอริส139Isabelอิซาเบล140Norahนอร่าห์141Annabelleแอนนาเบล142Valeriaวาเรเลีย143Emersonอิเมอร์สัน144Adalynอดาลิน145Ryleighไรลีย์146Edenเอเดน147Emersynอิเมอร์ซิน148Anastasiaอนาสตาเซีย149Kaylaเคย์ล่า150Alyssaอริสสา151Julianaจูเลียน่า152Charlieชาร์ลี153Estherเอสเธอร์154Arielแอเรียล155Ceciliaเซซิเลีย156Valerieวาเลรี่157Alinaอาริน่า158Mollyมอลลี่159Reeseรีส160Aliyahอาลียาห์161Lillyลิลลี่162Parkerปาร์คเกอร์163Finleyฟินลี่ย์164Morganมอร์แกน165Sydneyซิดนีย์166Jordynจอร์ดิน167Eloiseอีลอยส์168Trinityทรินิตี้169Daisyเดย์ซี่170Kimberlyคิมเบอร์ลี่171Laurenลอว์เรน172Genevieveเจเนวีฟ173Saraซาร่า174Arabellaอราเบลล่า175Harmonyฮาร์โมนี่176Eliseเอลีส177Remiเรมิ178Teaganทีแกน179Alexisอเล็กซิส180Londonลอนดอน181Sloaneสโลเน่182Lailaไลลา183Luciaลูเซีย184Dianaไดอาน่า185Julietteจูเลียต186Siennaเซียนน่า187Ellianaเอเลียน่า188Londynลอนดิน189Aylaไอล่า190Callieแคลลี่191Gracieเกรซี่192Josieโจซี่193Amaraอมาร่า194Jocelynโจเซลิน195Danielaดาเนียล่า196Everleighเอเวอลี่197Myaไมอา198Rachelราเชล199Summerซัมเมอร์200Alanaอะลาน่า

สำหรับใครที่อยากดูชื่อยอดนิยมสำหรับผู้ชายเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ 200 ชื่อภาษาอังกฤษเท่ๆสำหรับผู้ชาย

เพื่อนๆคงจะพอได้ไอเดียชื่ออังกฤษเก๋ๆสำหรับผู้หญิงกันแล้ว จะตัดสินใจใช้ชื่อไหน ก็ค่อยๆคิดกันนะครับ สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[NEW] The Crown (ซีซัน 4) ควีนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย – THE STANDARD | เอลิซาเบธ เฮอร์ลีย์ – Australia.xemloibaihat

ในขณะที่สังคมโยนความผิดบาปให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ในฐานะบุคคลที่ทําให้เรื่องที่เริ่มต้นเหมือนเทพนิยายต้องจบลงด้วยโศกนาฏกรรม แต่หากใครสืบสาวราวเรื่องตั้งแต่ฤดูกาลก่อนก็คงประมวลได้ว่าผู้ร้ายตัวจริงของเรื่องก็ยังคงเป็นระบบสถาบันกษัตริย์ที่ขัดขวางไม่ให้ชาร์ลส์ (จอช โอคอนเนอร์) ตกล่องปล่องชิ้นกับผู้หญิงที่เขาเรียกว่า ‘Love of my life’ นั่นคือ คามิลลา ปาร์กเกอร์ โบลว์ส

The X-Files)

 

ในห้วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์กลายเป็นประเด็นสําคัญทางสังคมอย่างที่มองเห็นและเป็นอยู่ในบ้านเราตอนนี้ การมาถึงซีซัน 4 ของซีรีส์ชุด ผลงานการสร้างสรรค์ของ ปีเตอร์ มอร์แกน (คนเขียนบท ทาง Netflix ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเหตุการณ์สําคัญต่างๆ นานาในช่วงคาบเกี่ยวตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1970 จนถึงต้นทศวรรษที่ 1990 ก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องแนวบันเทิงคดีที่ถูกสร้างเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของสามัญชนอย่างเราๆ ท่านๆ เพียงลําพังอีกต่อไป แต่มันเต็มไปด้วยแง่มุมที่เปิดกว้างให้ผู้ชมรู้สึกเกี่ยวข้องและเชื่อมโยง

 

เรื่องหนึ่งที่อาจจะถอดบทเรียนได้จากสิ่งที่ซีรีส์ของปีเตอร์บอกเล่าก็คือ ในช่วงเวลาหนึ่ง สถาบันกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรกลายเป็นสิ่งที่แปลกปลอมมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้กรอบสังคมที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อย่างน้อยที่สุดเนื้อหาของเอพิโสด 5 ระบุอย่างแจ้งชัดว่าโลกของคนเป็นเจ้าผิดแผกแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากของคนเป็นไพร่ชนิดไม่อาจหลอมรวม และชีวิตของเหล่าเชื้อพระวงศ์แต่ละพระองค์ตามที่ได้รับการสอดแทรกในเอพิโสดต่างๆ ก็เหมือนกับอยู่ใน ‘บับเบิล’ หรือฟองอากาศส่วนตัว และต่อไม่ติดกับวิถีอันยากแค้นลําเค็ญของเหล่าพสกนิกรผู้ซึ่งเริ่มตลกไม่ออกกับชีวิตอันแสนบัดซบของตัวเอง ไม่มากไม่น้อย นั่นนําพาให้เกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ทว่าใครที่โตทันก็คงจะจําได้ว่า ‘สิ่งที่เกิดขึ้น’ กลายเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก และโดยปริยาย สําหรับควีน เรื่องดังกล่าวอาจเปรียบได้กับ ‘Wake up call’ หรือการปลุกให้พระองค์ตื่นขึ้นมารับรู้ข้อเท็จจริง

 

อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวข้องกับการที่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ผู้ซึ่งเกิดและเติบโตในสังคมแบบเก่าได้รับการปลูกฝังไม่ให้เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงกิจการทางการเมือง และวางเฉยต่อเรื่องทะเลาะเบาะแว้งต่างๆ นานา หรือจากคําพูดของพระองค์เองในซีซันก่อน พระราชอํานาจอันยิ่งใหญ่และสูงสุดของควีนก็คือการไม่ทําอะไรเลย (Doing nothing) แต่จนแล้วจนรอด ซีซันล่าสุด (ซึ่งเห็นได้ชัดว่ารีเสิร์ชมาอย่างถี่ถ้วน) ก็บอกให้รู้ว่าควีนเอลิซาเบธที่ 2 ไม่ใช่พระอิฐพระปูนผู้ซึ่งจะสามารถวางตัวเป็นกลางและลอยตัวอยู่เหนือความขัดแย้งได้ตลอดเวลา และในทันทีที่พระองค์ขยับเขยื้อนด้วยการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันดูไม่แตกต่างจากการเลือกข้าง (เอพิโสดที่ 8) มันไม่เพียงนําพาให้สถานการณ์ยิ่งตกต่ำและย่ำแย่ ทว่าผลลัพธ์ในบั้นปลายซึ่งสิ้นสุดลงอย่างน่าขุ่นข้องก็ตอกย้ำถึงความแห้งแล้งและเลือดเย็นของตัวระบบสถาบัน

 

 

พูดอย่างไม่อ้อมค้อม ยังคงรักษามาตรฐานที่สูงลิบลิ่วของทั้งงานสร้างที่ประณีต พิถีพิถัน และเรื่องราวที่ถูกคัดเลือกมาถ่ายทอด ซึ่งกลายเป็นบทบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เปิดกว้างสําหรับการสืบเสาะและค้นหาเพิ่มเติม หรือจริงๆ แล้วซีซัน 4 ยังได้เปรียบกว่าเพื่อนในแง่ที่มันบอกเล่าเรื่องที่ร่วมสมัยมากขึ้น

 

แน่นอนว่าควีนเอลิซาเบธที่ 2 (โอลิเวีย โคลแมน สวมบทบาทได้อย่างวิเศษเลิศเลอ) ก็ยังคงเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวที่เรียกได้ว่าเป็น ‘มหากาพย์แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์’ และบุคลิกของตัวละครนี้มีพัฒนาการที่น่าครุ่นคิดคํานึงเมื่อเปรียบกับทั้ง 3 ซีซันก่อนหน้า พูดง่ายๆ ‘ลิลี่เบธ’ ดูมั่นอกมั่นใจ เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้วัยวุฒิและคุณวุฒิ ตลอดจนประสบการณ์ที่สั่งสมทําให้พระองค์โต้ตอบกับผู้คนรอบข้างและรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าด้วยปฏิภาณไหวพริบที่หลักแหลมและเฉียบคม กระทั่งน่าจะเป็นแบบอย่างให้บรรดาสรรพกษัตริย์ของประเทศต่างๆ ได้อาศัยเป็นทั้งอุทาหรณ์และแบบเรียนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

 

ใครที่ติดตาม มาตั้งแต่ต้นก็น่าจะสรุปได้ไม่ยากว่าสิ่งที่ ปีเตอร์ มอร์แกน ในฐานะผู้ให้กําเนิดซีรีส์เรื่องโด่งดังเน้นย้ำเสมือนเป็นแก่นหลักอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การบอกว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก็คือเสาหลักที่ค้ำจุนให้สถาบันกษัตริย์ของอังกฤษยังคงดํารงอยู่ได้อย่างเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ทั้งๆ ที่ตลอดเวลาหลายสิบปีของการขึ้นครองราชย์ ตัวสถาบันและเหล่าเชื้อพระวงศ์ต่างช่วยกันก่อเรื่องวุ่นวายหรือแม้กระทั่งอื้อฉาวนานัปการ 

 

 

ไม่ว่าจะอย่างไร ความท้าทายของควีนสําหรับฤดูกาลล่าสุดปะทุขึ้นมาพร้อมๆ กับตัวละครใหม่สองคน คนหนึ่งได้แก่ มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ (จิลเลียน แอนเดอร์สัน จากซีรีส์ดังเรื่อง นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ เจ้าของฉายานางสิงห์เหล็ก ผู้ซึ่งคาแรกเตอร์อันแข็งแกร่งหรือแม้กระทั่งแข็งกระด้าง บวกกับภูมิหลังของการต้องมานะบากบั่นและทํางานหนักตลอดทั้งชีวิต นําพาให้ระหว่างเธอกับควีนแทบไม่มีอะไรหลงเหลือให้พอจะเป็นจุดร่วมสักอย่างเดียว ทีละน้อย ความไม่ลงรอยและบาดหมางก็เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ตั้งแต่เอพิโสดแรก

 

ว่าไปแล้ว หนึ่งในความเอร็ดอร่อยของซีซันล่าสุดได้แก่การเฝ้าติดตามฉากปะทะคารมระหว่างตัวละครทั้งสองคน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ทว่าเป็นการแลกหมัดตั้งแต่ตอนแรกจนกระทั่งถึงตอนสุดท้าย และอย่างไม่ลดราวาศอก ความน่าสนุกอยู่ตรงที่ตามเนื้อผ้า ถ้อยคําเหล่านั้นยังคงรักษาความสุภาพ มารยาททางสังคม หรือแม้กระทั่งการสรรเสริญเยินยอ หากทว่าความนัยที่แฝงเร้นกลับเชือดเฉือน จิกกัด และเหน็บแนม และไหนๆ ก็ไหนๆ การมีฐานันดรที่เหนือกว่าของควีนไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ และอีกฝ่ายต้องยําเกรงหรือก้มหัวให้เสมอไป

 

แต่ที่ต้องระบุอย่างจําเพาะเจาะจงก็คือผู้สร้างหาทางออกให้กับปมขัดแย้งอันมหึมานี้ได้อย่างน่าจดจํา อีกทั้งยังกัดเซาะความรู้สึกอย่างชนิดสุดแสนจะทานทน และนับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เนื้อหาเปิดกว้างให้ผู้ชมได้ครุ่นคิดถึงบทบาทที่ช่างแห้งแล้ง เย็นชา และปราศจากความเป็นมิตรของระบบสถาบัน

 

 

อีกคนหนึ่งที่เป็นปัญหาเรื้อรังกว่ามาร์กาเร็ตก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เจ้าหญิงไดอานา (เอ็มม่า คอร์ริน) นั่นเอง จริงๆ แล้วปัญหาชีวิตแต่งงานระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์กับเจ้าหญิงไดอานาเป็นเรื่องที่รับรู้ในวงกว้าง และมันถูกนําไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีและบันเทิงคดีนับไม่ถ้วน ในขณะที่สังคมโยนความผิดบาปให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ในฐานะบุคคลที่ทําให้เรื่องที่เริ่มต้นเหมือนเทพนิยายต้องจบลงด้วยโศกนาฏกรรม แต่หากใครสืบสาวราวเรื่องจากสิ่งที่ผู้สร้าง บอกไว้ตั้งแต่ฤดูกาลก่อนก็คงประมวลได้ว่าผู้ร้ายตัวจริงของเรื่องก็ยังคงเป็นระบบสถาบันกษัตริย์ที่ขัดขวางไม่ให้ชาร์ลส์ (จอช โอคอนเนอร์) ตกล่องปล่องชิ้นกับผู้หญิงที่เขาเรียกว่า ‘Love of my life’ นั่นคือ คามิลลา ปาร์กเกอร์ โบลว์ส (ด้วยเหตุผลที่เธอมีครอบครัวแล้ว) โดยปริยาย ความปวกเปียกอ่อนแอของชาร์ลส์บวกกับความเป็นตัวเองและการไม่ยอมจํานน (มากขึ้นเรื่อยๆ) ของไดอานาก็นําพาให้ชีวิตสมรสของทั้งสองคนกลายเป็นสมการที่แก้ไม่ได้

 

มองในแง่หนึ่ง ระหว่างมาร์กาเร็ตและไดอานาตกที่นั่งเดียวกัน ทั้งสองเป็นคนนอกที่พาตัวเองเข้ามาอยู่ในวงโคจรของราชวงศ์วินด์เซอร์ และต้องเผชิญกับแรงเสียดทานต่างๆ นานา ประเด็นหนึ่งที่สามารถสรุปได้ก็คือการที่ใครคนนั้นไม่ยอมศิโรราบให้กับระบบอย่างสิ้นเชิง หรือแม้กระทั่งทําตัวแข่งกับควีน (ในเอพิโสด 5 ผู้ชมได้เห็นว่าควีนเริ่มหวั่นไหวกับความนิยมของมาร์กาเร็ตที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในเอพิโสด 10 ไดอานาถูกกล่าวหาว่าเธอพยายามทาบรัศมีและทําตัวเป็นศูนย์กลาง) ก็นําพาให้เส้นทางของทั้งสองคนคับแคบตีบตันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

 

 

จุดแข็งอีกอย่างที่ไม่เอ่ยถึงไม่ได้ก็คือเทคนิคและแท็กติกในการบอกเล่าที่ทั้งลื่นไหลและแพรวพราว ดังที่กล่าวไปก่อนหน้า ส่วนหนึ่งของเนื้อหาอาจจะพึ่งพาบทสนทนาซึ่งถูกเขียนขึ้นอย่างเชือดเฉือนและแหลมคม แต่ตัวซีรีส์ก็ไม่ได้เดินเรื่องด้วยการพูดคุย ตรงกันข้าม ลีลาทางด้านภาพ เสียง และการตัดต่อกลายเป็นภาคขยายสําคัญที่นําพาให้ เต็มไปด้วยโน่นนี่นั่นที่ดึงดูดสมาธิของผู้ชม หนึ่งในช็อตที่ยากจะลืมเลือนได้แก่การใช้ภาพสะท้อนของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต (เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์) ที่กระเพื่อมไหวบนผิวน้ํา (เอพิโสด 7) เพื่อบอกถึงสภาวะไม่มั่นคงทางอารมณ์หรือแม้กระทั่งปรวนแปร หรือช็อตสั้นๆ ที่ถูกแทรกเข้ามาในระหว่างโมโนล็อกสําคัญของเจ้าชายฟิลิปในช่วงท้ายของเอพิโสด 10 ก็ช่วยตอกย้ำถึงสภาวะที่แท้จริงของบรรดาตัวละครที่แวดล้อมสมเด็จพระราชินี หรือการตัดสลับงานเลี้ยงวันเกิดของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดกับของใครบางคนในสถานพักฟื้นผู้บกพร่องทางสติปัญญา (เอพิโสด 7) ก็บอกถึงความเชื่อมโยงอย่างมีเลศนัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง นี่เป็นซีรีส์ที่พึ่งพาแท็กติกและกลวิธีทางด้านภาพยนตร์อย่างยิ่งยวด มันนําพาให้พลังในการสื่อสารยิ่งแผ่ซ่าน พรั่งพรู และส่งผลให้ทั้ง 10 เอพิโสดผ่านการรับรู้ไปอย่างรวดเร็ว เพลิดเพลิน และชวนให้ติดตามอย่างชนิดงอมแงม

 

2-3 ปีที่แล้ว ปีเตอร์เคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาเป็นพวกล้มเจ้าที่ย้ายข้างมายืนโบกธงฝั่งรอยัลลิสต์ โดยเฉพาะหลังจากที่ได้มาเกี่ยวข้องกับโปรเจกต์นี้ แต่อย่างหนึ่งที่แฟนซีรีส์คงเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ก็คือ ไม่ใช่ซีรีส์โฆษณาชวนเชื่อหรือโปรโมตสถาบัน ตรงกันข้าม บทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์หรือเป็นกระจกสะท้อนให้ผู้ชมได้เห็นด้านที่ไม่น่ารื่นรมย์ของระบบสถาบันตลอดจนตัวบุคคลก็ไม่เพียงเน้นย้ำว่าคนเป็นเจ้าไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้ซึ่งไม่เคยทําอะไรผิดพลาดหรือแตะต้องไม่ได้ พวกเขาล้วนมีข้อบกพร่องและจําเป็นต้องปฏิรูปตัวเองเพื่อรักษาความนิยมและอยู่รอด

 

กล่าวในที่สุดแล้ว หากจะมีอะไรที่ผู้ชมบ้านเราเรียนรู้ได้จากซีรีส์ที่โด่งดังระดับปรากฏการณ์เรื่องนี้ คือการเปิดโอกาสให้สังคมได้มีบทสนทนาเกี่ยวกับตัวสถาบันอย่างอารยชนและเปิดเผย และนั่นน่าจะเป็นหนทางที่ช่วยค้ำจุนให้ระบบดํารงอยู่ต่อไปได้อย่างมีความหมาย วิธีการที่สุดแสนล้าหลัง อันได้แก่ การปิดกั้นความคิดเห็นแตกต่าง หรือแม้กระทั่งใช้กฎหมายเล่นงาน ก็รังแต่จะทําให้ข่าวลือและเสียงซุบซิบนินทายิ่งดังกระหึ่มและโหมกระพือมากขึ้น หรือแม้กระทั่งสั่งสมความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์และต่อต้าน ซึ่งไม่ว่าจะมองอย่างไรก็ไม่มีทางเป็นประโยชน์โพดผลกับตัวสถาบันเลย

 

ผู้สร้าง: ปีเตอร์ มอร์แกน
ผู้แสดง: โอลิเวีย โคลแมน, จิลเลียน แอนเดอร์สัน, เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์, จอช โอคอนเนอร์, เอ็มมา คอร์รินฯลฯ 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์


ประวัติ : พระนางอลิซาเบธ ที่ 1 ราชินีพรหมจรรย์ byCHERRYMAN


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ประวัติ : พระนางอลิซาเบธ ที่ 1 ราชินีพรหมจรรย์ byCHERRYMAN

ถึงเวลาเอาคืนทำให้เต็มที่นะ | สั่งใจให้หยุดรักเธอ IRRESISTIBLE


“ว่ากันว่าเหตุผลที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิต มีสองอย่าง ไม่เพราะความรักก็เพราะความแค้น
เมื่อความรักได้ตายไปจากใจของคนอย่างคิมหันต์ เขาจึงมีชีวิตอยู่เพื่อความแค้นเท่านั้น!!”
ย้อนกลับไป 1 ปีก่อน “คิมหันต์” พบศพของ “วิมลรัตน์” พี่สาวของตัวเอง โดนยิงตายอยู่ที่บ้าน
โดย “ธาดา” สามีของวิมลรัตน์เป็นคนลงมือ ธาดาจัดฉากว่าวิมลรัตน์ฆ่าตัวตายเอง ก่อนที่ตัวเขาจะหลบหนีไป และไม่มีใครจับได้
คิมหันต์เสียใจกับการตายของวิมลรัตน์ และได้รู้ว่าในช่วงหลังวิมลรัตน์มีปัญหากับธาดาบ่อยครั้ง คิมหันต์จึงไปเค้นความจริง
จากธาดา แต่ธาดายืนยันว่าตัวเองไม่ได้ทำ โดยมี “มุกริน” น้องสาวของธาดาและเธอยังเป็นคนรักของคิมหันต์ ที่ยืนยันว่าธาดา
อยู่กับตนจริงๆ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตายของวิมลรัตน์
คิมหันต์เชื่อว่ามุกรินคนรักของตัวเอง กำลังพยายามช่วยธาดาปกปิดความผิดอย่างแน่นอน เขาจึงตั้งใจที่จะทวงความยุติธรรม
ให้พี่สาวของเขาด้วยตัวเอง ด้วยการแก้แค้นธาดารวมถึงมุกรินคนที่ทั้งรักมากและทำให้เขาเจ็บมากที่สุด!
1 ปีผ่านไป เรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นในงานแต่งงานของคิมหันต์และมุกริน เมื่อเจ้าสาวที่ควรจะเป็นมุกริน ถูกเปลี่ยนตัวกระทันหัน
อย่างไม่มีใครทันตั้งตัว กลายเป็น “พักตรา” เพื่อนของมุกริน ธาดาโกรธที่คิมหันต์หักหน้าน้องสาวของเขา แต่คิมหันต์ก็ไม่สนใจ อีกทั้งยังเปิดศึกกับธาดา บอกว่านี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นการแก้แค้นให้วิมลรัตน์ พี่สาวของเขาที่ต้องตายเพราะฝีมือของธาดา!!!
เรื่องราวการแก้แค้นของคิมหันต์จะลงเอยอย่างไร ความผิดที่ธาดาก่อเอาไว้จะถูกเปิดเผยได้หรือไม่ และสุดท้ายแล้วความรักที่โดน
ความแค้นบดบังของ คิมหันต์ กับ มุกริน หัวใจของทั้งคู่ที่ถูกความแค้นสั่งห้ามไม่ให้รัก จะต้านทานความรู้สึกที่แท้จริงได้หรือไม่ 
ร่วมหาคำตอบได้ใน “สั่งใจให้หยุดรักเธอ” ทุกวัน จันทร์อังคาร เวลา 20:30 น. ทางช่อง GMM25 
และ รับชมย้อนหลังฟรีที่แรกทาง Viu เวลา 22:30 น.

นำแสดงโดย
ลี ฐานัฐพ์ โล่ห์คุณสมบัติ รับบท คิมหันต์
ออม สุชาร์ มานะยิ่ง รับบท มุกริน
แกรนด์ กรณ์ภัสสร ด้วยเศียรเกล้า รับบท พักตรา
ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รับบท ปรารถ
พลอยภัช ภัชธร ธนวัฒน์ รับบท ปลายฝน
นะ ธนบูลย์ วัลลภศิรินันท์ รับบท ชุมสาย
กระปุก พัชรา ทับทอง รับบท จีน่า
ไผ่ พาทิศ พิสิฐกุล รับบท ธาดา
จีน่า วิรายา ภัทรโชคชัย รับบท ดวงดาว
พลอย ชิดจันทร์ ห่ง รับบท วิมลรัตน์
กาย ศิวกร เลิศชูโชติ รับบท เสี่ยอ๋า
หนิม คนึงพิมพ์ ธนพิชชากรณ์ รับบท เนตร
ซามีน่า สิริลักษณ์ ทรงศรี รับบท โมนา
เป๊ป เขมิกา สุขประสงค์ดี รับบท เบอร์เกอร์
ฟอร์จูน กนกกาญจน์ จุลทอง รับบท โบนัส
แพท พัสสน ศรินทุ รับบท อรรถ
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของ GMMTV ได้ที่
FB | https://www.facebook.com/GMMTVOFFICIAL
IG | https://www.instagram.com/GMMTV
Twitter | https://www.twitter.com/GMMTV
TikTok | http://vm.tiktok.com/RLrVAC
YouTube | https://www.youtube.com/GMMTV
LINETV | https://tv.line.me/st/gmmtv
Dailymotion | https://www.dailymotion.com/gmmtv
Weibo | http://www.weibo.com/u/6146914790
Website | http://www.gmmtv.com
ติดต่อโฆษณา
คุณชนิดา วงศ์ธนาภักดี โทร 026698330
[email protected]
GMMTV สั่งใจให้หยุดรักเธอ

ถึงเวลาเอาคืนทำให้เต็มที่นะ | สั่งใจให้หยุดรักเธอ IRRESISTIBLE

อีกมุมของพระองค์หญิงฯ! เจ้าหญิงดีไซเนอร์ของคนไทย ประทานสัมภาษณ์พิเศษแก่โว้กถึงเรื่องราวส่วนพระองค์


เจ้าหญิงดีไซเนอร์กับอีกมุมที่คุณอาจไม่เคยเห็นมาก่อน! พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ประทานสัมภาษณ์พิเศษแก่โว้กประเทศไทยในอิริยาบถสบายๆ เกี่ยวกับเรื่องราวส่วนพระองค์ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งเรื่องการทรงงาน ไลฟ์สไตล์ แฟชั่น ไปจนถึงสุนัขทรงเลี้ยง เอ็กซ์คลูซีฟที่โว้กที่เดียวเท่านั้น คลิกชมได้เลยในวิดีโอนี้!
 
ดำเนินงาน: กุลวิทย์ เลาสุขศรี
โปรดิวเซอร์: พัลลภ เรืองโชติ

อีกมุมของพระองค์หญิงฯ! เจ้าหญิงดีไซเนอร์ของคนไทย ประทานสัมภาษณ์พิเศษแก่โว้กถึงเรื่องราวส่วนพระองค์

จริงหรือไม่? ควีนเอลิซาเบธที่1สิ้นพระชนม์ เหตุแค่เพียงใช้เครื่องสำอาง เรามาหาคำตอบพร้อมกัน?


Ole channel google tiktok queen elazabith i ประวัติศาสตร์ ตามล่าหาความจริง เครื่องสำอาง สารคดี

จริงหรือไม่? ควีนเอลิซาเบธที่1สิ้นพระชนม์ เหตุแค่เพียงใช้เครื่องสำอาง เรามาหาคำตอบพร้อมกัน?

รวมเพลงฮิต เพลงเก่า SILLY FOOLS [ซิลลี่ ฟูลส์] l แกล้ง, คิดถึง, ขี้หึง, วัดใจ l


ฟังเพลงยาวจุใจ ฟังได้ 24 ชั่วโมง กด SUBSCRIBE ได้ที่นี่
00:00 แกล้ง
05:10 คนที่ฆ่าฉัน
09:32 คิดถึง
14:13 ผิดที่ไว้ใจ
18:56 ไหนว่าจะไม่หลอกกัน
24:04 อย่าบอกว่ารัก
28:26 ขี้หึง
32:53 น้ำลาย
37:16 บ้าบอ
43:40 ไม่หวั่นแม้วันมามาก
47:15 แล้วแต่แป๊ะ
50:42 จิ๊จ๊ะ
55:07 วัดใจ
59:24 เพลงนี้เกี่ยวกับความรัก
01:04:14 เมื่อรักฉันเกิด

รวมเพลงฮิต เพลงเก่า SILLY FOOLS [ซิลลี่ ฟูลส์] l แกล้ง, คิดถึง, ขี้หึง, วัดใจ l

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เอลิซาเบธ เฮอร์ลีย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *